คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สนัด หมายสวัสดิ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 289 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2216/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมยกทรัพย์สินตัดสิทธิทายาท การเพิกถอนผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม
ศาลมีคำสั่งตั้งให้จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย แต่ได้ความภายหลังว่าก่อนตาย ผู้ตายได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ทั้งหมดให้แก่โจทก์ที่ 1 และตั้งให้โจทก์ที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดก จำเลยจึงถูกตัดมิให้รับมรดก และไม่มีสิทธิที่จะร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก จึงมีเหตุเพิกถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2171/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเช่าที่ดินและตึกแถวตามสัญญาต่างตอบแทน สัญญาเดิมไม่ผูกพันผู้รับโอนกรรมสิทธิ์
ฟ้องแย้งที่จำเลยกล่าวอ้างว่าจำเลยได้ทำสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่ากับผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทให้จำเลยปลูกสร้างตึกแถวลงในที่ดินพิพาท แล้วยกตึกแถวให้เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าโดยผู้ให้เช่ายินยอมให้จำเลยเช่ามีกำหนด 9 ปี เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าแล้วก็ยอมให้จำเลยเช่าต่อได้อีก เมื่อโจทก์ทั้งสี่เป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์จากผู้ให้เช่าเดิมจึงต้องมีความผูกพันตามสัญญาที่มีอยู่เดิมด้วย ข้ออ้างของจำเลยดังกล่าวหากจะมี ก็เป็นสัญญาระหว่างจำเลยกับผู้ให้เช่าเดิม เป็นเพียงบุคคลสิทธิที่มีผลบังคับระหว่างคู่สัญญาเท่านั้น โจทก์ทั้งสี่เป็นบุคคลภายนอกจึงหาผูกพันด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2145/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจงดการขายทอดตลาดหลังศาลชั้นต้นยกคำร้องขัดทรัพย์ และฐานะผู้ร้องขัดทรัพย์ตามมาตรา 288
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 ที่บัญญัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดี เมื่อได้รับคำร้องขัดทรัพย์แล้วให้งดการขายทอดตลาดทรัพย์สินนั้นไว้ระหว่างรอคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาล หมายถึงศาลที่ออกหมายบังคับคดีนั้นเอง คือศาลชั้นต้น หาได้หมายถึงศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่ ดังนี้เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ยกคำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องเจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจขายทรัพย์ดังกล่าวได้ ผู้ร้องขัดทรัพย์อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดของผู้ร้อง และขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งงดการขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้องก่อนศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจใช้ดุลพินิจว่ามีเหตุสมควรที่จะให้งดการขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวหรือไม่ ผู้ร้องขัดทรัพย์อ้างว่า ทรัพย์ที่โจทก์ยึดเพื่อขายทอดตลาดในคดีนี้เป็นทรัพย์ที่ผู้ร้องมีกรรมสิทธิ์รวมอยู่ด้วย ดังนี้ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอกันส่วนของผู้ร้องในทรัพย์ที่จะขายทอดตลาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ผู้ร้องไม่ได้มีฐานะเป็นผู้ร้องขัดทรัพย์ตามมาตรา 288 จึงไม่มีเหตุที่จะงดการขายทอดตลาดทรัพย์ไว้ในระหว่างอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2073/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: ที่อยู่ของจำเลยคือถิ่นฐานสำคัญ ไม่ใช่เรือนจำชั่วคราว
"ที่อยู่" ตามนัยมาตรา 22(1) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หมายถึงถิ่นอันบุคคลนั้นมีสถานที่อยู่เป็นแหล่งสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 37การที่จำเลยถูกขังอยู่ที่เรือนจำในคดีอื่นซึ่งอยู่ระหว่างพิจารณาก็เป็นเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น และในระหว่างพิจารณาจำเลยอาจได้รับการปล่อยชั่วคราวหรือในที่สุดศาลอาจพิพากษายกฟ้องปล่อยตัวจำเลยก็ได้ เรือนจำดังกล่าวจึงมิใช่ที่อยู่ของจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 22(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2014/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์ในกุฏิพระ: กุฏิไม่ใช่สถานที่บูชาสาธารณะ แต่เป็นเคหสถาน
กุฏิพระเป็นเคหสถาน แต่ไม่ใช่สถานที่บูชาสาธารณะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2014/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์ในกุฏิพระ: กุฏิเป็นเคหสถานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(8)
