คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 867

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 121 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 37/2534 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองประกันภัยรถยนต์: ผู้ขับขี่มีใบอนุญาตถูกต้อง แม้กรมธรรม์ระบุเงื่อนไขเพิ่มเติม
ห้างซึ่งโจทก์เป็นผู้ช่วยผู้จัดการได้มอบรถยนต์ให้โจทก์ใช้โดยให้โจทก์มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบตลอดจนทำการซ่อมแซมด้วย หากรถยนต์คันดังกล่าวเกิดอุบัติเหตุได้รับความเสียหายโจทก์ก็มีหน้าที่ต้องซ่อมแซม โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในรถยนต์ดังกล่าวที่จะเอาประกันภัยรถยนต์ดังกล่าวกับจำเลยได้
เงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งยกเว้นความรับผิดของจำเลยข้อหนึ่งมีว่าการขับขี่โดยบุคคลที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ใด ๆ หรือเคยได้รับแต่ขาดต่ออายุเกินกว่า180 วัน หรือเคยได้รับแต่ถูกตัดสิทธิตามกฎหมายในการขับรถยนต์ในเวลาเกิดอุบัติเหตุ ดังนั้นเมื่อผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุได้รับใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ทุกประเภทจากกรมการขนส่งทางบกจึงมิใช่บุคคลที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ใด ๆ อันจะเป็นเหตุให้จำเลยได้รับยกเว้นความรับผิดไม่จำเลยไม่อาจปฏิเสธความรับผิดโดยอ้างเหตุที่มิได้ระบุเป็นเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยว่ารถยนต์คันเกิดเหตุจดทะเบียนไว้ต่อกรมตำรวจ ผู้ขับขี่จะต้องมีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของกรมตำรวจจึงจะได้รับความคุ้มครองหาได้ไม่
จำเลยอุทธรณ์อ้างว่าศาลชั้นต้นให้จำเลยใช้ค่าเสียหายที่ยังไม่แน่นอนและเกินกว่าความเป็นจริง หาได้อุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นพิพากษาเกินคำขอเพราะเหตุโจทก์มิได้ฟ้องขอให้จำเลยจ่ายเงินค่าซ่อมแก่โจทก์ดังที่จำเลยอ้างในชั้นฎีกาไม่ ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ แม้ปัญหานี้จะเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาก็ไม่เห็นสมควรที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 37/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้มีส่วนได้เสียในรถยนต์มีสิทธิทำประกันภัย และการยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยต้องเป็นไปตามเงื่อนไข
ห้างซึ่งโจทก์เป็นผู้ช่วยผู้จัดการได้มอบรถยนต์ให้โจทก์ใช้โดยให้โจทก์มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบตลอดจนทำการซ่อมแซมด้วยหากรถยนต์คันดังกล่าวเกิดอุบัติเหตุได้รับความเสียหายโจทก์ก็มีหน้าที่ต้องซ่อมแซม โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในรถยนต์ดังกล่าวที่จะเอาประกันภัยรถยนต์ดังกล่าวกับจำเลยได้ เงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งยกเว้นความรับผิดของจำเลยข้อหนึ่งมีว่าการขับขี่โดยบุคคลที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ใด ๆ หรือเคยได้รับแต่ขาดต่ออายุเกินกว่า 180 วัน หรือเคยได้รับแต่ถูกตัดสิทธิตามกฎหมายในการขับรถยนต์ในเวลาเกิดอุบัติเหตุดังนั้นเมื่อผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุได้รับใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ทุกประเภทจากกรมการขนส่งทางบกจึงมิใช่บุคคลที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ใด ๆ อันจะเป็นเหตุให้จำเลยได้รับยกเว้นความรับผิดไม่จำเลยไม่อาจปฏิเสธความรับผิดโดยอ้างเหตุที่มิได้ระบุเป็นเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยว่ารถยนต์คันเกิดเหตุจดทะเบียนไว้ต่อกรมตำรวจ ผู้ขับขี่จะต้องมีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของกรมตำรวจจึงจะได้รับความคุ้มครองหาได้ไม่ จำเลยอุทธรณ์อ้างว่าศาลชั้นต้นให้จำเลยใช้ค่าเสียหายที่ยังไม่แน่นอนและเกินกว่าความเป็นจริง หาได้อุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นพิพากษาเกินคำขอเพราะเหตุโจทก์มิได้ฟ้องขอให้จำเลยจ่ายเงินค่าซ่อมแก่โจทก์ดังที่จำเลยอ้างในชั้นฎีกาไม่ ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ แม้ปัญหานี้จะเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาก็ไม่เห็นสมควรที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5884/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรมธรรม์ประกันภัยยังคงมีผลผูกพัน แม้ผู้เอาประกันภัยชำระเบี้ยล่าช้า และตัวแทนยังไม่ได้นำส่งเบี้ยประกัน
