คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุชาติ สุขสุมิตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 211 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 756/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาซื้อขายและการปรับค่าเสียหาย กรณีผู้ขายไม่ส่งมอบสินค้า
ตามสัญญาข้อ 8 วรรคแรก ให้สิทธิแก่ผู้ซื้อในกรณีผู้ขายไม่ส่งมอบสิ่งของที่ตกลงขายให้แก่ผู้ซื้อหรือส่งมอบไม่ถูกต้องหรือไม่ครบจำนวน โดยผู้ซื้อมีสิทธิ บอกเลิกสัญญาได้ และถ้าผู้ซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ผู้ซื้อก็มีสิทธิตามสัญญาข้อ 8 วรรคสองที่จะริบหลักประกันและมีสิทธิได้รับชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้น หากจัดซื้อสิ่งของจากบุคคลอื่นภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันบอกเลิกสัญญา ส่วนตามสัญญาข้อ 9 วรรคแรก เป็นกรณีที่ผู้ซื้อมิได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามข้อ 8 ผู้ซื้อมีสิทธิปรับผู้ขายเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบจนกว่าจะส่งมอบครบถ้วน แต่ในระหว่างที่มีการปรับ ถ้าผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขายไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ตามสัญญาข้อ 9 วรรคสามให้สิทธิผู้ซื้อบอกเลิกสัญญา ริบหลักประกันและเรียกร้องให้ชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นตามสัญญาข้อ 8 วรรคสอง นอกเหนือจากการปรับเป็นรายวัน ดังนั้น การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อจะเรียกค่าปรับเป็นรายวันได้ต้องเป็นกรณีที่จำเลยส่งมอบสิ่งของไม่ถูกต้องหรือไม่ครบจำนวนเท่านั้น แต่คดีนี้จำเลยไม่ส่งมอบสิ่งของที่ตกลงขายให้โจทก์เลย มิใช่ไม่ส่งมอบสิ่งของให้ถูกต้องครบถ้วน จึงไม่ต้องด้วยสัญญาข้อ 9 เมื่อโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา แม้ระยะเวลาจะล่วงเลยมานานก็เป็นการบอกเลิกสัญญาตามข้อ 8 และโจทก์มีสิทธิตามสัญญาข้อ 8 วรรคสอง เมื่อไม่ใช่เป็นการบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 9โจทก์จึงปรับจำเลยเป็นรายวันไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 708/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายเล็กน้อยโดยเจ้าพนักงานตำรวจ ศาลฎีกาวินิจฉัยความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 391
จำเลยเพียงแต่ใช้มือทำร้ายผู้เสียหายและบาดแผลที่ผู้เสียหายได้รับเพียงแต่ช้ำบวมที่หัวคิ้วขวาเท่านั้นไม่มีโลหิตออก ทั้งการที่แพทย์ลงความเห็นว่าบาดแผลจะหายภายใน 10 วัน นั้น ก็เป็นแต่การคาดคะเน บาดแผลดังกล่าวอาจจะหายภายในเวลาไม่ถึง 10 วันก็ได้ พิเคราะห์ถึงการกระทำของจำเลยและบาดแผลที่ผู้เสียหายได้รับประกอบด้วย แสดงว่าจำเลย คงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 654/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าต้องพิจารณาจากค่าจ้างสุดท้าย และการยกเหตุเลิกจ้างนอกเหนือจากที่ระบุในคำสั่งเลิกจ้างทำไม่ได้
