พบผลลัพธ์ทั้งหมด 289 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5622/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: การฟ้องละเมิดที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์การยื่นฟ้องต่อศาล
มูลคดีตามฟ้องเกี่ยวกับละเมิด มิได้ฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหา-ริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ อีกทั้งจำเลยก็มิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตของศาลชั้นต้นและมูลคดีที่เกิดขึ้นก็ไม่ได้เกิดในเขตของศาลชั้นต้นเช่นกัน แม้โจทก์จะมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลชั้นต้น โจทก์ก็ไม่อาจยื่นคำร้องขออนุญาตฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นได้เพราะไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1) และ (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5622/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: คดีละเมิด จำเลย/มูลคดีไม่อยู่ในเขตศาล โจทก์ไม่อาจขออนุญาตฟ้องได้
มูลคดีตามฟ้องเกี่ยวกับละเมิด มิได้ฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ อีกทั้งจำเลยก็มิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตของศาลชั้นต้นและมูลคดีที่เกิดขึ้นก็ไม่ได้เกิดในเขตของศาลชั้นต้นเช่นกัน แม้โจทก์จะมีภูมิลำเนาอยู่ในศาลชั้นต้น โจทก์ก็ไม่อาจยื่นคำร้องขออนุญาตฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นได้เพราะไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1) และ (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5564/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนการครอบครองที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญฯ โดยการส่งมอบทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1378
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ขาดที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์และได้ส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ครอบครองแล้วจริง แต่จากการที่ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดิน ย่อมโอนการครอบครองกันได้โดยเพียงส่งมอบทรัพย์สินที่ครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1378 การซื้อขายที่ดินพิพาทจึงเป็นไปโดยชอบ ฉะนั้นโจทก์จึงมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทการที่โจทก์จำเลยซื้อขายที่ดินพิพาทโดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จะเป็นโมฆะหรือไม่ ไม่เป็นเหตุให้โจทก์เสียสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทที่โจทก์ซื้อจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5553/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดสรรที่ดินโดยปริยาย & ภารจำยอมทางสาธารณูปโภค แม้ไม่ได้รับอนุญาตจัดสรร
แม้ไม่ปรากฏว่า พ. เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดินให้ทำการจัดสรรที่ดิน และที่ดินอันเป็นทางพิพาทเป็นที่ดินตามแผนผังและโครงการที่ได้รับอนุญาตตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ก็ตามก็ถือได้ว่าการกระทำของ พ.ที่แบ่งแยกที่ดินของตนออกเป็นแปลงย่อย 13 แปลง เพื่อขายนั้น เป็นการแสดงออกโดยปริยายแล้วว่า พ. จัดให้มีสาธารณูปโภคคือทางพิพาทอันถือได้ว่าเป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวส่วนการที่ พ. จะขออนุญาตจัดสรรที่ดินหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหากซึ่งหากจะเป็นการดำเนินการฝ่าฝืนประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวก็ไม่ทำให้การดำเนินการของ พ. ไม่เป็นการจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย ทางพิพาทที่จำเลยปลูกโรงเรือนรุกล้ำจึงเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินที่โจทก์เช่าซื้อจาก พ. จำเลยจึงต้องรื้อถอนบ้านที่จำเลยปลูกรุกล้ำเข้ามาในทางพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5553/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดสรรที่ดินโดยปริยาย ทางภาระจำยอม การรุกล้ำทางสาธารณะ
