คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สนัด หมายสวัสดิ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 289 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2430/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ประกอบการสระว่ายน้ำต่อความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ โดยเฉพาะเด็กเล็ก และความละเลยของพนักงานช่วยชีวิต
จำเลยที่ 2 ดำเนินกิจการที่เกี่ยวกับการให้ใช้บริการสระว่ายน้ำ โดยมีค่าตอบแทนแก่บุคคลทั่วไปในรูปการจำหน่ายบัตรให้แก่ผู้ใช้บริการ จำเลยที่ 2 จึงต้องมีหน้าที่และมาตรการให้ความปลอดภัยและดูแลความเรียบร้อยของสระว่ายน้ำในระดับที่เชื่อถือและไว้วางใจได้ โดยเฉพาะผู้ใช้บริการที่เป็นเด็กเล็ก สิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการให้บริการในลักษณะนี้ของสระว่ายน้ำ ได้แก่การจัดหาพนักงานช่วยชีวิตประจำสระว่ายน้ำที่มีความสามารถและมีจำนวนเพียงพอเพื่อช่วยชีวิตหรือป้องกันอุบัติเหตุของผู้ใช้บริการในกรณีที่มีเหตุอันตรายที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้ ประกาศที่ทางสระว่ายน้ำระบุให้ผู้ใช้บริการรับผิดชอบความปลอดภัยของตนเองนั้น ไม่ทำให้เป็นข้อแก้ตัวที่จำเลยที่ 2 จะปัดความรับผิดได้ แม้จำเลยที่ 2 จะจ้างพนักงานช่วยชีวิตไว้ประจำสระว่ายน้ำก็ตาม แต่ขณะที่ผู้ใช้บริการซึ่งเป็นเด็กจมน้ำลงสู่พื้นสระว่ายน้ำไม่มีผู้ใดเห็นเหตุการณ์เลย ถือได้ว่าเป็นความละเลยของพนักงานช่วยชีวิตที่ไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่และพร้อมจะให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใช้บริการ การกระทำโดยประมาทเลินเล่อดังกล่าวของพนักงานช่วยชีวิตซึ่งอยู่ในความควบคุมดูแลและสั่งการของจำเลยที่ 2 ถือว่าเป็นการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 2 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2191/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการทรัพย์สินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 307 ต้องมีรายได้จากทรัพย์สินที่ยึด ไม่ใช่แค่มีโรงงาน
การที่จะร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์ ตามป.วิ.พ. มาตรา 307 ต้องเป็นกรณีที่ตัวอสังหาริมทรัพย์นั้นเองมีรายได้ประจำปีจากการประกอบอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือกสิกรรมของลูกหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อที่ดินของจำเลยที่ถูกโจทก์นำยึดมีแต่พืชไร่ซึ่งไม่ปรากฎว่าเกี่ยวข้องกับกรณีดังกล่าวอันจะมีรายได้ประจำปีมาชำระหนี้ตามคำพิพากษา ดังนี้ ไม่อาจตั้งผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์ ตามมาตราดังกล่าวได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2191/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการทรัพย์สินเพื่อหารายได้ชำระหนี้ ต้องมีรายได้จากทรัพย์สินนั้นจริง
ที่ดินของจำเลยที่ถูกโจทก์นำยึดไม่มีรายได้ประจำปีอันเกิดจากที่ดินนั้นหรือมีการประกอบการอุตสาหกรรมหรือพาณิชยกรรมอยู่ในขณะที่ถูกยึด จำเลยจึงไม่อาจขอตั้งผู้จัดการทรัพย์สินแทนการสั่งขายทอดตลาดที่ดิน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 307 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2191/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการตั้งผู้จัดการทรัพย์สินตามมาตรา 307 ต้องมีรายได้จากทรัพย์สินนั้นจริง
แม้ในฎีกาจะระบุว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ยื่นฎีกา ซึ่งโจทก์แก้ฎีกาว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิฎีกาก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาว่าการโต้แย้งเป็นข้อพิพาทในคดีนี้ สืบเนื่องจากการยึดที่ดินของจำเลยที่ 2และจำเลยที่ 2 ได้คัดค้านมาโดยตลอด เนื้อหาในฎีกาก็เป็นการอ้างสิทธิของจำเลยที่ 2 ว่าศาลควรให้โอกาสแก่จำเลยดำเนินการจัดการทรัพย์สินที่ถูกยึด ใจความและเหตุผลน่าจะเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ทนายความที่ดำเนินกระบวนพิจารณาตั้งแต่ศาลชั้นต้นจนถึงชั้นฎีกาแทนจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ก็เป็นทนายความผู้เรียงฎีกาคนเดียวกัน