พบผลลัพธ์ทั้งหมด 289 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2855/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการร้องขอค่าสินบนนำจับ: พนักงานอัยการไม่มีอำนาจตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติ มาตรา ชั่ง ตวง วัด พ.ศ.2466 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2477มาตรา 3 กำหนดให้ผู้กระทำผิดตามมาตราที่ระบุไว้ เมื่อถูกศาลพิพากษาลงโทษแล้วจำต้องผูกพันในการจ่ายสินบนนำจับแก่ผู้จับ นำจับ หรือนำความมาแจ้งต่อเจ้าพนักงานด้วย ไม่มีข้อความตอนใดที่ระบุให้อำนาจแก่พนักงานอัยการที่จะร้องขอต่อศาลให้สั่งจำเลยจ่ายเงินสินบนแก่บุคคลดังกล่าวได้ส่วนมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ.2466 นั้น เป็นบทบัญญัติว่าด้วยการฟ้องเพื่อเอาโทษแก่ผู้กระทำผิด แต่การชำระเงินค่าสินบนตามมาตรา 3 ดังกล่าวข้างต้นมิใช่โทษจึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 39 ที่ให้อำนาจพนักงานอัยการร้องขอให้บังคับผู้กระทำผิดได้ กรณีเป็นเรื่องที่เป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้จับ นำจับ หรือนำความมาแจ้งต่อเจ้าพนักงานเท่านั้นที่จะร้องขอต่อศาล พนักงานอัยการจึงไม่มีอำนาจร้องขอต่อศาลให้สั่งจำเลยจ่ายเงินสินบนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2804/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งการริบของกลางในคดีสัตว์ป่าคุ้มครอง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยรับสารภาพแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษปรับจำเลยและริบของกลาง จำเลยอุทธรณ์ขอไม่ให้ริบของกลาง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน การที่จำเลยฎีกาว่าไก่ฟ้าและนกหว้า ของกลางเดิมจำเลยมีไว้ในครอบครองประเภทละ 2 ตัวซึ่งชอบด้วยกฎหมายต่อมาสัตว์ดังกล่าวได้ขยายพันธุ์จนมีจำนวนตามฟ้องลูกของสัตว์ป่าเหล่านั้นหาใช่สัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎหมาย จึงมิใช่ทรัพย์ที่จะริบได้ เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยรับสารภาพว่ามีสัตว์ป่าคุ้มครองไว้ในครอบครอง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2804/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งการริบของกลางสัตว์ป่าคุ้มครองที่เกิดจากการขยายพันธุ์ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยรับสารภาพแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษปรับจำเลย 700 บาท ริบของกลางศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก จำเลยฎีกาว่า สัตว์ป่าของกลางเดิมจำเลยมีไว้ในครอบครองประเภทละ 2 ตัวซึ่งชอบด้วยกฎหมาย ต่อมาสัตว์ดังกล่าวได้ขยายพันธุ์จนมีจำนวนตามฟ้อง ลูกของสัตว์ป่าเหล่านั้นหาใช่สัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎหมายไม่จึงมิใช่ทรัพย์ที่จะริบได้ เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยรับสารภาพว่าจำเลยมีสัตว์ป่าคุ้มครองจำนวนทั้งหมดตามฟ้องไว้ในความครอบครองจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทมาตราดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2693/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง การกู้ยืมเงินที่ดิน และการปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายคืน
สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์ผู้ขายกับจำเลย ระบุว่านับแต่วันทำสัญญาภายในระยะเวลา 2 ปี ถ้าโจทก์ประสงค์จะซื้อคืนจำเลยยินดีจะขายคืนให้ การที่จำเลยขายที่ดินพิพาทให้แก่ ส.ซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์ ถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2670/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนคดีอาญาบนเรือไทย และการรับฟังพยานจำเลย
เหตุเกิดขึ้นในเรือไทย เป็นการกระทำความผิดในราชอาณาจักรพนักงานสอบสวน กองปราบปราม กรมตำรวจ มีอำนาจสอบสวนคดีอาญาได้ทั่วราชอาณาจักร จึงมีอำนาจสอบสวน ส.เบิกความเป็นพยานจำเลย หาใช่เป็นกรณีที่โจทก์อ้างจำเลยเป็นพยานอันเป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.อ. มาตรา 232 ไม่ คำเบิกความของส.นำมารับฟังเพื่อประกอบดุลพินิจในการวินิจฉัยคดีได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2543/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องขอทุเลาการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอม ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากเป็นดุลพินิจของศาลอุทธรณ์
ตามคำพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสองถูกบังคับให้ต้องชำระราคาค่าที่ดินให้แก่โจทก์ ถ้าจำเลยทั้งสองไม่ชำระเงินดังกล่าวภายในเวลาที่กำหนด จำเลยทั้งสองต้องขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดินและบ้านของโจทก์ทันที การที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องที่ขอให้ไต่สวนเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมดังกล่าว หากจำเลยทั้งสองไม่ยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับ จำเลยทั้งสองก็ต้องถูกบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 231 คำร้องที่จำเลยทั้งสองยื่นมาพร้อมกับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยทั้งสอง จึงเป็นคำร้องขอทุเลาการบังคับตรงตามคำร้องแล้วมิใช่เป็นการขอคุ้มครองประโยชน์ตามมาตรา 264 ตามที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งแต่อย่างใด เมื่อคำร้องของจำเลยทั้งสองเป็นคำร้องขอทุเลาการบังคับและศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้อง อันเป็นดุลพินิจของศาลอุทธรณ์โดยเฉพาะซึ่งเป็นวิธีการที่กฎหมายกำหนดให้อยู่ในอำนาจของศาลเป็นชั้น ๆ ไป จำเลยทั้งสองจะฎีกาคำสั่งนั้นต่อศาลฎีกาหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2543/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องขอทุเลาการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอม การฎีกาคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ยกคำร้อง
ตามคำพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสองถูกบังคับให้ต้องชำระราคาค่าที่ดินและบ้านให้แก่โจทก์ ถ้าจำเลยทั้งสองไม่ชำระภายในเวลาที่กำหนด จำเลยทั้งสองต้องขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดินและบ้านของโจทก์ทันที การที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องที่ขอให้ไต่สวนเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอม หากจำเลยทั้งสองไม่ยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับ จำเลยทั้งสองก็ต้องถูกบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 231 ดังนั้นคำร้องที่จำเลยทั้งสองยื่นมาพร้อมกับอุทธรณ์ จึงเป็นคำร้องขอทุเลาการบังคับตรงตามคำร้องแล้ว มิใช่เป็นการขอคุ้มครองประโยชน์ตามมาตรา 264 ตามที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่ง เมื่อเป็นคำร้องขอทุเลาการบังคับและศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องอันเป็นดุลพินิจของศาลอุทธรณ์โดยเฉพาะซึ่งเป็นวิธีการที่กฎหมายกำหนดให้อยู่ในอำนาจของศาลเป็นชั้น ๆ ไป จำเลยทั้งสองจึงฎีกาคำสั่งนั้นต่อศาลฎีกาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2471/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเรื่องอำนาจฟ้องและฟ้องซ้อน เหตุจำเลยยกเหตุใหม่และฟ้องแย้งเป็นเรื่องเดียวกันกับคดีก่อน
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นเจ้าของสถานที่และกิจการโรงแรม ร. มีอำนาจฟ้อง จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของสถานที่เพราะขายกิจการให้แก่บุคคลอื่นไปแล้ว ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์เป็นเจ้าของห้องพิพาทและมีอำนาจฟ้อง การที่จำเลยฎีกาอ้างเหตุใหม่ในชั้นฎีกาว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาก่อน และใช้สิทธิบอกกล่าวให้จำเลยส่งมอบห้องคืนโดยไม่สุจริตนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย แม้ปัญหาเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่จำเลยทั้งสองมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาจึงไม่เห็นสมควรรับวินิจฉัยให้ คดีก่อนจำเลยที่ 2 เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยอ้างว่าผิดสัญญาเช่า ปิดกั้นด้านหน้าของโรงแรม ร. ทำให้โจทก์(จำเลยที่ 2 คดีนี้) เสียหาย เป็นค่าตกแต่งสถานที่ เป็นเงินจำนวน2,400,000 บาท ค่าขาดรายได้คำนวณถึงวันฟ้องเป็นเงิน 600,000 บาทคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ส่วนคดีนี้จำเลยทั้งสองฟ้องแย้งว่าสัญญาเช่าห้องพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าธรรมดา โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยทำให้จำเลยได้รับความเสียหายเป็นค่าตกแต่งสถานที่ซึ่งใช้ดำเนินกิจการเป็นร้านตัดผมและอาบอบนวด ถ้าต้องย้ายออกไปจะเสียหายเนื่องจากไม่ได้ใช้สถานที่ คำนวณเป็นเงิน 2,000,000 บาท ดังนั้น คดีนี้และคดีก่อนจึงมีประเด็นที่อ้างว่ามีการผิดสัญญาเช่าและเรียกค่าเสียหายเป็นมูลเหตุเดียวกัน ฟ้องแย้งคดีนี้จึงเป็นฟ้องเรื่องเดียวกับฟ้องที่จำเลยที่ 2 ฟ้องโจทก์ในคดีก่อน จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2471/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน – สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากสัญญาเช่า – ประเด็นเดียวกัน – ฟ้องแย้งต้องห้าม
ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยในประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ที่ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์ไม่ใช่เจ้าของสถานที่และกิจการโรงแรมหรือไม่เท่านั้น โดยศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นเจ้าของสถานที่และกิจการโรงแรมมีอำนาจฟ้อง จำเลยทั้งสองอุทธรณ์โต้แย้งว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของสถานที่เพราะได้ขายกิจการให้แก่บุคคลอื่นไปแล้ว ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในส่วนที่เป็นข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นเจ้าของสถานที่เช่าและโจทก์มีอำนาจฟ้อง เมื่อศาลล่างทั้งสองได้วินิจฉัยดังกล่าวแล้ว จำเลยทั้งสองจะฎีกาอ้างเหตุใหม่ในชั้นฎีกาว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาก่อนและใช้สิทธิบอกกล่าวให้จำเลยส่งมอบสถานที่เช่าคืนโดยไม่สุจริตหาได้ไม่ เพราะเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก จำเลยทั้งสองฎีกาว่า โจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 แม้เรื่องดังกล่าวจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่จำเลยทั้งสองมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรก็ไม่รับวินิจฉัยให้ได้ คดีก่อนบริษัทจำเลยที่ 2 เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนี้เป็นจำเลยอ้างว่าโจทก์ผิดสัญญาเช่าสถานที่บริเวณโรงแรมโดยปิดกั้นด้านหน้าของโรงแรม ทำให้จำเลยที่ 2 เสียหาย เป็นค่าตกแต่งสถานที่และค่าขาดรายได้ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 3,000,000 บาท คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ส่วนฟ้องแย้งในคดีนี้จำเลยทั้งสองฟ้องแย้งว่าสัญญาเช่าสถานที่ซึ่งเป็นที่เดียวกับคดีก่อนระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าธรรมดาโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยทำให้จำเลยได้รับความเสียหายเป็นค่าตกแต่งสถานที่ซึ่งใช้ดำเนินกิจการเป็นร้านตัดผมและอาบอบนวด ถ้าต้องย้ายออกไปจะเสียหายเนื่องจากไม่ได้ใช้สถานที่คำนวณเป็นเงิน2,000,000 บาท ดังนั้น คดีนี้และคดีก่อนจึงมีประเด็นที่อ้างว่ามีการผิดสัญญาเช่าและเรียกค่าเสียหายเป็นมูลเหตุเดียวกันฟ้องแย้งคดีนี้จึงเป็นฟ้องเรื่องเดียวกันกับฟ้องที่จำเลยที่ 2 ฟ้องโจทก์ในคดีก่อน เป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง (1).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2430/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าของสระว่ายน้ำต่อความปลอดภัยผู้ใช้บริการ และความรับผิดของลูกจ้างที่ทำการในทางการจ้าง
จำเลยที่ 2 ดำเนินกิจการให้ใช้บริการสระว่ายน้ำโดย มีค่าตอบแทนแก่บุคคลทั่วไป จำเลยที่ 2 จึงต้องจัดหาพนักงานช่วยชีวิตประจำสระว่ายน้ำที่มีความสามารถและมีจำนวนเพียงพอเพื่อช่วยชีวิตหรือป้องกันอุบัติเหตุของผู้ใช้บริการในกรณีที่มีเหตุอันตรายที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้ประกาศที่ให้ผู้ใช้บริการรับผิดชอบความปลอดภัยของตนเองไม่ทำให้เป็นข้อแก้ตัวที่จำเลยที่ 2 จะปัดความรับผิดได้เมื่อพนักงานช่วยชีวิตประจำสระว่ายน้ำของจำเลยที่ 2 มิได้อยู่ปฏิบัติหน้าที่ขณะที่ผู้ใช้บริการซึ่งเป็นเด็กจมน้ำ จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของพนักงานช่วยชีวิตที่อยู่ในความควบคุมดูแลและสั่งการของจำเลยที่ 2 ถือว่าเป็นการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 2 ด้วย