คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สนัด หมายสวัสดิ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 289 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3224/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายผิดสัญญา โอนให้ผู้อื่น ผู้ขายต้องรับผิดค่าเสียหายตามสัญญาและราคาที่สูงขึ้น
การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและห้องแถวพิพาทให้แก่โจทก์ แต่ต่อมากลับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและห้องแถวพิพาทตามสัญญาดังกล่าวให้แก่ผู้อื่นเป็นการผิดสัญญาทำให้โจทก์เสียหายโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ปฏิบัติตามสัญญาหรือใช้ค่าเสียหายได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 213 จำเลยที่ 1 ที่ 2 ขายที่ดินและห้องแถวพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3ถึง ที่ 5 ในราคา 900,000 บาท มากกว่าราคาที่ขายให้แก่โจทก์100,000 บาท เงินจำนวนดังกล่าวเป็นความเสียหายของโจทก์ที่ควรจะได้รับเนื่องจากการผิดสัญญาด้วยแต่เนื่องจากสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้กำหนดความเสียหายไว้ล่วงหน้าเป็นเบี้ยปรับ ในจำนวนเงิน 100,000 บาท ไว้แล้ว โจทก์จะได้รับค่าเสียหายเกินกว่าเบี้ยปรับได้ต่อเมื่อแสดงให้เห็นได้ว่าความเสียหายของตนมีสูงกว่าจำนวนเบี้ยปรับตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3149/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทุจริตในการฉ้อโกง: การพิจารณาจากคำบรรยายฟ้องและพฤติการณ์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้บังอาจแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อโจทก์ โจทก์หลงเชื่อจึงมอบเงินให้จำเลยไป แม้ฟ้องโจทก์จะมิได้ระบุคำว่า "โดยทุจริต" ไว้ก็ตาม แต่คำว่า "บังอาจ" กับข้อความที่ว่า "โจทก์หลงเชื่อจึงมอบเงินให้จำเลยไป" ประกอบกันก็บ่งอยู่แล้วว่าจำเลยกระทำโดยทุจริต ฟ้องโจทก์จึงครบองค์ความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3149/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกง: การแสดงข้อความเท็จและเจตนาทุจริต
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้บังอาจแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อโจทก์ โจทก์หลงเชื่อจึงมอบเงินให้จำเลยไป แม้ฟ้องโจทก์จะมิได้ระบุคำว่า "โดยทุจริต" ไว้ก็ตาม แต่คำว่า"บังอาจ" กับข้อความที่ว่า "โจทก์หลงเชื่อจึงมอบเงินให้จำเลยไป" ประกอบกันก็บ่งอยู่แล้วว่าจำเลยกระทำโดยทุจริต ฟ้องโจทก์จึงครบองค์ความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3042/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษจากประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 เป็นมาตรา 391 เมื่อการกระทำไม่ถึงอันตรายแก่กาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295ทางพิจารณาปรากฏว่า โจทก์ร่วมที่ 2 ถูกจำเลยกับพวกรุมทำร้ายได้รับบาดเจ็บแต่ไม่เป็นอันตรายแก่กาย ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 295ศาลก็ปรับบทลงโทษตามมาตรา 391 ซึ่งเป็นการกระทำความผิดส่วนหนึ่งของบทมาตราที่ขอให้ลงโทษมาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3042/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษจากประมวลกฎหมายอาญามาตรา 295 เป็น 391 เมื่อการกระทำไม่ถึงขั้นเป็นอันตรายแก่กาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมตาม ป.อ.มาตรา 295 ปรากฏในทางพิจารณาว่า การกระทำผิดของจำเลยกับพวกที่รุมทำร้ายโจทก์ร่วมที่ 2 ได้รับบาดเจ็บแต่ไม่เป็นอันตรายแก่กายยังไม่เป็นความผิดตามมาตรา 295 ศาลย่อมปรับบทลงโทษตามมาตรา 391ซึ่งเป็นการกระทำความผิดส่วนหนึ่งของบทมาตราที่โจทก์ขอให้ลงโทษมาได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2928/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของที่ดินและการรังวัดเขต - การล้อมรั้วลำเหมืองสาธารณะประโยชน์ละเมิดสิทธิ
ตามสภาพและตำแหน่งของที่ดินโจทก์ โจทก์เข้าออกสู่ถนนสาธารณะได้สะดวกที่สุดก็โดยผ่านลำเหมืองพิพาทซึ่งเป็นลำเหมืองสาธารณะ การที่จำเลยล้อมรั้วลำเหมืองพิพาทย่อมทำให้โจทก์ในฐานะเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เดือดร้อนและเสียหายเป็นพิเศษ เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้รื้อถอนรั้วดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2923/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการขาดอำนาจฟ้องเนื่องจากระยะเวลาการฟ้องเกินกำหนด
ประเด็นเรื่องสิทธิครอบครองที่พิพาท จำเลยไม่ได้อุทธรณ์จึงยุติไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นเรื่องนี้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ว่ากล่าวกันมาในศาลอุทธรณ์ จำเลยทั้งสองได้แสดงโดยชัดแจ้งถึงอำนาจครอบครอง โจทก์ทราบเหตุที่โจทก์ถูกโต้แย้งการครอบครอง ครั้งแรกตั้งแต่ปี 2520 และครั้งที่สองที่จำเลยไปขอออก น.ส.3 เมื่อปี 2521 และโจทก์ไปแจ้งแก่เจ้าพนักงานที่ดินอีกเมื่อปี 2524 เมื่อนับระยะเวลาที่โจทก์ทราบเหตุแห่งการแย่งการครอบครองจนถึงวันฟ้องจึงเป็นเวลาเกินหนึ่งปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง ดังนี้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2908/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการใช้สอยที่ดินพิพาทระหว่างเอกชน vs. ที่สาธารณสมบัติ โจทก์ผู้ครอบครองก่อนมีสิทธิเหนือกว่า
ไม่ว่าจะฟังว่าที่พิพาทเป็นที่งอกริมตลิ่งหรือที่ชายตลิ่งที่พลเมืองใช้ร่วมกัน ซึ่งเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินก็ตามสิทธิของโจทก์ซึ่งครอบครองที่พิพาทอยู่ก่อนย่อมมีสิทธิใช้สอยดีกว่าจำเลย แต่จะใช้ยันต่อรัฐได้หรือไม่เป็นอีกส่วนหนึ่ง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2855/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัยการไม่มีอำนาจร้องขอให้ศาลสั่งจ่ายสินบนนำจับตาม พ.ร.บ.มาตราชั่งตวงวัด สิทธิเป็นของผู้แจ้งเท่านั้น
พระราชบัญญัติ ญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466 แก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ. 2477 มาตรา 3 กำหนดให้ผู้กระทำผิดตามมาตราที่ระบุไว้ เมื่อถูกศาลพิพากษาลงโทษแล้วต้องผูกพันในการจ่ายสินบนนำจับแก่ผู้จับ นำจับ หรือนำความมาแจ้งต่อเจ้าพนักงานด้วย แต่ไม่มีข้อความตอนใดที่ระบุให้อำนาจแก่พนักงานอัยการที่จะร้องขอต่อศาลให้สั่งจำเลยจ่ายเงินสินบนแก่บุคคลดังกล่าวได้ ส่วนมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติ มาตรา ชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466 เป็นบทบัญญัติว่าด้วยการฟ้องเพื่อเอาโทษแก่ผู้กระทำผิด แต่การชำระเงินค่าสินบนมิใช่โทษจึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 39 ที่ให้อำนาจพนักงานอัยการร้องขอให้บังคับผู้กระทำผิดได้ กรณีเป็นเรื่องที่เป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้จับนำจับ หรือนำความมาแจ้งต่อเจ้าพนักงานเท่านั้นที่จะร้องขอต่อศาลพนักงานอัยการไม่มีอำนาจร้องขอต่อศาลให้สั่งจำเลยจ่ายเงินสินบนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2855/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการร้องขอค่าสินบนนำจับ: พนักงานอัยการไม่มีอำนาจตาม พ.ร.บ.มาตราชั่ง ตวง วัด
พ.ร.บ.มาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2477 มาตรา 3กำหนดให้ผู้กระทำผิดตามมาตราซึ่งระบุไว้ เมื่อถูกศาลพิพากษาลงโทษแล้ว จำต้องผูกพันในการจ่ายสินบนนำจับแก่ผู้จับ นำจับ หรือนำความมาแจ้งต่อเจ้าพนักงานด้วย แต่ก็ไม่มีข้อความตอนใดที่ระบุให้อำนาจแก่โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานอัยการที่จะร้องขอต่อศาลให้สั่งจำเลยจ่ายเงินสินบนแก่บุคคลดังกล่าวได้ ส่วนมาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ.มาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466 ดังที่โจทก์อ้างก็เป็นบทบัญญัติว่าด้วยการฟ้องเพื่อเอาโทษแก่ผู้กระทำผิด แต่การชำระเงินค่าสินบนตามมาตรา 3 ดังกล่าวมิใช่โทษ จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 39ที่ให้อำนาจพนักงานอัยการร้องขอให้บังคับผู้กระทำผิดได้ กรณีเช่นนี้ย่อมเป็นเรื่องที่เป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้จับ นำจับ หรือนำความมาแจ้งต่อเจ้าพนักงานเท่านั้นที่จะร้องขอต่อศาล โจทก์จึงไม่มีอำนาจร้องขอต่อศาลให้สั่งจำเลยจ่ายเงินสินบนในคดีนี้ได้.
of 29