การคำนวณค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 นั้น ให้ถือค่าจ้างอัตราสุดท้ายของลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างเป็นฐานในการคำนวณ ส่วนการคำนวณสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 ก็ต้องถือตามจำนวนสินจ้างที่ลูกจ้างควรจะได้รับในระยะเวลาที่นายจ้างเลิกสัญญาจ้างนั้น เมื่อจำเลยมิได้ยกเอาเหตุที่โจทก์ยักยอกเงินของจำเลยขึ้นอ้างในคำสั่งเลิกจ้าง ข้อต่อสู้ของจำเลยที่ว่าโจทก์ยักยอกเงินของจำเลยไป จึงเป็นเหตุหรือข้ออ้างที่อยู่นอกเหนือจากที่ระบุไว้ในคำสั่งเลิกจ้างของจำเลย จำเลยจึงไม่อาจยกเหตุดังกล่าวขึ้นต่อสู้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 654/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งและสิทธิประโยชน์
การคำนวณค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ให้ถือเอาอัตราค่าจ้างสุดท้ายเป็นฐานในการคำนวณ ส่วนสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 582 ต้องถือเอาตามจำนวนสินจ้างที่ลูกจ้างควรได้รับการเลิกจ้าง เมื่อโจทก์มิได้ดำรงตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายขายตั้งแต่วันที่23 กันยายน 2533 ต่อมาวันที่ 9 เมษายน 2534 จึงถูกเลิกจ้างโจทก์จึงไม่มีสิทธินำเงินส่วนแบ่งการขายจำนวนเดือนละ 300,000 บาท มาเป็นฐานคำนวณค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เมื่อศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยไม่ได้ค้างชำระค่าส่วนแบ่งการขายเพราะโจทก์ไปดำรงตำแหน่งอื่น โจทก์ก็ไม่มีสิทธิได้การที่โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์ยังมีสิทธิได้เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงไม่ชอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 จำเลยไม่เคยยกเหตุที่โจทก์ยักยอกเงิน 40,000 บาท ของจำเลยในคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ จึงไม่มีเหตุดังกล่าวที่จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีของโจทก์ว่าจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 635/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ: การผิดสัญญา, การบอกเลิกสัญญา, ค่าซ่อมแซมรถ และสิทธิในการได้รับเงินคืน
โจทก์เช่าซื้อรถพิพาทจากจำเลยในราคา 500,000 บาท ชำระเงินในวันทำสัญญา 100,000 บาท ส่วนที่เหลือตกลงแบ่งชำระเป็นรายเดือนโจทก์ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อหลายงวดรวมเป็นเงิน 50,000 บาทได้มีการทำบันทึกข้อตกลงไว้ที่สถานีตำรวจว่า โจทก์จะชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างให้จำเลย ฝ่ายจำเลยจะไปต่อทะเบียนเสียภาษีรถพิพาทให้โจทก์ โดยนัดกันในวันที่ 15 มีนาคม 2530 ข้อความดังกล่าวแสดงว่าโจทก์จำเลยมิได้ถือเอากำหนดเวลาชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาเป็นข้อสาระสำคัญ ดังนั้น จะถือว่าโจทก์ผิดนัดผิดสัญญาไม่ได้ จำเลยจะบอกเลิกสัญญาเพราะเหตุนี้ยังไม่ได้ ทั้งสองฝ่ายต้องปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำขึ้นใหม่ ครั้งถึงวันนัดโจทก์เตรียมตั๋วแลกเงินจำนวน 50,000 บาทไป แต่ฝ่ายจำเลยไม่ได้นำทะเบียนรถมาอ้างว่าจำเลยไปติดต่อเจ้าหน้าที่แล้วแต่ยังไม่ได้ทะเบียนมาจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดข้อตกลงและผิดสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและผลแห่งการบอกเลิกสัญญาย่อมทำให้คู่ความแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับสู่ฐานะเดิม กล่าวคือ โจทก์ต้องคืนรถพิพาทให้จำเลยและต้องใช้เงินตามค่าแห่งการใช้สอยรถพิพาทให้จำเลยส่วนจำเลยก็ต้องคืนค่าเช่าซื้อแก่โจทก์ โจทก์เช่าซื้อรถพิพาทจากจำเลยแล้วได้ทำการซ่อมแซมรถพิพาทโดยเปลี่ยนเฟืองท้ายโช้กอับ เพลากลาง และเปลี่ยนเบาะใหม่การซ่อมแซมดังกล่าวมิใช่ค่าใช้จ่ายเพื่อบำรุงรักษาตามปกติและเพื่อซ่อมแซมเล็กน้อย แต่เป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นและสมควรเพื่อรักษารถพิพาทให้อยู่ในสภาพใช้งานและรับส่งคนโดยสารได้ จำเลยต้องรับผิดชดใช้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 547

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 635/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อผิดนัด-บอกเลิกสัญญา-ค่าซ่อมรถ: ศาลฎีกาตัดสินให้จำเลยชดใช้ค่าเช่าซื้อและค่าซ่อมรถตามสภาพ
โจทก์ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อรถคันพิพาทหลายงวด และได้ทำบันทึกข้อตกลงกับจำเลยว่าโจทก์จะชำระค่าเช่าซื้อที่ค้าง 50,000 บาทให้จำเลย และฝ่ายจำเลยจะไปต่อทะเบียนเสียภาษีรถให้โจทก์โดยนัดกันวันที่ 15 มีนาคม 2530 ข้อตกลงดังกล่าวแสดงว่า จำเลยมิได้ถือเอากำหนดเวลาชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาเป็นข้อสาระสำคัญ จำเลยจะบอกเลิกสัญญาเพราะเหตุโจทก์ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อไม่ได้แต่ทั้งสองฝ่ายต้องปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำขึ้นกันใหม่ดังกล่าวเมื่อจำเลยผิดข้อตกลง โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ และผลแห่งการบอกเลิกสัญญาย่อมทำให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ส่วนจำเลยต้องคืนค่าเช่าซื้อแก่โจทก์ เมื่อโจทก์เช่าซื้อรถคันพิพาทจากจำเลยแล้วได้ทำการซ่อมแซมรถหลายรายการ เช่น เปลี่ยนเฟืองท้ายโช้คอัพ เพลากลาง การซ่อมแซมดังกล่าวมิใช่ค่าใช้จ่ายเพื่อบำรุงรักษาตามปกติและเพื่อซ่อมแซมเล็กน้อย แต่เป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นและสมควรเพื่อรักษารถคันพิพาทให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้แก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 547

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 600/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ในที่ดินร่วม: เจตนาการยกให้ต้องชัดเจนและระยะเวลาการยึดถือต้องครบตามกฎหมาย
แม้เดิมที่พิพาทจะเป็นของ ป. แต่ผู้เดียว แต่เมื่อออกโฉนดแล้ว ที่ดินพิพาทกลับมีชื่อ ช.ด. และผู้คัดค้าน เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมอยู่ด้วย แสดงให้เห็นเจตนาของ ป.ว่า ต้องการให้ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้มีชื่อในโฉนดทุกคน การที่ ป.ยกที่ดินพิพาทให้แก่ ช. แต่ผู้เดียว โดยผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมคนอื่นมิได้แสดงเจตนายกให้โดยชัดแจ้ง ช. จึงไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทในส่วนของเจ้าของรวมคนอื่น โดยเฉพาะในส่วนของผู้คัดค้าน การที่ ช. ซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งครอบครองที่ดินพิพาทต่อมา จึงถือว่า ครอบครองแทนผู้คัดค้านและเจ้าของรวมคนอื่น ผู้ร้องสืบสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทต่อจาก ช.ย่อมไม่มีสิทธิดีกว่า ช. ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะครอบครองที่ดินพิพาทแทนผู้คัดค้านเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏจากคำเบิกความของผู้ร้องว่าเมื่อปลายปี 2532 ผู้คัดค้านได้มาพบเพื่อขอแบ่งที่ดินพิพาท แต่ผู้ร้องปฏิเสธอ้างว่า ที่ดินเป็นของผู้ร้อง เท่ากับผู้ร้องเพิ่งเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1381 นับแต่วันดังกล่าวถึงวันยื่นคำร้อง ยังไม่ครบ 10 ปีตามมาตรา 1382 ผู้ร้องจึงยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 487/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานทำร้ายร่างกายสาหัสจากการเข้าใจผิด ศาลฎีกาตัดสินว่าไม่มีเจตนาฆ่า
จำเลยใช้มีดฟันผู้เสียหายโดยสำคัญผิดว่า ผู้เสียหายเป็นค. ซึ่งมีเหตุวิวาทกันมาก่อน จำเลยจึงถือเอาความสำคัญผิดขึ้นมาเป็นข้อแก้ตัวให้พ้นผิดหาได้ไม่ ต้องถือว่าจำเลยมีเจตนากระทำต่อ ค. เช่นใดก็ต้องรับผิดในผลของการกระทำที่เกิดขึ้นแก่ผู้เสียหายเช่นนั้น จำเลยมึนเมาสุราและโมโหจากเหตุการณ์ที่ถูก ค. ทำร้ายจึงหาไม้ดักทำร้าย ค. แต่พบมีดโต้เสียก่อน จึงหยิบฉวยเอาตามอารมณ์โกรธในขณะนั้นโดยมิได้ตระเตรียมไว้ล่วงหน้า เมื่อพบผู้เสียหาย และ ค. ก็เงื้อมีดขึ้นฟันผู้เสียหายลงไปตรง ๆ มิได้เจาะจงตำแหน่งที่จะฟัน เป็นการฟันเพียงครั้งเดียว พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่า จำเลยมีเจตนาทำร้ายเท่านั้น หามีเจตนาฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนไม่ ที่ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บง่ามมือซ้ายฉีกเกือบขาด อาจเป็นเพราะร่างกายส่วนนั้นไม่มีส่วนแข็งหรือกระดูกป้องกันคมมีดได้ จำเลยต้องรับผิดเพียงฐานทำร้ายผู้อื่นเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 487/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสำคัญผิดในความผิดอาญา: การทำร้ายผู้อื่นโดยเข้าใจผิดว่าเป็นบุคคลอื่น และเจตนาในการกระทำ
จำเลยไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้เสียหาย เหตุที่จำเลยฟันทำร้ายผู้เสียหายเนื่องจากเข้าใจผิดว่าผู้เสียหายเป็นนาย ค.ซึ่งมีเหตุวิวาทกันมาก่อนจำเลยจะยกเอาความสำคัญผิดเป็นข้อแก้ตัวไม่ได้ ต้องถือว่าจำเลยมีเจตนาที่จะกระทำต่อนายค.เช่นใด ก็ต้องรับผิดในผลของการกระทำที่เกิดขึ้นแก่ผู้เสียหายเช่นนั้น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 61 การที่จำเลยหยิบฉวยมีดอีโต้ในบ้านที่เกิดเหตุ ไม่ใช่อาวุธที่ตระเตรียมมาก่อน ฟันทำร้ายผู้เสียหายเพียงครั้งเดียวโดยมิได้เจาะจงว่าเป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายโดยเฉพาะ ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บง่ามมือซ้ายฉีกเกือบขาด อาจเป็นเพราะส่วนนั้นไม่มีส่วนแข็งหรือกระดูกที่ป้องกันคมมีดได้ดีสาเหตุที่ทำร้ายนายค.ก็เป็นเรื่องเล็กน้อยที่เกิดขึ้นเสมอในวงสุรา จำเลยจึงไม่มีเจตนาจะฆ่าผู้เสียหายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน เป็นเพียงผิดฐานทำร้ายผู้อื่นเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 417/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากรและประเภทพิกัดสินค้ากระจก การพิจารณาราคาแท้จริงและราคาประเมิน
