พบผลลัพธ์ทั้งหมด 289 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4863/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันเบิกเงินเกินบัญชี และดอกเบี้ยทบต้น
จำเลยที่ 1 ทำบันทึกเพิ่มวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี และเพิ่มหลักประกันเป็น 320,000 บาท มีจำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกัน โดยมีสมุดเงินฝากประจำเป็นประกัน ถือว่าจำเลยที่ 3 มีเจตนาทำสัญญาค้ำประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ตามวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีครั้งหลังจำนวน 320,000 บาท แม้สัญญาค้ำประกันจะมีข้อความว่าผู้ค้ำประกันตกลงยอมค้ำประกันผู้กู้ที่ได้กู้เงินจำนวน 320,000 บาท และดอกเบี้ยกับค่าธรรมเนียมค่าเสียหาย และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่โจทก์ต้องจ่ายเงินไปในการบังคับชำระหนี้จำนวนที่ค้างอยู่นั้น ไม่ว่ายอดหนี้ตามบัญชีจะต่ำกว่าหรือสูงขึ้นจากที่ระบุไว้ในสัญญาก็ตาม ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมกับผู้กู้ทั้งสิ้นก็ตาม ก็มีความหมายแต่เพียงว่าผู้ค้ำประกันจะต้องร่วมรับผิดกับลูกหนี้ในวงเงินที่กู้ และการที่จำเลยที่ 3นำสมุดเงินฝากประจำมอบไว้แก่โจทก์เป็นประกันหนี้ในการทำสัญญาค้ำประกันแต่ละคราว ก็ด้วยเจตนาที่จะให้เป็นหลักประกันในการทำสัญญาค้ำประกันเท่านั้นแม้ตามสัญญาจำนำสิทธิตามตราสารสมุดคู่ฝากเงินฝากประจำจะมีข้อความว่าผู้จำนำตกลงยินยอมให้ธนาคารใช้สิทธิในเงินตามสมุดเงินฝากที่จำนำหักกลบลบหนี้ในหนี้สินที่ลูกหนี้ซึ่งผู้จำนำจะต้องรับผิดในฐานะผู้จำนำหรือผู้ค้ำประกันแทนลูกหนี้ได้ทันที และเมื่อหักกลบลบหนี้แล้วหากลูกหนี้ยังเป็นหนี้ธนาคารอยู่อีก ผู้จำนำตกลงยินยอมเข้ารับเป็นผู้ค้ำประกันเงินที่เหลือค้าง และตกลงรับผิดร่วมกับลูกหนี้ในอันที่จะชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวข้างต้นให้แก่ธนาคารจนครบถ้วนตามสัญญาที่ลูกหนี้ได้เป็นหนี้ธนาคารอยู่นั้นก็ตาม แต่สัญญาดังกล่าวทำในวันเดียวกันกับที่ทำสัญญาค้ำประกัน แสดงว่าเป็นการนำหลักประกันมามอบแก่โจทก์เพิ่มเติมจากการทำสัญญาค้ำประกัน หาใช่เป็นการค้ำประกันขึ้นใหม่โดยไม่จำกัดจำนวนไม่
หลังจากวันครบกำหนดสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแล้วไม่มีการเบิกถอนเงินออกจากบัญชีอีก คงมีแต่รายการคิดดอกเบี้ยของโจทก์และการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อหักทอนหนี้เพียงอย่างเดียว ไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกต่อไป คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้น
หลังจากวันครบกำหนดสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแล้วไม่มีการเบิกถอนเงินออกจากบัญชีอีก คงมีแต่รายการคิดดอกเบี้ยของโจทก์และการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อหักทอนหนี้เพียงอย่างเดียว ไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกต่อไป คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4845/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแบ่งกรรมสิทธิ์รวม ไม่ใช่การครอบครองปรปักษ์ ไม่ต้องบรรยายการทำประโยชน์ อายุความเริ่มนับแต่ซื้อ
ฟ้องโจทก์เป็นการฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทจากจำเลย มิใช่ขอแบ่งกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทจากจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์ โจทก์จึงไม่ต้องบรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทที่ขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมจากจำเลยตั้งแต่เมื่อใด ทั้งปรากฏว่าจำเลยได้ให้การต่อสู้ได้ถูกต้องครบถ้วน มิได้หลงข้อต่อสู้แต่ประการใด ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คดีนี้ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยฎีกาอ้างว่า จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่ที่ซื้อเมื่อปี 2511 และจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในปี 2526 จึงต้องเริ่มนับอายุความครอบครองปรปักษ์ตั้งแต่ปีที่จำเลยซื้อมา เพราะจำเลยเจตนาครอบครองปรปักษ์นับแต่นั้นเป็นต้นมา และโดยที่ผู้ขายมีเจตนาสละที่ดินส่วนที่ขายให้จำเลย จึงเป็นการกล่าวอ้างที่ต้องใช้ดุลพินิจในการรับฟังพยานโดยอาศัยข้อเท็จจริงเพื่อการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายมีผลอย่างเดียวกับการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คดีนี้ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยฎีกาอ้างว่า จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่ที่ซื้อเมื่อปี 2511 และจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในปี 2526 จึงต้องเริ่มนับอายุความครอบครองปรปักษ์ตั้งแต่ปีที่จำเลยซื้อมา เพราะจำเลยเจตนาครอบครองปรปักษ์นับแต่นั้นเป็นต้นมา และโดยที่ผู้ขายมีเจตนาสละที่ดินส่วนที่ขายให้จำเลย จึงเป็นการกล่าวอ้างที่ต้องใช้ดุลพินิจในการรับฟังพยานโดยอาศัยข้อเท็จจริงเพื่อการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายมีผลอย่างเดียวกับการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4845/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแบ่งกรรมสิทธิ์รวม ไม่ใช่การครอบครองปรปักษ์ และข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามทุนทรัพย์
