คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 867

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 121 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 757/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งเท็จข้อมูลประกันภัยทำให้กรมธรรม์เป็นโมฆะ ผู้เอาประกันภัยไม่ได้รับค่าสินไหม
โกดังของโจทก์ที่ถูกเพลิงไหม้เป็นอาคารชั้นเดียวแต่โจทก์แจ้งเท็จแก่จำเลยที่1ผู้รับประกันภัยขณะเอาประกันภัยโกดังดังกล่าวว่าเป็นอาคารสองชั้นเพื่อได้มูลค่าประกันสูงขึ้นนั้นเป็นการปฏิบัติผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งกำหนดไว้ว่าความรับผิดเพื่อการสูญหายหรือการเสียหายของจำเลยที่1ที่มีต่อผู้เอาประกันภัยเป็นอันลบล้างไปเมื่อผู้เอาประกันภัยแสดงรายการอันเป็นเท็จเพื่อจะได้มาซึ่งประโยชน์ตามกรมธรรม์และเป็นการฉ้อฉลจำเลยที่1จำเลยที่1จึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4830/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้เอาประกันภัยแม้กรรมสิทธิ์เปลี่ยนมือ, การรับประกันภัยสินค้า, และข้อยกเว้นความรับผิดจากเหตุสุดวิสัย
ผู้มีสิทธิเอาประกันภัยมิได้จำกัดเพียงเฉพาะผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่เอาประกันภัยเท่านั้น ผู้ที่มีความสัมพันธ์อยู่กับทรัพย์หรือสิทธิหรือผลประโยชน์หรือรายได้ใด ๆ ซึ่งถ้ามีวินาศภัยเกิดขึ้นจะทำให้ผู้นั้นต้องเสียหายและความเสียหายที่ผู้นั้นจะได้รับสามารถประมาณเป็นเงินได้แล้ว ผู้นั้นย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่อาจเอาประกันภัยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 863 เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายจะต้องขนส่งสินค้าที่ขายจากกรุงเทพมหานครไปให้ผู้ซื้อที่ประเทศสิงคโปร์ โจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการที่จะนำสินค้าไปมอบให้แก่ผู้ซื้อ โจทก์จึงมีสิทธิเอาประกันภัยสินค้าไว้กับจำเลย โดยมิต้องคำนึงถึงว่า กรรมสิทธิ์ในสินค้าดังกล่าวจะโอนไปยังผู้ซื้อแล้วหรือไม่ เมื่อสินค้าที่เอาประกันภัยไว้ได้รับความเสียหายโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกร้องให้จำเลยรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ได้ จำเลยให้การรับว่าโจทก์เอาประกันภัยสินค้าดังปรากฏตามกรมธรรม์ประกันภัยท้ายฟ้องจริง แต่โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยเพราะสินค้าปลากระป๋องที่โจทก์อ้างว่าเสียหายนั้นไม่ใช่สินค้าที่โจทก์เอาประกันภัยไว้กับจำเลย โดยมิได้กล่าวว่าสินค้าปลากระป๋องที่โจทก์อ้างว่าเสียหายนั้นไม่ใช่สินค้าที่โจทก์เอาประกันภัยไว้กับจำเลยอย่างไรเพราะเหตุใด จึงเป็นคำให้การที่ไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างดังกล่าวของโจทก์รวมทั้งเหตุแห่งการนั้นตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะนำสืบตามคำให้การในส่วนนี้ ความทุจริตหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงตามความในบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 879 จะต้องเป็นของผู้เอาประกันภัยเองหรือเป็นของผู้รับประโยชน์จึงจะทำให้ผู้รับประกันภัยพ้นความรับผิด แต่ถ้าเป็นความทุจริตหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของบุคคลอื่น ๆ แม้จะเป็นบุคคลที่ใกล้ชิดกับผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์สักเพียงใดก็ตาม ก็ยังไม่ทำให้ผู้รับประกันภัยพ้นความรับผิด เงื่อนไขจำกัดความรับผิดของผู้รับประกันภัย มีใจความว่าไม่ว่ากรณีใด ๆ จะต้องไม่ถือว่าการประกันภัยนี้ขยายไปคุ้มครองการสูญเสีย การเสียหาย หรือค่าใช้จ่ายอันมีต้นเหตุอย่างใกล้ชิดจากความล่าช้านั้น มีความหมายถึงความล่าช้าที่เป็นเหตุโดยตรงให้สินค้าที่เอาประกันภัยไว้เสียหายเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าเหตุที่สินค้าที่เอาประกันภัยเกิดความเสียหายเนื่องมาจากการระเบิดในห้องเครื่องยนต์ของเรือ หาใช่เกิดจากความล่าช้าในการขนส่งไม่ผู้รับประกันภัยจึงไม่พ้นความรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำสัญญาประกันภัย, การพิสูจน์สัญญา, และประเด็นการพิจารณาของศาลเมื่อจำเลยไม่ได้ยกข้อต่อสู้ในชั้นศาลล่าง
ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นว่าโจทก์เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่เอาประกันภัยอันจะถือว่าโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือไม่ไว้ในชั้นชี้สองสถาน ซึ่งจำเลยได้โต้แย้งคัดค้านและอุทธรณ์คัดค้านต่อศาลอุทธรณ์แล้ว เมื่อจำเลยได้ให้การโดยชัดแจ้งถึงประเด็นดังกล่าวรวมทั้งเหตุแห่งการนั้น ประเด็นดังกล่าวจึงเป็นประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี ทั้งเป็นประเด็นข้อแพ้ชนะในคดีอันถือได้ว่าเป็นประเด็นสำคัญ เพราะหากฟังได้ว่าโจทก์ไม่มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้ จำเลยย่อมไม่ต้องผูกพันและรับผิดต่อโจทก์ ที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นดังกล่าวเป็นประเด็นข้อพิพาทจึงเป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณา แต่เมื่อโจทก์จำเลยได้นำสืบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวแล้ว ศาลฎีกาย่อมเห็นสมควรวินิจฉัยประเด็นนี้เสียเองได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่
แม้ตามทางปฏิบัติผู้เอาประกันภัยจะต้องยื่นคำขอประกันภัยตามแบบของบริษัทประกันภัย เพื่อให้บริษัทพิจารณาก่อน แต่กรณีดังกล่าวก็เป็นกรณีที่กระทำผ่านมาจากตัวแทนหรือนายหน้าของบริษัทรับประกันภัย ส่วนกรณีของโจทก์ตัวแทนของโจทก์ได้ทำคำเสนอต่อ ส.ผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยได้โดยตรง จึงไม่ได้มีแบบพิธีที่จะต้องยื่นคำขอให้พิจารณาก่อน เมื่อ ส.ไปตรวจสอบสินค้าเครื่องจักรเป็นที่พอใจก็สนองรับคำเสนอของตัวแทนโจทก์ผู้อยู่เฉพาะหน้า สัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเกิดขึ้นแล้ว
การที่จำเลยได้ยื่นแบบรายการเกี่ยวกับการรับประกันอัคคีภัยสำหรับสต็อกสินค้าเครื่องจักรของโจทก์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันภัยกระทรวงพาณิชย์ เป็นกรณีที่จำเลยปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2510มาตรา 27 วรรคแรก ซึ่งบัญญัติว่า เพื่อประโยชน์ในการควบคุมการประกันอัคคีภัยเมื่อบริษัททำสัญญาประกันอัคคีภัยรายใดให้บริษัทยื่นรายการเกี่ยวกับการรับประกันอัคคีภัยตามแบบที่นายทะเบียนกำหนดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 3 วัน นับแต่วันที่ได้ทำสัญญาประกันอัคคีภัยรายนั้น ดังนี้ การกระทำของจำเลยแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่า จำเลยได้ทำสัญญารับประกันอัคคีภัยสำหรับสินค้าของโจทก์แล้ว
กรมธรรม์ประกันภัยเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี เมื่อมีลายมือชื่อผู้แทนของจำเลยผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญในตารางแห่งกรมธรรม์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของกรมธรรม์ กรมธรรม์ประกันภัยที่โจทก์อ้างจึงเป็นพยานหลักฐานฟ้องบังคับจำเลยได้
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาประกันภัยซึ่งจำเลยต้องทำกรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความตรงตามสัญญาประกันภัยและส่งมอบให้โจทก์ผู้เอาประกันภัยแต่กรมธรรม์ประกันภัยไม่ใช่เอกสารที่กฎหมายบังคับให้ต้องแนบมาท้ายฟ้อง เอกสารท้ายฟ้องเป็นส่วนหนึ่งที่โจทก์อ้างอิงตามที่ได้กล่าวไว้ในคำฟ้องเท่านั้น ส่วนหลักฐานที่มีเป็นหนังสือจะฟ้องร้องให้บังคับได้หรือไม่นั้นเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบอยู่แล้วดังนั้นที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นโดยใช้ถ้อยคำว่าสัญญาประกันภัยท้ายฟ้องใช้บังคับได้หรือไม่ ย่อมหมายความเพียงว่า สัญญาประกันภัยตามฟ้องใช้บังคับได้หรือไม่ เมื่อปรากฏว่าโจทก์นำสืบโดยส่งสำเนาภาพถ่ายตารางแห่งกรมธรรม์ประกันภัยต่อศาล และจำเลยนำสืบยอมรับว่าต้นฉบับของเอกสารดังกล่าวมีอยู่จริงและมีลายมือชื่อของผู้แทนจำเลยพร้อมประทับตราของบริษัทถูกต้อง จึงเท่ากับโจทก์นำสืบว่าสัญญาประกันภัยตามฟ้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือลายมือชื่อตัวแทนของฝ่ายนั้นสามารถฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 867 แล้ว
