คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สนัด หมายสวัสดิ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 289 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 638/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดต่อสิ่งแวดล้อมต้องมีหลักฐานค่าใช้จ่ายที่ชัดเจน ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยแม้จำเลยมิได้ฎีกา
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องมาว่ากรมเจ้าท่าได้เสียค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปในการแก้ไขสิ่งเป็นพิษเป็นจำนวนเท่าใดมิได้ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายส่วนนี้จำนวนเท่าใดและข้อเท็จจริงก็ไม่ปรากฏว่ากรมเจ้าท่าได้เสียค่าใช้จ่ายในการแก้ไขสิ่งเป็นพิษเป็นจำนวนเท่าใดจึงไม่อาจกำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่กรมเจ้าท่าได้แม้ปัญหาข้อนี้จำเลยทั้งสองมิได้ฎีกาขึ้นมาก็ตามเนื่องจากเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6591/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำเลยฐานกระทำผิดในฐานะเจ้าพนักงาน vs. ผู้สนับสนุน และขอบเขตการรับฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง/ข้อกฎหมาย
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า สำหรับปัญหาที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกาข้อแรกตามฟ้องข้อ ก. นั้น ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่เกินห้าปีห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก ที่จำเลยที่ 1ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 มิได้กระทำการตามฟ้องโจทก์ เป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าว แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 ในประเด็นนี้มาก็เป็นการไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย และที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า การที่โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานปากใดมานำสืบพิสูจน์ให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดตามมาตรา 162 แล้ว จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดตามฟ้องโจทก์หรือไม่ฎีกาของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสอง ซึ่งได้วินิจฉัยเป็นยุติสำหรับจำเลยที่ 1 ไว้แล้วเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่า จำเลยที่ 1จะต้องรับผิดตามฟ้องหรือไม่ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าวข้างต้นเช่นกัน ส่วนความผิดตามฟ้องข้อ ข. ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 มาด้วยนั้น ปรากฏว่าความผิดข้อหานี้ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 5 ปี เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลล่างให้ลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก ที่จำเลยที่ 1ฎีกาว่า เอกสารหมาย จ.14 ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างหรือการเบิกจ่ายพัสดุและเอกสารหมาย จ.41 ที่พนักงานสอบสวนจัดทำขึ้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จะใช้ยันจำเลยที่ 1 ให้ต้องรับผิดตามฟ้องโจทก์ได้หรือไม่ เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสองซึ่งได้วินิจฉัยเป็นยุติสำหรับจำเลยที่ 1 ไว้ เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยที่ 1 ยกขึ้นอ้างจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าวที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 ในข้อนี้มา เป็นการไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย สำหรับจำเลยที่ 2 ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษอย่างเจ้าพนักงานซึ่งกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่นั้น จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างประจำของกรมชลประทานโจทก์ร่วม ซึ่งมิใช่ข้าราชการที่ได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมายว่าด้วยการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งหรือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งหน้าที่ซึ่งกฎหมายระบุไว้โดยเฉพาะให้ถือเป็นเจ้าพนักงาน จำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมายประมวลกฎหมายอาญา151,157 เป็นบทบัญญัติที่ลงโทษแก่บุคคลผู้กระทำผิดที่เป็นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่เท่านั้น แม้จำเลยที่ 2จะร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 กระทำผิดต่อบทบัญญัติดังกล่าวก็จะลงโทษจำเลยที่ 2 อย่างเจ้าพนักงานไม่ได้ คงลงโทษจำเลยที่ 2ได้แต่เพียงในฐานะผู้สนับสนุนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86เท่านั้น ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6591/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม - ข้อเท็จจริง vs. ข้อกฎหมาย และการลงโทษเจ้าพนักงาน