ฟ้องโจทก์เป็นการฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทจากจำเลย มิใช่ขอแบ่งกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทจากจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์ โจทก์จึงไม่ต้องบรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทที่ขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมจากจำเลยตั้งแต่เมื่อใดทั้งปรากฏว่าจำเลยได้ให้การต่อสู้ได้ถูกต้องครบถ้วน มิได้หลงข้อต่อสู้แต่ประการใด ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม คดีนี้ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยฎีกาอ้างว่า จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่ที่ซื้อเมื่อปี 2511 และจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในปี 2526 จึงต้องเริ่มนับอายุความครอบครองปรปักษ์ตั้งแต่ปีที่จำเลยซื้อมา เพราะจำเลยเจตนาครอบครองปรปักษ์นับแต่นั้นเป็นต้นมา และโดยที่ผู้ขายมีเจตนาสละที่ดินส่วนที่ขายให้จำเลย จึงเป็นการกล่าวอ้างที่ต้องใช้ดุลพินิจในการรับฟังพยานโดยอาศัยข้อเท็จจริงเพื่อการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายมีผลอย่างเดียวกับการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4826/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การท้าคดีไม่ใช่การทำนิติกรรมที่ต้องได้รับอนุญาตจากศาลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574
การท้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในศาลที่คู่ความตกลงกันให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นที่คู่ความท้ากันเป็นข้อแพ้ชนะ มิได้มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอนสงวน หรือระงับซึ่งสิทธิตามความหมายของ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 112(เดิม) จึงไม่เป็นนิติกรรมที่โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองฟ้องคดีต่อศาลแทนโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เยาว์จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 เสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4774/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลมิได้พิจารณาคำร้องขอเลื่อนคดีก่อนสั่งขาดนัด ถือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
ในวันนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 23 พฤศจิกายน 2533 ผู้รับมอบฉันทะทนายจำเลยที่ 1 มาศาลและยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างว่าติดว่าความที่ศาลอื่นซึ่งได้นัดไว้ก่อนแล้ว ส่วนโจทก์และจำเลยที่ 2 ไม่มาการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องขอเลื่อนคดีว่า "สั่งในรายงาน"แล้วมีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาว่า ทนายจำเลยที่ 1 มอบฉันทะให้เสมียนทนายยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีแสดงว่าตั้งใจที่จะให้ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201จึงมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา ให้นัดสืบพยานจำเลยที่ 1 ต่อไปในวันที่ 20 ธันวาคม 2533 เวลา 13.30 นาฬิกา และให้จำหน่ายคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ออกจากสารบบความจึงไม่ถูกต้อง เนื่องจากศาลชั้นต้นยังมิได้พิจารณาคำร้อง ขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยที่ 1เลยว่าทนายจำเลยที่ 1 มาศาลไม่ได้เพราะติดว่าความที่ศาลอื่นจริงหรือไม่ หากข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำร้องก็ถือได้ว่ามีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ชอบที่จะสั่งอนุญาตให้เลื่อนคดีไว้ และวันที่23 พฤศจิกายน 2533 ก็มิใช่วันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบพยานอีกต่อไปแม้โจทก์และจำเลยที่ 2 ไม่มาศาลในวันดังกล่าว กรณีก็ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการพิจารณาโดยขาดนัด การที่ศาลชั้นต้นมิได้พิจารณาสั่งคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40แต่กลับก้าวล่วงไปสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและให้จำหน่ายคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ออกจากสารบบความ เป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการพิจารณา ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยโดยให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ไม่ชอบนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2),247 ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานแล้วพิพากษาใหม่โดยไม่ถูกต้อง เนื่องจากศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำพิพากษา ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4774/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีและการขาดนัด: ศาลต้องพิจารณาคำร้องขอเลื่อนคดีก่อนสั่งขาดนัด