คำว่า "กุฏิ" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525หมายความว่า "เรือนหรือตึกสำหรับพระภิกษุสามเณรอยู่" ดังนั้นกุฏิพระจึงเป็นเพียงที่อยู่อาศัยของพระภิกษุสามเณรเท่านั้น จึงเป็น"เคหสถาน" ตามนัยมาตรา 1(4) แห่งประมวลกฎหมายอาญา และหาใช่สถานที่บูชาสาธารณะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(9) ด้วยไม่การลักทรัพย์ในบริเวณกุฏิพระ จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335(8)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1879/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดหุ้นของสมาชิกสหกรณ์: เงื่อนไขหนี้ต้องเคารพสิทธิผู้ถือหุ้นก่อน
การอายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ซึ่งมีต่อบุคคลภายนอกหาอาจกระทำให้มีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิของบุคคลภายนอกได้ไม่เมื่อหนี้ของผู้ร้องที่จะต้องคืนเป็นค่าหุ้นให้แก่จำเลยทั้งสองเป็นหนี้มีเงื่อนไขว่า ผู้ร้องจะต้องคืนให้ต่อเมื่อจำเลยทั้งสองพ้นจากการเป็นสมาชิกของผู้ร้องแล้ว แม้ศาลจะออกคำสั่งอายัดให้ได้แต่คำสั่งศาลดังกล่าวจะเป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขแห่งหนี้นั้นหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1797/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าพนักงานตำรวจ การทำเอกสารปลอม และการเบิกความเท็จในชั้นศาล
เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจที่ทำการจับกุมโจทก์มีหน้าที่ทำและกรอกข้อความในบันทึกการจับกุมได้ทำและกรอกข้อความลงในบันทึกการจับกุมนั้น โดยลงลายมือชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำบันทึก พร้อมทั้งให้โจทก์ในฐานะผู้ต้องหาลงลายมือชื่อจนเป็นเอกสารที่ครบถ้วนบริบูรณ์แล้ว การที่จำเลยที่ 1 ไปเขียนเติมข้อความอีกว่าสอบถามผู้ต้องหาแล้วให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา ซึ่งไม่เป็นความจริงจึงเป็นการเติมข้อความในเอกสารที่แท้จริง น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์อันเป็นการทำเอกสารปลอมขึ้นบางส่วนโดยอาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าที่นั้นแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 161
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการจับกุมผู้กระทำความผิดได้จับกุมโจทก์ในข้อหาปลอมเอกสาร แต่กรอกข้อความเพิ่มเติมลงในบันทึกจับกุมว่า สอบถามโจทก์แล้วให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหาทั้งที่ทราบว่าข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบโดยมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ เพราะบันทึกการจับกุมดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอย่างหนึ่งที่ศาลอาจฟังลงโทษโจทก์ได้ การกระทำของจำเลยที่ 1จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เบิกความว่า "ข้าพเจ้าเข้าไปแสดงตัวเป็นเจ้าพนักงานและขอจับกุมโดยแสดงหมายจับให้จำเลยที่ 1 ดูด้วยข้าพเจ้าแจ้งข้อหาจำเลยฐานปลอมเอกสารตามข้อความในหมายจับ จำเลยให้การรับสารภาพ" ซึ่งเป็นความจริงและเป็นข้อสำคัญในคดี โจทก์หาได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เบิกความเท็จเป็นข้อสำคัญในคดีอย่างไร ฟ้องโจทก์จึงขาดการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำความผิดเท่าที่จะทำให้จำเลยที่ 1 เข้าใจข้อหาได้ดี ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 18 (5) ไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1ในข้อหานี้ได้
เมื่อศาลชั้นตันมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์มิได้อุทธรณ์ในข้อที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจสั่งยกคำร้องของโจทก์ที่ขออนุญาตซักค้านพยานอันเป็นการโต้แย้งในปัญหาข้อเท็จจริง โจทก์เพิ่งกล่าวอ้างขึ้นมาในชั้นฎีกา จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา249 วรรคแรก ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1797/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดเจ้าพนักงานเติมข้อความในบันทึกจับกุม และเบิกความเท็จ ส่งผลต่อการดำเนินคดีอาญา
เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจที่ทำการจับกุมโจทก์มีหน้าที่ทำและกรอกข้อความในบันทึกการจับกุมได้ทำและกรอกข้อความลงในบันทึกการจับกุมนั้น โดยลงลายมือชื่อ จำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำบันทึก พร้อมทั้งให้โจทก์ในฐานะผู้ต้องหา ลงลายมือชื่อจนเป็นเอกสารที่ครบถ้วนบริบูรณ์แล้ว การที่จำเลยที่ 1 ไปเขียนเติมข้อความอีกว่าสอบถามผู้ต้องหาแล้วให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา ซึ่งไม่เป็นความจริงจึงเป็นการเติมข้อความในเอกสารที่แท้จริง น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์อันเป็นการทำเอกสารปลอมขึ้น บางส่วนโดยอาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าที่นั้นแล้ว การกระทำ ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 161 จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการจับกุมผู้กระทำความผิดได้จับกุมโจทก์ในข้อหาปลอมเอกสาร แต่กรอกข้อความเพิ่มเติมลงในบันทึกจับกุม ว่า สอบถามโจทก์แล้วให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา ทั้งที่ทราบว่าข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริงจึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบโดยมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ เพราะบันทึกการจับกุมดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอย่างหนึ่งที่ศาลอาจฟังลงโทษโจทก์ได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เบิกความว่า"ข้าพเจ้าเข้าไปแสดงตัวเป็นเจ้าพนักงานและขอจับกุมโดยแสดงหมายจับให้จำเลยที่ 1 ดูด้วยข้าพเจ้าแจ้งข้อหาว่าจำเลยฐานปลอมเอกสารตามข้อความในหมายจับ จำเลยให้การรับสารภาพ" ซึ่งเป็นความจริงและเป็นข้อสำคัญในคดีโจทก์หาได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เบิกความเท็จเป็นข้อสำคัญในคดีอย่างไร ฟ้องโจทก์จึงขาดการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำความผิดเท่าที่จะทำให้จำเลยที่ 1เข้าใจข้อหาได้ดี ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158,18(5) ไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 ในข้อหานี้ได้ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์มิได้อุทธรณ์ในข้อที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจสั่งยกคำร้องของโจทก์ที่ขออนุญาตซักค้านพยานอันเป็นการโต้แย้งในปัญหาข้อเท็จจริงโจทก์เพิ่งกล่าวอ้างขึ้นมาในชั้นฎีกา จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรกประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1797/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานตำรวจเติมข้อความเท็จในบันทึกจับกุมและเบิกความเท็จ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 161
เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจที่ทำการจับกุมโจทก์มีหน้าที่ทำและกรอกข้อความในบันทึกการจับกุม ได้ทำและกรอกข้อความลงในบันทึกการจับกุมนั้น โดยลงลายมือชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำบันทึกพร้อมทั้งให้โจทก์ในฐานะผู้ต้องหาลงลายมือชื่อจนเป็นเอกสารที่ครบถ้วนบริบูรณ์แล้ว การที่จำเลยที่ 1 ไปเขียนเติมข้อความอีกว่าสอบถามผู้ต้องหาแล้วให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา ซึ่งไม่เป็นความจริงจึงเป็นการเติมข้อความในเอกสารที่แท้จริง น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์อันเป็นการทำเอกสารปลอมขึ้นบางส่วนโดยอาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าที่นั้นแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 161 จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการจับกุมผู้กระทำความผิดได้จับกุมโจทก์ในข้อหาปลอมเอกสาร แต่กรอกข้อความเพิ่มเติมลงในบันทึกจับกุมว่า สอบถามโจทก์แล้วให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา ทั้งที่ทราบว่าข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบโดยมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ เพราะบันทึกการจับกุมดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอย่างหนึ่งที่ศาลอาจฟังลงโทษโจทก์ได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เบิกความว่า "ข้าพเจ้าเข้าไปแสดงตัวเป็นเจ้าพนักงานและขอจับกุมโดยแสดงหมายจับให้จำเลยที่ 1ดูด้วย ข้าพเจ้าแจ้งข้อหาจำเลยฐานปลอมเอกสารตามข้อความในหมายจับจำเลยให้การรับสารภาพ" ซึ่งเป็นความเท็จและเป็นข้อสำคัญในคดี โจทก์หาได้บรรยายฟ้องว่าข้อที่จำเลยที่ 1 เบิกความเท็จเป็นข้อสำคัญในคดีอย่างไร ฟ้องโจทก์จึงขาดการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำความผิดเท่าที่จะทำให้จำเลยที่ 1 เข้าใจข้อหาได้ดี ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)ไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 ในข้อหานี้ได้ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์มิได้อุทธรณ์ในข้อที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจสั่งยกคำร้องของโจทก์ที่ขออนุญาตซักค้านพยานอันเป็นการโต้แย้งในปัญหาข้อเท็จจริง โจทก์เพิ่งกล่าวอ้างขึ้นมาในชั้นฎีกา จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา249 วรรคแรก ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 29