พบผลลัพธ์ทั้งหมด 289 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 981/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากชู้สาว การแสดงตนโดยเปิดเผยและความเสียหายต่อสถานภาพทางสังคม
พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 อยู่ร่วมเรือนเดียวกันและมีความสัมพันธ์กับจำเลยที่ 1 อย่างเปิดเผย โดยเป็นที่ประจักษ์ทั่วไปว่าบุคคลทั้งสองมีความสัมพันธ์ในทำนองชู้สาวต่อกันจำเลยที่ 2 ก็ยอมรับว่าโจทก์เคยไปพบบิดาของจำเลยที่ 2 ขอให้ห้ามจำเลยที่ 1 ไปบ้านจำเลยที่ 2 ฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้แสดงโดยเปิดเผยว่าตนมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 กับโจทก์เป็นสามีภรรยากันโดยชอบด้วยกฎหมายเมื่อจำเลยที่ 2 แสดงตนแก่บุคคลทั่วไปว่ามีความสัมพันธ์กับจำเลยที่ 1ในทำนองชู้สาวจึงเป็นเรื่องที่ผิดทำนองคลองธรรมอยู่ในตัวและเกิดความเสียหายแก่โจทก์ผู้ซึ่งเป็นภรรยาโดยตรง ซึ่งโจทก์ก็แสดงให้เห็นว่ามีฐานะทางสังคมที่ดี เมื่อมีพฤติการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นผู้บังคับบัญชาของโจทก์มีทัศนะต่อโจทก์ในทางไม่ดี ทั้งนี้โดยไม่ต้องคำนึงถึงความราบรื่นในชีวิตสมรสของโจทก์ และความผาสุกในครอบครัว ซึ่งถูกกระทบกระเทือนอยู่แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1523วรรคสอง ค่าทดแทนเป็นจำนวนเท่าใดนั้น ศาลมีอำนาจกำหนดค่าทดแทนตามควรแห่งพฤติการณ์และสถานะของคู่สมรสประกอบกัน โจทก์ได้ทราบถึงความสัมพันธ์ของจำเลยทั้งสองกลางปี 2525แต่คำฟ้องและชั้นนำสืบพยานหลักฐานของโจทก์ยืนยันความสัมพันธ์ของจำเลยทั้งสองเกิดขึ้นต่อเนื่องตลอดมาถึงปี 2528 มิได้หยุดการกระทำและสิ้นไป เมื่อโจทก์ฟ้องคดีเรียกค่าทดแทนภายในปี 2528คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1529
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 980/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความและฟ้องคดีอาญาไม่ถือเป็นการหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามร้ายแรงจนเป็นเหตุหย่าได้
การแจ้งความของจำเลยเป็นการใช้สิทธิตามที่กฎหมายให้อำนาจส่วนผลของการแจ้งความจะเป็นประการใดเป็นอีกส่วนหนึ่ง การแจ้งความของจำเลยจึงไม่เป็นการหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามโจทก์อย่างร้ายแรง อันจะถือเป็นเหตุหย่าตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1516(3) กรณีที่จำเลยฟ้องคดีอาญากล่าวหาโจทก์และ พ. ร่วมกันแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จนั้น จำเลยกระทำการโดยสุจริตโดยเข้าใจว่าตนมีสิทธิที่จะกระทำได้หาใช่เป็นการหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามโจทก์อย่างร้ายแรง อันเป็นเหตุหย่าตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1516(3) ข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 980/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่าจากเหตุหมิ่นประมาท/เหยียดหยาม ต้องพิจารณาเหตุผลในการแจ้งความ/ฟ้องร้อง หากมีเหตุผลสมควร ศาลไม่ถือเป็นเหตุหย่า
โจทก์ขายรถยนต์สินสมรสให้แก่บุคคลอื่นโดยที่จำเลยซึ่งเป็นภริยาไม่ทราบ และได้ระบุในบันทึกคำแจ้งความเรื่องขอโอนและขอรับโอนทะเบียนรถยนต์ว่า โจทก์เป็นโสด มีเหตุให้จำเลยเชื่อว่าโจทก์ขายรถยนต์เพื่อประโยชน์ของโจทก์เพียงฝ่ายเดียวการที่โจทก์แจ้งว่าเป็นโสดเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง จำเลยย่อมมีสิทธิรักษาประโยชน์ของตนเองได้ การที่จำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนกล่าวหาว่าโจทก์แจ้งความต่อนายทะเบียนยานพาหนะอันเป็นเท็จดังกล่าว เป็นการใช้สิทธิตามที่มีกฎหมายให้อำนาจเพื่อปกปักและรักษาประโยชน์ในทรัพย์สินของตนตามปกติ จึงไม่เป็นการหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามโจทก์อย่างร้ายแรงที่จะถือว่าเป็นเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(3) จำเลยเข้าใจว่าเหตุที่ทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยถูกยึดในคดีที่ พ.ฟ้องโจทก์ให้ชำระเงินตามเช็คเป็นผลมาจากการกลั่นแกล้งของโจทก์โดยความร่วมมือของ พ.ซึ่งไม่มีหนี้สินต่อกัน ที่จำเลยฟ้องคดีอาญากล่าวหาโจทก์และ พ.