พบผลลัพธ์ทั้งหมด 289 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2959/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินให้โดยมิได้จดทะเบียน การครอบครอง และการโอนมรดกตามพินัยกรรม
พระภิกษุ ป. ทำหนังสือยกที่ดินให้โจทก์และ พ. มารดาจำเลยคนละครึ่งโดยมอบอำนาจให้โจทก์ยื่นคำร้องขอออก น.ส.3 รังวัดแบ่งแยกให้แก่โจทก์และจดทะเบียนโอนส่วนที่เหลือให้แก่ พ. ต่อมาได้มีการรังวัดแล้ว แต่ยังไม่ทันแบ่งแยก ป. มรณภาพเสียก่อน จากข้อเท็จจริงดังกล่าวเมื่อนำมาประกอบกับข้อความในพินัยกรรมของ ป. ที่ยกเลิกการยกที่พิพาทแก่โจทก์ แสดงว่า ป. ประสงค์จะยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยการทำนิติกรรมและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หาใช่เป็นกรณีเจตนาสละการครอบครองไม่ จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 และประมวลที่ดิน มาตรา 4 ทวิเมื่อการให้รายนี้ยังไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ นิติกรรมให้จึงไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2959/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินต้องทำตามฟอร์มและจดทะเบียน การครอบครองจึงไม่สมบูรณ์หากยังมิได้จดทะเบียน
การยกให้ที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก)โดยผู้ให้ประสงค์จะยกให้โดยการทำนิติกรรมและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิใช่เจตนาสละการครอบครอง การให้จะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 และประมวลกฎหมายที่ดินฯมาตรา 4 ทวิ เมื่อ ป. เจ้าของที่ดิน น.ส.3 ก ยกที่ดินพิพาทให้แก่จ. แต่ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ นิติกรรมให้จึงไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย การที่ จ. เข้าครอบครองที่ดินจึงเป็นการครอบครองแทนเจ้าของ มิใช่ยึดถือครอบครองในฐานะเจ้าของ จึงไม่มีสิทธิครอบครอง ต่อมา ป. ยกเลิกการให้ที่ดินพิพาทแก่ จ. และได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทให้แก่ ล. แทน เมื่อ ป. ถึงแก่กรรมล. ได้จดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินพิพาทตามพินัยกรรมของ ป.แล้วจ. จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกร้องที่ดินพิพาทจาก ล.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2802/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเพิกถอนจำนอง: โจทก์ต้องแสดงว่ามีการโอนสิทธิในที่ดินที่สมบูรณ์จากจำเลยก่อน จึงมีอำนาจฟ้องได้
โจทก์อ้างว่าได้ซื้อที่ดินตามฟ้องมาจากจำเลย โดยตัวแทนของจำเลยนำมาขายให้โจทก์ แต่ตามทางนำสืบของโจทก์กลับได้ความว่าจำเลยมีสิทธิเพียงเป็นผู้จะซื้อและผู้รับจำนองตามหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายและหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันเท่านั้น สิทธิครอบครองความเป็นเจ้าของในที่ดินตามฟ้องยังมิได้ตกมาเป็นของจำเลยแต่อย่างใด จำเลยหรือตัวแทนของจำเลยย่อมไม่มีสิทธิที่จะนำมาโอนขายให้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์ไม่ได้รับโอนที่ดินพิพาทมาจากจำเลยโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยไปจัดการเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองได้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246,247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2754/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานละเว้นหน้าที่ปล่อยผู้ต้องหาหลบหนี ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหายและกรมตำรวจ
ผู้เสียหายแจ้งให้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจจับกุม ส.เมื่อจำเลยจับตัว ส.ได้แล้วจำเลยมีหน้าที่ต้องรีบนำตัวส.ส่งพนักงานสอบสวนทันทีโดยไม่ชักช้า การที่จำเลยยอมให้ ส.แวะพบญาติแล้วเป็นเหตุให้ ส. หลบหนีไปในระหว่างควบคุมตัวส่งพนักงานสอบสวน ถือว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหายและกรมตำรวจ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2600/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการรับผิดหนี้จากการครอบครองทรัพย์มรดก: ผู้ไม่เป็นทายาทโดยชอบด้วยกฎหมายไม่มีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 1 มีฐานะเพียงผู้ครอบครองทรัพย์มรดกของผู้ตายเท่านั้นมิได้เป็นภริยา-โดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย จึงไม่เป็นทายาทโดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่เป็นผู้รับมรดกของผู้ตาย โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดชดใช้หนี้ของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2600/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับมรดกและการชำระหนี้จากกองมรดก: ผู้ครอบครองทรัพย์มิใช่ทายาท ย่อมไม่มีสิทธิรับมรดก