พ.แบ่งแยกที่ดินของตนออกเป็นแปลงย่อย 13 แปลง เพื่อขายโจทก์ได้เช่าซื้อและรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดังกล่าวจาก พ. 1 แปลง ทางพิพาทเป็นทางที่ พ.จัดทำไว้ใช้เป็นทางออกสู่ทางสาธารณะสำหรับที่ดินอีก 12 แปลงดังกล่าว แม้จะไม่ปรากฏว่า พ.เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินจากคณะกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 และที่ดินตามโฉนดเลขที่10514 อันเป็นทางพิพาทเป็นที่ดินตามแผนผังและโครงการที่ได้รับอนุญาตก็ตาม ก็ถือว่าการกระทำของ พ.ที่แบ่งแยกที่ดินออกเป็นแปลงย่อย 13 แปลง เพื่อขายนั้น เป็นการแสดงออกโดยปริยายแล้วว่า พ.จัดให้มีสาธารณูปโภคคือทางพิพาท อันถือได้ว่าเป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515ข้อ 30 ส่วน พ.จะขออนุญาตจัดสรรที่ดินหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก หากจะเป็นการดำเนินการฝ่าฝืนประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวก็ไม่ทำให้การดำเนินการของ พ.ไม่เป็นการจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย ทางพิพาทจึงเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินที่โจทก์เช่าซื้อจาก พ. จำเลยปลูกบ้านรุกล้ำทางพิพาท จึงต้องรื้อออกไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5323/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีขับไล่ที่ดินพิพาท: การวินิจฉัยข้อเท็จจริงเรื่องสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดที่จำเลยทั้งสองบุกรุกเข้าไปปลูกในที่ดินพิพาทของโจทก์และเรียกค่าเสียหาย เป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์โดยไม่ปรากฏว่าขณะยื่นฟ้องอาจให้เช่าได้เกินเดือนละ 10,000 บาทจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ฟังว่า ที่ดินพิพาทโจทก์มีสิทธิครอบครองโดยซื้อมาจาก ป.และ ค. เท่ากับศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยในข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทมิใช่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น จึงต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ ฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงเป็นฎีกาคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในปัญหาข้อเท็จจริงว่า ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ เพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5323/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่และการพิพาทเรื่องที่ดิน: อำนาจฟ้องและการวินิจฉัยข้อเท็จจริงเรื่องสาธารณสมบัติ
โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดที่จำเลยทั้งสองบุกรุกเข้าไปปลูกในที่ดินพิพาทของโจทก์และเรียกค่าเสียหาย เป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์โดยไม่ปรากฏว่าขณะยื่นฟ้องอาจให้เช่าได้เกินเดือนละ 10,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ฟังว่า ที่ดินพิพาทโจทก์มีสิทธิครอบครองโดยซื้อมาจาก ป.และ ค. เท่ากับศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยในข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทมิใช่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น จึงต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงเสียก่อนว่า ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ ฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงเป็นฎีกาคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในปัญหาข้อเท็จจริงว่า ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ เพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ฟังว่า ที่ดินพิพาทโจทก์มีสิทธิครอบครองโดยซื้อมาจาก ป.และ ค. เท่ากับศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยในข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทมิใช่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น จึงต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงเสียก่อนว่า ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ ฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงเป็นฎีกาคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในปัญหาข้อเท็จจริงว่า ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ เพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4922/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์หลังการโอนสิทธิในที่ดิน: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการยึดชอบด้วยกฎหมายหากผู้รับโอนไม่ร้องขอปล่อยทรัพย์
เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทตามที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอ้างว่าเป็นของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาอันเป็นการยึดทรัพย์สินโดยชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 283 วรรคแรก แม้จะปรากฏว่าจำเลยได้จดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้ อ. ไปก่อนแล้วก็ตาม ก็ไม่ทำให้การยึดทรัพย์เสียไป เพราะหาก อ.ผู้มีชื่อใน น.ส.3 ก. ที่ดินพิพาทอ้างว่าตนเป็นเจ้าของ อ. ก็ต้องร้องขอให้ปล่อยที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 เมื่อ อ. มิได้ร้องขอให้ปล่อย ศาลจะอ้างเหตุผลใดมาเพิกถอนการยึดหาได้ไม่ เพราะการมีชื่อใน น.ส.3 ก. ดังกล่าว มิได้หมายความว่า อ. เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4922/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์หลังการโอนกรรมสิทธิ์: เจ้าหนี้ยังยึดได้หากผู้รับโอนไม่ร้องขอปล่อยทรัพย์
เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการยึดทรัพย์สินที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่มี น.ส.3 ก. เพื่อบังคับคดีตามที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอ้างว่าเป็นของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้แล้วอันเป็นการยึดทรัพย์สินโดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 283 วรรคแรก แม้จะปรากฏว่าจำเลยได้จดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้ อ. ไปก่อนแล้วก็ไม่ทำให้การยึดทรัพย์ต้องเสียไป เพราะหากอ. ผู้มีชื่อใน น.ส.3 ก. อ้างว่าตนเป็นเจ้าของเนื่องจากได้รับการยกให้จากจำเลย อ. ก็ต้องร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินพิพาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 เมื่อ อ. มิได้ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จึงไม่มีเหตุผลใดมาอ้างเพื่อเพิกถอนการยึด เพราะการมีชื่อใน น.ส.3 ก. ดังกล่าวมิได้หมายความว่า อ. เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4863/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันและหลักประกันทางสัญญา การคิดดอกเบี้ยหลังครบกำหนดสัญญา
จำเลยที่ 1 ทำบันทึกเพิ่มวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี และเพิ่มหลักประกันเป็น 320,000 บาท มีจำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันโดยมีสมุดเงินฝากประจำเป็นประกัน ถือว่าจำเลยที่ 3 มีเจตนาทำสัญญาค้ำประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ตามวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีครั้งหลังจำนวน 320,000 บาท แม้สัญญาค้ำประกันจะมีข้อความว่าผู้ค้ำประกันตกลงยอมค้ำประกันผู้กู้ที่ได้กู้เงินจำนวน320,000 บาท และดอกเบี้ยกับค่าธรรมเนียม ค่าเสียหาย และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่โจทก์ต้องจ่ายเงินไปในการบังคับชำระหนี้จำนวนที่ค้างอยู่นั้นไม่ว่ายอดหนี้ตามบัญชีจะต่ำกว่าหรือสูงขึ้นจากที่ระบุไว้ในสัญญาก็ตาม ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมกับผู้กู้ทั้งสิ้นก็ตาม ก็มีความหมายแต่เพียงว่าผู้ค้ำประกันจะต้องร่วมรับผิดกับลูกหนี้ในวงเงินที่กู้ และการที่จำเลยที่ 3 นำสมุดเงินฝากประจำมอบไว้แก่โจทก์เป็นประกันหนี้ในการทำสัญญาค้ำประกันแต่ละคราว ก็ด้วยเจตนาที่จะให้เป็นหลักประกันในการทำสัญญาค้ำประกันเท่านั้นแม้ตามสัญญาจำนำสิทธิตามตราสารสมุดคู่ฝากเงินฝากประจำจะมีข้อความว่าผู้จำนำตกลงยินยอมให้ธนาคารใช้สิทธิในเงินตามสมุดเงินฝากที่จำนำหักกลบลบหนี้ในหนี้สินที่ลูกหนี้ซึ่งผู้จำนำจะต้องรับผิดในฐานะผู้จำนำหรือผู้ค้ำประกันแทนลูกหนี้ได้ทันที และเมื่อหักกลบลบหนี้แล้วหากลูกหนี้ยังเป็นหนี้ธนาคารอยู่อีก ผู้จำนำตกลงยินยอมเข้ารับเป็นผู้ค้ำประกันเงินที่เหลือค้าง และตกลงรับผิดร่วมกับลูกหนี้ในอันที่จะชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวข้างต้นให้แก่ธนาคารจนครบถ้วนตามสัญญาที่ลูกหนี้ได้เป็นหนี้ธนาคารอยู่นั้นก็ตาม แต่สัญญาดังกล่าวทำในวันเดียวกันกับที่ทำสัญญาค้ำประกันแสดงว่าเป็นการนำหลักประกันมามอบแก่โจทก์เพิ่มเติมจากการทำสัญญาค้ำประกัน หาใช่เป็นการค้ำประกันขึ้นใหม่โดยไม่จำกัดจำนวนไม่ หลังจากวันครบกำหนดสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแล้วไม่มีการเบิกถอนเงินออกจากบัญชีอีก คงมีแต่รายการคิดดอกเบี้ยของโจทก์และการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อหักทอนหนี้เพียงอย่างเดียว ไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกต่อไป คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้น