การระบุชื่อของจำเลยที่ 1 ว่าเป็นผู้ฎีกาตามแบบพิมพ์ จึงเป็นข้อผิดหลง ซึ่งโดยข้อเท็จจริงแล้วจำเลยที่ 2 เป็นผู้ยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ปัญหาที่ว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิฎีกาจึงเป็นอันตกไป การที่จะร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์ในการประกอบกิจการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 307จะต้องเป็นกรณีที่ตัวอสังหาริมทรัพย์นั้นเองในปัจจุบันมีรายได้ประจำปีจากการประกอบอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือกสิกรรมของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพราะการนำยึดอสังหาริมทรัพย์ที่มีลักษณะดังนี้ออกขายทอดตลาดโดยตรง อาจนำความเสียหายมาสู่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือฝ่ายลูกหนี้ตามคำพิพากษาทั้งสองฝ่ายหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ โดยเฉพาะลูกหนี้ตามคำพิพากษาอาจสูญเสียทรัพย์สินที่เคยใช้ประกอบอาชีพและมีรายได้ที่ได้รับ โดยสม่ำเสมอเป็นประจำดังนั้น บทบัญญัติในวิธีการบังคับคดีจึงให้โอกาสแก่คู่ความที่จะเลือกใช้วิธีการบังคับคดีตามมาตรา 307 ซึ่งเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็อาจได้รับชำระหนี้ของตนได้เต็มตามจำนวนจนเป็นที่พอใจ เมื่อทรัพย์สินที่ถูกนำยึดไม่มีรายได้หรือมีการประกอบการอุตสาหกรรมหรือพาณิชยกรรมในขณะนั้นตามหลักเกณฑ์ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 307 ดังกล่าวข้างต้น จึงไม่อาจร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์ในการประกอบกิจการได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2028/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวการร่วม vs. ผู้รู้เห็น: จำเลยที่ 2 ไม่มีความผิดฐานชิงทรัพย์เพราะไม่ได้มีส่วนร่วมวางแผนหรือกระทำความผิด
จำเลยที่ 2 มีครรภ์แก่ได้ 7 เดือน รู้ถึงเจตนาของจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นสามีว่าจะไปชิงทรัพย์ผู้ตาย แต่ขณะที่จำเลยที่ 1 ล๊อกคอผู้ตาย จำเลยที่ 2 รีบปลีกตัวออกไปจากที่เกิดเหตุ มิได้ร่วมเป็นตัวการในการชิงทรัพย์ผู้ตายกับจำเลยที่ 1 เพราะมิได้แบ่งหน้าที่กันทำ ส่วนที่ได้มีการนัดหมายระหว่างจำเลยทั้งสองว่า หากจำเลยที่ 1ลงมือกระทำผิดขณะใดให้จำเลยที่ 2 หลบไปนั้น ก็มิใช่การร่วมมือกระทำผิดฐานชิงทรัพย์ จำเลยที่ 2 ไม่มีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2028/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ การพิสูจน์เจตนาในการร่วมกระทำความผิด และการยกฟ้องจำเลยที่ 2
ข้อความในบันทึกคำรับสารภาพชั้นจับกุมและบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนมิได้กล่าวถึงการกระทำใด ๆ ที่เป็นการร่วมกระทำผิดของจำเลยที่ 2 คงได้ความเพียงว่าจำเลยที่ 2 รู้ถึงเจตนาของจำเลยที่ 1 ว่าจะไปชิงทรัพย์ผู้ตาย และขณะที่จำเลยที่ 1 ล็อกคอผู้ตาย จำเลยที่ 2 ก็รีบปลีกตัวออกไปจากที่เกิดเหตุพฤติการณ์เช่นนี้จำเลยที่ 2 มิได้ร่วมเป็นตัวการในการชิงทรัพย์ผู้ตายร่วมกับจำเลยที่ 1 เพราะมิได้แบ่งหน้าที่กันทำความผิด ส่วนข้อที่ว่าได้มีการนัดหมายระหว่างจำเลยทั้งสองว่าหากจำเลยที่ 1 ลงมือกระทำผิดขณะใดให้จำเลยที่ 2 หลบไปนั้น ก็มิใช่การร่วมมือหรือเป็นการกระทำผิดในทางอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1991/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบสวนที่รายละเอียดบันทึกคำให้การไม่ตรงกับความเป็นจริง และการยื่นคำร้องฝากขังที่ไม่ถูกต้อง ไม่ทำให้การสอบสวนเป็นโมฆะ
บันทึกคำให้การของพยานในชั้นสอบสวนลง วัน เดือน ปี ไม่ตรงกับวันที่ทำการสอบสวนตามความเป็นจริง มีการเติมข้อความว่าพยานที่ถูกสอบปากคำเป็นพยานคนที่เท่าไร ไม่มีคำว่าสอบปากคำพยานต่อหน้านายตำรวจชื่ออะไร และมีการเติมข้อความว่าสอบปากคำต่อหน้านายตำรวจชื่ออะไร ข้อความดังกล่าวเป็นเพียงรายละเอียดในการสอบสวน หากไม่มีก็ไม่ทำให้การสอบสวนเสียไป ถือได้ว่าพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว พนักงานสอบสวนยื่นคำร้องต่อศาลขอฝากขังจำเลยต่อ โดยอ้างว่ายังเหลือพยานที่จะสอบอีกหลายปาก แต่ความจริงพนักงานสอบสวนสอบปากคำไปหมดแล้ว เป็นเรื่องรายละเอียด การยื่นคำร้องที่ไม่ตรงต่อความจริงเช่นนี้ ไม่ทำให้การสอบสวนของพนักงานสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1991/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของบันทึกคำให้การและการยื่นคำร้องฝากขังที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ไม่กระทบความชอบด้วยกฎหมายของการสอบสวน