สินค้าที่จัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 70.05 และประเภทที่ 70.06 ท้ายพระราชกฤษฎีกาพิกัดอัตราภาษีศุลกากรพ.ศ. 2503 นั้น แม้สินค้าทั้งสองประเภทจะเป็นกระจกที่มีกรรมวิธีใด ๆ ที่ผลิตขึ้นหรือทำขึ้น และไม่ว่าจะเป็นสีหรือไม่ก็ตาม ต่างก็เป็นแก้วอันเป็นวัตถุดิบเช่นเดียวกันข้อแตกต่างอยู่ที่ว่าสินค้าตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 70.05 เป็นแก้วที่ยังมิได้ตกแต่งส่วนสินค้าตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 70.06 เป็นแก้วที่ได้ขัดผิดแล้วประการหนึ่ง หรือทำให้ใสแล้วอีกประการหนึ่ง ทั้งนี้จะต้องมิได้มีการทำให้แก้วนั้นมีคุณสมบัติหรือมีประโยชน์ในลักษณะการใช้สอยดีขึ้นมากไปกว่าการขัดผิดหรือทำให้ใส กรรมวิธีในการผลิตกระจกพิพาทจะต้องเป็นไปตามแบบแผนผัง กล่าวคือ การทำให้ผิดกระจกมีความมันและใสด้วยวิธีไฟร์โพลิช จะประกอบด้วยตัวทำความเย็นสองหน่วย ที่เรียกว่าเมนคูลเลอร์และเบบี้คูลเลอร์ เริ่มต้นด้วยการนำวัตถุดิบเป็นแถบน้ำแก้วหลอมเหลวอุณหภูมิ 800 เซลเซียส จากเตาหลอมผ่อนครอบบาร์ เพื่อดึงขึ้นในแนวตั้งแผ่นกระจกจะเริ่มแข็งตัว และผ่านเมนคูลเลอร์จนถึงเบบี้คูลเลอร์ เพื่อให้อุณหภูมิของแผ่นกระจกลดลงตามลำดับ จากนั้นจึงถึงช่วงของไฟร์โพลิช โดยใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิงผสมกับอากาศที่ได้สัดส่วนแล้วพ่นไฟดังกล่าวให้เปลวไฟอยู่ห่างแผ่นกระจกประมาณ 1 นิ้วเปลวไฟดังกล่าวจะเป็นตัวทำให้ผิดหน้าของกระจกราบเรียบและเป็นเงาใส ซึ่งการผลิตด้วยวิธีนี้ถือว่าเป็นการขัดผิวกระจกและทำให้ใสโดยสมบูรณ์แล้ว ไม่จำต้องใช้เครื่องมือกลเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวซ้ำอีก ดังนั้นวิธีไฟร์โพลิชดังกล่าวจึงถือว่าเป็นการทำให้กระจกซีท ได้รับการตกแต่ง โดยขัดผิวและทำให้ใสแล้ว หาใช่เป็นกระบวนการผลิตกระจกธรรมดาตามปกติไม่ เพราะหากไม่ผ่านกระบวนการของไฟร์โพลิชก็คงเป็นกระจกธรรมดากระจกพิพาทจึงจัดเข้าในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 70.06 ส่วนที่จำเลยโต้แย้งว่า การวินิจฉัยว่าแผ่นกระจกพิพาทจัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทใด จะต้องถือตามคำอธิบาย พิกัดอัตราศุลกากรของสภาความร่วมมือทางศุลกากรกรุงบรัสเซลส์ประเทศเบลเยี่ยม ตามความเห็นของนายเอชอาซากุระ ผู้อำนวยการพิกัดศุลกากรของสภาซี.ซี.ซี. ที่ระบุว่ากระจกพิพาทจัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากร ประเภทที่ 70.05 นั้น การวินิจฉัยปัญหาพิกัดอัตราศุลกากรที่โต้แย้งในคดีจะต้องอาศัยบทกฎหมายที่มีผลใช้บังคับในขณะที่มีการนำเข้า ซึ่งในขณะนั้นได้แก่พระราชกฤษฎีกาพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 ความเห็นของเจ้าหน้าที่หรือคำอธิบายพิกัดอัตราศุลกากรของสภาความร่วมมือทางศุลกากรมิใช่กฎหมาย เป็นเพียงแนวทางของการวินิจฉัยปัญหาเท่านั้น ไม่เป็นข้อลบล้างบทกฎหมายดังกล่าว มูลค่าของสินค้าที่นำเข้ามีราคาเป็นจำนวนใดจะต้องพิจารณาจากพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469มาตรา 2 ที่นิยามคำว่า "ราคา" หรือ "ราคาอันแท้จริง ในท้องตลาด" ว่า "ราคาขายส่งเงินสด (ในส่วนของขาเข้า ไม่รวมค่าอากร) ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลา และที่นำของเข้า หรือส่งของออกแล้วแต่กรณีโดยไม่มีหักทอน หรือลดหย่อนราคาแต่อย่างใด"ดังนั้น