โจทก์ได้ยื่นบัญชีพยานอันดับที่ 9 ระบุแบบรายการเกี่ยวกับการรับประกันอัคคีภัยของจำเลยกรมธรรม์เลขที่ 86/338057 จากสำนักงานประกันภัยกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งผู้อำนวยการสำนักงานประกันภัยได้ส่งเอกสารต่าง ๆ เป็นชุดมารวม 12 ฉบับ มีสำเนาภาพถ่ายตารางแห่งกรมธรรม์อันเป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องโดยตรงและเป็นส่วนหนึ่งของแบบรายการเกี่ยวกับการรับประกันอัคคีภัยของจำเลยตามกรมธรรม์ดังกล่าวรวมอยู่ด้วย ดังนี้ถือได้ว่าโจทก์ได้ระบุอ้างเอกสารดังกล่าวเป็นพยาน ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 88 (เดิม) แล้ว เอกสารดังกล่าวจึงรับฟังได้เมื่อจำเลยได้ออกกรมธรรม์ประกันภัยไว้ แม้ว่าขณะฟ้องโจทก์ยังไม่ได้รับมอบกรมธรรม์-ประกันภัยจากจำเลย แต่กรมธรรม์ประกันภัยนั้นก็มีอยู่ที่จำเลยก่อนโจทก์ฟ้องคดีแล้วโจทก์ย่อมกล่าวอ้างถึงและใช้เอกสารดังกล่าวฟ้องบังคับคดีได้
ที่ ป.พ.พ.มาตรา 326 บัญญัติว่า บุคคลผู้ชำระหนี้ชอบที่จะได้รับใบเสร็จเป็นสำคัญจากผู้รับชำระหนี้นั้น เป็นกรณีที่ผู้รับชำระหนี้จะไม่ยอมออกใบเสร็จรับเงินให้ผู้ชำระหนี้ จึงให้สิทธิผู้ชำระหนี้เรียกร้องให้ผู้รับชำระหนี้ออกใบเสร็จรับเงินได้ซึ่งต่างกับกรณีที่จำเลยออกใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันไว้แล้ว แต่ยังไม่ส่งมอบให้โจทก์แม้ใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยยังอยู่ที่จำเลย ก็ฟังว่าโจทก์ชำระเบี้ยประกันแล้วได้ไม่ขัดต่อบทบัญญัติมาตราดังกล่าว
เมื่อเกิดเพลิงไหม้แล้ว โจทก์ได้แจ้งให้จำเลยทราบแล้วเพื่อให้ชดใช้ค่าเสียหาย แต่จำเลยกลับเพิกเฉย เพราะมีกรณีที่จำเลยอ้างเหตุโต้แย้งกับโจทก์ในปัญหาที่ว่ามีการทำสัญญาประกันภัยแล้วหรือไม่ เนื่องจากกรมธรรม์ประกันภัยและใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยยังอยู่ที่จำเลยไม่ได้ส่งมอบแก่โจทก์ จำเลยไม่ได้สนใจหรือติดใจให้โจทก์ส่งเอกสารรายการละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่วินาศหรือเสียหายตามกรมธรรม์ประกันภัยเพราะจำเลยจะไม่พิจารณาชดใช้ให้อยู่แล้ว โดยจำเลยถือว่าไม่มีสัญญาประกันภัยเกิดขึ้นระหว่างโจทก์กับจำเลย อีกทั้งจำเลยจะไปสำรวจความเสียหายหรือไม่ก็ได้ ดังนั้นเมื่อจำเลยถือว่าโจทก์กับจำเลยไม่มีสัญญาประกันภัยต่อกันและจำเลยไม่ติดใจให้โจทก์ส่งเอกสารดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงไม่อาจอ้างให้โจทก์ต้องปฏิบัติตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อนี้อีกได้
กรมธรรม์ประกันภัยกำหนดว่า จำเลยจะบอกเลิกกรมธรรม์ฉบับนี้ได้ด้วยการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือไม่น้อยกว่า 15 วัน โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงโจทก์ผู้เอาประกันภัย ในกรณีนี้จำเลยจะคืนเบี้ยประกันภัยให้แก่โจทก์โดยหักเบี้ยประกันสำหรับระยะเวลาที่กรมธรรม์ฉบับนี้ได้ใช้บังคับมาแล้วออกตามส่วน เมื่อสัญญาประกันภัยได้เกิดขึ้นและจำเลยได้ออกกรมธรรม์ประกันภัยตามสำเนาภาพถ่ายตารางแห่งกรมธรรม์-ประกันภัย โดยโจทก์ได้ชำระเบี้ยประกันให้แก่จำเลยแล้ว การที่จำเลยจะบอกเลิกสัญญาประกันภัย จำเลยจึงต้องปฏิบัติตามกรมธรรม์นี้ เมื่อจำเลยไม่ได้บอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยเป็นหนังสือไปยังโจทก์ สัญญาประกันภัยจึงยังไม่เลิกกัน และกรมธรรมม์ประกันภัยยังมีสภาพบังคับอยู่