จำเลยที่ 1 มิใช่ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย มีฐานะเพียงผู้ครอบครองทรัพย์มรดกของผู้ตายเท่านั้น จึงไม่ได้เป็นทายาทและไม่ได้เป็นผู้รับมรดกตามกฎหมาย เพราะสิทธิการรับมรดกเป็นเรื่องเฉพาะตัวมิได้ถือเอาการครอบครองทรัพย์ของผู้ตายเป็นเกณฑ์เจ้าหนี้ของผู้ตายจึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้เอาทรัพย์สินจากกองมรดกชำระหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2570/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ผู้จัดการมรดก & อำนาจศาลตั้งผู้จัดการมรดก: แม้ละเลยหน้าที่ แต่ไม่เพิกถอนหากไม่เสียหาย & ศาลมีอำนาจตัดสินใจ
หน้าที่สำคัญประการหนึ่งของผู้จัดการมรดกคือต้องทำบัญชีทรัพย์มรดกเพื่อแสดงให้ทายาททราบว่าเจ้ามรดกมีทรัพย์มรดกอยู่เท่าไร การที่ผู้ร้องมิได้ทำบัญชีทรัพย์มรดกจึงเป็นการละเลยต่อหน้าที่ แต่เมื่อทรัพย์มรดกนอกพินัยกรรมเหลือแบ่งแก่ทายาทมีเพียงที่ดินแปลงเดียวพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งทายาททุกคนทราบดีอยู่แล้ว และการไม่จัดทำบัญชีก็มีเกิดจากการทุจริตหรือความไม่สามารถของผู้ร้องและมิได้มีความเสียหายเกิดขึ้นแต่อย่างใด จึงไม่จำเป็นต้องเพิกถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดก การตั้งบุคคลใดเป็นผู้จัดการมรดกเป็นอำนาจของศาลโดยเฉพาะเพื่อประโยชน์ของกองมรดกตามพฤติการณ์และโดยคำนึงถึงเจตนาเจ้ามรดกเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก และคดีถึงที่สุดแล้วผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิคัดค้านในเรื่องนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2496/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าซื้อช่วงรถยนต์และการชดใช้ราคาจากผู้ให้เช่าซื้อเดิมเมื่อสัญญาเช่าซื้อเดิมสิ้นสุด
โจทก์เช่าซื้อรถยนต์จากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ของจำเลยที่ 2 โดยโจทก์ทราบว่า รถยนต์คันดังกล่าวเป็นรถยนต์ของจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1 เช่าซื้อจากจำเลยที่ 2มาจำหน่าย และจำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญาให้โจทก์เช่าซื้อช่วงรถยนต์คันดังกล่าว โจทก์ชำระค่าเช่าซื้อให้จำเลยที่ 1 ครบถ้วนแล้ว แต่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อที่ทำไว้กับจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้วจำเลยที่ 2 ย่อมมีสิทธิยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนไปจากโจทก์ได้แต่การที่โจทก์เช่าซื้อรถยนต์จากจำเลยที่ 1 ซึ่งถือเป็นพ่อค้าตามความหมายดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1332 โดยสุจริต โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับชดใช้ราคารยนต์ที่ซื้อมาจากจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2414/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกที่ชอบด้วยกฎหมายไปยังสำนักทำการงานของหุ้นส่วนผู้จัดการ และผลของการขาดนัดยื่นคำให้การ
เจ้าพนักงานศาลได้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 2หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ที่สำนักงานแห่งใหญ่ของจำเลยที่ 1ซึ่งระบุไว้ในหนังสือรับรองนายทะเบียนสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทถือว่าเจ้าพนักงานศาลได้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 2ที่สำนักทำการงานของจำเลยที่ 2 โดยชอบแล้ว การที่จำเลยที่ 2 มิได้ยื่นคำให้การภายในกำหนด ทั้งมิได้แจ้งเหตุขัดข้องต่อศาลภายในกำหนดเวลา ทั้งทราบวันนัดสืบพยานโจทก์แล้วยังขาดนัดพิจารณา ฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ไม่มีเหตุอนุญาตให้พิจารณาใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2276/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทุเลาการบังคับคดี: ศาลต้องสอบถามความเห็นโจทก์เรื่องหลักประกันก่อนมีคำสั่ง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์ที่ขอให้สั่งให้จำเลยที่ 1นำเงินหรือหลักประกันมาวางเป็นประกันในการขอทุเลาการบังคับคดีให้ครบตามคำสั่งศาลฎีกา โจทก์อุทธรณ์คำสั่ง อุทธรณ์คำสั่งของโจทก์ดังกล่าวเป็นเรื่องเนื้อหาเกี่ยวเนื่องกับคำสั่งขอทุเลาการบังคับคดีซึ่งเป็นอำนาจแต่ละชั้นศาล ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งของโจทก์ได้ ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น ไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้สอบถามโจทก์ว่าพอใจในหลักประกันของจำเลยที่ 1 ตามที่จำเลยที่ 1 แถลงหรือไม่ คงฟังจากคำแถลงของทนายจำเลยที่ 1 แต่เพียงฝ่ายเดียวและมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ทำหนังสือประกันชั้นฎีกาไปเลยโดยที่โจทก์ไม่มีโอกาสคัดค้าน ทั้งไม่มีกฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องคัดค้านคำสั่งดังกล่าวเสียในวันนัด ดังนั้นการที่โจทก์มิได้คัดค้านจึงไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยที่ 1 นำเงินหรือหลักประกันมาวางให้ครบตามคำสั่งของศาลฎีกา