คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุชาติ สุขสุมิตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 211 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3522/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาอุทธรณ์ต้องมีเหตุพิเศษ การไม่ดำเนินการโดยทนายโจทก์ถือเป็นความบกพร่องของผู้ฟ้อง
การที่ทนายโจทก์ยื่นคำร้องขอขยายเวลาอุทธรณ์ในวันครบกำหนดอุทธรณ์โดยอ้างว่า ตัวโจทก์ย้ายภูมิลำเนาไปอยู่กรุงเทพมหานครขณะศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาคดีนี้ ตัวโจทก์เดินทางไปต่างประเทศจึงไม่ทราบคำพิพากษา คดีมีทุนทรัพย์สูง ตัวโจทก์ต้องพิจารณาปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตลอดจนตระเตรียมค่าฤชาธรรมเนียมนั้น เมื่อทนายโจทก์สามารถดำเนินคดีแทนโจทก์ได้อยู่แล้ว หากจะอุทธรณ์คำพิพากษาไปก่อนโดยขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมเพื่อรอตัวโจทก์ก็อาจกระทำได้ แต่ก็มิได้ขวนขวายกระทำ การที่โจทก์ไม่สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ในกำหนดจึงเป็นเพราะความบกพร่องของตัวโจทก์และทนายโจทก์ มิใช่พฤติการณ์พิเศษที่จะยกขึ้นมากล่าวอ้างเพื่อขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 23

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3432/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวการร่วมทำร้ายร่างกายและฆ่าผู้อื่น โดยมีพฤติการณ์เป็นต้นเหตุของเรื่องและให้กำลังใจ
จำเลยเป็นต้นเหตุของเรื่อง หลังจากจำเลยถูกตีแล้วก็กลับไปนำ บ. และพวกมาก่อเหตุที่บ้านโจทก์ร่วมที่ 2 เมื่อ บ.ยิงผู้ตายและโจทก์ร่วมที่ 2 แล้ว จำเลยก็ร้องตะโกนให้ฆ่าฝ่ายโจทก์ร่วมที่ 2 เป็นเชิงให้กำลังใจ และรับรองการกระทำของ บ. จากนั้นก็พากันหลบหนีไปพร้อมกัน การกระทำของจำเลยเข้าลักษณะเป็นตัวการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3323/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจของผู้จัดการบริษัทในการเป็นนายจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทจำกัดมีจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 เป็นกรรมการและจำเลยที่ 5 เป็นผู้จัดการ มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานได้และทำการแทนจำเลยที่ 1 ได้ จำเลยที่ 5 จึงเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนกรรมการของจำเลยที่ 1 ต้องถือว่าจำเลยที่ 5เป็นนายจ้างของโจทก์ทั้งยี่สิบสองตามคำนิยามคำว่า นายจ้างในข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3323/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตนายจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ผู้รับมอบหมายทำงานแทนกรรมการถือเป็นนายจ้าง
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นกรรมการ จำเลยที่ 5 เป็นผู้จัดการ มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานและทำการแทนจำเลยที่ 1 ได้ เป็นการได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนกรรมการของจำเลยที่ 1 จึงถือว่าจำเลยที่ 5 เป็นนายจ้างของโจทก์ทั้งยี่สิบสองตามคำนิยามของคำว่า "นายจ้าง" ในข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ซึ่งให้คำนิยามของคำว่า"นายจ้าง" ไว้ว่าให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนผู้มีอำนาจกระทำแทนนิติบุคคลด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3263/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าและข้อตกลงต่ออายุ: ข้อตกลงต่ออายุไม่ใช่คำมั่นจะให้เช่า