จำเลยให้การว่า สาเหตุเพลิงไหม้มิได้เกิดขึ้นมาเองตามธรรมชาติหากแต่เกิดขึ้นในสถานที่ที่โจทก์ครอบครอง และโจทก์จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในเหตุที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นเหตุตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทไว้เพียงว่า โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยเพราะโจทก์ปฏิบัติผิดเงื่อนไขในสัญญากรมธรรม์ประกันภัย ข้อ 2 และ 6 จริงหรือไม่เท่านั้น ซึ่งยังไม่ครอบคลุมถึงประเด็นตามคำให้การจำเลย คำให้การของจำเลยถือได้ว่าจำเลยได้ให้การปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ โจทก์ยังมีหน้าที่ต้องนำสืบในประเด็นดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นข้อนี้เป็นประเด็นข้อพิพาท และให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบ จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณา อย่างไรก็ตาม คำให้การของจำเลยดังกล่าวไม่ปรากฏเหตุแห่งการปฏิเสธนั้นว่าที่โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากเหตุตามกฎหมายที่โจทก์ต้องรับผิดชอบเองนั้นเป็นเหตุอะไรเพราะเหตุที่โจทก์ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบเองตามกฎหมายนั้นต้องเป็นวินาศภัยที่เกิดเพราะความทุจริต หรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัยหรือเพราะความไม่สมประกอบในเนื้อแห่งวัตถุที่เอาประกันภัยตามนัยที่บัญญัติไว้ในป.พ.พ. มาตรา 879 เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การถึงเหตุแห่งการปฏิเสธนั้น จำเลยจึงไม่มีประเด็นจะนำสืบ และปรากฏว่าโจทก์ได้นำสืบข้อเท็จจริงตามประเด็นดังกล่าวแล้วศาลฎีกาย่อมเห็นสมควรวินิจฉัยประเด็นที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดไว้ดังกล่าวได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่
ที่จำเลยฎีกาว่าเหตุเพลิงไหม้เกิดจากการวางเพลิง โจทก์หมดสิทธิที่จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยนั้น ปรากฏว่าข้อนี้เป็นข้อที่จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสองศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัย: สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากเหตุอัคคีภัย การปฏิเสธความรับผิดของจำเลย และการพิสูจน์เหตุผล
ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นว่าโจทก์เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่เอาประกันภัยอันจะถือว่าโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือไม่ไว้ในชั้นสอบสวน ซึ่งจำเลยได้โต้แย้งคัดค้านและอุทธรณ์คัดค้านต่อศาลอุทธรณ์แล้ว เมื่อจำเลยได้ให้การโดยชัดแจ้งถึงประเด็นดังกล่าวรวมทั้งเหตุแห่งการนั้น ประเด็นดังกล่าวจึงเป็นประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี ทั้งเป็นประเด็นข้อแพ้ชนะในคดีอันถือได้ว่าเป็นประเด็นสำคัญ เพราะหากฟังได้ว่าโจทก์ไม่มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้ จำเลยย่อมไม่ต้องผูกพันและรับผิดต่อโจทก์ที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นดังกล่าวเป็นประเด็นข้อพิพาทจึงเป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณาแต่เมื่อโจทก์จำเลยได้นำสืบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวแล้วศาลฎีกาย่อมเห็นสมควรวินิจฉัยประเด็นนี้เสียเองได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ แม้ตามทางปฏิบัติผู้เอาประกันภัยจะต้องยื่นคำขอประกันภัยตามแบบของบริษัทประกันภัย เพื่อให้บริษัทพิจารณาก่อน แต่กรณีดังกล่าวก็เป็นกรณีที่กระทำผ่านมาจากตัวแทนหรือนายหน้าของบริษัทรับประกันภัย ส่วนกรณีของโจทก์ตัวแทนของโจทก์ได้ทำคำเสนอต่อส. ผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยได้โดยตรง จึงไม่ได้มีแบบพิธีที่จะต้องยื่นคำขอให้พิจารณาก่อน เมื่อ ส. ไปตรวจสอบสินค้าเครื่องจักรเป็นที่พอใจก็สนองรับคำเสนอของตัวแทนโจทก์ผู้อยู่เฉพาะหน้า สัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเกิดขึ้นแล้ว การที่จำเลยได้ยื่นแบบรายการเกี่ยวกับการรับประกันอัคคีภัยสำหรับสต็อกสินค้าเครื่องจักรของโจทก์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันภัยกระทรวงพาณิชย์ เป็นกรณีที่จำเลยปฏิบัติตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2510 