พบผลลัพธ์ทั้งหมด 289 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3304/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีทรัพย์สินที่มีทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท และการฎีกาข้อเท็จจริง
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้จำเลยแบ่งโอนที่ดินมรดก จำเลยต่อสู้ว่าเป็นที่ดินของจำเลย เมื่อปรากฏว่า คดีนี้เป็นคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ซึ่งคู่ความต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ที่โจทก์ทั้งสี่ฎีกาว่าพยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสี่มีน้ำหนักน่าเชื่อว่า จำเลยออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ไว้แทนโจทก์ที่ 2 คดีโจทก์ทั้งสี่ไม่ขาดอายุความนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2534 มาตรา 18ซึ่งมีผลใช้บังคับแล้วในวันที่โจทก์ทั้งสี่ยื่นฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3269/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงวันนัดพยานโดยมิชอบ โจทก์มีสิทธิขอเพิกถอนคำสั่ง
ศาลชั้นต้นสั่งคำร้องของโจทก์ในตอนแรกว่า นัดสืบพยานโจทก์ตามขอ ซึ่งหมายถึงวันที่ 16 มีนาคม 2533 เวลา 13.30 นาฬิกา ดังนั้นการที่ศาลหรือเจ้าพนักงานศาลมาเปลี่ยนวันนัดสืบพยานโจทก์ใหม่เป็นวันที่ 2มีนาคม 2533 เวลา 9 นาฬิกา เป็นการกำหนดหรือปฏิบัติผิดไปจากคำสั่งเดิมของศาลชั้นต้นดังกล่าวแล้วโดยชัดแจ้ง เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งดังกล่าวหรือได้มีการออกหรือส่งหมายนัดดังกล่าวไปให้โจทก์ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและไม่มีพยานมาสืบให้ยกฟ้องโจทก์และจำหน่ายคดีออกจากสารบบความจึงยังไม่ชอบ โจทก์ย่อมมีอำนาจขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3268/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการสืบพยานในคดีซื้อขายรถยนต์: ประเด็นสุจริต, เพิกถอนสัญญา, ความเสียหาย
เมื่อจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ก็มีหน้าที่นำสืบให้เต็มตามฟ้อง และคดียังมีประเด็นตามคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2และคำให้การแก้ฟ้องแย้งของโจทก์ว่า โจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริตหรือไม่ จำเลยที่ 2 มีสิทธิขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 หรือไม่ และจำเลยที่ 2 ได้รับความเสียหายเพียงใดหรือไม่อยู่อีกด้วยการที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้คู่ความสืบเฉพาะประเด็นว่าโจทก์ชำระเงินให้จำเลยที่ 1ครบถ้วนหรือไม่ จึงไม่ถูกต้อง ให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นทำการสืบพยานโจทก์และจำเลยที่ 2 ต่อไป แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3268/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดประเด็นผิดพลาดในคดีซื้อขายรถยนต์พิพาท ศาลต้องสืบพยานทั้งโจทก์และจำเลยที่ 2 เพื่อวินิจฉัยประเด็นสุจริตและค่าเสียหาย
เมื่อจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ก็มีหน้าที่นำสืบให้เต็มตามฟ้อง และคดียังมีประเด็นตามคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 และคำให้การแก้ฟ้องแย้งของโจทก์ว่า โจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริตหรือไม่จำเลยที่ 2 มีสิทธิขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 หรือไม่ และจำเลยที่ 2ได้รับความเสียหายเพียงใดหรือไม่อยู่อีกด้วย การที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้คู่ความสืบเฉพาะประเด็นว่าโจทก์ชำระเงินให้จำเลยที่ 1ครบถ้วนหรือไม่ จึงไม่ถูกต้อง ให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นทำการสืบพยานโจทก์และจำเลยที่ 2 ต่อไป แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3246/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ใหม่เมื่อส่งหมายไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นว่าชอบด้วยกระบวนพิจารณา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 140(3) บัญญัติว่าการอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่ง ให้อ่านข้อความทั้งหมดในศาลโดยเปิดเผยตามเวลาที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายนี้ต่อหน้าคู่ความทั้งสองฝ่ายหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง บทกฎหมายดังกล่าวบัญญัติเพียงว่าให้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งต่อหน้าคู่ความทั้งสองฝ่ายหรือฝ่ายหนึ่งโดยมิได้บังคับว่าต้องอ่านต่อหน้าคู่ความทุกฝ่ายเสมอไป การที่ศาลชั้นต้นงดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความทุกฝ่ายฟังเพราะไม่มีคู่ความมาศาล โดยปรากฏตามรายงานการเดินหมายว่ามีการปิดหมายให้จำเลยทั้งห้าไว้แล้ว จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามกฎหมายแล้ว ข้อเท็จจริงปรากฏภายหลังว่า การส่งหมายโดยวิธีปิดหมายดังกล่าวไม่ชอบเพราะเป็นการปิดหมาย ณ ภูมิลำเนาของทนายจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งได้ย้ายไปก่อนปิดหมายแล้ว ก็ไม่ทำให้การอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เสียไป ที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้เฉพาะทนายจำเลยที่ 1 และที่ 2 ฟังใหม่ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ ไม่จำต้องอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ฟังอีกเพราะถือว่าได้อ่านตามกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3246/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เฉพาะคู่ความที่ยังไม่ทราบคำพิพากษา โดยไม่จำต้องอ่านให้คู่ความอื่นฟังอีก
บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 140(3)บัญญัติแต่เพียงว่าให้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งต่อหน้าคู่ความทั้งสองฝ่ายหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยมิได้บังคับว่าต้องอ่านต่อหน้าคู่ความทุกฝ่ายเสมอไป ในวันนัดฟังคำพิพากษาศาลครั้งแรกซึ่งศาลชั้นต้นแจ้งวันนัดให้จำเลยทั้งห้าทราบโดยวิธีปิดหมายนั้นไม่มีคู่ความมาศาล ศาลชั้นต้นจึงสั่งงดการอ่านโดยถือว่าได้อ่านให้คู่ความฟังแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงเพิ่งปรากฏในภายหลังตามคำร้องของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ว่า การปิดหมายแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ชอบ ศาลชั้นต้นย่อมชอบที่จะอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้เฉพาะจำเลยที่ 1 และที่ 2ฟังใหม่ โดยไม่จำต้องอ่านให้โจทก์และจำเลยอื่นฟังอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3162/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ vs. ฉ้อโกง กรณีลูกจ้างธนาคารแก้ไขข้อมูลเงินฝาก
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของธนาคารโจทก์ร่วม สาขาพะเยาตำแหน่งเจ้าหน้าที่อำนวยการบริการ และเป็นผู้ควบคุมเงินฝากไม่เกิน 1,000,000 บาท และมีอำนาจอนุมัติให้ถอนเงินในวงเงินไม่เกิน 500,000 บาท จำเลยที่ 2 เดิมเป็นลูกค้าของโจทก์ร่วมเปิดบัญชีสะสมทรัพย์ที่สาขาสะพานใหม่ดอนเมืองจำเลยที่ 2 ได้โอนบัญชีเงินฝากดังกล่าวซึ่งมีเงินต้น12,015,.66 บาท และดอกเบี้ย 39.82 บาท ไปฝากต่อที่สาขาพะเยา จำเลยที่ 1 ได้อนุมัติให้จำเลยที่ 2 เปิดบัญชีได้ และจำเลยที่ 1 ได้บันทึกรายการลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ระบุว่าจำเลยที่ 2 มีเงินฝากเงินต้น 12,015.66 บาทและดอกเบี้ย 398,200 บาท มากกว่าความเป็นจริง ต่อมาจำเลยที่ 2 ได้ถอนเงินจากบัญชีจำนวน 200,000 บาท และ ต่อมาถอนอีก 202,000 บาท โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ ลงลายมือชื่ออนุมัติ การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการหลอกลวง ให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อว่าจำเลยที่ 2 มีเงินฝากในบัญชีคือ ดอกเบี้ยมากกว่าความเป็นจริง มิใช่เป็นการหลอกลวงให้โจทก์ร่วม ส่งมอบเงินให้แก่จำเลยทั้งสอง จึงไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง แต่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3063/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการฟ้องร้องกรณีบุกรุกทำเหมืองในพื้นที่คำขอประทานบัตร: โจทก์ยังไม่มีสิทธิครอบครองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์เป็นเพียงผู้ยื่นคำขอประทานบัตรทำเหมืองแร่ แต่ยังมิได้รับประทานบัตร หากระหว่างดำเนินการของพนักงานเจ้าหน้าที่มีผู้มาขุดแร่ในพื้นที่คำขอประทานบัตรรัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหายโดยตรงเพราะโจทก์ยังไม่มีสิทธิเข้าไปกระทำการใด ๆ แก่พื้นที่และไม่มีสิทธิครอบครอง แร่ที่มีอยู่ในเขตพื้นที่ตามคำขอยังเป็นสมบัติของรัฐอยู่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2984/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกลบลำเหมืองกีดขวางการใช้น้ำของผู้อื่น เป็นละเมิด แต่การบังคับให้ขุดเองเป็นอำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดี
โจทก์ทั้งสามฟ้องว่า จำเลยได้ทำละเมิดโดยการกลบลำเหมืองบนทางสาธารณะ ทำให้น้ำไม่ไหล ต้นข้าวของโจทก์ทั้งสามเสียหายการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้พิพากษาตามคำขอของโจทก์ว่า หากจำเลยไม่ยอมขุดลำเหมืองที่จำเลยกลบให้คืนสู่สภาพเดิม ให้โจทก์ทั้งสามเป็นผู้ขุดเองโดยให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายและค่าจ้างนั้นเป็นการไม่ชอบด้วยวิธีการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ทวิ เพราะเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะดำเนินการตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2959/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินโดยยังมิได้จดทะเบียน: ผลทางกฎหมายตาม ป.พ.พ. และ ป.ที่ดิน
พระภิกษุ ป. ทำหนังสือยกที่ดินให้โจทก์และ พ.มารดาจำเลยคนละครึ่งโดยมอบอำนาจให้โจทก์ยื่นคำร้องขอออก น.ส.3 รังวัดแบ่งแยกให้แก่โจทก์และจด-ทะเบียนโอนส่วนที่เหลือให้แก่ พ. ต่อมาได้มีการรังวัดแล้ว แต่ยังไม่ทันแบ่งแยก ป.มรดกภาพเสียก่อน จากข้อเท็จจริงดังกล่าวเมื่อนำมาประกอบกับข้อความในพินัยกรรมของป.ที่ยกเลิกการยกที่พิพาทแก่โจทก์ แสดงว่า ป.ประสงค์จะยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยการทำนิติกรรมและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หาใช่เป็นกรณีเจตนาสละการครอบ-ครองไม่ จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 525 และ ป.ที่ดิน มาตรา4 ทวิ เมื่อการให้รายนี้ยังไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ นิติกรรมให้จึงไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย