คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุชาติ สุขสุมิตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 211 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3851/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเนื่องจากเหตุจำเป็นและเหตุสุดวิสัย การหยุดงานเนื่องจากเหตุจำเป็นและการประกาศภาวะฉุกเฉินถือเป็นเหตุอันสมควร
โจทก์หยุดงานไปตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม 2535 ถึงวันที่ 20พฤษภาคม 2535 เนื่องจากโจทก์มีความจำเป็นต้องไปร่วมงานบวชน้องเขยที่ต่างจังหวัดประกอบกับในระหว่างที่โจทก์หยุดงานและอยู่ที่ต่างจังหวัดนั้น ได้มีการประกาศภาวะฉุกเฉินไม่มีรถยนต์โดยสารแล่นเข้ากรุงเทพมหานคร จึงเป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถเดินทางกลับมาทำงานได้ ดังนี้ การหยุดงานหรือการละทิ้งหน้าที่ของโจทก์จึงเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยมีเหตุอันสมควร กรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามข้อ47(4) ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานจำเลยจะเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าวโดยไม่จ่ายค่าชดเชยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3675/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาอุทธรณ์คำวินิจฉัย คชก.จังหวัด: นับจากวันที่ คชก.จังหวัดมีคำวินิจฉัย ไม่รอการรับทราบ
พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 57 กำหนดระยะเวลาให้คู่กรณีหรือผู้มีส่วนในการเช่านาที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัด ยื่นอุทธรณ์คำวินิจฉัยได้อย่างช้าที่สุดไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่ คชก.จังหวัดมีคำวินิจฉัย กำหนดระยะเวลาดังกล่าวไม่คำนึงถึงว่าผู้อุทธรณ์ได้ทราบถึงคำวินิจฉัยนั้นแล้วหรือไม่ เมื่อ คชก.จังหวัดมีคำวินิจฉัย วันที่ 29 พฤษภาคม 2533 แต่โจทก์ยื่นอุทธรณ์ขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยในวันที่ 13 สิงหาคม 2533ซึ่งพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่ คชก.จังหวัดมีคำวินิจฉัยโจทก์จึงไม่มีอำนาจอุทธรณ์คำวินิจฉัยนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3675/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาอุทธรณ์คำวินิจฉัย คชก.จังหวัด: นับแต่วันมีคำวินิจฉัย แม้ผู้อุทธรณ์ยังไม่ทราบ
พระราชบัญญัติ ญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 57ได้กำหนดระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดไว้อย่างช้าที่สุดไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่ คชก.จังหวัดมีคำวินิจฉัยกำหนดระยะเวลาอย่างช้าที่สุดดังกล่าวไม่คำนึงว่าผู้อุทธรณ์ได้ทราบถึงคำวินิจฉัยนั้นแล้วหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3675/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดระยะเวลาอุทธรณ์คำวินิจฉัยคชก.จังหวัด: นับแต่วันมีคำวินิจฉัย แม้ผู้ถูกวินิจฉัยยังไม่ทราบ
พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา57 กำหนดระยะเวลาให้คู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียในการเช่านาที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัด ยื่นอุทธรณ์คำวินิจฉัยได้อย่างช้าที่สุดไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่ คชก.จังหวัดมีคำวินิจฉัย กำหนดระยะเวลาดังกล่าวไม่คำนึงถึงว่าผู้อุทธรณ์ได้ทราบถึงคำวินิจฉัยนั้นแล้วหรือไม่ เมื่อ คชก.จังหวัด มีคำวินิจฉัย วันที่ 29 พฤษภาคม 2533 แต่โจทก์ยื่นอุทธรณ์ขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยในวันที่ 13 สิงหาคม 2533 ซึ่งพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่ คชก.จังหวัดมีคำวินิจฉัย โจทก์จึงไม่มีอำนาจอุทธรณ์คำวินิจฉัยนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3671/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยุบพรรคการเมืองเนื่องจากไม่ส่งผู้สมัครหรือส่งไม่ครบตามกฎหมาย
พรรคการเมืองไม่ส่งสมาชิกเข้ารับสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือส่งสมาชิกสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่ละพรรคไม่ถึง 120 คนนายทะเบียนพรรคการเมืองขอให้ศาลแพ่งไต่สวนคำร้องและทำความเห็นส่งให้ศาลฎีกามีคำสั่งยกเลิกพรรคการเมืองตามพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524 มาตรา 46 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3584/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส.ท. บิดาต่างด้าว: ศาลฎีกาวินิจฉัย 'บิดา' ตามกฎหมายครอบคลุมทั้งที่ชอบด้วยกฎหมายและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำว่า บิดา ตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลพ.ศ. 2482 มาตรา 20 และ 20 ทวิ หมายถึง ทั้งบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายและบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3584/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส.ท. บิดาต่างด้าว: พิจารณาจากความเป็นจริงและวัตถุประสงค์การพัฒนาท้องถิ่น
การพิจารณาคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลนั้นหาได้มุ่งถือสถานะของบุคคลผู้สมัครรับเลือกตั้งแต่เพียงฝ่ายเดียวเป็นสาระสำคัญไม่แต่จะต้องคำนึงถึงเชื้อชาติตามความเป็นจริง วัยและประสบการณ์ ตลอดจนความผูกพันต่อท้องถิ่นที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งเกี่ยวข้องอยู่ด้วยในเขตเลือกตั้งประกอบกัน การที่ พ.ร.บ. การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. 2482 ได้กล่าวถึงลักษณะและคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งไว้ใน มาตรา 20และ มาตรา 20 ทวิ ก็เพื่อให้ได้ตัวสมาชิกสภาเทศบาลที่เป็นบุคคลในท้องถิ่น ซึ่งสามารถเข้ามามีสิทธิร่วมในการบริหารและพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากวัตถุประสงค์ดังกล่าวผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลที่มีบิดาเป็นคนต่างด้าว คำว่า "บิดา" จึงหมายถึงทั้งบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายและบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3528/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งคำฟ้องฎีกาเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาฎีกา และการถือว่าจำเลยทราบคำสั่งตามที่ระบุไว้
วันที่ 25 มีนาคม 2535 ทนายความจำเลยผู้มีอำนาจใช้สิทธิฎีกาได้มอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นฎีกาคำร้องคำแถลงเสียค่าฤชาธรรมเนียมศาลและนำหมายฎีกา ในวันเดียวกันนั้นเองเสมียนทนายได้ลงนามรับทราบข้อความที่ว่า "ให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 1 เมษายน 2535 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว" ต่อมาวันที่ 27 มีนาคม 2535 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำฟ้องฎีกาของจำเลยให้จำเลยนำส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์ภายใน 5 วัน จึงต้องถือว่าจำเลยได้ทราบคำสั่งดังกล่าวแล้ว การที่จำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินการภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งถือได้ว่าเป็นการทิ้งคำฟ้องฎีกาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(2) ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3526/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้ว่าจ้างสั่งการหน้าที่พนักงาน และความรับผิดของผู้ค้ำประกันสัญญาจ้าง
สัญญาจ้างระหว่างจำเลยผู้รับจ้างกับโจทก์ผู้ว่าจ้างมีข้อความว่า ผู้รับจ้างยอมปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับและคำสั่งของผู้ว่าจ้างหรือบุคคลที่ผู้ว่าจ้างมอบหมายทุกประการ โจทก์ผู้ว่าจ้างจึงมีสิทธิโดยชอบที่จะออกคำสั่งมอบหมายให้จำเลยซึ่งมีตำแหน่งเป็นเสมียนพนักงานไปทำหน้าที่เกี่ยวกับการเงินได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนตำแหน่งของจำเลย คำสั่งโจทก์เป็นไปตามข้อตกลงในสัญญาจ้าง ไม่ก่อให้เกิดการเสี่ยงต่อความเสียหายเพิ่มมากขึ้นนอกเหนือจากข้อตกลงตามสัญญาจ้างผูัค้ำประกันการทำงานของจำเลยจึงต้องผูกพันตามสัญญาค้ำประกัน เมื่อจำเลยทำผิดสัญญาจ้างก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ผู้ค้ำประกันต้องร่วมกับจำเลยรับผิดต่อโจทก์ด้วย
สิทธิเรียกร้องอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน กฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้เป็นพิเศษ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3526/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีลูกจ้างเบียดบังเงินนายจ้าง: เลือกฟ้องตามสัญญาจ้างหรือละเมิดได้, อายุความ 10 ปี
ลูกจ้างนำเงินของนายจ้างไปใช้ส่วนตัว นายจ้างย่อมมีสิทธิจะเลือกฟ้องให้ลูกจ้างรับผิดต่อนายจ้างได้ทั้งตามสัญญาจ้างแรงงานและในมูลละเมิด สำหรับสิทธิเรียกร้องอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน กฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้เป็นพิเศษ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30เมื่อโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญาจ้างแรงงาน จึงมีอายุความ 10 ปี
of 22