พบผลลัพธ์ทั้งหมด 211 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2415/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแจ้งความเท็จ: ผู้เสียหายจริงคือผู้ถูกกล่าวหาเมื่อได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ
จำเลยแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์ลักทรัพย์ของจำเลยซึ่งเป็นความเท็จ ทำให้โจทก์ถูกดำเนินคดีอาญา แม้ความผิดฐานแจ้งความเท็จแก่เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137เป็นความผิดต่อเจ้าพนักงาน ซึ่งปกติรัฐเป็นผู้เสียหายโดยตรงก็ตามแต่โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษจากการร้องทุกข์ของจำเลยซึ่งเป็นเท็จ โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายที่แท้จริงในข้อหาดังกล่าวและมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2276/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพกพาอาวุธปืนในที่สาธารณะเวลากลางคืนเป็นอันตรายร้ายแรง ไม่สมควรรอการลงโทษ
พฤติการณ์ที่จำเลยพาอาวุธปืนพร้อมเครื่องกระสุนปืนติดตัวไปตามถนนในหมู่บ้านและทางสาธารณะในเวลากลางคืนนั้นนับว่าเป็นอันตรายต่อผู้อื่นเป็นอย่างยิ่ง จึงเป็นกรณีที่ร้ายแรง ไม่สมควรรอการลงโทษให้แก่จำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2238/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ต้องพิจารณาจากสาเหตุของนายจ้างและลูกจ้าง คำฟ้องต้องชัดเจน
โจทก์ทั้งสี่บรรยายฟ้องถึงสาเหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสี่ประการแรกว่า โดย โจทก์ทั้งสี่ไม่มีความผิด และสาเหตุประการที่สองว่าเป็นนโยบายของจำเลย และไม่แจ้งเหตุผลให้โจทก์ทั้งสี่ทราบและโจทก์ทั้งสี่ยังได้บรรยายฟ้องต่อไปอีกว่า การเลิกจ้างดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ทำให้โจทก์ทั้งสี่ได้รับความเสียหาย เป็นฟ้องที่บรรยายโดย แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ไม่เคลือบคลุม การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจักต้องพิเคราะห์ว่า มีสาเหตุเพียงพอที่จะเลิกจ้างได้หรือไม่เป็นประการสำคัญ ซึ่งพิจารณาได้จาก2 ฝ่าย คือ สาเหตุจากลูกจ้างฝ่ายหนึ่ง และสาเหตุจากนายจ้างอีกฝ่ายหนึ่ง การที่ศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยไว้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสี่โดย มิใช่สาเหตุเพราะโจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นลูกจ้างมีความผิด และมิใช่สาเหตุเนื่องจากเกิดวิกฤติ ในทางการค้าของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างนั้น เป็นคำวินิจฉัยที่ได้แสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยไว้ชัดแจ้งชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2191/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้จัดการทรัพย์สินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 307 ต้องมีรายได้จากทรัพย์สินที่ยึด ไม่ใช่แค่มีโรงงาน
การที่จะร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์ ตามป.วิ.พ. มาตรา 307 ต้องเป็นกรณีที่ตัวอสังหาริมทรัพย์นั้นเองมีรายได้ประจำปีจากการประกอบอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือกสิกรรมของลูกหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อที่ดินของจำเลยที่ถูกโจทก์นำยึดมีแต่พืชไร่ซึ่งไม่ปรากฎว่าเกี่ยวข้องกับกรณีดังกล่าวอันจะมีรายได้ประจำปีมาชำระหนี้ตามคำพิพากษา ดังนี้ ไม่อาจตั้งผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์ ตามมาตราดังกล่าวได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2191/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการตั้งผู้จัดการทรัพย์สินตามมาตรา 307 ต้องมีรายได้จากทรัพย์สินนั้นจริง
