พบผลลัพธ์ทั้งหมด 211 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3961/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสต้องรอการหย่า แม้มีการจำหน่ายทรัพย์สินไปแล้ว ก็ให้ถือเสมือนว่ายังมีอยู่เพื่อแบ่ง
โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยากันโดยไม่ได้ทำสัญญา ในเรื่องทรัพย์สินก่อนสมรส ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาในเรื่องทรัพย์สินต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 หมวด 4 ว่าด้วยทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1533 และ 1534กำหนดว่า จะแบ่งสินสมรสได้เมื่อมีการหย่าและแม้คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะจำหน่ายสินสมรสไปเพื่อประโยชน์ของฝ่ายเดียวหรือในกรณีอื่น ๆ ก็ให้ถือเสมือนว่าทรัพย์สินนั้นคงมีอยู่เพื่อจัดแบ่งสินสมรส โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนรถยนต์ แต่ปัญหาชั้นฎีกามีเพียงให้จำเลยชำระเงินที่ได้จากการ ขายรถยนต์ซึ่งเป็นคำขอแบ่งสินสมรส เมื่อกฎหมายให้ถือเสมือนว่ารถยนต์ยังคงมีอยู่เพื่อจัดการแบ่งสินสมรส โจทก์ไม่ได้รับความเสียหายจึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3961/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภริยาที่ยังไม่ได้หย่า การจำหน่ายสินสมรสโดยมิได้รับความยินยอม
จำเลยที่ 1 ขายรถยนต์ซึ่งเป็นสินสมรสให้แก่จำเลยที่ 2 โดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ยังเป็นสามีภริยากันอยู่และไม่ปรากฏว่าได้ทำสัญญากันไว้ในเรื่องทรัพย์สินเป็นพิเศษก่อนสมรส ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาของโจทก์และจำเลยที่ 1 ในเรื่องทรัพย์สินนั้น จึงต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 หมวด 4 ว่าด้วยทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1534จะมีการแบ่งสินสมรสได้ต่อเมื่อมีการหย่ากันเท่านั้น และแม้คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะจำหน่ายสินสมรสไปเพื่อประโยชน์ของตนฝ่ายเดียวหรือในกรณีอื่นตามที่มาตรา 1534 บัญญัติไว้กฎหมายก็ให้ถือเสมือนว่าทรัพย์สินนั้นยังคงมีอยู่เพื่อจัดแบ่งสินสมรส เมื่อกฎหมายให้ถือเสมือนว่ารถยนต์ยังคงมีอยู่เพื่อจัดแบ่งสินสมรสแล้ว โจทก์ก็ไม่ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกร้องเงินที่ได้จากการขายรถยนต์จากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3961/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสต้องหลังหย่า การจำหน่ายสินสมรสระหว่างเป็นสามีภริยาไม่ทำให้เกิดสิทธิเรียกร้องแบ่งสินสมรส
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1533 การจะแบ่งสินสมรสได้ต้องมีการหย่ากันเท่านั้น เมื่อไม่มีการหย่าแม้คู่สมรสจะจำหน่ายสินสมรสไปเพื่อประโยชน์ของตนแต่ฝ่ายเดียว มาตรา 1534 ก็ให้ถือเสมือนว่าทรัพย์สินนั้นคงมีอยู่เพื่อจัดแบ่งสินสมรสตามมาตรา 1533 กฎหมายมิได้มุ่งประสงค์ให้แบ่งสินสมรสกันได้หากคู่สมรสยังเป็นสามีภริยากันอยู่ ฉะนั้น แม้โจทก์จะฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนรถยนต์สินสมรสแต่ปัญหาชั้นฎีกามีเพียงคำขอของโจทก์ให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ซึ่งเป็นคำขอแบ่งสินสมรสเท่านั้น เมื่อกฎหมายให้ถือเสมือนว่ารถยนต์ยังคงมีอยู่เพื่อจัดแบ่งสินสมรส โจทก์ก็ไม่ได้รับความเสียหาย จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินที่ได้จากการขายรถยนต์พิพาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3961/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรส: แม้จำหน่ายทรัพย์สินไปแล้ว ก็ยังถือเสมือนมีอยู่เพื่อแบ่ง
โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยากันโดยไม่ได้ทำสัญญาในเรื่องทรัพย์สินก่อนสมรส ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาในเรื่องทรัพย์สินต้องบังคับตาม ป.พ.พ.บรรพ 5 หมวด 4 ว่าด้วยทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา ซึ่งตามป.พ.พ. มาตรา 1533 และ 1534 กำหนดว่า จะแบ่งสินสมรสได้เมื่อมีการหย่าและแม้คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะจำหน่ายสินสมรสไปเพื่อประโยชน์ของตนฝ่ายเดียวหรือในกรณีอื่น ๆ ก็ให้ถือเสมือนว่าทรัพย์สินนั้นคงมีอยู่เพื่อจัดแบ่งสินสมรส
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนรถยนต์ แต่ปัญหาชั้นฎีกามีเพียงให้จำเลยชำระเงินที่ได้จากการขายรถยนต์ซึ่งเป็นคำขอแบ่งสินสมรส เมื่อกฎหมายให้ถือเสมือนว่ารถยนต์ยังคงมีอยู่เพื่อจัดการแบ่งสินสมรส โจทก์ไม่ได้รับความเสียหายจึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินดังกล่าว
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนรถยนต์ แต่ปัญหาชั้นฎีกามีเพียงให้จำเลยชำระเงินที่ได้จากการขายรถยนต์ซึ่งเป็นคำขอแบ่งสินสมรส เมื่อกฎหมายให้ถือเสมือนว่ารถยนต์ยังคงมีอยู่เพื่อจัดการแบ่งสินสมรส โจทก์ไม่ได้รับความเสียหายจึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3938/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งจ่ายเช็คจากบัญชีเดินสะพัด: ผลผูกพันต่อผู้ทำสัญญา แม้ผู้สั่งจ่ายไม่ใช่เจ้าของบัญชี
สัญญาบัญชีเดินสะพัดอาจมีข้อตกลงระหว่างลูกค้ากับธนาคารให้บุคคลอื่นนอกจากเจ้าของบัญชีเงินฝากมีอำนาจสั่งจ่ายเงินได้เมื่อเช็คถูกต้องตามเงื่อนไขและเงินฝากในบัญชีมีเพียงพอ ธนาคารก็ต้องจ่ายเงินให้แก่ผู้ทรงเช็ค และกรณีเช่นนี้แม้บุคคลอื่นเป็นผู้สั่งจ่ายเงินก็ตาม ย่อมผูกพันลูกค้าผู้ทำสัญญาบัญชีเดินสะพัดต้องร่วมรับผิดต่อธนาคาร.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3904/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขฟ้อง, ประเด็นพิพาท, การสละข้อหา, อำนาจไกล่เกลี่ย, และการไม่จำเป็นต้องแก้ไขคำให้การ
โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องภายหลังยื่นคำฟ้อง ศาลแรงงานมีคำสั่งอนุญาต ในวันนัดพิจารณา ศาลแรงงานมีอำนาจไกล่เกลี่ยคู่ความให้ตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกัน และโจทก์แถลงสละข้อหาตามคำฟ้องเพิ่มเติมดังกล่าวในวันนี้ได้การที่ศาลแรงงานกำหนดประเด็นพิพาทแห่งคดีและมีคำสั่งให้โจทก์นำพยานเข้าสืบในวันเดียวกัน จึงชอบด้วยวิธีพิจารณาความแล้ว
เมื่อโจทก์ได้สละข้อหาตามคำฟ้องเพิ่มเติมไปแล้ว จำเลยจึงไม่จำต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การในประเด็นดังกล่าวเข้ามาอีก เพราะไม่เป็นสาระแก่คดี
เมื่อโจทก์ได้สละข้อหาตามคำฟ้องเพิ่มเติมไปแล้ว จำเลยจึงไม่จำต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การในประเด็นดังกล่าวเข้ามาอีก เพราะไม่เป็นสาระแก่คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3904/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องและการสละข้อหาในคดีแรงงาน ศาลอนุญาตได้หากไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ
โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องภายหลังยื่นคำฟ้อง ศาลแรงงานมีคำสั่งอนุญาต ในวันนัดพิจารณา ศาลแรงงานมีอำนาจไกล่เกลี่ยคู่ความให้ตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกันและโจทก์แถลงสละข้อหาตามคำฟ้องเพิ่มเติมดังกล่าวในวันนี้ได้ การที่ศาลแรงงานกำหนดประเด็นพิพาทแห่งคดีและมีคำสั่ง ให้โจทก์นำพยานเข้าสืบในวันเดียวกัน จึงชอบด้วย วิธีพิจารณาความแล้ว เมื่อโจทก์ได้สละข้อหาตามคำฟ้องเพิ่มเติมไปแล้วจำเลยจึงไม่จำต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การในประเด็นดังกล่าวเข้ามาอีก เพราะไม่เป็นสาระแก่คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3891/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเบี้ยปรับสัญญาซื้อขาย: ฟ้องเรียกค่าเสียหายตามสัญญา (เบี้ยปรับ) มีอายุความ 10 ปี ไม่ใช่ 1 ปี
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาซื้อขายโดยส่งมอบสิ่งของล่าช้าและส่งมอบสิ่งของบางส่วนไม่ตรงตามที่ตกลงซื้อขายกัน ขอให้บังคับจำเลยชำระเบี้ยปรับตามสัญญา เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้าในสัญญา เป็นเบี้ยปรับซึ่งมีอายุความ 10 ปี มิใช่เป็นการฟ้องเพื่อให้รับผิดในการส่งมอบทรัพย์ขาดตกบกพร่องหรือล้ำจำนวนซึ่งมีอายุความ 1 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 467
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3891/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเบี้ยปรับสัญญาซื้อขาย: ฟ้องภายใน 10 ปี ไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเบี้ยปรับตามสัญญาในกรณีที่จำเลยผิดสัญญาส่งมอบสิ่งของให้แก่โจทก์ล่าช้าและส่งมอบสิ่งของบางส่วนไม่ตรงตามที่ตกลงซื้อขายกันอันเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้าในสัญญาเป็นเบี้ยปรับซึ่งมีอายุความสิบปีไม่ใช่เป็นการฟ้องเพื่อให้รับผิดในการส่งมอบทรัพย์ขาดตกบกพร่องหรือล้ำจำนวนตามสัญญาซื้อขายซึ่งมีอายุความหนึ่งปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 467
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3851/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเนื่องจากเหตุจำเป็นและเหตุสุดวิสัย การหยุดงานเนื่องจากเหตุจำเป็นและการประกาศภาวะฉุกเฉินถือเป็นเหตุอันสมควร
โจทก์หยุดงานไปตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม 2535 ถึงวันที่ 20พฤษภาคม 2535 เนื่องจากโจทก์มีความจำเป็นต้องไปร่วมงานบวชน้องเขยที่ต่างจังหวัดประกอบกับในระหว่างที่โจทก์หยุดงานและอยู่ที่ต่างจังหวัดนั้น ได้มีการประกาศภาวะฉุกเฉินไม่มีรถยนต์โดยสารแล่นเข้ากรุงเทพมหานคร จึงเป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถเดินทางกลับมาทำงานได้ ดังนี้ การหยุดงานหรือการละทิ้งหน้าที่ของโจทก์จึงเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยมีเหตุอันสมควร กรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามข้อ47(4) ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานจำเลยจะเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าวโดยไม่จ่ายค่าชดเชยหาได้ไม่