คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุชาติ สุขสุมิตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 211 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลประโยชน์ร่วมกันในการฟ้องคดีบุกรุกที่ดิน แม้ที่ดินต่างแปลงกัน ก็ฟ้องร่วมกันได้
ผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59 หมายความว่า ต้องมีส่วนได้เสียร่วมกันในมูลเหตุอันเป็นรากฐานแห่งคดีนั้น โดยถือหนี้อันเป็นมูลของคดีนั้นเป็นสาระสำคัญ โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยบุกรุกที่ดินของโจทก์ทั้งสองบางส่วนทางด้านทิศเหนือเป็นผืนติดต่อกันในเวลาเดียวกันเพื่อแย่งสิทธิครอบครองเป็นของตน โจทก์ทั้งสองย่อมมีส่วนได้เสียในมูลเหตุอันเป็นรากฐานแห่งคดีนั้นแล้ว แม้ที่ดินที่ถูกบุกรุกจะมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3ก.)คนละฉบับ และเป็นที่ดินต่างแปลงกันก็ตาม ก็เป็นเรื่องหลักฐานทางทะเบียนเท่านั้น กรณีดังกล่าวถือได้ว่า โจทก์ทั้งสองมีส่วนได้เสียร่วมกันในมูลความแห่งคดี จึงชอบที่จะเป็นโจทก์ร่วมฟ้องจำเลยรวมกันมาในคดีเดียวกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1951/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขาย: อายุความ 10 ปี และไม่จำเป็นต้องจดทะเบียน
สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์จำเลย มีข้อความสรุปได้ว่า โจทก์กับจำเลยทำสัญญาซื้อขายกันเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2526 โดยจำเลยตกลงขายบ้านและที่ดินซึ่งระบุไว้ในสัญญา และจะส่งมอบทรัพย์สินที่ขายให้แก่โจทก์ประมาณเดือนพฤษภาคม 2527 แสดงว่า คู่สัญญามีเจตนาจะไปโอนทรัพย์สินที่ซื้อขายกันในภายหลัง มิได้มีเจตนาจะให้กรรมสิทธิ์โอนจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อทันทีในวันทำสัญญา จึงมีลักษณะเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย ซึ่งเพียงแต่ทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดตามสัญญา ก็เรียกร้องให้บังคับระหว่างกันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสอง โจทก์ฟ้องว่า จำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขาย ขอให้บังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาหรือคืนเงินที่โจทก์ได้ชำระราคาให้จำเลยไว้สิทธิเรียกร้องในกรณีนี้ไม่มีบทกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้กำหนดอายุความทั่วไป 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1859/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจดุลพินิจศาลในการงดสืบพยานและการรับฟังข้อเท็จจริงในคดีแพ่ง
อุทธรณ์จำเลยที่ว่า ศาลชั้นต้นควรสืบพยานโจทก์จำเลยก่อนเพื่อจะวินิจฉัยแปลความในสัญญาเช่าว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองหรือไม่ และโจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดินพิพาท ตัวบ้านที่พิพาทของจำเลยทั้งสองในส่วนด้านหน้าหรือทั้งหมดปลูกอยู่ในรัศมีของถนนไม่ได้เช่าจากใคร เป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลชั้นต้นในการมีคำสั่งงดสืบพยานและรับฟังข้อเท็จจริง เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1859/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกานี้วินิจฉัยว่าการอุทธรณ์ประเด็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับกรรมสิทธิ์และข้อสัญญาเช่าเป็นการต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1 ผู้เช่า จำเลยที่ 2 บริวารของ ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าในขณะยื่นฟ้องไม่เกิน เดือนละสองพันบาท จำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ ว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยทั้งสอง และที่อ้างว่าตามสัญญาเช่า ข้อ 6บิดาโจทก์ได้ให้คำมั่นไว้ว่า หากบิดาโจทก์จะขายที่พิพาทจะต้องแจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบ เพื่อให้โอกาสได้ซื้อก่อน นั้น ก็มิใช่การยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาเช่าที่จะก่อให้เกิดสิทธิอยู่บนอสังหาริมทรัพย์นั้น จึงต้องห้ามมิให้ คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองที่ว่า ศาลชั้นต้นสมควรสืบพยาน โจทก์จำเลยเสียก่อนเพื่อที่จะได้วินิจฉัยแปลความสัญญาเช่า ข้อ 6 ว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองหรือไม่นั้นเป็นการโต้เถียง