ที่กองวิเคราะห์ราคาได้กำหนดราคาในท้องตลาดเป็นรายเฉลี่ยสำหรับกระจกพิพาทไว้ จึงเป็นแนวทางปฏิบัติอย่างกว้าง ๆ ในการประเมินราคาเพื่อเรียกเก็บภาษีมิได้เป็นข้อตายตัวว่าจะต้องเป็นราคาดังกล่าวในขณะมีผู้นำเข้าเสมอไป แต่ได้กำหนดขึ้นเพื่อทราบราคาอันแท้จริงในท้องตลาดในเบื้องแรกว่ามีราคาใด ราคาที่ระบุไว้ในใบขนสินค้าขาเข้า ซึ่งนำเข้าระหว่างวันที่ 21 มกราคม 2528 ถึงวันที่ 6 กรกฎาคม 2528เป็นราคาเดียวกับที่โจทก์ได้แจ้งไว้ในใบกำกับสินค้าในขณะที่โจทก์ส่งกระจกพิพาทลงเรือ ทั้งนี้ในทางปฏิบัติผู้ขายในต่างประเภทจะส่งบัญชีราคาสินค้ามาให้โจทก์ตามที่ขอทราบราคาไป เมื่อโจทก์พอใจราคาแล้วก็จะสั่งซื้อ และดำเนินการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่ผู้ขายหลังจากโจทก์ได้รับสินค้าแล้วจะชำระราคาให้แก่ผู้ขายหลังจากโจทก์ได้รับสินค้ารับสินค้าแล้วจะชำระราคาให้แก่ผู้ขายโดยผ่านทางธนาคาร จึงเชื่อได้ว่าโจทก์ได้สั่งซื้อกระจกพิพาทในราคาดังกล่าวจริง ไม่มีข้อที่จะโต้แย้ง หรือมีเหตุสงสัยว่าเอกสารดังกล่าวทำขึ้นไม่ตรงกับความเป็นจริงเพราะมีผู้เกี่ยวข้องและประโยชน์ได้เสียอีกหลายฝ่ายอาทิผู้รับขนทางทะเล และธนาคารตัวแทนทั้งฝ่ายผู้ขายและฝ่ายผู้ซื้อ ทั้งนี้ราคาสินค้าตามที่ระบุไว้ในใบกำกับสินค้าตัวแลกเงิน และใบเสร็จรับเงินแล้วแต่ละกรณี จะเป็นข้อสำคัญที่ยันผู้เกี่ยวข้องดังกล่าวมิให้โต้เถียงในเรื่องราคา เป็นเรื่องอย่างอื่น ดังนั้น จึงเชื่อได้ว่าราคาสินค้า ที่โจทก์ได้สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าเป็นราคาที่แท้จริง และถูกต้องกว่าราคาที่กองวิเคราะห์ราคาได้พิจารณา และกำหนดเป็นราคาประเมินไว้ ส่วนข้อที่ว่าโจทก์ได้เสนอบัญชีราคาสินค้าให้จำเลยพิจารณาราคาไว้ตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2527 แต่โจทก์นำสินค้ากระจกพิพาทเข้าภายหลังอีกประมาณ 1 ปีต่อมาราคาย่อมจะเปลี่ยนแปลงได้ตามภาวะของตลาด การที่โจทก์ไม่เสนอราคาที่เปลี่ยนแปลงต่อจำเลยก็ไม่เป็นข้อผูกมัดว่าโจทก์จะต้องปฏิบัติเช่นนั้นและราคาจะต้องตายตัวในราคานั้น เพราะไม่มีบทกฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องปฏิบัติดังกล่าวการยื่นบัญชีราคาสินค้าไว้ต่อจำเลยเพื่อให้พิจารณาเป็นการอำนวยความสะดวก หรือให้ข้อมูลแก่จำเลยล่วงหน้าที่โจทก์จะได้รับประโยชน์โดยตรงจากการดำเนินพิธีการทางศุลกากร ในการนำเข้าให้เป็นไปโดยรวดเร็วส่วนเหตุที่สินค้ากระจกพิพาทมีราคาต่ำลงนั้น ก็ได้ความว่ากรรมวิธีการผลิตกระจกต้องใช้น้ำมันดิบเป็นเชื้อเพลิงในระหว่าง ปี 2524 ถึง 2528 ราคาน้ำมันดิบลดลงถึงร้อยละ 30 ส่งผลให้ค่าระวางเรือลดลงในอัตราประมาณร้อยละ 30 ถึง ร้อยละ 40 รวมถึงวิธีการบรรจุสินค้าที่โจทก์อาจเลือกเพื่อประหยัดต้นทุนได้หลายวิธี ราคากระจกในท้องตลาดทั่วไปจึงลดลงได้และเมื่อพิจารณาประกอบถึงการชำระราคาสินค้าให้แก่ผู้ขายในต่างประเทศที่มีวิธีการชำระเงินผ่านธนาคารในรูปของการขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต และอยู่ในความควบคุมและกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นกรณีของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา หรือจำนวนเงินที่จะต้องจ่ายชำระเป็นราคาสินค้า ข้อเท็จจริงเหล่านี้ฟังได้ว่า โจทก์สำแดงราคาสินค้าที่นำเข้าถูกต้องแล้ว
of 22