คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สนัด หมายสวัสดิ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 289 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3991/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิด พ.ร.บ.ศุลกากร: จำเลยต้องพิสูจน์การเสียภาษีของสินค้าที่ซื้อเข้ามา
ความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิจะต้องเป็นการซื้อของที่ตนรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ซึ่งหน้าที่พิสูจน์ในกรณีนี้ตกอยู่แก่จำเลยที่จะต้องมีภาระการพิสูจน์ว่าสินค้าของกลางซึ่งได้นำเข้ามาจากต่างประเทศได้เสียภาษีโดยถูกต้องแล้ว ดังที่มาตรา 100 บัญญัติไว้หาใช่เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะนำสืบไม่ เมื่อจำเลยไม่นำสืบ เพียงแต่อ้างว่าเป็นสินค้าที่จำหน่ายโดยถูกต้องตามกฎหมาย เพราะขายในตลาดสุขาภิบาลโดยเปิดเผย จึงเป็นความเข้าใจของจำเลยที่ไม่ได้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวกับกรณีนี้ และไม่เป็นข้อแก้ตัวให้พ้นผิด จึงต้องฟังว่าจำเลยซื้อสินค้าของกลางโดยรู้ว่ายังไม่ได้เสียค่าภาษี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3991/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระการพิสูจน์การหลีกเลี่ยงอากร: ผู้ซื้อต้องพิสูจน์ว่าได้เสียภาษีแล้ว
ความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27ทวิ ต้องเป็นการซื้อของที่ตนรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ซึ่งภาระการพิสูจน์ดังกล่าวนี้ตกอยู่แก่จำเลยผู้ซื้อที่จะต้องพิสูจน์ว่าสินค้าผ้าของกลางได้เสียภาษีโดยถูกต้องแล้วดังที่พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469มาตรา 100 บัญญัติไว้หาใช่เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะนำสืบไม่ เมื่อจำเลยไม่นำสืบคดีต้องฟังว่าจำเลยซื้อผ้าของกลางโดยรู้ว่ายังไม่ได้เสียค่าภาษี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3981/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องคดีอาญาไม่ระงับ แม้ศาลชั้นต้นยกฟ้องบางส่วน เหตุผลสำคัญอยู่ที่การพิสูจน์ความประมาทของผู้ขับขี่
คดีที่โจทก์ร่วมฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดสงขลา ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297,300,91 ศาลจังหวัดสงขลาไต่สวนมูลฟ้องแล้ววินิจฉัยว่าฟ้องของโจทก์ไม่มีมูลฐานทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ผู้ถูกทำร้ายได้รับอันตรายสาหัส คงมีมูลความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายและจิตใจกับฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 และ 300 ตามลำดับเท่านั้น ซึ่งเป็นความผิดที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่รับไว้พิจารณาได้หากโจทก์ยังติดใจจะดำเนินคดีกับจำเลยก็ให้นำไปฟ้องยังศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาต่อไป จึงไม่รับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาพิพากษายกฟ้อง ศาลจังหวัดสงขลามิได้ยกฟ้องของโจทก์ร่วมเพราะเหตุต่าง ๆ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185กล่าวคือยังมิได้วินิจฉัยถึงการกระทำผิดของจำเลยตามข้อกล่าวหาของโจทก์ร่วม ดังนั้นในคดีดังกล่าวจึงยังไม่มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง โจทก์และโจทก์ร่วมในคดีนี้ยังมีสิทธิฟ้องจำเลยได้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์และโจทก์ร่วมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300,390 ยังไม่ระงับ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) จำเลยไม่ได้ขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมได้รับอันตรายสาหัสและผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กาย จำเลยย่อมไม่มีความผิดฐานขับรถซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลแล้วไม่หยุดรถช่วยเหลือและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ใกล้เคียงทันทีตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 78,160 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3978/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหวงห้ามที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดิน การดำเนินการตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ และการพิจารณาการหวงห้ามโดยไม่ต้องมีพระราชกฤษฎีกา
ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นตามธรรมดารัฐยอมใช้เพื่อประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์รวมกันได้ ส่วนวิธีการที่จะหวงห้ามนั้นย่อมแตกต่างกันไปตามกาลสมัย เพิ่งมาบัญญัติเป็นกฎหมายขึ้นใช้บังคับเมื่อ พ.ศ. 2478 โดยพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่า อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินพ.ศ. 2478 ซึ่งได้หวงห้ามโดยวิธีการออกเป็นพระราชกฤษฎีกาและประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ต่อมาพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ถูกยกเลิกไปโดยพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา4(6) ดังนั้นเมื่อการสงวนหวงห้ามที่ดินพิพาทเป็นการสงวนหรือหวงห้ามตามประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 8 ตรี ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 334 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2515โดยเป็นกฎหมายที่ออกมาภายหลังจากที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่า อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. 2478 ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว การหวงห้ามจึงไม่จำต้องดำเนินการโดยออกเป็นพระราชกฤษฎีกาและประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามพระราชบัญญัติดังกล่าวอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3932/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำว่า “ครอบครอง” ใน พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ ครอบคลุมทั้งการครอบครองเพื่อตนเองและแทนผู้อื่น
คำว่า "ครอบครอง" ตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ฯ มิได้หมายความเช่นเดียวกับคำว่า "สิทธิครอบครอง" ตาม ป.พ.พ. แต่มีความหมายกว้างกว่าโดยหมายความรวมถึงครอบครองเพื่อตนเองและครอบครองแทนผู้อื่นด้วย เพราะไม่มีกฎหมายใดจำกัดว่าต้องเป็นการครอบครองเพื่อตนเองเท่านั้นจึงจะเป็นความผิด อีกทั้งในทางอาญาการร่วมกันครอบครองก็เป็นความผิดเช่นเดียวกัน การที่จำเลยครอบครองไม้หวงห้ามเพื่อนำส่งโรงเลื่อยซึ่งเป็นนายจ้างจึงเป็นความผิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3932/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง และความหมายของคำว่า 'ครอบครอง' ใน พ.ร.บ.ป่าไม้
ฎีกาของจำเลยหาได้บรรยายให้เห็นว่า ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกคำพยานที่โจทก์นำสืบในข้อไหนอย่างไร และได้สันนิษฐานอันเป็นผลร้ายแก่จำเลยอย่างไร เป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193วรรคสอง, 225 และฎีกาข้อนี้กล่าวโดยสรุปก็เพื่อให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงแตกต่างไปจากที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำว่า "ครอบครอง" ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 หาได้มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า "สิทธิครอบครอง" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ แต่มีความหมายกว้างกว่าโดยหมายความรวมถึงครอบครองเพื่อตนและครอบครองแทนผู้อื่นด้วย เพราะไม่มีกฎหมายบทจำกัด คิดว่าต้องครอบครองเพื่อตนเองเท่านั้นจึงจะเป็นความผิด และในทางอาญาการร่วมกันครอบครองไม้หวงห้ามก็เป็นความผิดเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3932/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองไม้หวงห้าม: ความผิดครอบครองรวมถึงการครอบครองแทนผู้อื่น และข้อจำกัดในการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกคำพยาน
ฎีกาของจำเลยหาได้บรรยายให้เห็นว่า ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกคำพยานที่โจทก์นำสืบในข้อไหนอย่างไรและได้สันนิษฐานอันเป็นผลร้ายแก่จำเลยอย่างไร เป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรคสอง,225 และฎีกาข้อนี้กล่าวโดยสรุปก็เพื่อให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงแตกต่างไปจากที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ คำว่า "ครอบครอง" ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 หาได้มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า "สิทธิครอบครอง" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ แต่มีความหมายกว้างกว่าโดยหมายความรวมถึงครอบครองเพื่อตนและครอบครองแทนผู้อื่นด้วย เพราะไม่มีบทกฎหมายใดจำกัดว่าต้องเป็นการครอบครองเพื่อตนเองเท่านั้นจึงจะเป็นความผิด และในทางอาญาการร่วมกันครอบครองไม้หวงห้ามก็เป็นความผิดเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3909/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องขอพิจารณาใหม่ต้องระบุเหตุคัดค้านคำพิพากษาเดิมชัดเจน การอ้างเพียงว่าหากได้ซักค้านพยานแล้วอาจชนะคดีไม่เพียงพอ
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยกล่าวอ้างว่า ทนายจำเลยเดินทางจากกรุงเทพมหานครมาศาลโดยรถยนต์โดยสารประจำทางระหว่างการเดินทางรถยนต์โดยสารได้เฉี่ยวชนกับรถยนต์คันอื่นทำให้เสียเวลาในการเดินทางเป็นเหตุให้มาซักค้านพยานโจทก์ไม่ทัน ซึ่งตามรูปคดีถ้าหากจำเลยมีโอกาสซักค้านพยานโจทก์ จำเลยก็มีทางจะชนะคดีโจทก์ได้ คำร้องดังกล่าวในตอนแรกกล่าวถึงเหตุที่ทนายจำเลยมาศาลไม่ทันกำหนดเวลานัดถ้ามาทันก็จะสามารถซักค้านพยานโจทก์ได้ ส่วนในตอนหลังคำร้องกล่าวว่า รูปคดีถ้าหากจำเลยมีโอกาสได้ซักค้านพยานโจทก์ จำเลยก็มีทางที่จะชนะคดีได้ ไม่มีข้อความตอนใดที่กล่าวคัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ว่าไม่ชอบอย่างไรและหากได้พิจารณาใหม่แล้ว จำเลยจะชนะคดีอย่างไร การกล่าวเพียงว่าถ้าได้ซักค้านพยานโจทก์ จำเลยอาจชนะคดี ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้น คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา208 วรรคสอง ปัญหานี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3891/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเบี้ยปรับสัญญาซื้อขาย: ฟ้องภายใน 10 ปี ไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเบี้ยปรับตามสัญญาในกรณีที่จำเลยผิดสัญญาส่งมอบสิ่งของให้แก่โจทก์ล่าช้าและส่งมอบสิ่งของบางส่วนไม่ตรงตามที่ตกลงซื้อขายกันอันเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้าในสัญญาเป็นเบี้ยปรับซึ่งมีอายุความสิบปีไม่ใช่เป็นการฟ้องเพื่อให้รับผิดในการส่งมอบทรัพย์ขาดตกบกพร่องหรือล้ำจำนวนตามสัญญาซื้อขายซึ่งมีอายุความหนึ่งปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 467

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3891/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเบี้ยปรับสัญญาซื้อขาย: ฟ้องเรียกค่าเสียหายตามสัญญา (เบี้ยปรับ) มีอายุความ 10 ปี ไม่ใช่ 1 ปี
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาซื้อขายโดยส่งมอบสิ่งของล่าช้าและส่งมอบสิ่งของบางส่วนไม่ตรงตามที่ตกลงซื้อขายกัน ขอให้บังคับจำเลยชำระเบี้ยปรับตามสัญญา เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้าในสัญญา เป็นเบี้ยปรับซึ่งมีอายุความ 10 ปี มิใช่เป็นการฟ้องเพื่อให้รับผิดในการส่งมอบทรัพย์ขาดตกบกพร่องหรือล้ำจำนวนซึ่งมีอายุความ 1 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 467
of 29