ดุลพินิจของศาลชั้นต้นในการที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจมีคำสั่ง งดสืบพยานของคู่ความในข้อนี้อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ส่วนอุทธรณ์ ที่ว่า โจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่พิพาท และตัวบ้านพิพาทของจำเลยทั้งสอง ในส่วนด้านหน้าหรือทั้งหมดปลูกอยู่ในรัศมีของถนน ไม่ได้เช่า จากใครนั้น ก็เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังข้อเท็จจริง ของศาลชั้นต้นเป็นปัญหาข้อเท็จจริงเช่นกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1853/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับเนื่องจากเป็นการโต้เถียงดุลพินิจการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
จำเลยทั้งสองฎีกาโดยอ้างเป็นข้อกฎหมายว่า ตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456 มาตรา 119 ที่แก้ไขแล้ว มีความมุ่งหมายว่าการเทสิ่งของต่าง ๆ ลงในแม่น้ำลำคลองอันจะเป็นเหตุให้เกิดการตื้นเขินหรือตกตะกอน หรือทำให้แม่น้ำลำคลองสกปรกซึ่งโจทก์จะต้องนำพยานมาสืบให้มีข้อเท็จจริงว่า การที่จำเลยที่ 1 เททิ้งขี้เถ้าแกลบลงในแม่น้ำแล้วอันจะเป็นเหตุให้เกิดการตื้นเขินหรือตกตะกอนหรือสกปรกถึงจะครบองค์ประกอบเป็นความผิดแต่โจทก์มิได้นำสืบข้อเท็จจริงดังกล่าว จำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิด ดังนี้ ฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการมุ่งประสงค์ที่จะให้ฟังว่า การที่จำเลยที่ 1 เททิ้งขี้เถ้าแกลบลงในแม่น้ำน้อยไม่เป็นเหตุให้เกิดการตื้นเขินหรือตกตะกอนหรือทำให้แม่น้ำน้อยสกปรกฎีกาจำเลยทั้งสองจึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1800-1803/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าไม่จดทะเบียนเกิน 3 ปี สิทธิบังคับได้จำกัด สัญญาเช่าระงับเมื่อบอกเลิก
สัญญาเช่าที่พิพาทมีกำหนดระยะเวลาการเช่า 30 ปี เมื่อมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ย่อมฟ้องร้องบังคับได้เพียง3 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 538 และแม้ในสัญญาเช่าข้อที่ 3 ระบุไว้ว่า"เมื่อได้ชำระค่าเช่าครบแล้วเจ้าของที่จะจัดให้จดทะเบียนสัญญาเช่าและค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการจดทะเบียนการเช่าว่านี้ให้ผู้เช่าจ่าย"ก็ตามก็ไม่มีสิทธิบังคับผู้ให้เช่าให้ไปจดทะเบียนได้ ฉะนั้นการที่โจทก์ทั้งสี่ไม่จดทะเบียนการเช่าให้จำเลยร่วม จะถือว่าโจทก์ทั้งสี่ผิดสัญญาหาได้ไม่ เมื่อโจทก์ทั้งสี่บอกเลิกสัญญาเช่าซึ่งถือว่าเป็นการเช่าที่ไม่มีกำหนดเวลาเนื่องจาก โจทก์ทั้งสี่ไม่ทักท้วงในการที่จำเลยร่วมอยู่ต่อมาภายหลังสัญญาเช่าสิ้นกำหนดลงตามมาตรา 566 และ 570 แล้ว สัญญาเช่าดังกล่าวย่อมระงับไปโจทก์ทั้งสี่จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยร่วมได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1800/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าไม่จดทะเบียน ผลบังคับใช้ 3 ปี และการบอกเลิกสัญญาเช่าหลังครบกำหนด
สัญญาเช่าที่พิพาทระหว่างโจทก์ทั้งสี่กับจำเลยร่วมมีกำหนดระยะเวลาการเช่า 30 ปี เมื่อมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมฟ้องร้องบังคับได้เพียง 3 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 538 แม้สัญญาเช่าระบุว่า เมื่อได้ชำระค่าเช่าครบแล้วเจ้าของที่จะจัดให้จดทะเบียนสัญญาเช่า จำเลยร่วมก็ไม่มีสิทธิบังคับโจทก์ทั้งสี่ให้ไปจดทะเบียนได้ การที่โจทก์ทั้งสี่ไม่จดทะเบียนการเช่าให้จำเลยร่วมจะถือว่าโจทก์ทั้งสี่ผิดสัญญาหาได้ไม่ และเมื่อโจทก์ทั้งสี่บอกเลิกสัญญาเช่าซึ่งถือว่าเป็นการเช่าที่ไม่กำหนดเวลาเนื่องจากโจทก์ทั้งสี่ไม่ทักท้วงในการที่จำเลยร่วมอยู่ต่อมาภายหลังสัญญาเช่าสิ้นกำหนดลงตามมาตรา 566และ 570 แล้ว โดยให้เวลาก่อนฟ้องเกินกว่า 2 เดือน สัญญาเช่าย่อมระงับไป โจทก์ทั้งสี่จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยร่วมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1748/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องอาชญากรรมโดยอ้างบทกฎหมายที่ถูกยกเลิก ศาลฎีกาแก้ไขโทษตามกฎหมายใหม่ได้