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า สำหรับปัญหาที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกาข้อแรกตามฟ้องข้อ ก. นั้น ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่เกินห้าปี ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 มิได้กระทำการตามฟ้องโจทก์ เป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าว แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 ในประเด็นนี้มาก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย และที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า การที่โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานปากใดมานำสืบพิสูจน์ให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดตามมาตรา 162 แล้ว จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดตามฟ้องโจทก์หรือไม่ ฎีกาของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสอง ซึ่งได้วินิจฉัยเป็นยุติสำหรับจำเลยที่ 1 ไว้แล้วเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่า จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดตามฟ้องหรือไม่ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าวข้างต้นเช่นกัน
ส่วนความผิดตามฟ้องข้อ ข. ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 มาด้วยนั้น ปรากฏว่าความผิดข้อหานี้ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 5 ปี เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลล่างให้ลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า เอกสารหมาย จ.14 ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างหรือการเบิกจ่ายพัสดุและเอกสารหมาย จ.41 ที่พนักงานสอบสวนจัดทำขึ้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จะใช้ยันจำเลยที่ 1 ให้ต้องรับผิดตามฟ้องโจทก์ได้หรือไม่ เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสองซึ่งได้วินิจฉัยเป็นยุติสำหรับจำเลยที่ 1 ไว้ เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยที่ 1 ยกขึ้นอ้าง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 ในข้อนี้มา เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
สำหรับจำเลยที่ 2 ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษอย่างเจ้าพนักงานซึ่งกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่นั้น จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างประจำของกรมชลประทานโจทก์ร่วม ซึ่งมิใช่ข้าราชการที่ได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมายว่าด้วยการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งหรือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งหน้าที่ซึ่งกฎหมายระบุไว้โดยเฉพาะให้ถือเป็นเจ้าพนักงาน จำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมายเนื่องจากบทบัญญัติประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162 (1) และมาตรา 147,151, 157 เป็นบทบัญญัติที่ลงโทษแก่บุคคลผู้กระทำผิดที่เป็นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่เท่านั้น แม้จำเลยที่ 2 จะร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 กระทำผิดต่อบทบัญญัติดังกล่าวก็จะลงโทษจำเลยที่ 2 อย่างเจ้าพนักงานไม่ได้ คงลงโทษจำเลยที่ 2 ได้แต่เพียงในฐานะผู้สนับสนุนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86เท่านั้น ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 2ไม่ได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6386/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกตามพินัยกรรม: การถอดถอนผู้จัดการมรดกและคุณสมบัติของผู้จัดการมรดก
การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกมิได้ทำบัญชีทรัพย์มรดกก็เพราะเหตุที่ผู้ร้องเห็นว่าผู้ตายได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้แก่ผู้ร้องและบุตรของผู้ร้องเท่านั้นและทรัพย์มรดกที่มีอยู่ทั้งหมดถูกระบุไว้ในพินัยกรรมแล้ว การไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกในกรณีเช่นนี้ยังไม่เป็นเหตุให้ถอนผู้จัดการมรดก การที่ผู้คัดค้านอ้างว่า ผู้ร้องโอนทรัพย์มรดกอันเป็นสินสมรสของผู้คัดค้านเป็นของตน เป็นการส่อไปในทางทุจริตนั้น คดีไม่มีประเด็นให้พิจารณาว่าทรัพย์มรดกของผู้ตายที่ผู้ร้องได้รับตามพินัยกรรมมีสินสมรสของผู้คัดค้านอยู่ด้วยหรือไม่ ผู้คัดค้านกับ ส. มิได้มีสิทธิในทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมทั้งไม่มีประเด็นว่าทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมมีสินสมรสของผู้คัดค้านรวมอยู่ด้วยหรือไม่ จึงยังไม่มีเหตุผลสมควรจะตั้ง ส.เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6313/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินพิพาท: ศาลไม่วินิจฉัยเกินเลยเมื่อจำเลยอ้างสิทธิของตนเอง
จำเลยให้การและนำสืบว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1แต่ผู้เดียว โจทก์และจำเลยที่ 2 อยู่โดยอาศัยสิทธิของจำเลยที่ 1ดังนี้ตามคำให้การและทางนำสืบของจำเลยทั้งสองแสดงว่าไม่อาจมีปัญหาเรื่องแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์แต่อย่างใดจึงไม่มีการอ้างสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น เมื่อจำเลยทั้งสองอ้างในคำให้การว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ศาลก็ไม่อาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เพราะเป็นการวินิจฉัยขัดแย้งกับที่จำเลยทั้งสองให้การไว้ ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่วินิจฉัยประเด็นที่ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่ 1 เกินกว่าหนึ่งปีชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5973/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานเรียกรับสินบนละเว้นการจับกุม ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจหน้าที่สืบสวนสอบสวนความผิดอาญา เมื่อได้พบและกล่าวหาว่าโจทก์ร่วมและนายสุเธียรมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตอันมิใช่การแกล้งกล่าวหา การที่จำเลยที่ 1 ไม่จับกุมแต่กลับขู่เข็ญเรียกเงินแล้วละเว้นไม่จับกุมโจทก์ร่วมและนายสุเธียร จึงไม่ใช่ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148 แต่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 เนื่องจากโจทก์มิได้ฟ้อง ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 อันเป็นบทเฉพาะมาด้วย ก็ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 อันเป็นบททั่วไปและเป็นบทที่โจทก์ฟ้องมาได้ สำหรับจำเลยที่ 2 มิใช่เจ้าพนักงานแต่ร่วมกระทำผิดฐานนี้ด้วย จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ประกอบมาตรา 86

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5953/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้โดยสารซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์: การฟ้องผิดฐานผู้ขับขี่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า การที่จำเลยเป็นผู้ขับรถจักรยานยนต์และเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์คันที่ชนโจทก์ จนโจทก์ได้รับอันตราย บาดเจ็บสาหัสจากการทำละเมิดของจำเลย จำเลยจึงต้องตกอยู่ ในฐานะเป็นบุคคลที่ควบคุมดูแลยานพาหนะซึ่งเดินด้วยกำลัง เครื่องจักรกลนั้น เมื่อจำเลยเพียงแต่เป็นผู้นั่งซ้อนท้าย รถจักรยานยนต์โดยไม่ได้เป็นผู้ขับรถจักรยานยนต์คันเกิดเหตุ ชนโจทก์จึงจะให้จำเลยต้องรับผิดในฐานะผู้ครอบครองยานพาหนะ อันเดินด้วยเครื่องกำลังจักรกลไม่ได้เพราะเป็นการนอกฟ้อง เนื่องจากโจทก์มิได้ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้ครอบครอง รถจักรยานยนต์คันที่ชนโจทก์ในขณะเกิดเหตุ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5953/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในฐานะผู้ครอบครองยานพาหนะ: จำเลยนั่งซ้อนท้ายรถ ไม่ใช่ผู้ขับขี่ ไม่ต้องรับผิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า การที่จำเลยเป็นผู้ขับรถจักรยานยนต์และเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์คันที่ชนโจทก์จนโจทก์ได้รับอันตรายบาดเจ็บสาหัสจากการทำละเมิดของจำเลย จำเลยจึงต้องตกอยู่ในฐานะเป็นบุคคลที่ควบคุมดูแลยานพาหนะซึ่งเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกลนั้น เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยเพียงแต่เป็นผู้นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์โดยไม่ได้เป็นผู้ขับรถจักรยานยนต์คันเกิดเหตุชนโจทก์ จึงจะให้จำเลยต้องรับผิดในฐานะผู้ครอบครองยานพาหนะอันเดินด้วยเครื่องจักรกลไม่ได้ เพราะเป็นการนอกฟ้อง เนื่องจากโจทก์มิได้ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้ครอบครองรถจักรยานยนต์คันที่ชนโจทก์ในขณะเกิดเหตุตาม ป.พ.พ. มาตรา 437

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5953/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้โดยสารซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์: การฟ้องผิดฐานผู้ขับขี่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า การที่จำเลยเป็นผู้ขับรถจักรยานยนต์และเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์คันที่ชนโจทก์จนโจทก์ได้รับอันตรายบาดเจ็บสาหัสจากการทำละเมิดของจำเลย จำเลยจึงต้องตกอยู่ในฐานะเป็นบุคคลที่ควบคุมดูแลยานพาหนะซึ่งเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกลนั้นเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยเพียงแต่เป็นผู้นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์โดยไม่ได้เป็นผู้ขับรถจักรยานยนต์คันเกิดเหตุชนโจทก์จึงจะให้จำเลยต้องรับผิดในฐานะผู้ครอบครองยานพาหนะอันเดินด้วยเครื่องจักรกลไม่ได้ เพราะเป็นการนอกฟ้อง เนื่องจากโจทก์มิได้ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้ครอบครองรถจักรยานยนต์คันที่ชนโจทก์ในขณะเกิดเหตุตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5863/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบต้องยื่นคำร้องภายใน 8 วันนับแต่วันที่ทราบเรื่อง
หลังจากศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2533 แล้ว ต่อมาวันที่ 26 กรกฎาคม 2533โจทก์ได้มาตรวจสำนวนและทราบว่ามีการแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ทราบและอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังแล้วโจทก์จึงขอคัดเอกสารที่เกี่ยวข้องไป หากจะฟังว่าการแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ทราบโดยการปิดประกาศที่หน้าศาลเป็นการไม่ชอบก็ถือได้ว่าโจทก์ได้ทราบเรื่องผิดระเบียบในวันดังกล่าวซึ่งหากโจทก์ประสงค์จะขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าว โจทก์ก็จะต้องยื่นคำร้องต่อศาลภายในแปดวันนับแต่วันที่ 26 กรกฎาคม 2533 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ได้ทราบเรื่องผิดระเบียบนั้นตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27 วรรคสอง ที่โจทก์มายื่นคำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาดังกล่าวในวันที่ 9 สิงหาคม 2533จึงเกินกำหนดแปดวัน เป็นคำร้องที่ไม่ชอบ
of 29