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์ในวันนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์และจำเลยที่ 2 ไม่มาศาล ส่วนจำเลยที่ 1ทนายจำเลยที่ 1 มอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดีโดยอ้างว่าติดว่าความที่ศาลอื่น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ทนายจำเลยที่ 1 มอบฉันทะให้เสมียนทนายยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีแสดงว่าตั้งใจที่จะให้ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 201 จึงมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา ให้นัดสืบพยานจำเลยที่ 1 ต่อไป และให้จำหน่ายคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ออกจากสารบบความดังนี้ ศาลชั้นต้นยังมิได้พิจารณาคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยที่ 1 เลยว่าทนายจำเลยที่ 1 มาศาลไม่ได้เพราะติดว่าความที่ศาลอื่นจริงหรือไม่ หากข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำร้องก็ถือได้ว่ามีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ ชอบที่จะสั่งอนุญาตให้เลื่อนคดีไป และวันดังกล่าวก็มิใช่วันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบพยานอีกต่อไป แม้โจทก์และจำเลยที่ 2 ไม่มาศาลในวันนั้น กรณีก็ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการพิจารณาโดยขาดนัดฉะนั้น คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการพิจารณาและเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยโดยให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ไม่ชอบนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2),247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3681/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการแบ่งมรดกและฟ้องแย้งขอแบ่งทรัพย์สินร่วมกัน แม้คดีหลักยังไม่สิ้นสุด
จำเลยได้ครองครองที่ดินและตึกพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้แบ่งร่วมกันกับโจทก์ จำเลยจึงมีสิทธิฟ้องแย้งขอแบ่งที่ดินและตึกพิพาทซึ่งตนเป็นเจ้าของร่วมได้ จะนำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่ขาดอายุความ คดีนี้เป็นคดีตามฟ้องแย้งของจำเลยซึ่งถูกแยกพิจารณาคดีต่างหากจากคดีตามฟ้องเดิมของโจทก์ การพิจารณาและวินิจฉัยคดีตามฟ้องเดิมกับคดีตามฟ้องแย้งจะต้องแยกต่างหากจากกัน แม้คดีตามฟ้องเดิมของโจทก์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ชนะคดี แต่คดีตามฟ้องเดิมยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ฉะนั้นจะฟังข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีตามฟ้องเดิมยังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3681/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องแย้งแบ่งมรดกไม่ขาดอายุความ แม้คดีเดิมยังไม่สิ้นสุด
จำเลยได้ครอบครองที่ดินและตึกพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้แบ่งร่วมกันกับโจทก์ จำเลยจึงมีสิทธิฟ้องแย้งขอแบ่งที่ดินและตึกพิพาทซึ่งตนเป็นเจ้าของร่วมได้ จะนำอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้ ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่ขาดอายุความ
คดีนี้เป็นคดีตามฟ้องแย้งของจำเลยซึ่งถูกแยกพิจารณาคดีต่างหากจากคดีตามฟ้องเดิมของโจทก์ การพิจารณาและวินิจฉัยคดีตามฟ้องเดิมกับคดีตามฟ้องแย้งจะต้องแยกต่างหากจากกัน แม้คดีตามฟ้องเดิมของโจทก์ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ชนะคดี แต่คดีตามฟ้องเดิมยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ฉะนั้น จะฟังข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีตามฟ้องเดิมยังไม่ได้
คดีนี้เป็นคดีตามฟ้องแย้งของจำเลยซึ่งถูกแยกพิจารณาคดีต่างหากจากคดีตามฟ้องเดิมของโจทก์ การพิจารณาและวินิจฉัยคดีตามฟ้องเดิมกับคดีตามฟ้องแย้งจะต้องแยกต่างหากจากกัน แม้คดีตามฟ้องเดิมของโจทก์ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ชนะคดี แต่คดีตามฟ้องเดิมยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ฉะนั้น จะฟังข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีตามฟ้องเดิมยังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3456/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยหลังวันฟ้องไม่นับเป็นทุนทรัพย์ในชั้นฎีกา ทำให้คดีต้องห้ามฎีกาตามมาตรา 248
ดอกเบี้ยหลังวันฟ้องไม่นำมาคำนวณเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3365/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นต้องผ่านศาลอุทธรณ์ก่อน ไม่อาจอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาโดยตรง
การอุทธรณ์คำพิพากษา หรือคำสั่งศาลชั้นต้นในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายมีบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรคแรกแล้วว่าให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ จึงจะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ มาอนุโลมบังคับใช้หาได้ไม่ การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์คำสั่งยกฟ้องของศาลชั้นต้นโดยตรงมายังศาลฎีกาจึงเป็นการไม่ชอบ