ปรากฏตามคำขอท้ายฟ้องว่า โจทก์ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 มาตรา 78 พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 7)พ.ศ. 2522 มาตรา 8 แต่ขณะที่จำเลยกระทำผิดมาตราดังกล่าวได้ถูกยกเลิกไปแล้วโดย พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2530มาตรา 3 และแก้ไขมาตรา 78 แห่ง พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490โดยให้ใช้ข้อความใหม่แทน ซึ่งการกระทำของจำเลยต้องฟ้องก็ยังคงถือเป็นความผิดตามบทบัญญัติที่แก้ไขใหม่ ทั้งผู้กระทำผิดต้องระวางโทษจำคุกขั้นต่ำตามกฎหมายใหม่ตั้งแต่ 2 ปี เช่นเดียวกับกฎหมายเดิมที่ถูกยกเลิกไปโจทก์ยังคงขอให้ลงโทษจำเลยตามพ.ร.บ. อาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 มาตรา 55 และ 78 เพียงแต่อ้างบทกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 78 ดังกล่าวผิดพลาดไปหาใช่กรณีโจทก์ไม่ประสงค์ขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตราดังกล่าวไม่เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติที่ถูกยกเลิกไปแล้วตามคำขอท้ายฟ้องซึ่งไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1745/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวความผิดหลายบท – อาหารผิดมาตรฐานและไม่บริสุทธิ์ – ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาทั้งหมด
ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกันเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ก็ตามจำเลยก็หยิบยกขึ้นในชั้นฎีกาได้
แม้ความผิดฐานผลิตเพื่อจำหน่ายซึ่งอาหารผิดมาตรฐานตามฟ้องข้อ ก. อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 มาตรา 25 (3), 60 และความผิดฐานผลิตเพื่อจำหน่ายซึ่งอาหารไม่บริสุทธิ์ตามฟ้องข้อ ข. อันเป็นความผิดตามมาตรา 25 (1), 58 จะเป็นความผิดที่มีองค์ประกอบความผิดและบทลงโทษแตกต่างกันก็ตาม เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยผลิตเพื่อจำหน่ายซึ่งอาหารผิดมาตรฐานและอาหารไม่บริสุทธิ์ตามฟ้องทั้งสองข้อดังกล่าวในวันเดียวกัน และอาหารที่ผลิตเพื่อจำหน่ายก็เป็นอาหารกระป๋องซึ่งภายในบรรจุปลาเกล็ดขาวทอดกรอบอย่างเดียวกัน อีกทั้งไม่ปรากฏตามคำฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องทั้งสองข้อดังกล่าวด้วยเจตนาต่างกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตาม ป.อ. มาตรา 90 หาใช่เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามมาตรา 91 ไม่
ปัญหาว่าการกระทำผิดของจำเลยเป็นกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกัน รวมทั้งปัญหาว่าศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยสูงเกินสมควรนั้น ล้วนเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยอื่นที่มิได้ฎีกาด้วยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1745/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท อาหารผิดมาตรฐาน - ไม่บริสุทธิ์ ศาลฎีกาแก้ไขโทษปรับ/จำคุก
ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกันเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ก็ตาม จำเลยก็หยิบยกขึ้นในชั้นฎีกาได้ แม้ความผิดฐานผลิตเพื่อจำหน่ายซึ่งอาหารผิดมาตรฐานตามฟ้องข้อ ก. อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา25(3),60 และความผิดฐานผลิตเพื่อจำหน่ายซึ่งอาหารไม่บริสุทธิ์ตามฟ้องข้อ ข. อันเป็นความผิดตามมาตรา 25(1),58 จะเป็นความผิดที่มีองค์ประกอบความผิดและบทลงโทษแตกต่างกันก็ตาม เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยผลิตเพื่อจำหน่ายซึ่งอาหารผิดมาตรฐานและอาหารไม่บริสุทธิ์ตามฟ้องทั้งสองข้อดังกล่าวในวันเดียวกันและอาหารที่ผลิตเพื่อจำหน่ายก็เป็นอาหารกระป๋องซึ่งภายในบรรจุปลาเกล็ดขาวทอดกรอบอย่างเดียวกัน อีกทั้งไม่ปรากฏตามคำฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องทั้งสองข้อดังกล่าวด้วยเจตนาต่างกันการกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 หาใช่เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามมาตรา 91 ไม่ ปัญหาว่าการกระทำผิดของจำเลยเป็นกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกันรวมทั้งปัญหาว่าศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยสูงเกินสมควรนั้นรวมทั้งปัญหาว่าศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยสูงเกินสมควรนั้นล้วนเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยอื่นที่มิได้ฎีกาด้วยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา-ความอาญา มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
of 22