ว่าร่วมกันแสดงพยานหลักฐานในคดีดังกล่าวอันเป็นเท็จ จึงเป็นการกระทำที่จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่า จำเลยมีสิทธิกระทำได้เพื่อป้องกันส่วนได้เสียและปกป้องทรัพย์สินที่จำเลยมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของไม่เป็นการหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามโจทก์อย่างร้ายแรงอันเป็นเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 980/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่าจากเหตุหมิ่นประมาท/เหยียดหยามจากแจ้งความ/ฟ้องคดีอาญา ศาลฎีกาเห็นว่าเป็นการใช้สิทธิเพื่อปกป้องทรัพย์สิน
การที่โจทก์ขายรถยนต์สินสมรสให้แก่บุคคลอื่นโดยที่จำเลยไม่ทราบและได้ระบุในบันทึกคำแจ้งความเรื่องขอโอนและขอรับโอนทะเบียนรถยนต์ว่าโจทก์เป็นโสด มีเหตุให้จำเลยเชื่อว่าโจทก์ขายรถยนต์สินสมรสเพื่อประโยชน์ของโจทก์เพียงฝ่ายเดียว จึงเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง จำเลยย่อมมีสิทธิรักษาประโยชน์ของตนเองได้ ดังนั้นการแจ้งความของจำเลยต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีกับโจทก์ฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน จึงเป็นการใช้สิทธิตามที่มีกฎหมายให้อำนาจเพื่อปกป้องและรักษาประโยชน์ในทรัพย์สินของตนตามปกติ จึงไม่เป็นการหมิ่นประมาท หรือเหยียดหยามโจทก์อย่างร้ายแรงที่จะถือว่าเป็นเหตุหย่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516(3) การที่จำเลยฟ้องโจทก์และ พ. เป็นจำเลยในคดีอาญาข้อหาร่วมกันแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จนั้น สืบเนื่องมาจากเหตุที่ได้มีการฟ้องคดีแพ่งและมีการนำยึดที่ดินพร้อมบ้านที่ปลูกอยู่บนที่ดินดังกล่าว ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์และจำเลยร่วมกัน และจำเลยก็มีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านหลังนี้โดยมีพฤติการณ์ที่ทำให้จำเลยเข้าใจว่าหนี้สินระหว่างโจทก์และ พ. เป็นหนี้สมยอมกันเพื่อกลั่นแกล้งจำเลย การฟ้องคดีอาญาดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นการกระทำที่จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่า มีสิทธิกระทำได้ เพื่อป้องกันส่วนได้เสียและป้องกันทรัพย์สินที่จำเลยมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ จึงหาใช่เป็นการหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามโจทก์อย่างร้ายแรงอันจะเป็นเหตุหย่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516(3) ไม่เช่นเดียวกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 897/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความกับการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน: สิทธิในการเรียกร้องเงินส่วนเกิน
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาล โดยจำเลยตกลงโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่จำนองให้โจทก์ เมื่อจำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินให้โจทก์ตามสัญญาแล้ว แม้ภายหลังโจทก์ขายที่ดินดังกล่าวให้บุคคลอื่นได้ราคาสูงกว่าจำนวนหนี้ที่จำเลยค้างชำระ จำเลยจะขอให้โจทก์คืนเงินค่าที่ดินส่วนที่เกินจำนวนหนี้แก่จำเลยไม่ได้เพราะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 732 ใช้บังคับเฉพาะกรณีขายทอดตลาดบังคับจำนอง ไม่ใช้บังคับกรณีทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 889/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสิทธิฎีกาหลังกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. ใช้บังคับ แม้คดีเป็นปัญหาข้อกฎหมาย
การพิจารณาว่าโจทก์จะฎีกาได้หรือไม่ ต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะยื่นฎีกา แม้คดีนี้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในปัญหาข้อกฎหมายก็ตาม แต่โจทก์ยื่นฎีกาเมื่อวันที่16 พฤษภาคม 2534 หลังจาก พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ.(ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 ใช้บังคับแล้วโจทก์จึงฎีกาไม่ได้ เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 มาตรา 13.