คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุชาติ สุขสุมิตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 211 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3110/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินและเรียกเก็บอากรที่ขาดอายุความ, การคิดดอกเบี้ย, และการหลีกเลี่ยงอากร
การเรียกเก็บเงินเพิ่มตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469มาตรา 112 จัตวา แม้จะไม่มีการวางประกันค่าอากรตามมาตรา 112 ทวิก็เรียกเก็บได้ การแจ้งประเมินตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มิได้กำหนดแบบหรือวิธีการไว้ เมื่อหนังสือที่เจ้าพนักงานของโจทก์แจ้งไปยังจำเลยกำหนดให้นำค่าภาษีอากรจำนวนที่ขาดไปชำระภายในเวลาที่กำหนดไว้มิฉะนั้นจะดำเนินการตามที่เห็นสมควร ถือได้ว่าเป็นการแจ้งประเมินแล้ว สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกอากรที่ขาดเพราะเหตุเกี่ยวกับราคาของที่จำเลยนำเข้าในกรณีที่มีการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงอากรมีอายุความ 10 ปี ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469มาตรา 10 วรรคสามตอนแรก มิใช่กรณีที่มีการคำนวณเงินอากรผิดอันจะมีอายุความ 2 ปี กรณีที่จำเลยแสดงรายการเท็จโดยเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล เจ้าพนักงานมีอำนาจประเมินให้จำเลยเสียภาษีอากรส่วนที่ขาดได้ภายในกำหนด 10 ปี ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 88 ทวิ(2) กรณีที่มีการค้างชำระเงินภาษีอากรซึ่งจะต้องใช้สิทธิเรียกร้องเงินเพิ่มตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 จัตวาและประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิ อันเป็นบทกฎหมายที่บัญญัติไว้เป็นพิเศษ จะเรียกร้องให้ชำระดอกเบี้ยตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อันเป็นสิทธิเรียกร้องทั่วไปไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3110/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสำแดงราคาผิดประเภทสินค้าหลีกเลี่ยงอากร การประเมินภาษี และอายุความทางภาษี
สินค้าชนิดเดียวกันถ้านำเข้ามาในลักษณะที่เป็นอะไหล่รถยนต์จะต้องคิดราคาต*ลาดเพื่อเสียภาษีอากรเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 75 ของราคาที่นำเข้าแบบ ซี.เค.ดี.แต่การนำเข้าแบบซี.เค.ดี. นั้นจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์ก่อน จำเลยนำเข้าโดยไม่ได้ขออนุมัติคณะกรรมการนำเข้าแบบ ซี.เค.ดี. จึงต้องคิดราคาต*ลาดเพื่อเสียภาษีเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 75 ของราคาที่นำเข้าแบบ ซี.เค.ดี. การที่เจ้าพนักงานของโจทก์ที่ 1 เพิ่มราคาและแจ้งให้จำเลยชำระภาษีอากรเพิ่มขึ้นจึงชอบ การเรียกเก็บเงินเพิ่มตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469มาตรา 112 จัตวา นั้นมิใช่เรียกได้เฉพาะกรณีที่มีการวางประกันค่าอากรตามมาตรา 112 ทวิเท่านั้น มิฉะนั้นจะกลายเป็นว่าถ้าวางประกันก็เรียกเก็บเงินเพิ่มได้ แต่ถ้าไม่มีการวางประกันกลับเรียกเก็บเงินเพิ่มไม่ได้ ซึ่งกฎหมายคงไม่ประสงค์จะให้เกิดผลผิดปกติเช่นนั้น การแจ้งการประเมินตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 นั้นมิได้มีการกำหนดแบบหรือวิธีการไว้ เมื่อหนังสือที่แจ้งไปยังจำเลยกำหนดให้จำเลยนำค่าภาษีอากรที่ขาดไปชำระภายในเวลาที่กำหนดไว้มิฉะนั้นจะดำเนินการตามที่เห็นสมควรต่อไปย่อมถือเป็นการแจ้งการประเมินแล้ว จำเลยสำแดงราคาของที่นำเข้าผิดสภาพของสินค้าโดยนำเข้ามาอย่างอะไหล่แต่สำแดงราคาเป็นสินค้าที่นำเข้าแบบ ซี.เค.ดี.อันเป็นการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงอากร สิทธิของโจทก์ที่ 1ที่จะเรียกอากรที่ขาดเพราะเหตุเกี่ยวกับราคาของที่จำเลยนำเข้าจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10วรรคสามตอนแรก มิใช่กรณีที่มีการคำนวณจำนวนอากรผิดวัน จะมีอายุความ 2 ปี ส่วนภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลนั้น เมื่อกรณีของจำเลยมีการแสดงรายการเท็จโดยเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี เจ้าพนักงานย่อมมีอำนาจประเมินให้จำเลยเสียภาษีอากรส่วนที่ขาดได้ภายในกำหนด 10 ปี ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 86 ทวิ(2) จำเลยนำสินค้าพิพาทเข้ามาในปี 2519 เจ้าพนักงานของโจทก์จึงประเมินให้จำเลยชำระภาษีอากรเพิ่มในปี 2524 และฟ้องคดีเมื่อปี 2528 อยู่ในกำหนดระยะเวลา 10 ปี คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ในเรื่องอากรที่ค้างชำระนั้นได้มีบทบัญญัติไว้เป็นพิเศษในพ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 จัตวา และ ป.