คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุชาติ สุขสุมิตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 211 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5589/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีที่ไม่ถูกต้องและการแก้ไขคำฟ้องที่ไม่กระทบสิทธิคู่ความ ศาลอุทธรณ์มีอำนาจเพิกถอนคำสั่งได้
ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาถึงชั้นนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2531 แล้ว ก่อนวันนัดดังกล่าว โจทก์ยื่นคำร้องลงวันที่ 7เมษายน 2531 ขอแก้ไขคำฟ้องจากเดิมที่ขอเรียกค่าเสียหายนับแต่วันทำละเมิดเป็นนับแต่วันที่โจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต และสั่งคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องต่อไปว่า "สำเนาให้จำเลย ส่งธรรมดาไม่ได้ให้ปิด" ขณะเดียวกันจำเลยที่ 3 ได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีในวันนัดสืบพยานโจทก์วันที่11 เมษายน 2531 ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนไปวันที่ 15 มิถุนายน 2531 ต่อมาเจ้าหน้าที่ศาลรายงานต่อศาลชั้นต้นว่า โจทก์ไม่มานำส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องขอแก้ไขคำฟ้อง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531 ว่า ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องให้จำหน่ายคดี และเมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 15 มิถุนายน 2531ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า โจทก์ขาดนัดพิจารณา ให้จำหน่ายคดีของโจทก์อีกครั้งหนึ่ง ดังนี้คำสั่งจำหน่ายคดีเป็นผลให้คดีเสร็จไปจากศาล โดยไม่ต้องมีคำวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดี นอกเหนือจากการวินิจฉัยชี้ขาดคดีโดยทำเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีในกรณีใดนั้น ย่อมเป็นไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 132 ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีนี้เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531 เป็นการอ้างเหตุตามมาตรา 132 (1) และเมื่อมีคำสั่งจำหน่ายคดีแล้ว มีผลทำให้คดีเสร็จไปจากศาลชั้นต้นการที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมาจนมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา และมีคำสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2531 ซ้ำอีกจึงเป็นการไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2531จึงไม่มีผลใช้บังคับ คงเหลือเพียงคำสั่งจำหน่ายคดีเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531ดังนั้น เมื่อโจทก์เห็นว่าคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531ไม่ชอบ โจทก์ย่อมอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ และมิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่า คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเป็นการพิจารณาผิดระเบียบ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจสั่งให้เพิกถอนได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27
คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่ยกคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นโดยให้เพิกถอนการพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ผิดระเบียบ ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่นั้น เป็นผลทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 เสียประโยชน์ จำเลยที่ 1 ที่ 2ย่อมมีสิทธิฎีกาได้ตามหลักทั่วไป และคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ในกรณีนี้ก็หาได้มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นที่สุดไม่ จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงฎีกาในข้อนี้ได้
คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องในคดีนี้เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์ประสงค์แก้ไขให้ถูกต้องตามสิทธิของโจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยที่มีสิทธิเรียกเอาเงินที่ตนได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยนับแต่วันที่ใช้เงินไป มิใช่นับแต่วันที่มีการละเมิด ทั้งการแก้ไขดังกล่าวไม่เป็นคุณแก่โจทก์ คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเช่นนี้จึงไม่อยู่ในบังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 180, 181 คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้ส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยก็เป็นเพียงเพื่อให้รับทราบเท่านั้น ทั้งการสั่งให้ปิดหมายนัดก็มิได้สั่งให้โจทก์ปฏิบัติเช่นใดให้ชัดเจน และเมื่อมิใช่คำฟ้องตั้งต้นคดีซึ่งโจทก์มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (1) แล้วบทบัญญัตินี้ก็จะนำมาใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์ไม่ได้ จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5589/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีเนื่องจากทิ้งฟ้อง การเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดี และอำนาจศาลอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกเมื่อวันที่ 11 เมษายน2531 ก่อนวันนัดโจทก์ยื่นคำร้องลงวันที่ 7 เมษายน 2531ขอแก้ไขคำฟ้อง ศาลมีคำสั่งอนุญาต และสั่งคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องต่อไปว่า "สำเนาให้จำเลย ส่งธรรมดาไม่ได้ ให้ปิด"ขณะเดียวกันจำเลยได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนไป วันที่ 15 มิถุนายน 2531 ต่อมาเจ้าหน้าที่ศาลรายงานว่า โจทก์ไม่นำส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องขอแก้ไขคำฟ้อง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531 ว่า ถือว่า โจทก์ทิ้งฟ้อง ให้จำหน่ายคดี และเมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ วันที่ 15 มิถุนายน 2531 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา ให้จำหน่ายคดีของโจทก์อีกครั้งหนึ่งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำหน่ายคดี เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม2531 เป็นกรณีการอ้างเหตุตามมาตรา 132(1)แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และเมื่อมีคำสั่งจำหน่ายคดีแล้ว มีผลทำให้คดีเสร็จไปจากศาลชั้นต้นดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นกลับดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมาจนมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา และมีคำสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์ซ้ำอีก จึงเป็นการไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงไม่มีผลใช้บังคับคงเหลือเพียงคำสั่งจำหน่ายคดีเมื่อวันที่19 พฤษภาคม 2531 เมื่อโจทก์เห็นว่าคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531 ไม่ชอบโจทก์ย่อมอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่า คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเป็นการพิจารณาผิดระเบียบศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจสั่งให้เพิกถอนได้ตามมาตรา 27 คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่เป็นผลทำให้จำเลยเสียประโยชน์ จำเลยย่อมมีสิทธิฎีกาได้ตามหลักทั่วไป และคำพิพากษา ของศาลอุทธรณ์ในกรณีที่ให้เพิกถอนการพิจารณาของศาลชั้นต้น ที่ผิดระเบียบให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาพิพากษาใหม่ ตามรูปคดีหาได้มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นที่สุดไม่ จำเลย จึงฎีกาในข้อนี้ได้ ตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องขอแก้จากเดิมที่ขอเรียกค่าเสียหาย นับแต่วันทำละเมิดเป็นนับแต่วันที่โจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทน ให้แก่ผู้เอาประกันภัย เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์ ประสงค์จะแก้ไขให้ถูกต้องตามสิทธิของโจทก์ในฐานะที่โจทก์ เป็นผู้รับประกันภัยที่มีสิทธิเรียกเอาเงินที่ตนได้ใช้ ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันนับแต่วันที่ใช้เงินไปมิใช่นับแต่วันที่มีการละเมิด ทั้งการแก้ไขดังกล่าวไม่เป็นคุณแก่โจทก์คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเช่นนี้จึงไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 180,181 คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้ส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยก็เป็นเพียงเพื่อให้รับทราบเท่านั้น และเมื่อมิใช่คำฟ้องตั้งต้นคดีซึ่งโจทก์มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามมาตรา 174(1) แล้ว บทบัญญัตินี้ก็จะนำมาใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์อันจะถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5589/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีและการเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีเนื่องจากกระบวนการพิจารณาคดีที่ไม่ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาถึงชั้นนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2531 แล้ว ก่อนวันนัดดังกล่าวโจทก์ยื่นคำร้องลงวันที่ 7 เมษายน 2531 ขอแก้ไขคำฟ้องจากเดิมที่ขอเรียกค่าเสียหายนับแต่วันทำละเมิดเป็นนับแต่วันที่โจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต และสั่งคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องต่อไปว่า "สำเนาให้จำเลย ส่งธรรมดาไม่ได้ให้ปิด" ขณะเดียวกันจำเลยที่ 3ได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีในวันนัดสืบพยานโจทก์วันที่11 เมษายน 2531 ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนไปวันที่15 มิถุนายน 2531 ต่อมาเจ้าหน้าที่ศาลรายงานต่อศาลชั้นต้นว่า โจทก์ไม่มานำส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531 ว่า ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องให้จำหน่ายคดี และเมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 15 มิถุนายน 2531 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า โจทก์ขาดนัดพิจารณา ให้จำหน่ายคดีของโจทก์อีกครั้งหนึ่ง ดังนี้คำสั่งจำหน่ายคดีเป็นผลให้คดีเสร็จไปจากศาล โดยไม่ต้องมีคำวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดี นอกเหนือจากการวินิจฉัยชี้ขาดคดีโดยทำเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีในกรณีใดนั้น ย่อมเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีนี้เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531 เป็นการอ้างเหตุตามมาตรา 132(1) และเมื่อมีคำสั่งจำหน่ายคดีแล้วมีผลทำให้คดีเสร็จไปจากศาลชั้นต้น การที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมาจนมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา และมีคำสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2531ซ้ำอีกจึงเป็นการไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2531จึงไม่มีผลใช้บังคับ คงเหลือเพียงคำสั่งจำหน่ายคดีเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531 ดังนั้น เมื่อโจทก์เห็นว่าคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531ไม่ชอบ โจทก์ย่อมอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ และมิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเป็นการพิจารณาผิดระเบียบศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจสั่งให้เพิกถอนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่ยกคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นโดยให้เพิกถอนการพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ผิดระเบียบ ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่นั้น เป็นผลทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 เสียประโยชน์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 ย่อมมีสิทธิฎีกาได้ตามหลักทั่วไป และคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ในกรณีนี้ก็หาได้มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นที่สุดไม่ จำเลยที่ 1ที่ 2 จึงฎีกาในข้อนี้ได้ คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องในคดีนี้เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์ประสงค์แก้ไขให้ถูกต้องตามสิทธิของโจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยที่มีสิทธิเรียกเอาเงินที่ตนได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยนับแต่วันที่ใช้เงินไป มิใช่นับแต่วันที่มีการละเมิด ทั้งการแก้ไขดังกล่าวไม่เป็นคุณแก่โจทก์ คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเช่นนี้จึงไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 180,181 คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้ส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยก็เป็นเพียงเพื่อให้รับทราบเท่านั้น ทั้งการสั่งให้ปิดหมายนัดก็มิได้สั่งให้โจทก์ปฏิบัติเช่นใดให้ชัดเจนและเมื่อมิใช่คำฟ้องตั้งต้นคดีซึ่งโจทก์มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(1)แล้วบทบัญญัตินี้ก็จะนำมาใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์ไม่ได้จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5586/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินของทายาทและอายุความฟ้องเรียกคืน
พ. เจ้ามรดกมิได้ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ พ. จึงอยู่ในฐานะเป็นผู้ครอบครองที่พิพาทแทนโจทก์ทั้งสี่และว.พี่สาวของโจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดก แม้โจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตายหรือนับแต่โจทก์ทั้งสี่ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก คดีโจทก์ทั้งสี่ก็ไม่ขาดอายุความ
เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่พิพาทไปยังโจทก์ทั้งสี่และ ว.พี่สาวโจทก์ทั้งสี่ผู้เป็นทายาทของเจ้ามรดกว่าไม่มีเจตนาจะยึดถือที่พิพาทแทนอีกต่อไป จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ทั้งสี่ไม่ได้ฟ้องเรียกที่พิพาทคืนภายใน 1 ปี นับแต่จำเลยแย่งการครอบครอง จึงขาดสิทธิฟ้องเรียกคืนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5586/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทและการครอบครองมรดก: อายุความฟ้องเรียกคืน และการเปลี่ยนแปลงลักษณะการครอบครอง
พ. เจ้ามรดกมิได้ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ พ. จึงอยู่ในฐานะเป็นผู้ครอบครองที่พิพาทแทนโจทก์ทั้งสี่และว. พี่สาวของโจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดก แม้โจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตายหรือนับแต่โจทก์ทั้งสี่ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายเจ้าของมรดกคดีโจทก์ทั้งสี่ก็ ไม่ขาดอายุความ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้บอกกล่าวเปลี่ยนเป็นลักษณะแห่งการยึดถือที่พิพาทไปยังโจทก์ทั้งสี่และว.พี่สาวโจทก์ทั้ง สี่ผู้เป็นทายาทของเจ้ามรดกว่าไม่มีเจตนาจะยึดถือที่พิพาทแทนอีกต่อไป จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ทั้งสี่ไม่ได้ฟ้องเรียกที่พิพาทคืนภายใน 1 ปี นับแต่จำเลยแย่งการครอบครอง จึงขาดสิทธิฟ้องเรียกคืนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2233/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากร: ราคาอันแท้จริง, การโต้แย้ง, และขอบเขตอำนาจฟ้องภาษีอากร
หลักเกณฑ์ตามคำสั่งทั่วไป กรมศุลกากร ที่ 28/2527เรื่อง ระเบียบปฎิบัติ เกี่ยวกับการประเมินราคาอะไหล่ยานยนต์ที่สรุปได้ว่า การประเมินอะไหล่ยานยนต์ที่ใช้ทดแทนอะไหล่แท้ที่มีแหล่งกำเนิดของสินค้านอกจากโซนเอเซียให้ต่างกันได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของราคาอะไหล่แท้ ซึ่งกรมศุลกากรจำเลยได้ถือเป็นเกณฑ์ประเมินราคาสินค้าของโจทก์เพิ่มขึ้นจากเดิมนั้น เป็นแนวปฎิบัติ เพื่อหาราคาที่เป็นจริงของสินค้าที่ นำเข้าว่ามีราคาอันแท้จริงในท้องตลาดราคาใดเท่านั้นหาเป็นกฎเกณฑ์ตายตัวว่า ราคาของสินค้าที่นำเข้าจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของคำสั่งฉบับที่กล่าวถึงทุกกรณีไปไม่ เพราะเป็นคำสั่งที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างและการปฎิบัติ เช่นนี้จะประเมินราคาได้ก็ต่อเมื่อไม่มีข้อมูลหรือพฤติการณ์อื่นที่ปรากฎเมื่อโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงว่า การซื้อสินค้าชุดลูกสูบรถยนต์มีราคา 24,822.50 ดอลลาร์ สหรัฐ โดยมีข้อสนับสนุนเป็นพยานหลักฐานยืนยันได้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นใบกำกับสินค้าล่วงหน้า คำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต และตั๋วแลกเงินที่โจทก์ออกให้แก่ธนาคาร โดยเฉพาะใบรับเงินของธนาคารซึ่งเป็นธนาคารผู้เปิดเครดิตของโจทก์ผู้ซื้อสินค้าให้แก่ผู้ขายในต่างประเทศ โดยที่ธนาคารเป็นฝ่ายที่สามไม่ได้เกี่ยวข้องเป็นคู่สัญญาในการซื้อขายโดยตรง แต่เข้ามาในฐานะธนาคารเป็นผู้รับประกันว่า จะมีการชำระราคาให้ผู้ขาย ในเมื่อมีการส่งมอบสินค้าแล้ว ตามประเพณีการค้าระหว่างประเทศที่ถือปฎิบัติล้วนแต่มีจำนวนราคาสินค้าที่เป็นจำนวนตรงกันทั้งสิ้น จึงเชื่อ ได้ว่าราคาที่โจทก์สำแดงไว้นั้นเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 2 ในกรณีปกติ หากผู้นำเข้ายื่นแบบแสดงรายการการค้าเพื่อเสียอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลอย่างถูกต้องทั้งพิกัดอัตราศุลกากรและราคาอันแท้จริงในท้องตลาด และไม่เป็นของต้องห้ามหรือต้องจำกัด เมื่อได้ผ่านพิธีการทางศุลกากร และเสียภาษีอากรถูกต้องแล้ว การชำระภาษีอากรดังกล่าวก็มิใช่เป็นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลกฎหมายรัษฎากร แต่ในกรณีนี้จำเลยโต้แย้งราคาสินค้าว่าโจทก์สำแดงราคาต่ำกว่าราคาที่จำเลยถือปฎิบัติ ทุกรายการจะต้องเพิ่มราคาสินค้าเพื่อคำนวณภาษีอากรประเภทต่าง ๆเพิ่มขึ้นอีก 900,386.20 บาท การกำหนดราคาที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวจึงต้องถือว่ามิใช่ความสมัครใจหรือยินยอมของโจทก์อันแท้จริง เพราะโจทก์สำแดงราคาสินค้าเพิ่มขึ้นโดยสงวนสิทธิการโต้แย้งราคาไว้ที่ด้านหลังของใบขนสินค้าขาเข้า แล้วพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจึงบันทึกว่าเพิ่มราคาแล้วพอใจบัญชีราคาสินค้า การเสียภาษีอากรของโจทก์จึงมิใช่เป็นการยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าด้วยตนเองตามปกติ แต่สืบเนื่องมาจากการตรวจสอบของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยเกี่ยวกับราคาซึ่งโจทก์เองก็ไม่เห็นด้วยกับการเพิ่มราคาสินค้าขึ้น และได้สงวนสิทธิโต้แย้งราคาไว้จึงถือว่า เป็นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลกฎหมายรัษฎากรในส่วนภาษีการค้า ดังนั้น เมื่อภายหลังโจทก์อุทธรณ์การประเมินเกี่ยวกับราคาสินค้าต่อกรมศุลกากรแม้จะอ้างว่าเป็นไปตามระเบียบของจำเลย ก็เป็นสิทธิของโจทก์ในส่วนของอากรขาเข้าเท่านั้น ส่วนภาษีการค้าโจทก์มิได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 30(2) แห่งประมวลกฎหมายรัษฎากร จึงไม่มีอำนาจฟ้องในส่วนภาษีการค้าเช่นเดียวกับภาษีบำรุงเทศบาลซึ่งเป็นภาษีที่ต้องคำนวณต่อเนื่องเป็นอัตราที่แน่นอนโดยอาศัยภาษีการค้าเป็นฐาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2233/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากรที่ขัดแย้งกับราคาที่ผู้ซื้อสำแดง และการอุทธรณ์ภาษีอากร
หลักเกณฑ์ตามคำสั่งทั่วไป กรมศุลกากร ที่ 28/2527 เรื่องระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการประเมินราคาอะไหล่ยานยนต์ที่สรุปได้ว่า การประเมินอะไหล่ยานยนต์ที่ใช้ทดแทนอะไหล่แท้ที่มีแหล่งกำเนิดของสินค้านอกจากโซนเอเซียให้ต่างกันได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของราคาอะไหล่แท้ ซึ่งกรมศุลกากรจำเลยได้ถือเป็นเกณฑ์ประเมินราคาสินค้าของโจทก์เพิ่มขึ้นจากเดิมนั้น เป็นแนวปฏิบัติเพื่อหาราคาที่เป็นจริงของสินค้าที่นำเข้าว่ามีราคาอันแท้จริงในท้องตลาดราคาใดเท่านั้นหาเป็นกฎเกณฑ์ตายตัวว่า ราคาของสินค้าที่นำเข้าจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของคำสั่งฉบับที่กล่าวถึงทุกกรณีไปไม่ เพราะเป็นคำสั่งที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างและการปฏิบัติเช่นนี้จะประเมินราคาได้ก็ต่อเมื่อไม่มีข้อมูลหรือพฤติการณ์อื่นที่ปรากฏเมื่อโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงว่า การซื้อสินค้าชุดลูกสูบรถยนต์มีราคา 24,822.50ดอลลาร์สหรัฐ โดยมีข้อสนับสนุนเป็นพยานหลักฐานยืนยันได้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นใบกำกับราคาสินค้าล่วงหน้า คำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต และตั๋วแลกเงินที่โจทก์ออกให้แก่ธนาคาร โดยเฉพาะใบรับเงินของธนาคารซึ่งเป็นธนาคารผู้เปิดเครดิตของโจทก์ผู้ซื้อสินค้าให้แก่ผู้ขายในต่างประเทศ โดยที่ธนาคารเป็นฝ่ายที่สามไม่ได้เกี่ยวข้องเป็นคู่สัญญาในการซื้อขายโดยตรง แต่เข้ามาในฐานะธนาคารเป็นผู้รับประกันว่า จะมีการชำระราคาให้ผู้ขาย ในเมื่อมีการส่งมอบสินค้าแล้ว ตามประเพณีการค้าระหว่างประเทศที่ถือปฏิบัติ ล้วนแต่มีจำนวนราคาสินค้าที่เป็นจำนวนตรงกันทั้งสิ้นจึงเชื่อได้ว่าราคาที่โจทก์สำแดงไว้นั้นเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตาม พ.ร.บ.ศุลการ พ.ศ.2469 มาตรา 2
ในกรณีปกติ หากผู้นำเข้ายื่นแบบแสดงรายการการค้า เพื่อเสียอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล อย่างถูกต้องทั้งพิกัดอัตราศุลกากรและราคาอันแท้จริงในท้องตลาด และไม่เป็นของต้องห้ามหรือต้องจำกัด เมื่อได้ผ่านพิธีการทางศุลกากร และเสียภาษีอากรถูกต้องแล้ว การชำระภาษีอากรดังกล่าวก็มิใช่เป็นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน ตาม ป.รัษฎากร แต่ในกรณีนี้จำเลยโต้แย้งราคาสินค้าว่าโจทก์สำแดงราคาต่ำกว่าราคาที่จำเลยถือปฏิบัติทุกรายการ จะต้องเพิ่มราคาสินค้าเพื่อคำนวณภาษีอากรประเภทต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอีก 900,386.20 บาท การกำหนดราคาที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวจึงต้องถือว่ามิใช่ความสมัครใจหรือยินยอมของโจทก์อันแท้จริง เพราะโจทก์สำแดงราคาสินค้าเพิ่มขึ้นโดยสงวนสิทธิการโต้แย้งราคาไว้ที่ด้านหลังของใบขนสินค้าขาเข้า แล้วพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจึงบันทึกว่าเพิ่มราคาแล้วพอใจบัญชีราคาสินค้า การเสียภาษีอากรของโจทก์จึงมิใช่เป็นการยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าด้วยตนเองตามปกติ แต่สืบเนื่องมาจากการตรวจสอบของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยเกี่ยวกับราคาซึ่งโจทก์เองก็ไม่เห็นด้วยกับการเพิ่มราคาสินค้าขึ้น และได้สงวนสิทธิโต้แย้งราคาไว้ จึงถือว่า เป็นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินตาม ป.รัษฎากรในส่วนภาษีการค้า ดังนั้น เมื่อภายหลังโจทก์อุทธรณ์การประเมินเกี่ยวกับราคาสินค้าต่อกรมศุลกากร แม้จะอ้างว่าเป็นไปตามระเบียบของจำเลย ก็เป็นสิทธิของโจทก์ในส่วนของอากรขาเข้าเท่านั้น ส่วนภาษีการค้าโจทก์มิได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 30 (2) แห่ง ป.รัษฎากร จึงไม่มีอำนาจฟ้องในส่วนภาษีการค้า เช่นเดียวกับภาษีบำรุงเทศบาลซึ่งเป็นภาษีที่ต้องคำนวณต่อเนื่องเป็นอัตราที่แน่นอนโดยอาศัยภาษีการค้าเป็นฐาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1807/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์สินพระภิกษุ: เงินที่ได้ระหว่างสมณเพศเป็นสมบัติของวัด, ทายาทโดยธรรมไม่มีสิทธิ
เมื่อเจ้ามรดกเป็นพระภิกษุถึงแก่มรณภาพโดยมิได้ทำพินัยกรรมไว้เงินของเจ้ามรดกที่ได้มาในระหว่างที่อยู่ในสมณเพศจึงตกเป็นสมบัติของผู้คัดค้านซึ่งเป็นวัดที่เป็นภูมิลำเนาของเจ้ามรดก แม้ผู้ร้องที่ 2 จะเป็นบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้วและเป็นทายาทโดยธรรมก็หามีสิทธิในเงินดังกล่าวไม่ จึงไม่ใช่ทายาทสำหรับเงินจำนวนนี้ และมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะมาร้องขอให้ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1609/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าฤชาธรรมเนียมในคดีคนอนาถา: การชำระค่าธรรมเนียมที่ศาลในนามโจทก์
โจทก์ได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในศาลชั้นต้นการที่ศาลชั้นต้นเพียงแต่พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยไม่ระบุให้ชัดเจนว่าให้จำเลยชำระต่อศาลในนามของโจทก์นั้น จึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาแก้ไขให้จำเลยชำระค่าธรรมเนียมในศาลชั้นต้นที่โจทก์ได้รับการยกเว้นต่อศาลในนามของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1609/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าฤชาธรรมเนียมในคดีคนอนาถา: การชำระค่าธรรมเนียมต่อศาลในนามของโจทก์
โจทก์ได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในศาลชั้นต้น การที่ศาลชั้นต้นเพียงแต่พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยไม่ระบุให้ชัดเจนว่าให้จำเลยชำระต่อศาลในนามของโจทก์นั้น จึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาแก้ไขให้จำเลยชำระค่าธรรมเนียมในศาลชั้นต้นที่โจทก์ได้รับการยกเว้นต่อศาลในนามของโจทก์ได้
of 22