แม้ในฎีกาจะระบุว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ยื่นฎีกา ซึ่งโจทก์แก้ฎีกาว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิฎีกาก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาว่าการโต้แย้งเป็นข้อพิพาทในคดีนี้ สืบเนื่องจากการยึดที่ดินของจำเลยที่ 2และจำเลยที่ 2 ได้คัดค้านมาโดยตลอด เนื้อหาในฎีกาก็เป็นการอ้างสิทธิของจำเลยที่ 2 ว่าศาลควรให้โอกาสแก่จำเลยดำเนินการจัดการทรัพย์สินที่ถูกยึด ใจความและเหตุผลน่าจะเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ทนายความที่ดำเนินกระบวนพิจารณาตั้งแต่ศาลชั้นต้นจนถึงชั้นฎีกาแทนจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ก็เป็นทนายความผู้เรียงฎีกาคนเดียวกัน การระบุชื่อของจำเลยที่ 1 ว่าเป็นผู้ฎีกาตามแบบพิมพ์ จึงเป็นข้อผิดหลง ซึ่งโดยข้อเท็จจริงแล้วจำเลยที่ 2 เป็นผู้ยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ปัญหาที่ว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิฎีกาจึงเป็นอันตกไป การที่จะร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์ในการประกอบกิจการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 307จะต้องเป็นกรณีที่ตัวอสังหาริมทรัพย์นั้นเองในปัจจุบันมีรายได้ประจำปีจากการประกอบอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือกสิกรรมของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพราะการนำยึดอสังหาริมทรัพย์ที่มีลักษณะดังนี้ออกขายทอดตลาดโดยตรง อาจนำความเสียหายมาสู่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือฝ่ายลูกหนี้ตามคำพิพากษาทั้งสองฝ่ายหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ โดยเฉพาะลูกหนี้ตามคำพิพากษาอาจสูญเสียทรัพย์สินที่เคยใช้ประกอบอาชีพและมีรายได้ที่ได้รับ โดยสม่ำเสมอเป็นประจำดังนั้น บทบัญญัติในวิธีการบังคับคดีจึงให้โอกาสแก่คู่ความที่จะเลือกใช้วิธีการบังคับคดีตามมาตรา 307 ซึ่งเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็อาจได้รับชำระหนี้ของตนได้เต็มตามจำนวนจนเป็นที่พอใจ เมื่อทรัพย์สินที่ถูกนำยึดไม่มีรายได้หรือมีการประกอบการอุตสาหกรรมหรือพาณิชยกรรมในขณะนั้นตามหลักเกณฑ์ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 307 ดังกล่าวข้างต้น จึงไม่อาจร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์ในการประกอบกิจการได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2191/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้จัดการทรัพย์สินเพื่อหารายได้ชำระหนี้ ต้องมีรายได้จากทรัพย์สินนั้นจริง
ที่ดินของจำเลยที่ถูกโจทก์นำยึดไม่มีรายได้ประจำปีอันเกิดจากที่ดินนั้นหรือมีการประกอบการอุตสาหกรรมหรือพาณิชยกรรมอยู่ในขณะที่ถูกยึด จำเลยจึงไม่อาจขอตั้งผู้จัดการทรัพย์สินแทนการสั่งขายทอดตลาดที่ดิน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 307 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2174/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจประกันตัว: การตีความขอบเขตความรับผิดชอบของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
หนังสือมอบอำนาจมีข้อความว่า จำเลยที่ 1 ขอมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 นำโฉนดที่ดินมาประกันตัว ช. ผู้ต้องหาต่อพนักงานสอบสวนเป็นที่เข้าใจได้ว่า จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2มาประกันตัวผู้ต้องหาแทนจำเลยที่ 1 มิใช่จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 มาประกันตัวผู้ต้องหาในนามจำเลยที่ 2 เองและแม้ว่าคำร้องขอประกันและสัญญาประกันจะไม่มีข้อความให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชอบและไม่มีลายมือชื่อของจำเลยที่ 1ด้วยก็ตาม แต่คำร้องและสัญญาดังกล่าวก็ได้ระบุเลขที่โฉนดที่ดินของจำเลยที่ 