รัษฎากรมาตรา 89 ทวิ ให้ผู้ค้างชำระภาษีต้องเสียเงินเพิ่มตามอัตราที่กำหนดไว้ แต่ไม่เกินจำนวนเงินภาษีอากรที่ต้องชำระ ในกรณีที่มีการค้าง*ชำระเงินภาษีอากรจึงต้องใช้สิทธิเรียกร้องเงินเพิ่มตามบทกฎหมายที่บัญญัติไว้เป็นพิเศษนี้ จะเรียกร้องให้ชำระดอกเบี้ยตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. อันเป็นสิทธิเรียกร้องทั่วไปไม่ได้ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในต้นเงินอากรที่ค้างชำระนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จอันเป็นการให้ชำระดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. จึงเป็นการไม่ชอบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3067/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยมิชอบ และการจ่ายค่าชดเชยที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยว่า จำเลยออกคำสั่งที่ 6/2525ยกเลิกคำสั่งที่ 63/2517 โดยโจทก์มิได้ตกลงยินยอมด้วย จำเลยอุทธรณ์ว่า ตามพฤติกรรมถือได้ว่าโจทก์ได้ให้ความยินยอมด้วยในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างดังกล่าวแล้ว เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานของศาลแรงงานกลางเป็นปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 จำเลยออกคำสั่งที่ 6/2525 ยกเลิกคำสั่งที่ 63/2517 โดยมิได้ยื่นข้อเรียกร้องและไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ และข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่แก้ไขใหม่ ไม่เป็นคุณแก่โจทก์ จึงเป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 20คำสั่งที่ 6/2525 ไม่มีผลบังคับแก่โจทก์ ต้องบังคับตามคำสั่งที่ 63/2517.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3067/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขสภาพการจ้างโดยไม่ได้รับความยินยอมทำให้ลูกจ้างเสียสิทธิ และเป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
เมื่อนายจ้างได้ออกคำสั่งอันถือว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างและได้ใช้บังคับแก่ลูกจ้างแล้ว นายจ้างจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือออกคำสั่งใหม่อันจะมีผลให้ลูกจ้างต้องเสียประโยชน์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้างหาได้ไม่ และเมื่อนายจ้างออกคำสั่งทำให้ลูกจ้างเสียสิทธิที่จะได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายนอกเหนือจากที่จะได้รับบำเหน็จตามคำสั่งเดิมโดยมิได้ยื่นข้อเรียกร้องและไม่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้างและข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่โจทก์ จึงเป็นการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 มาตรา 20

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3042/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษจากประมวลกฎหมายอาญามาตรา 295 เป็น 391 เมื่อการกระทำไม่ถึงขั้นเป็นอันตรายแก่กาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมตาม ป.อ.มาตรา 295 ปรากฏในทางพิจารณาว่า การกระทำผิดของจำเลยกับพวกที่รุมทำร้ายโจทก์ร่วมที่ 2 ได้รับบาดเจ็บแต่ไม่เป็นอันตรายแก่กายยังไม่เป็นความผิดตามมาตรา 295 ศาลย่อมปรับบทลงโทษตามมาตรา 391ซึ่งเป็นการกระทำความผิดส่วนหนึ่งของบทมาตราที่โจทก์ขอให้ลงโทษมาได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3042/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษจากประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 เป็นมาตรา 391 เมื่อการกระทำไม่ถึงอันตรายแก่กาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295ทางพิจารณาปรากฏว่า โจทก์ร่วมที่ 2 ถูกจำเลยกับพวกรุมทำร้ายได้รับบาดเจ็บแต่ไม่เป็นอันตรายแก่กาย ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 295ศาลก็ปรับบทลงโทษตามมาตรา 391 ซึ่งเป็นการกระทำความผิดส่วนหนึ่งของบทมาตราที่ขอให้ลงโทษมาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3010/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเล่นแชร์: สิทธิเรียกร้องค่าแชร์ค้างชำระโดยตรงของนายวงแชร์ต่อลูกวงแชร์
