คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุชาติ สุขสุมิตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 211 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 56/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องคัดค้านการเลือกตั้งที่เคลือบคลุม ศาลฎีกายกคำร้องเนื่องจากไม่แสดงสภาพแห่งข้อหาชัดเจน
(คำสั่งศาลฎีกาที่ 56/2536) คำร้องของ ผู้ร้องที่ว่าเขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดสมุทรสาคร มีเขตพื้นที่อำเภอเมืองสมุทรสาคร อำเภอบ้านแพ้ว และอำเภอกระทุ่มแบนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในแต่ละอำเภอ มีกรรมการตรวจคะแนนและเจ้าหน้าที่คะแนนซึ่งเป็นผู้ได้รับแต่งตั้งขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยเฉพาะเขตพื้นที่อำเภอกระทุ่มแบนมี ช.นายอำเภอกระทุ่มแบน เป็นเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้งกรรมการตรวจคะแนนและเจ้าหน้าที่คะแนนในเขตพื้นที่ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จำนวน 43 หน่วยเลือกตั้ง ในเขตพื้นที่ อำเภอบ้านแพ้ว จำนวน 31 หน่วยเลือกตั้ง ได้นับคะแนนไม่ตรงกับความจริงในบัตรเลือกตั้ง อ่านบัตรเลือกตั้งของผู้ร้องหมายเลข 7 เป็นของผู้สมัครหมายเลข 1 บ้าง เป็นของผู้สมัครหมายเลข 5 บ้าง หรือเป็นของผู้สมัครอื่นบ้างอ่านบัตรดีของผู้ว่าเป็นบัตรเสียบ้าง อ่านบัตรเสียของผู้สมัครหมายเลข 5 เป็นบัตรดีบ้าง และอ่านบัตรที่ลงคะแนนให้ผู้ร้องเป็นบัตรที่ไม่ลงคะแนนบ้าง ทั้งกระทำหรือละเว้นกระทำด้วยประการใด ๆ ทำให้คะแนนของผู้ร้องเปลี่ยนแปลงลดลง และมีผลให้คะแนนของ อ. ผู้สมัคร รับเลือกตั้งหมายเลข 5 มีคะแนนเพิ่มขึ้น ทำให้คะแนนรวมทั้งหมดของ อ.มากกว่าคะแนนของผู้ร้อง 344 คะแนน และได้รับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรสาคร การบรรยายคำร้องใน ลักษณะนี้มิใช่การแสดงถึงสภาพแห่งข้ออ้างและข้อหาของผู้ร้อง โดยแจ้งชัด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง หากแต่เป็นคำร้องที่กล่าวถึงข้อเท็จจริงคลุม ๆ และรวมกันมา คำร้องของผู้ร้องจึงทำให้ผู้มีส่วน ได้เสียจากเหตุตามคำร้องเสียเปรียบ ไม่อาจเข้าใจและยื่นคำ คัดค้านได้ตรงกับรูปเรื่อง จึงเป็นคำร้องที่เคลือบคลุม แม้ศาลชั้นต้นจะส่งความเห็นไปยังศาลฎีกา โดยไม่ดำเนิน กระบวนพิจารณาไต่สวนคำร้อง หรือในกรณีที่เห็นว่าอาจทำให้ ความเห็นได้ไม่ต้องให้คู่ความสืบพยานและสั่งงดการไต่สวน แต่ไม่ดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าวก็ตาม ศาลฎีกาก็มี อำนาจมีคำสั่งในเรื่องนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเลิกจ้างนายจ้าง ต้องเป็นธรรมหรือมีเหตุสมควร ศาลวินิจฉัยได้หากพิจารณาจากพฤติการณ์เพื่อความเป็นธรรม
สิทธิเลิกจ้างโดยทั่วไปย่อมเป็นสิทธิของนายจ้างและอยู่ในบังคับของมาตรา 49 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ คือต้องเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมหรือมีเหตุสมควรที่จะเลิกจ้างได้ จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอ้างเหตุว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่อันเป็นความผิดร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47หากโจทก์กระทำผิดดังกล่าวจริง จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า โจทก์ทุจริตต่อหน้าทีจึงต้องพิจารณาต่อไปว่า มีเหตุสมควรที่จะเลิกจ้างโจทก์อันเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมหรือไม่ ที่ศาลแรงงานพิพากษาให้เลิกจ้างโจทก์ เพราะการปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์มีพฤติการณ์ที่ทำให้จำเลยไม่ไว้วางใจ จึงเป็นการวินิจฉัยคดีโดยคำนึงถึงข้อเท็จจริงต่าง ๆ เพื่อความเป็นธรรมแก่ฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างตามมาตรา 48 ซึ่งมีอำนาจวินิจฉัยได้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นแห่งคดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเลิกจ้าง นายจ้างต้องใช้ดุลพินิจ เหตุผลต้องสมเหตุสมผล แม้ข้อกล่าวหาไม่เป็นจริง
จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยกล่าวอ้างว่า โจทก์ทุจริตต่อหน้าที่นำใบเสร็จไปเรียกเก็บเงินแล้วเบียดบังเอาเงินนั้นเป็นประโยชน์ส่วนตัว มิได้อ้างเหตุความไม่ไว้วางใจเป็นเหตุเลิกจ้าง แม้ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์กระทำผิดตามที่จำเลยกล่าวอ้าง แต่สิทธิเลิกจ้างโดยทั่วไปย่อมเป็นสิทธิของนายจ้างหรือสิทธิในทางจัดการ โดยต้องเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมและมีเหตุสมควรที่จะเลิกจ้างได้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฎว่าโจทก์ทำตัวไม่น่าไว้วางใจ การที่ศาล-แรงงานกลางอ้างเหตุดังกล่าวมาวินิจฉัยว่าโจทก์กระทำตัวไม่น่าไว้วางใจ และมีเหตุสมควรที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ เป็นการวินิจฉัยเพื่อความเป็นธรรมแก่ทั้งสองฝ่าย ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 37/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความน่าเชื่อถือพยานหลักฐานในคดีอาญา: แสงสว่าง, การไม่แจ้งความ, และการปฏิเสธของผู้ต้องหา
เกิดเหตุคนร้ายตีผู้ตายในเวลากลางคืน ในที่เกิดเหตุมีแสงไฟฟ้าจากที่อื่นส่องมาถึงเท่านั้น โจทก์คงมี ว. เป็นประจักษ์พยานเพียงปากเดียว เมื่อเกิดเหตุแล้ว ว. ไม่ได้บอกคนอื่นว่าใครเป็นคนทำร้ายผู้ตาย ครั้นเจ้าพนักงานตำรวจไปทำการชันสูตรพลิกศพและสอบปากคำ ว.ว. ก็ไม่ได้บอกเจ้าพนักงานตำรวจเกี่ยวกับตัวคนร้ายเช่นเดียวกัน จึงไม่น่าเชื่อว่าในที่เกิดเหตุจะมีแสงสว่างพอให้ ว. จำคนร้ายได้ จำเลยให้การปฏิเสธตลอดมา พยานหลักฐานโจทก์จึงยังไม่เพียงพอให้รับฟังลงโทษจำเลยได้ และไม่ต้องวินิจฉัยพยานหลักฐานจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในอาคารพิพาทที่ก่อสร้างบนที่ดินของผู้อื่น แม้มีข้อตกลงให้กรรมสิทธิ์แต่ต้องจดทะเบียนจึงมีผลต่อบุคคลภายนอก
ข้อตกลงตามหนังสือก่อสร้างต่างตอบแทนว่า โจทก์ตกลงก่อสร้างอาคารพิพาทบนที่ดินของจำเลยที่ 1 โดยโจทก์จะได้รับกรรมสิทธิ์ในตัวอาคารพิพาทเพื่อประกอบธุรกิจสถานบันเทิงจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2545 ข้อตกลงดังกล่าวแม้มีผลทำให้โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในอาคารพิพาทตามข้อยกเว้นในเรื่องส่วนควบ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 109 แต่ก็เป็นเพียงบุคคลสิทธิที่อาจเรียกร้องและบังคับระหว่างกันเองได้เท่านั้น ข้อตกลงที่ให้โจทก์ได้รับกรรมสิทธิ์เหนืออาคารพิพาทเป็นทรัพย์สิทธิ์อันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง โจทก์และจำเลยที่ 1 มิได้ทำการจดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ใน อาคารต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ใน อาคารพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์สินจึงไม่บริบูรณ์ ใช้ยันต่อจำเลยที่ 2 ผู้รับจำนองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4062/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ไม่จดทะเบียน โมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเงินคืน
ตามหนังสือสัญญามีข้อความว่า วันที่ 7 เมษายน 2529 จำเลยได้ขายบ้านพร้อมที่ดิน 1 แปลง ให้แก่โจทก์เป็นเงิน 60,000 บาท ได้รับชำระราคาจากโจทก์แล้ว และยอมมอบทรัพย์สินที่ขายให้แก่โจทก์วันที่ 30 สิงหาคม 2529 เมื่อสิ้นกำหนดสัญญานี้แล้ว หากจำเลยไม่นำเงินมาชำระคืนในจำนวนดังกล่าว จำเลยจะมอบให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ซื้อเพียงผู้เดียว สัญญาดังกล่าวเป็นการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 ในข้อสัญญาไม่มีข้อความว่าคู่สัญญาจะไปทำการจดทะเบียนการโอนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในภายหลัง เพียงแต่มีข้อกำหนดในการชำระราคาคืนอันเป็นเงื่อนไขบังคับหลัง และข้อกำหนดในการมอบทรัพย์สินที่ขายให้แก่โจทก์อันเป็นเงื่อนเวลาเท่านั้น จึงเป็นสัญญาซื้อขายเด็ดขาดหาใช่สัญญาจะซื้อจะขายไม่ เมื่อมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงตกเป็นโมฆะตามมาตรา 115 โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเงินคืนโดยอาศัยมูลจากสัญญาซื้อขายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3991/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิด พ.ร.บ.ศุลกากร: จำเลยต้องพิสูจน์การเสียภาษีของสินค้าที่ซื้อเข้ามา
ความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิจะต้องเป็นการซื้อของที่ตนรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ซึ่งหน้าที่พิสูจน์ในกรณีนี้ตกอยู่แก่จำเลยที่จะต้องมีภาระการพิสูจน์ว่าสินค้าของกลางซึ่งได้นำเข้ามาจากต่างประเทศได้เสียภาษีโดยถูกต้องแล้ว ดังที่มาตรา 100 บัญญัติไว้หาใช่เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะนำสืบไม่ เมื่อจำเลยไม่นำสืบ เพียงแต่อ้างว่าเป็นสินค้าที่จำหน่ายโดยถูกต้องตามกฎหมาย เพราะขายในตลาดสุขาภิบาลโดยเปิดเผย จึงเป็นความเข้าใจของจำเลยที่ไม่ได้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวกับกรณีนี้ และไม่เป็นข้อแก้ตัวให้พ้นผิด จึงต้องฟังว่าจำเลยซื้อสินค้าของกลางโดยรู้ว่ายังไม่ได้เสียค่าภาษี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3991/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระการพิสูจน์การนำเข้าสินค้าและการหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรตกอยู่แก่ผู้ซื้อ จำเลยต้องพิสูจน์ว่าได้เสียภาษีถูกต้องแล้ว
หน้าที่พิสูจน์ว่าสินค้าผ้าของกลางที่นำเข้ามาจากต่างประเทศได้เสียภาษีถูกต้องหรือไม่ ตกอยู่แก่จำเลยผู้ซื้อสินค้าผ้าของกลางจะต้องมีภาระการพิสูจน์ว่าได้มีการเสียภาษีถูกต้องแล้วตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 100 หาใช่เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะนำสืบไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3991/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระการพิสูจน์การหลีกเลี่ยงอากร: ผู้ซื้อต้องพิสูจน์ว่าได้เสียภาษีแล้ว
ความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27ทวิ ต้องเป็นการซื้อของที่ตนรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ซึ่งภาระการพิสูจน์ดังกล่าวนี้ตกอยู่แก่จำเลยผู้ซื้อที่จะต้องพิสูจน์ว่าสินค้าผ้าของกลางได้เสียภาษีโดยถูกต้องแล้วดังที่พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469มาตรา 100 บัญญัติไว้หาใช่เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะนำสืบไม่ เมื่อจำเลยไม่นำสืบคดีต้องฟังว่าจำเลยซื้อผ้าของกลางโดยรู้ว่ายังไม่ได้เสียค่าภาษี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3978/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหวงห้ามที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดิน การดำเนินการตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ และการพิจารณาการหวงห้ามโดยไม่ต้องมีพระราชกฤษฎีกา
ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นตามธรรมดารัฐยอมใช้เพื่อประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์รวมกันได้ ส่วนวิธีการที่จะหวงห้ามนั้นย่อมแตกต่างกันไปตามกาลสมัย เพิ่งมาบัญญัติเป็นกฎหมายขึ้นใช้บังคับเมื่อ พ.ศ. 2478 โดยพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่า อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินพ.ศ. 2478 ซึ่งได้หวงห้ามโดยวิธีการออกเป็นพระราชกฤษฎีกาและประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ต่อมาพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ถูกยกเลิกไปโดยพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา4(6) ดังนั้นเมื่อการสงวนหวงห้ามที่ดินพิพาทเป็นการสงวนหรือหวงห้ามตามประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 8 ตรี ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 334 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2515โดยเป็นกฎหมายที่ออกมาภายหลังจากที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่า อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. 2478 ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว การหวงห้ามจึงไม่จำต้องดำเนินการโดยออกเป็นพระราชกฤษฎีกาและประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามพระราชบัญญัติดังกล่าวอีก
of 22