พบผลลัพธ์ทั้งหมด 289 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1573/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาฐานยักยอกทรัพย์: สถานที่กระทำความผิดและภูมิลำเนาจำเลย
จำเลยจะเดินทางกลับประเทศไทย ผู้เสียหายได้ฝากทรัพย์สินมากับจำเลยเพื่อฝากให้ภริยาผู้เสียหายในประเทศไทย ต่อมาผู้เสียหายเดินทางกลับมาประเทศไทยได้ไปทวงถามที่บ้านจำเลยที่อำเภอกุมภวาปีจังหวัดอุดรธานี จำเลยบอกว่าจะคืนให้ภายหลัง แล้วจำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้รับฝาก มูลความผิดฐานยักยอกทรัพย์เกิดเมื่อจำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้รับฝากทรัพย์ เหตุจึงเกิดที่อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ประเทศไทย พนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรอำเภอกุมภวาปีมีอำนาจสอบสวนได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1573/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาฐานยักยอกทรัพย์: เหตุเกิดในไทย แม้ฝากทรัพย์จากต่างประเทศ
จำเลยจะเดินทางจากประเทศซาอุดีอาระเบียกลับประเทศไทยผู้เสียหายได้ฝากทรัพย์สินมากับจำเลยเพื่อฝากให้ภริยาผู้เสียหายในประเทศไทย ต่อมาผู้เสียหายเดินทางกลับมาประเทศไทยทราบว่าจำเลยมิได้นำทรัพย์สินที่ฝากมาให้กับภริยาผู้เสียหายจึงได้ไปทวงถามที่บ้านจำเลยที่อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี จำเลยบอกว่าจะคืนให้ภายหลังแล้วจำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้รับฝาก มูลความผิดฐานยักยอกทรัพย์ เกิดเมื่อจำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้รับฝากทรัพย์เหตุจึงเกิดที่อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ประเทศไทยมิใช่ที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย ผู้เสียหายไปร้องทุกข์ที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอกุมภวาปี พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอกุมภวาปีจึงมีอำนาจสอบสวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1573/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: การยักยอกทรัพย์ การกำหนดสถานที่เกิดเหตุและอำนาจสอบสวนของพนักงานสอบสวน
ผู้เสียหายฝากทรัพย์สินกับจำเลยที่ประเทศซาอุดิอาระเบียเพื่อให้จำเลยนำมาให้ภริยาของผู้เสียหายในประเทศไทย เมื่อผู้เสียหายกลับมาประเทศไทยจึงทราบว่าจำเลยไม่ได้นำทรัพย์สินที่ฝากมาให้กับภริยาผู้เสียหาย และจำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้รับฝากผู้เสียหายจึงร้องทุกข์กับพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของจำเลยมูลแห่งความผิดทางอาญาฐานยักยอกทรัพย์ตามข้อนำสืบของโจทก์เกิดเมื่อจำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้รับฝากทรัพย์ อันแสดงถึงเจตนาทุจริตเบียดบังทรัพย์เป็นของตน เหตุจึงเกิดที่ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ประเทศไทย มิใช่เกิดที่ประเทศซาอุดิอาระเบียพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอกุมภวาปีมีอำนาจสอบสวนได้เมื่อได้มีการสอบสวนโดยชอบ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1573/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนและฟ้องคดีอาญา: สถานที่เกิดเหตุเป็นที่ตั้ง
จำเลยจะเดินทางกลับประเทศไทย ผู้เสียหายได้ฝากทรัพย์สินมากับจำเลยเพื่อฝากให้ภริยาผู้เสียหายในประเทศไทย ต่อมาผู้เสียหายเดินทางกลับมาประเทศไทยได้ไปทวงถามที่บ้านจำเลยที่อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี จำเลยบอกว่าจะคืนให้ภายหลัง แล้วจำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้รับฝาก มูลความผิดฐานยักยอกทรัพย์เกิดเมื่อจำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้รับฝากทรัพย์ เหตุจึงเกิดที่อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ประเทศไทย พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอกุมภวาปีมีอำนาจสอบสวนได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1519/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเพื่อชำระหนี้ที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ การเปลี่ยนแปลงกฎหมาย และผลต่อความผิดฐานออกเช็ค