ในการเล่นแชร์ลูกวงแชร์ต่างเชื่อถือนายวงแชร์เป็นสำคัญนายวงแชร์มีหน้าที่ต่อลูกวงแชร์ในการรวบรวมเงินจากลูกวงแชร์แต่ละคนทั้งที่ประมูลแล้วและยังมิได้ประมูลส่งแก่ลูกวงแชร์ที่ประมูลได้ในงวดนั้น ส่วนลูกวงแชร์ก็มีหน้าที่ต้องส่งเงินค่าแชร์ในแต่ละงวดให้แก่นายวงแชร์เพื่อรวบรวมมอบให้แก่ลูกวงแชร์ที่ประมูลได้ นายวงแชร์จึงมีนิติสัมพันธ์อยู่กับลูกวงแชร์แต่ละคนดังนั้น จำเลยซึ่งเป็นลูกวงแชร์จึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าแชร์ในแต่ละงวดให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นนายวงแชร์ หากจำเลยผิดนัดโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าแชร์ในงวดนั้นได้โดยตรง หาจำต้องอาศัยสิทธิหรือรับช่วงสิทธิของลูกวงแชร์ที่ประมูลได้แต่อย่างใดไม่การที่โจทก์ชำระค่าแชร์แทนจำเลยไปบางงวดก็เพื่อป้องกันมิให้ถูกลูกวงแชร์ที่ประมูลได้ฟ้องร้องเท่านั้น หาใช่เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่ต้องชำระแทนจำเลยไปก่อนแล้วจึงจะเกิดสิทธิเรียกร้องเอาแก่จำเลยในภายหลังไม่ เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าแชร์จำนวน 10 งวด เป็นเงิน 50,000 บาท โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยเรียกเงินโดยไม่ต้องคำนึงว่าโจทก์ชำระค่าแชร์แทนจำเลยไปแล้วเพียงใด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3010/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าแชร์: นายวงแชร์มีสิทธิฟ้องลูกวงแชร์ที่ผิดนัดชำระค่าแชร์โดยตรง แม้จะชำระแทนไปแล้ว
การเล่นแชร์ ลูกวงแชร์ต่างเชื่อถือนายวงแชร์เป็นสำคัญนายวงแชร์มีหน้าที่ต่อลูกวงแชร์ในการรวบรวมเงินจากลูกวงแชร์แต่ละคนทั้งที่ประมูลแล้วและยังมิได้ประมูลส่งแก่ลูกวงแชร์ที่ประมูลได้ในงวดนั้นส่วนลูกวงแชร์ก็มีหน้าที่ต้องส่งค่าแชร์ในแต่ละงวดให้แก่นายวงแชร์เพื่อรวบรวมมอบให้แก่ลูกวงแชร์ที่ประมูลได้นายวงแชร์จึงมีนิติสัมพันธ์อยู่กับลูกวงแชร์แต่ละคน เมื่อลักษณะของการเล่นแชร์เป็นเช่นนี้ จำเลยซึ่งเป็นลูกวงแชร์จึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าแชร์ในแต่ละงวดให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นนายวงแชร์ หากจำเลยผิดนัดโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าแชร์ในงวดนั้นได้โดยตรงไม่จำต้องอาศัยสิทธิหรือรับช่วงสิทธิของลูกวงแชร์ที่ประมูลได้การที่โจทก์ชำระค่าแชร์แทนจำเลยไปบางงวดก็เพื่อป้องกันมิให้ถูกลูกวงแชร์ที่ประมูลได้ฟ้องร้องเท่านั้น มิใช่เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่ต้องชำระแทนจำเลยไปก่อนแล้ว จึงจะเกิดสิทธิเรียกร้องเอาแก่จำเลยในภายหลัง ดังนั้น เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าแชร์จำนวน 10 งวดเป็นเงิน 50,000 บาท แม้โจทก์ได้ชำระค่าแชร์ให้ผู้ประมูลแชร์ไปเพียง 4 งวด เป็นเงิน 20,000 บาท ก็ตาม โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องเรียกเงินจำนวน 50,000 บาท จากจำเลยได้โดยไม่ต้องคำนึงว่าโจทก์ชำระค่าแชร์แทนจำเลยไปแล้วเพียงใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2928/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของที่ดินและการรังวัดเขต - การล้อมรั้วลำเหมืองสาธารณะประโยชน์ละเมิดสิทธิ
ตามสภาพและตำแหน่งของที่ดินโจทก์ โจทก์เข้าออกสู่ถนนสาธารณะได้สะดวกที่สุดก็โดยผ่านลำเหมืองพิพาทซึ่งเป็นลำเหมืองสาธารณะ การที่จำเลยล้อมรั้วลำเหมืองพิพาทย่อมทำให้โจทก์ในฐานะเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เดือดร้อนและเสียหายเป็นพิเศษ เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้รื้อถอนรั้วดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2908/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการใช้สอยที่ดินพิพาทระหว่างเอกชน vs. ที่สาธารณสมบัติ โจทก์ผู้ครอบครองก่อนมีสิทธิเหนือกว่า
ไม่ว่าจะฟังว่าที่พิพาทเป็นที่งอกริมตลิ่งหรือที่ชายตลิ่งที่พลเมืองใช้ร่วมกัน ซึ่งเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินก็ตามสิทธิของโจทก์ซึ่งครอบครองที่พิพาทอยู่ก่อนย่อมมีสิทธิใช้สอยดีกว่าจำเลย แต่จะใช้ยันต่อรัฐได้หรือไม่เป็นอีกส่วนหนึ่ง.
of 22