มาตรา 27 วรรคแรกซึ่งบัญญัติว่า เพื่อประโยชน์ในการควบคุมการประกันอัคคีภัยเมื่อบริษัททำสัญญาประกันอัคคีภัยรายใดให้บริษัทยื่นรายการเกี่ยวกับการรับประกันอัคคีภัยตามแบบที่นายทะเบียนกำหนดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 3 วัน นับแต่วันที่ได้ทำสัญญาประกันอัคคีภัยรายนั้น ดังนี้ การกระทำของจำเลยแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่าจำเลยได้ทำสัญญารับประกันอัคคีภัยสำหรับสินค้าของโจทก์แล้ว กรมธรรมประกันภัยเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี เมื่อมีลายมือชื่อผู้แทนของจำเลยผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญในตารางแห่งกรมธรรม์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของกรมธรรม์ กรมธรรม์ประกันภัยที่โจทก์อ้างจึงเป็นพยานหลักฐานฟ้องยังคับจำเลยได้ โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาประกันภัยซึ่งจำเลยต้องทำกรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความตรงตามสัญญาประกันภัยและส่งมอบให้โจทก์ผู้เอาประกันภัย แต่กรมธรรม์ประกันภัยไม่ใช่เอกสารที่กฎหมายบังคับให้ต้องแนบมาท้ายฟ้อง เอกสารท้ายฟ้องเป็นส่วนหนึ่งที่โจทก์อ้างอิงตามที่ได้กล่าวไว้ในคำฟ้องเท่านั้น ส่วนหลักฐานที่มีเป็นหนังสือจะฟ้องร้องให้บังคับได้หรือไม่นั้นเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบอยู่แล้ว ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นโดยใช้ถ้อยคำว่าสัญญาประกันภัยท้ายฟ้องใช้บังคับได้หรือไม่ย่อมหมายความเพียงว่า สัญญาประกันภัยตามฟ้องใช้บังคับได้หรือไม่เมื่อปรากฏว่าโจทก์นำสืบโดยส่งสำเนาภาพถ่ายตารางแห่งกรมธรรม์ประกันภัยต่อศาล และจำเลยนำสืบยอมรับว่าต้นฉบับของเอกสารดังกล่าวมีอยู่จริงและมีลายมือชื่อของผู้แทนจำเลยพร้อมประทับตราของบริษัทถูกต้อง จึงเท่ากับโจทก์นำสืบว่าสัญญาประกันภัยตามฟ้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือลายมือชื่อตัวแทนของฝ่ายนั้นสามารถฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 867 แล้ว โจทก์ได้ยื่นบัญชีพยานอันดับที่ 9 ระบุแบบรายการเกี่ยวกับการรับประกันอัคคีภัยของจำเลยกรมธรรม์เลขที่ 86/338057 จากสำนักงานประกันภัยกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งผู้อำนวยการสำนักงานประกันภัยได้ส่งเอกสารต่าง ๆ เป็นชุดมารวม 12 ฉบับ มีสำเนาภาพถ่ายตารางแห่งกรมธรรม์อันเป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องโดยตรงและเป็นส่วนหนึ่งของแบบรายการเกี่ยวกับการรับประกันอัคคีภัยของจำเลยตามกรมธรรม์ดังกล่าวรวมอยู่ด้วย ดังนี้ถือได้ว่าโจทก์ได้ระบุอ้างเอกสารดังกล่าวเป็นพยาน ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 88(เดิม) แล้ว เอกสารดังกล่าวจึงรับฟังได้ เมื่อจำเลยได้ออกกรมธรรม์ประกันภัยไว้ แม้ว่าขณะฟ้องโจทก์ยังไม่ได้รับมอบกรมธรรม์ประกันภัยจากจำเลย แต่กรมธรรม์ประกันภัยนั้นก็มีอยู่ที่จำเลยก่อนโจทก์ฟ้องคดีแล้ว โจทก์ย่อมกล่าวอ้างถึงและใช้เอกสารดังกล่าวฟ้องบังคับคดีได้ ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 326 บัญญัติว่า บุคคลผู้ชำระหนี้ชอบที่จะได้รับใบเสร็จเป็นสำคัญจากผู้รับชำระหนี้นั้นเป็นกรณีที่ผู้รับชำระหนี้จะไม่ยอมออกใบเสร็จรับเงินให้ผู้ชำระหนี้จึงให้สิทธิผู้ชำระหนี้เรียกร้องให้ผู้รับชำระหนี้ออกใบเสร็จรับเงินได้ ซึ่งต่างกับกรณีที่จำเลยออกใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันไว้แล้ว แต่ยังไม่ส่งมอบให้โจทก์แม้ใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยยังอยู่ที่จำเลย ก็ฟังว่าโจทก์ชำระเบี้ยประกันแล้วได้ไม่ขัดต่อบทบัญญัติมาตราดังกล่าว เมื่อเกิดเพลิงไหม้แล้ว โจทก์ได้แจ้งให้จำเลยทราบแล้วเพื่อให้ชดใช้ค่าเสียหาย แต่จำเลยกลับเพิกเฉย เพราะมีกรณีที่จำเลยอ้างเหตุโต้แย้งกับโจทก์ในปัญหาที่ว่ามีการทำสัญญาประกันภัยแล้วหรือไม่เนื่องจากกรมธรรม์ประกันภัยและใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยยังอยู่ที่จำเลยไม่ได้ส่งมอบแก่โจทก์ จำเลยไม่ได้สนใจหรือติดใจให้โจทก์ส่งเอกสารรายการละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่วินาศหรือเสียหายตามกรมธรรม์ประกันภัยเพราะจำเลยจะไม่พิจารณาชดใช้ให้อยู่แล้ว โดยจำเลยถือว่าไม่มีสัญญาประกันภัยเกิดขึ้นระหว่างโจทก์กับจำเลย อีกทั้งจำเลยจะไปสำรวจความเสียหายหรือไม่ก็ได้ดังนั้น เมื่อจำเลยถือว่าโจทก์กับจำเลยไม่มีสัญญาประกันภัยต่อกันและจำเลยไม่ติดใจให้โจทก์ส่งเอกสารดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงไม่อาจอ้างให้โจทก์ต้องปฏิบัติตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อนี้อีกได้ กรมธรรม์ประกันภัยกำหนดว่า จำเลยจะบอกเลิกกรมธรรม์ฉบับนี้ได้ด้วยการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือไม่น้อยกว่า 15 วัน โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงโจทก์ผู้เอาประกันภัย ในกรณีนี้จำเลยจะคืนเบี้ยประกันภัยให้แก่โจทก์โดยหักเบี้ยประกันสำหรับระยะเวลาที่กรมธรรม์ฉบับนี้ได้ใช้บังคับมาแล้วออกตามส่วน เมื่อสัญญาประกันภัยได้เกิดขึ้นและจำเลยได้ออกกรมธรรม์ประกันภัยตามสำเนาภาพถ่ายตารางแห่งกรมธรรม์ประกันภัย โดยโจทก์ได้ชำระเบี้ยประกันให้แก่จำเลยแล้ว การที่จำเลยจะบอกเลิกสัญญาประกันภัย จำเลยจึงต้องปฏิบัติตามกรมธรรม์นี้ เมื่อจำเลยไม่ได้บอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยเป็นหนังสือไปยังโจทก์ สัญญาประกันภัยจึงยังไม่เลิกกันและกรมธรรม์ประกันภัยยังมีสภาพบังคับอยู่ จำเลยให้การว่า สาเหตุเพลิงไหม้มิได้เกิดขึ้นมาเองตามธรรมชาติ หากแต่เกิดขึ้นในสถานที่ที่โจทก์ครอบครอง และโจทก์จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในเหตุที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นเหตุตามกฎหมายโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทไว้เพียงว่าโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยเพราะโจทก์ปฏิบัติผิดเงื่อนไขในสัญญากรมธรรม์ประกันภัย ข้อ 2 และ 6จริงหรือไม่เท่านั้น ซึ่งยังไม่ครอบคลุมถึงประเด็นตามคำให้การจำเลยคำให้การของจำเลยถือได้ว่าจำเลยได้ให้การปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์โจทก์ยังมีหน้าที่ต้องนำสืบในประเด็นดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นข้อนี้เป็นประเด็นข้อพิพาท และให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบ จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณา อย่างไรก็ตามคำให้การของจำเลยดังกล่าวไม่ปรากฏเหตุแห่งการปฏิเสธนั้นว่าที่โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากเหตุตามกฎหมายที่โจทก์ต้องรับผิดชอบเองนั้นเป็นเหตุอะไรเพราะเหตุที่โจทก์ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบเองตามกฎหมายนั้นต้องเป็นวินาศภัยที่เกิดเพราะความทุจริต หรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัยหรือเพราะความไม่สมประกอบในเนื้อแห่งวัตถุที่เอาประกันภัยตามนัยที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 879 เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การถึงเหตุแห่งการปฏิเสธนั้นจำเลยจึงไม่มีประเด็นจะนำสืบ และปรากฏว่าโจทก์ได้นำสืบข้อเท็จจริงตามประเด็นดังกล่าวแล้ว ศาลฎีกาย่อมเห็นสมควรวินิจฉัยประเด็นที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดไว้ดังกล่าวได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ ที่จำเลยฎีกาว่าเหตุเพลิงไหม้เกิดจากการวางเพลิง โจทก์หมดสิทธิที่จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยนั้น ปรากฏว่าข้อนี้เป็นข้อที่จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 598/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นความรับผิดในสัญญาประกันภัย: การระเบิดจากเพลิงไหม้ไม่ได้รับความคุ้มครอง