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83,91 แต่ขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกามีพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 3 ยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 และมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่า "ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายโดยมีลักษณะหรือมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น ฯลฯ" ดังนั้น การออกเช็คที่จะมีมูลความผิดตามมาตรา 4แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 จะต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย การที่จำเลยทั้งสองออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้เงินยืมที่มีอยู่จริง แต่ไม่ปรากฏว่าการยืมเงินของจำเลยทั้งสองตามเช็คพิพาทแต่ละฉบับซึ่งมีจำนวนตั้งแต่หนึ่งล้านบาทขึ้นไปมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ยืม หนี้เงินยืมระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองจึงต้องห้ามมิให้ฟ้องร้องขอให้บังคับคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่งการกระทำของจำเลยทั้งสองซึ่งเดิมเป็นความผิดจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 4 ต่อไป จำเลยทั้งสองย่อมพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1519/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ & กฎหมายใหม่ยกเลิกกฎหมายเก่า ทำให้จำเลยพ้นผิด
ขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ปรากฏว่าพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 3 ได้ยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2497 เสียทั้งสิ้น และมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติองค์ประกอบความผิดว่า ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย โดยมีลักษณะหรือมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น ฯลฯ ดังนั้นการออกเช็คที่จะมีมูลความผิดตามกฎหมายใหม่ดังกล่าวจะต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย จำเลยทั้งสองออกเช็คทั้งสี่ฉบับเพื่อชำระหนี้เงินยืมที่มีอยู่จริงแต่การยืมเงินของจำเลยทั้งสองตามเช็คแต่ละฉบับซึ่งมีจำนวนตั้งแต่หนึ่งล้านบาทขึ้นไปไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ยืมหนี้เงินยืมระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองจึงต้องห้ามมิให้ฟ้องร้องขอให้บังคับคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่งการกระทำของจำเลยทั้งสองซึ่งเดิมเป็นความผิดจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 4 ต่อไป จำเลยทั้งสองย่อมพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1512/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาคดีอาญาผูกพันคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกัน ประเด็นความประมาทเป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้
คดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามในมูลละเมิด เป็นการกระทำเดียวกันกับคดีอาญาที่อัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในข้อหาความผิดต่อชีวิต ประมาท และก่อให้เกิดเพลิงไหม้ การที่จำเลยที่ 1ที่ 2 ในคดีแพ่ง ยื่นคำร้องขออ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 4531/2532 ของคดีอาญาดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานในชั้นฎีกา เมื่อข้อเท็จจริง ปรากฏว่าศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแพ่งเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2528 ส่วนคำพิพากษาฎีกาที่ 4531/2532 ได้อ่านให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2533 จำเลยที่ 1ที่ 2 ในคดีแพ่ง จึงไม่อาจอ้าง คำพิพากษาฎีกาดังกล่าวได้ก่อนนั้น และปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้เคยยื่นคำร้องขออ้างคำพิพากษาฎีกาที่4531/2532 ต่อศาลอุทธรณ์ มาแล้ว แต่ศาลอุทธรณ์มิได้มีคำสั่งอย่างใดดังนี้เห็นว่า คำพิพากษาฎีกาที่ 4531/2532 เป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็น ในคดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลฎีกามีอำนาจรับ พยานหลักฐานดังกล่าวเข้าสู่สำนวนความในชั้นฎีกาได้ พนักงานอัยการเคยเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญากล่าวหาจำเลยที่ 2 เป็นจำเลย ว่ากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้ ซึ่งมี มูลคดีเป็นการกระทำเดียวกันกับคดีแพ่งมาก่อน คดีของโจทก์ใน คดีแพ่งจึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เมื่อผลของคำพิพากษา คดีส่วนอาญา มีคำวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 มิได้กระทำประมาท เป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้และคดีถึงที่สุดไปแล้ว ข้อเท็จจริง ดังกล่าวศาลในคดีส่วนแพ่งจึงต้องถือตามที่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 บัญญัติไว้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1496/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยึดหน่วงทรัพย์สิน: เจ้าของสถานที่ไม่มีสิทธิยึดทรัพย์ที่ผู้เช่าซื้อมาใช้ในกิจการ หากหนี้มิได้เกี่ยวเนื่องกับทรัพย์สินโดยตรง
โจทก์กับ อ. ร่วมกันเปิดศูนย์ภาษาขึ้นที่ตึกแถวของจำเลยโดยตกลงกันว่า โจทก์เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการทั้งหมดและจะจ่ายผลประโยชน์เป็นค่าตอบแทนให้แก่จำเลยในอัตราร้อยละ 30ของค่าจ้างที่ได้รับ โจทก์ได้ซื้อทรัพย์พิพาทมาจากบุคคลภายนอกเพื่อใช้ในการประกอบกิจการของศูนย์ภาษาในตึกแถวดังกล่าวโดยไม่มีหนี้อันเกี่ยวด้วยทรัพย์พิพาทนั้นแต่อย่างใด ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้าค่าโทรศัพท์ และค่าผลประโยชน์ที่โจทก์ค้างชำระแก่จำเลยอยู่เป็นหนี้ที่เกิดจากการดำเนินกิจการของศูนย์ภาษา หาใช่เป็นหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่จำเลยเกี่ยวด้วยทรัพย์พิพาทซึ่งจำเลยครองอยู่ไม่ จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดหน่วงทรัพย์พิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1496/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการรับคืนทรัพย์สินที่ซื้อมาเพื่อใช้ในกิจการเช่า แม้มีหนี้ค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายอื่นจากการดำเนินกิจการ
โจทก์ซื้อทรัพย์พิพาทมาจากบุคคลภายนอกเพื่อนำมาใช้ในกิจการของโจทก์ในอาคารที่เช่าจากจำเลยโดยไม่มีหนี้อันเกี่ยวกับทรัพย์พิพาทระหว่างโจทก์และจำเลย สำหรับค่าน้ำ ค่าไฟฟ้าค่าโทรศัพท์ และค่าผลประโยชน์ตอบแทนที่จะต้องแบ่งให้จำเลยที่โจทก์ค้างชำระแก่จำเลยอยู่ก็เป็นหนี้ที่เกิดจากการดำเนินกิจการของโจทก์เพื่อประโยชน์ในการจัดการให้บริการแก่ลูกค้าที่มาติดต่อเท่านั้น มิใช่เป็นหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่จำเลยเกี่ยวด้วยทรัพย์พิพาทซึ่งจำเลยครอบครองอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 241 จำเลยไม่มีสิทธิยึดหน่วงทรัพย์พิพาทไว้ ต้องคืนให้แก่จำเลยผู้เป็นเจ้าของไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1496/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยึดหน่วงทรัพย์สินต้องมีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่เจ้าของทรัพย์ การชำระค่าเช่าและผลประโยชน์จากการดำเนินกิจการไม่ใช่หนี้ลักษณะดังกล่าว
โจทก์กับ อ. ได้ร่วมกันเปิดศูนย์ภาษาขึ้นที่ตึกแถวของจำเลยโจทก์กับ อ. ตกลงกับจำเลยว่า โจทก์เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการทั้งหมดและจะจ่ายผลประโยชน์เป็นค่าตอบแทนให้แก่จำเลยผู้เป็นเจ้าของสถานที่ร้อยละ 30 ของรายได้ที่ได้รับ โจทก์ได้ซื้อเครื่องใช้ประจำสำนักงานชนิดต่าง ๆ และอุปกรณ์อื่น ๆ ตามบัญชีทรัพย์พิพาทรวมราคา 19,915 บาท เพื่อนำมาใช้ในตึกแถวโจทก์จึงเป็นผู้ซื้อทรัพย์พิพาทจากบุคคลภายนอก เพื่อใช้ในการประกอบกิจการของศูนย์สอนภาษาโดยไม่มีหนี้อันเกี่ยวด้วยทรัพย์พิพาทนั้นแต่อย่างใดส่วนค่าน้ำค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ และค่าผลประโยชน์ตอบแทนที่จะต้องแบ่งให้จำเลยที่โจทก์ค้างชำระแก่จำเลยอยู่นั้น ก็เป็นหนี้ที่เกิดจากการดำเนินกิจการของศูนย์สอนภาษา เพื่อประโยชน์ในการจัดการให้บริการแก่ลูกค้าที่มาติดต่อเท่านั้น หาใช่หนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่จำเลยเกี่ยวด้วยทรัพย์พิพาทซึ่งจำเลยครอบครองอยู่ตาม ป.พ.พ.มาตรา 241 ไม่ จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดหน่วงทรัพย์พิพาท.