แม้บันทึกคำให้การของพยานในชั้นสอบสวนจะลง วัน เดือน ปีไม่ตรงกับวันที่ทำการสอบสวนตามความเป็นจริง หรือมีการเติมข้อความว่าพยานที่ถูกสอบปากคำเป็นพยานคนที่เท่าไร หรือไม่มีคำว่าสอบปากคำพยานต่อหน้านายตำรวจชื่ออะไร หรือเติมข้อความว่าสอบปากคำต่อหน้านายตำรวจชื่ออะไรก็ตาม แต่ข้อความดังกล่าวเป็นเพียงรายละเอียดในการสอบสวนเท่านั้น หากไม่มีข้อความดังกล่าวก็ไม่ทำให้การสอบสวนเสียไปเนื่องจากไม่มีกฎหมายบัญญัติให้พนักงานสอบสวนบันทึกรายละเอียดดังกล่าวลงไปในบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของพยานเมื่อพนักงานสอบสวนได้ทำการรวบรวมพยานหลักฐานเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหาเพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิด และเพื่อจะเอาตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีลงโทษต่อไปแล้ว ถือได้ว่าพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว พนักงานสอบสวนยื่นคำร้องต่อศาลขอฝากขังจำเลยต่อ โดยอ้างว่ายังเหลือพยานที่จะสอบอีกหลายปาก แต่ความจริงพนักงานสอบสวนสอบปากคำไปหมดแล้วก็เป็นเพียงรายละเอียดเท่านั้น การยื่นคำร้องที่ไม่ตรงต่อความจริงเช่นนี้ หาทำให้การสอบสวนของพนักงานสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1859/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจดุลพินิจศาลในการงดสืบพยานและการรับฟังข้อเท็จจริงในคดีแพ่ง
อุทธรณ์จำเลยที่ว่า ศาลชั้นต้นควรสืบพยานโจทก์จำเลยก่อนเพื่อจะวินิจฉัยแปลความในสัญญาเช่าว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองหรือไม่ และโจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดินพิพาท ตัวบ้านที่พิพาทของจำเลยทั้งสองในส่วนด้านหน้าหรือทั้งหมดปลูกอยู่ในรัศมีของถนนไม่ได้เช่าจากใคร เป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลชั้นต้นในการมีคำสั่งงดสืบพยานและรับฟังข้อเท็จจริง เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1859/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกานี้วินิจฉัยว่าการอุทธรณ์ประเด็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับกรรมสิทธิ์และข้อสัญญาเช่าเป็นการต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1 ผู้เช่า จำเลยที่ 2 บริวารของ ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าในขณะยื่นฟ้องไม่เกิน เดือนละสองพันบาท จำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ ว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยทั้งสอง และที่อ้างว่าตามสัญญาเช่า ข้อ 6บิดาโจทก์ได้ให้คำมั่นไว้ว่า หากบิดาโจทก์จะขายที่พิพาทจะต้องแจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบ เพื่อให้โอกาสได้ซื้อก่อน นั้น ก็มิใช่การยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาเช่าที่จะก่อให้เกิดสิทธิอยู่บนอสังหาริมทรัพย์นั้น จึงต้องห้ามมิให้ คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองที่ว่า ศาลชั้นต้นสมควรสืบพยาน โจทก์จำเลยเสียก่อนเพื่อที่จะได้วินิจฉัยแปลความสัญญาเช่า ข้อ 6 ว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองหรือไม่นั้นเป็นการโต้เถียง ดุลพินิจของศาลชั้นต้นในการที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจมีคำสั่ง งดสืบพยานของคู่ความในข้อนี้อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ส่วนอุทธรณ์ ที่ว่า โจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่พิพาท และตัวบ้านพิพาทของจำเลยทั้งสอง ในส่วนด้านหน้าหรือทั้งหมดปลูกอยู่ในรัศมีของถนน ไม่ได้เช่า จากใครนั้น ก็เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังข้อเท็จจริง ของศาลชั้นต้นเป็นปัญหาข้อเท็จจริงเช่นกัน.
of 29