โจทก์และจำเลยทำสัญญากัน มีใจความว่า "ถ้าผู้รับมอบมิได้ประพฤติผิดสัญญา ผู้มอบจะได้พิจารณาต่ออายุสัญญาให้อีกคราวหนึ่ง" ดังนี้ เป็นการแสดงความประสงค์ของคู่สัญญาว่าเมื่อสัญญาสิ้นสุด ผู้ให้เช่าจะใช้ดุลพินิจต่อสัญญาให้แก่ผู้เช่าอีกคราวหนึ่งเมื่อผู้เช่ามิได้ทำผิดสัญญา แต่แม้ว่าผู้เช่าจะไม่กระทำผิดสัญญา การจะต่ออายุสัญญาให้อีกหรือไม่ ย่อมเป็นดุลพินิจของผู้ให้เช่า การที่ข้อสัญญาระบุว่าจะได้พิจารณาต่ออายุสัญญาให้จึงเป็นการให้โอกาสผู้เช่าในเบื้องแรกภายหลังสัญญาสิ้นสุดลงในกรณีที่มีการขอเช่าใหม่ทั้งเป็นการจูงใจผู้เช่ามิให้ผิดสัญญาระหว่างที่สัญญามีผลบังคับ สัญญาข้อนี้จึงมิใช่คำมั่นจะให้เช่า.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3263/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าและดุลพินิจต่อสัญญา: ข้อตกลงต่ออายุไม่ใช่คำมั่นจะให้เช่า
หนังสือสัญญาเช่าสถานที่ระบุว่า ถ้าผู้รับมอบหรือผู้เช่ามิได้ประพฤติผิดสัญญา ผู้มอบหรือผู้ให้เช่าจะได้พิจารณาต่ออายุสัญญาให้อีกคราวหนึ่ง เป็นการแสดงความประสงค์ของคู่สัญญาว่า เมื่อสัญญาสิ้นสุดลงผู้ให้เช่าจะใช้ดุลพินิจต่อสัญญาให้แก่ผู้เช่าอีกคราวหนึ่ง ในเมื่อผู้เช่าไม่ได้กระทำผิดสัญญาอย่างไรก็ดีแม้ผู้เช่าจะไม่กระทำผิดสัญญาก็ตามการจะต่ออายุสัญญาให้อีกหรือไม่ย่อมเป็นดุลพินิจของผู้ให้เช่า สัญญาดังกล่าวจึงมิใช่คำมั่นจะให้เช่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3224/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายผิดสัญญา โอนให้ผู้อื่น ผู้ขายต้องรับผิดค่าเสียหายตามสัญญาและราคาที่สูงขึ้น
การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและห้องแถวพิพาทให้แก่โจทก์ แต่ต่อมากลับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและห้องแถวพิพาทตามสัญญาดังกล่าวให้แก่ผู้อื่นเป็นการผิดสัญญาทำให้โจทก์เสียหายโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ปฏิบัติตามสัญญาหรือใช้ค่าเสียหายได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 213 จำเลยที่ 1 ที่ 2 ขายที่ดินและห้องแถวพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3ถึง ที่ 5 ในราคา 900,000 บาท มากกว่าราคาที่ขายให้แก่โจทก์100,000 บาท เงินจำนวนดังกล่าวเป็นความเสียหายของโจทก์ที่ควรจะได้รับเนื่องจากการผิดสัญญาด้วยแต่เนื่องจากสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้กำหนดความเสียหายไว้ล่วงหน้าเป็นเบี้ยปรับ ในจำนวนเงิน 100,000 บาท ไว้แล้ว โจทก์จะได้รับค่าเสียหายเกินกว่าเบี้ยปรับได้ต่อเมื่อแสดงให้เห็นได้ว่าความเสียหายของตนมีสูงกว่าจำนวนเบี้ยปรับตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3191/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับตามสัญญาประกันและการอุทธรณ์คำสั่งปรับ ศาลอุทธรณ์พิพากษาถึงที่สุดแล้ว ไม่อาจฎีกาได้
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่ลดค่าปรับให้ผู้ประกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119 คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมถึงที่สุด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3149/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกง: การแสดงข้อความเท็จและเจตนาทุจริต
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้บังอาจแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อโจทก์ โจทก์หลงเชื่อจึงมอบเงินให้จำเลยไป แม้ฟ้องโจทก์จะมิได้ระบุคำว่า "โดยทุจริต" ไว้ก็ตาม แต่คำว่า"บังอาจ" กับข้อความที่ว่า "โจทก์หลงเชื่อจึงมอบเงินให้จำเลยไป" ประกอบกันก็บ่งอยู่แล้วว่าจำเลยกระทำโดยทุจริต ฟ้องโจทก์จึงครบองค์ความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3149/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทุจริตในการฉ้อโกง: การพิจารณาจากคำบรรยายฟ้องและพฤติการณ์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้บังอาจแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อโจทก์ โจทก์หลงเชื่อจึงมอบเงินให้จำเลยไป แม้ฟ้องโจทก์จะมิได้ระบุคำว่า "โดยทุจริต" ไว้ก็ตาม แต่คำว่า "บังอาจ" กับข้อความที่ว่า "โจทก์หลงเชื่อจึงมอบเงินให้จำเลยไป" ประกอบกันก็บ่งอยู่แล้วว่าจำเลยกระทำโดยทุจริต ฟ้องโจทก์จึงครบองค์ความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 แล้ว.
of 22