1 ไว้เป็นประกันด้วย และการทำสัญญาประกันก็เนื่องมาจากมีหนังสือมอบอำนาจเป็นส่วนสำคัญ การวินิจฉัยความรับผิดจะวินิจฉัยแต่เพียงคำร้องขอประกันและสัญญาประกันหาได้ไม่แต่ต้องวินิจฉัยหนังสือมอบอำนาจประกอบด้วย และถือได้ว่าจำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 นำโฉนดที่ดินมาทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหา จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดตามสัญญาประกันด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2174/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจประกันตัว: ความรับผิดตามสัญญาแม้ไม่มีลายมือชื่อ
หนังสือมอบอำนาจมีข้อความว่า จำเลยที่ 1 ขอมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 นำโฉนดที่ดินมาประกันตัวนาย ช. ผู้ต้องหาต่อพนักงานสอบสวน เป็นที่เข้าใจได้ว่า จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 มาประกันตัวผู้ต้องหาแทนจำเลยที่ 1 นั่นเอง หาใช่จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 มาประกันตัวผู้ต้องหาในนามจำเลยที่ 2 เองไม่ และแม้ว่าคำร้องขอประกันและสัญญาประกันจะไม่มีข้อความให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชอบและไม่มีลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 ด้วยก็ตาม แต่คำร้องและสัญญาดังกล่าวก็ได้ระบุเลขที่โฉนดที่ดินของจำเลยที่ 1 ไว้เป็นหลักฐานประกันด้วย และการทำสัญญาประกันก็เนื่องมาจากมีหนังสือมอบอำนาจเป็นส่วนสำคัญการวินิจฉัยความรับผิดจะวินิจฉัยแต่เพียงคำร้องขอประกันและสัญญาประกันหาได้ไม่ แต่ต้องวินิจฉัยหนังสือมอบอำนาจประกอบด้วยและถือได้ว่าจำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 นำโฉนดที่ดินมาทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหา จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดตามสัญญาประกันด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2108/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีค่ากระแสไฟฟ้า: สำเนาเอกสาร, การมอบอำนาจ, อายุความ, และการวินิจฉัยข้อเท็จจริงในชั้นอุทธรณ์
โจทก์ส่งสำเนาหนังสือแต่งตั้งผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคของโจทก์ต่อศาลแต่จำเลยมิได้คัดค้านความถูกต้องแท้จริงของสำเนาเอกสารดังกล่าวถือว่าจำเลยยอมรับว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องแล้วศาลรับฟังได้ โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคพ.ศ.2503โจทก์ฟ้องคดีนี้โดย ว. ผู้ว่าการของโจทก์มอบอำนาจให้ ส. ดำเนินคดีแทนการที่โจทก์นำสืบว่า ว. เป็นผู้ว่าการของโจทก์ตามสำเนาหนังสือแต่งตั้งผู้ว่าการและโจทก์โดย ว. ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ส. ดำเนินคดีแทนตามหนังสือมอบอำนาจที่ส่งต่อศาลย่อมแสดงว่า ว. เป็นผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์อยู่ในตัวเพราะการดำเนินกิจการของนิติบุคคลย่อมปรากฏจากผู้แทนของนิติบุคคลการที่ศาลอุทธรณ์นำมาตรา30แห่งพระราชบัญญัติ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคพ.ศ.2503ที่บัญญัติให้ผู้ว่าการทำการแทนโจทก์มากล่าวเป็นเพียงระบุให้ชัดเจนขึ้นเท่านั้นมิใช่รับฟังข้อเท็จจริงนอกจากที่โจทก์นำสืบ โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยใช้กระแสไฟฟ้าของโจทก์ไปถึงหน่วยเลขที่5636แต่จำเลยชำระค่ากระแสไฟฟ้าเพียงหน่วยเลขที่3717จึงขาดอยู่อีก1919หน่วยเป็นเงิน2,965.43บาทขอให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยเป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับแล้วและโจทก์ได้บรรยายฟ้องด้วยว่าเมื่อเดือนเมษายน2526โจทก์ได้ตรวจพบว่า จ. พนักงานของโจทก์ละทิ้งหน้าที่ไม่ไปจดหน่วยการใช้กระแสไฟฟ้าของลูกค้าซึ่งรวมทั้งจำเลยด้วยโจทก์ได้ส่งพนักงานคนใหม่ไปจดหน่วยการใช้กระแสไฟฟ้าที่เครื่องวัดกระแสไฟฟ้าบ้านจำเลยจึงพบว่าจำเลยชำระค่ากระแสไฟฟ้าขาดไปอันเป็นการแสดงถึงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้วส่วนการที่จำเลยค้างชำระค่ากระแสไฟฟ้าตั้งแต่เมื่อใดเครื่องวัดกระแสไฟฟ้าอยู่ที่หน่วยใดจำเลยค้างชำระเดือนละเท่าใดคิดอัตราค่ากระแสไฟฟ้าอย่างใดเป็นรายละเอียดที่จะนำสืบในชั้นพิจารณาฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ดำเนินกิจการตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคพ.ศ.2503มีวัตถุประสงค์ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่ประชาชนอันมีลักษณะเป็นการสาธารณูปโภคจึงมิได้เป็นพ่อค้าตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา165(1)การฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าเมื่อมิได้มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นต้องถือว่ามีอายุความ10ปีตามมาตรา164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2108/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของนิติบุคคล, อายุความค่ากระแสไฟฟ้า, และการรับฟังพยานหลักฐานจากเอกสาร
โจทก์ส่งสำเนาหนังสือแต่งตั้งผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคของโจทก์ต่อศาล แต่จำเลยมิได้คัดค้านความถูกต้องแท้จริงของสำเนาเอกสารดังกล่าว ถือว่าจำเลยยอมรับว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องแล้วศาลรับฟังได้ โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2503 โจทก์ฟ้องคดีนี้โดย ว. ผู้ว่าการของโจทก์มอบอำนาจให้ ส. ดำเนินคดีแทน การที่โจทก์นำสืบว่าว. เป็นผู้ว่าการของโจทก์ตามสำเนาหนังสือแต่งตั้งผู้ว่าการและโจทก์โดย ว.ทำหนังสือมอบอำนาจให้ส. ดำเนินคดีแทน ตามหนังสือมอบอำนาจที่ส่งต่อศาล ย่อมแสดงว่า ว. เป็นผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์อยู่ในตัวเพราะการดำเนินกิจการของนิติบุคคลย่อมปรากฏจากผู้แทนของนิติบุคคลการที่ศาลอุทธรณ์นำมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2503 ที่บัญญัติให้ผู้ว่าการทำการแทนโจทก์มากล่าวเป็นเพียงระบุให้ชัดเจนขึ้นเท่านั้น มิใช่รับฟังข้อเท็จจริงนอกจากที่โจทก์นำสืบ โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยใช้กระแสไฟฟ้าของโจทก์ไปถึงหน่วยเลขที่ 5636 แต่จำเลยชำระค่ากระแสไฟฟ้าเพียงหน่วยเลขที่ 3717จึงขาดอยู่อีก 1919 หน่วย เป็นเงิน 2,965.43 บาท ขอให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย เป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับแล้ว และโจทก์ได้บรรยายฟ้องด้วยว่าเมื่อเดือนเมษายน 2526 โจทก์ได้ตรวจพบว่า จ. พนักงานของโจทก์ละทิ้งหน้าที่ไม่ไปจดหน่วยการใช้กระแสไฟฟ้าของลูกค้าซึ่งรวมทั้งจำเลยด้วย โจทก์ได้ส่งพนักงานคนใหม่ไปจดหน่วยการใช้กระแสไฟฟ้าที่เครื่องวัดกระแสไฟฟ้าบ้านจำเลย จึงพบว่าจำเลยชำระค่ากระแสไฟฟ้าขาดไป อันเป็นการแสดงถึงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ส่วนการที่จำเลยค้างชำระค่ากระแสไฟฟ้าตั้งแต่เมื่อใดเครื่องวัดกระแสไฟฟ้าอยู่ที่หน่วยใด จำเลยค้างชำระเดือนละเท่าใดคิดอัตราค่ากระแสไฟฟ้าอย่างใด เป็นรายละเอียดที่จะนำสืบในชั้นพิจารณาฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ดำเนินกิจการตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคพ.ศ. 2503 มีวัตถุประสงค์ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่ประชาชนอันมีลักษณะเป็นการสาธารณูปโภค จึงมิได้เป็นพ่อค้าตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) การฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้า เมื่อมิได้มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ต้องถือว่ามีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164