กรมธรรม์ประกันภัยมีเงื่อนไขแห่งความรับผิดว่าจำเลยจะต้องรับผิดในทรัพย์สินที่เอาประกันภัยในกรณีที่ทรัพย์สินสูญเสียหรือเสียหายเนื่องจากเพลิงไหม้ หรือฟ้าผ่าหรือการระเบิดของแก๊สที่ใช้สำหรับทำแสงสว่างหรือประโยชน์เพื่อการอยู่อาศัยเท่านั้น แต่สำหรับวินาศภัยที่เกิดขึ้นจากการระเบิดมีข้อยกเว้นเหตุแห่งการสูญเสียและการเสียหายว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดในความเสียหายจากการระเบิดที่เกิดขึ้นจากเพลิงไหม้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าขณะเครื่องจักรตีแป้งที่เอาประกันภัยไว้กำลังทำงานชิ้นส่วนโลหะภายในเครื่องเกิดหลุดหรือหักออกทำให้ชิ้นส่วนโลหะดังกล่าวกระทบกันเกิดเป็นประกายไฟลุกติดกับผงละอองแป้งภายในเครื่องตีแป้งแล้วลุกเป็นไฟลามไปตามท่อจนถึงถังรองรับไซโคลน ทำให้มีการเผาไหม้ภายในถังรองรับไซโคลนเกิดแรงอัดสูงสุดจนระเบิดขึ้น เป็นเหตุให้ทรัพย์สินที่โจทก์เอาประกันภัยไว้สูญเสียหรือเสียหาย ความสูญเสียหรือเสียหายจึงมีสาเหตุโดยตรงมาจากการระเบิดในถังรองรับไซโคลนการสูญเสียหรือเสียหายของทรัพย์สินโจทก์ที่เอาประกันภัยไว้กับจำเลยจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามสัญญาประกันภัยเพราะได้รับยกเว้นตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามสัญญาประกันภัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2634/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แม้ผู้ขับขี่ไม่มีใบอนุญาต แต่จำเลยต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัย หากพิสูจน์ไม่ได้ว่าเกิดจากความประมาทของผู้ขับขี่
เงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยกำหนดว่า การประกันภัยไม่คุ้มครองการขับขี่โดยบุคคลที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์ใด ๆ หรือเคยได้รับแต่ขาดต่ออายุเกินกว่า 180 วัน หรือเคยได้รับแต่ถูกตัดสิทธิตามกฎหมายในการขับรถยนต์ในเวลาเกิดอุบัติเหตุ แต่การยกเว้นนี้จะไม่นำมาใช้ในกรณีที่มีความเสียหายต่อรถที่เกิดขึ้นมิใช่ความประมาทของผู้ขับขี่รถยนต์ที่เอาประกันภัยดังนี้ แม้จะปรากฏว่าในขณะเกิดเหตุรถยนต์ชนกัน ผู้ขับขี่รถที่เอาประกันภัยไม่มีหรือไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ก็ตาม เมื่อจำเลยมิได้ต่อสู้ไว้ว่าเหตุเกิดเพราะความประมาทของผู้ขับขี่ และฟ้องมิได้กล่าวไว้เช่นนั้น จำเลยย่อมไม่อาจนำข้อยกเว้นดังกล่าวมาใช้ปัดความรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 548/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยความรับผิดของจำเลยที่ 1 ในฐานะหุ้นส่วนนอกประเด็น และการคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยเมื่อผู้ขับขี่มีใบอนุญาต
โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดเนื่องจากพ. เป็นผู้ขับรถของจำเลยที่ 1 และขณะเกิดเหตุปฏิบัติงานในกิจการของจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าโจทก์มุ่งหมายให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิด ในฐานะที่ พ. เป็นตัวแทนหรือลูกจ้างของจำเลยที่ 1 เท่านั้น ไม่อาจแปลว่ามุ่งหมายให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดในฐานะหุ้นส่วนของ พ. ด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้คดีว่า พ. ไม่ใช่ลูกจ้างปฏิบัติงานใน ทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 และศาลชั้นต้นกำหนด ประเด็นพิพาทในชั้นชี้สองสถานเพียงว่า พ. เป็นลูกจ้างของจำเลย ที่ 1 และกระทำในทางการที่จ้างหรือไม่ โจทก์ก็มิได้โต้แย้งคัดค้าน คดีจึงมีประเด็นพิพาทในส่วนที่เกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 1 เพียงเท่าที่ศาลชั้นต้นกำหนด การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลย ที่ 1 ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์เนื่องจากเป็นหุ้นส่วนกับ พ.และพ. ก่อเหตุละเมิดขณะกระทำภายในขอบวัตถุประสงค์ของหุ้นส่วนจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น กรมธรรม์ประกันภัยมีเงื่อนไขยกเว้นไม่คุ้มครองความรับผิด อัน เกิดจากการขับขี่โดยบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ขับรถยนต์ตาม กฎหมายหรือเคยได้รับแต่ถูกตัดสิทธิตามกฎหมาย การมีเงื่อนไขดังกล่าว ก็เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่มีความสามารถทำการขับรถยนต์ที่เอาประกันภัยเพราะจะเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย อันจะทำให้จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยต้องเสี่ยงภัยมากขึ้น เมื่อ พ. ได้รับใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของกรมตำรวจย่อมมีความรู้ความสามารถในการขับรถยนต์ได้ แม้ไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถของกรมการขนส่งทางบก ก็จะถือว่า เป็นการผิดเงื่อนไข ในกรมธรรม์ประกันภัยมิได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5744/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประกันภัยอาคารโรงงาน: ความเสียหายจากน้ำท่วมขังอันเกิดจากการปิดกั้นทางระบายน้ำ
จำเลยรับประกันภัยอาคารโรงงานและทรัพย์สินต่าง ๆ ในโรงงานของโจทก์ต่อมาภายในกำหนดเวลาประกันภัย ฝนตกหนัก น้ำฝนที่ไหลจากหลังคาโรงงานลงมาในบริเวณโรงงานไม่สามารถระบายออกไปสู่นอกโรงงานได้ เพราะโจทก์ก่อกำแพงและเอากระสอบทรายปิดกั้นท่อระบายน้ำไว้เพื่อป้องกันมิให้น้ำภายนอกโรงงานไหลเข้ามา เนื่องจากขณะนั้นเกิดเหตุน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร เป็นเหตุให้น้ำฝนดังกล่าวท่วมขังอาคารโรงงาน ทำให้ทรัพย์สินโจทก์เสียหายความเสียหายดังกล่าวหาใช่เกิดจากน้ำฝนที่ไหลผ่านเข้าไปในสิ่งปลูกสร้างจากการชำรุดของหลังคาประตู หน้าต่าง ช่องลม ท่อน้ำหรือรางน้ำ และหาใช่ความเสียหายซึ่งเป็นผลโดยตรงอันเกิดจากอุบัติเหตุจากการล้นออกมาของน้ำจากท่อน้ำ อันจำเลยจะต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5744/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประกันภัยอาคารโรงงาน: ความเสียหายจากน้ำฝนภายในเกิดจากการป้องกันน้ำภายนอก มิใช่ความรับผิดของประกัน
จำเลยรับประกันภัยอาคารโรงงานและทรัพย์สินต่าง ๆ ในโรงงานของโจทก์ต่อมาภายในกำหนดเวลาประกันภัย ฝนตกหนัก น้ำฝนที่ไหลจากหลังคาโรงงานลงมาในบริเวณโรงงานไม่สามารถระบายออกไปสู่นอกโรงงานได้ เพราะโจทก์ก่อกำแพงและเอากระสอบทรายปิดกั้นท่อระบายน้ำไว้เพื่อป้องกันมิให้น้ำภายนอกโรงงานไหลเข้ามา เนื่องจากขณะนั้นเกิดเหตุน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร เป็นเหตุให้น้ำฝนดังกล่าวท่วมขังอาคารโรงงาน ทำให้ทรัพย์สินโจทก์เสียหายความเสียหายดังกล่าวหาใช่เกิดจากน้ำฝนที่ไหลผ่านเข้าไปในสิ่งปลูกสร้างจากการชำรุดของหลังคา ประตู หน้าต่าง ช่องลม ท่อน้ำหรือรางน้ำ และหาใช่ความเสียหายซึ่งเป็นผลโดยตรงอันเกิดจากอุบัติเหตุจากการล้นออกมาของน้ำจากท่อน้ำ อันจำเลยจะต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 857/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตกลงสละสิทธิเรียกร้องหลังเกิดอุบัติเหตุ ไม่ถือเป็นการทำผิดเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย
เงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยมีว่า ผู้เอาประกันภัยจะไม่ตกลงยินยอมเสนอหรือให้สัญญาจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บุคคลใดโดยไม่ได้รับความยินยอมของบริษัท เว้นแต่บริษัทมิได้จัดการต่อการเรียกร้องนั้นหมายถึงกรณีบุคคลอื่นเรียกร้องผู้เอาประกันภัยชดใช้ค่าเสียหาย ผู้เอาประกันภัยจะต้องไม่กระทำการใด ๆ ตามเงื่อนไขดังกล่าว เพื่อป้องกันมิให้ผู้เอาประกันภัยก่อหนี้อันอาจผูกพันบริษัทที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่บุคคลภายนอกโดยบริษัทไม่ยินยอมหาใช่เป็นเงื่อนไขที่ห้ามมิให้ผู้เอาประกันภัยสละสิทธิเรียกร้องแก่บุคคลใดอันจะมีผลถึงการรับช่วงสิทธิไล่เบี้ยไม่ และการที่คนขับรถยนต์ผู้เอาประกันภัยได้ตกลงกับคู่กรณีโดยต่างฝ่ายสละสิทธิเรียกร้องต่อกัน ก็มิใช่ยินยอมเสนอหรือให้สัญญาว่าจะชดใช้ค่าเสียหายแก่บุคคลใดตามกรมธรรม์ดังกล่าว ผู้เอาประกันภัยจึงไม่ได้ทำผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย
of 13