เมื่อเงื่อนไขการเลิกสัญญาเพราะเหตุผู้เอาประกันภัยมิได้ชำระเบี้ยประกันภัยตามกำหนดมิได้บังคับไว้โดยเด็ด ขาด โดยกรณีที่ผู้เอาประกันภัยไม่ชำระเบี้ยประกันภัยตามกำหนด บริษัทจำเลยยังผ่อนผันขยายเวลาให้ชำระเบี้ยประกันภัยที่ค้างได้ ดังนั้น เมื่อผู้เอาประกันภัยชำระเบี้ยประกันภัยที่ขาดชำระให้แก่ตัวแทนของจำเลยแล้ว ถือได้ว่ากรมธรรม์ประกันภัยมีผลบังคับโดยสมบูรณ์ตามเงื่อนไขนั้นแล้ว ไม่จำต้องให้จำเลยอนุญาตหรือแสดงเจตนาใหม่ในการรับต่ออายุกรมธรรม์ประกันภัย แม้ตัวแทนจำเลยยังไม่ได้นำเบี้ยประกันภัยส่งให้แก่จำเลย และในวันรุ่งขึ้นผู้เอาประกันภัยถูกรถชนถึงแก่ความตาย จำเลยก็ต้องรับผิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3745-3747/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกันภัยซ้ำซ้อน, ความรับผิดของบริษัทประกันภัย, การเรียกร้องค่าเสียหายจากเหตุเพลิงไหม้, และดอกเบี้ยชดใช้
สต๊อกสินค้าที่โจทก์เอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 1 เป็นสินค้าระหว่างผลิตส่วนสต๊อกสินค้าที่โจทก์เอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นสินค้าที่เก็บในโกดัง เป็นสต๊อกสินค้าต่างรายการกัน จึงมิใช่การเอาประกันภัยซ้ำซ้อน โจทก์ไม่จำต้องแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบ ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย
ข้ออ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดที่ว่าโจทก์ไม่แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบถึงการประกันภัยสต๊อกสินค้าไว้กับบริษัทประกันภัยอื่น โจทก์แจ้งความเสียหายและมูลค่าของทรัพย์สูงกว่าความเป็นจริงมากมาย ถือว่าเป็นการฉ้อฉล และโจทก์ละเลยไม่สงวนรักษาซากทรัพย์สินอันเป็นเหตุให้ซากทรัพย์สินสูญหาย เป็นการผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยนั้น นอกจากข้อเท็จจริงฟังไม่ได้เช่นนั้น หลังเกิดเหตุจำเลยทั้งสามไม่เคยยกข้ออ้างเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวปฏิเสธความรับผิดกลับเสนอชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสามจะยกขึ้นปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่
ธนาคารผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยทำหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่โจทก์ และโจทก์มีหนังสือแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 3 ทราบแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องเงินจำนวนดังกล่าวได้จากจำเลยที่ 3
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยที่ 3 รับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย แต่ตอนวินิจฉัยศาลอุทธรณ์ไม่ได้กล่าวถึงดอกเบี้ยที่ให้จำเลยที่ 3 ใช้ให้แก่โจทก์ จึงเป็นเรื่องไม่ให้เหตุผลในคำวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 141 (4)ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยใหัชัดเจน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2661/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัยสมบูรณ์ก่อนเกิดเหตุปล้นทรัพย์ ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดค่าสินไหมทดแทน
โจทก์ที่ 2 ทำสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขรถยนต์คันพิพาทมาจากโจทก์ที่ 1 แล้วโจทก์ที่ 2 นำรถไปประกอบการขนส่ง โจทก์ที่ 2 จึงเป็นผู้ครอบครองรถยนต์คันพิพาทอันมีส่วนได้เสียที่จะเอาประกันภัยได้
ใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยมีลายมือชื่อผู้จัดการของจำเลย และมีรายละเอียดต่าง ๆ คือ หมายเลขทะเบียนและรายละเอียดอื่นเกี่ยวกับรถยนต์ที่เอาประกันภัย ทุนประกัน ระยะเวลาประกัน ทั้งระบุหมายเลขของกรมธรรม์ด้วย ดังนี้ ใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยดังกล่าวย่อมเป็นหลักฐานเป็นหนังสือที่จะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้
เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2524 โจทก์ที่ 2 ได้โทรศัพท์ทางไกลจากจังหวัด มุกดาหาร ขอเสนอเอาประกันภัยรถยนต์คันพิพาทกับตัวแทนของจำเลยประจำจังหวัด อุบลราชธานี ตัวแทนจำเลยได้ออกใบเสร็จรับเงินเบี้ยประกันภัยของจำเลยให้แก่โจทก์ที่ 2 ในวันนั้น โดยระบุระยะเวลาประกันเริ่มวันที่ 3 พฤษภาคม 2524 สิ้นสุด 3 พฤษภาคม 2525 เวลา 0.01 นาฬิกา ตัวแทนจำเลยได้โทรเลขแจ้งจำเลยที่ กรุงเทพมหานครจำเลยได้รับโทรเลขวันที่ 4 เดือนเดียวกัน วันที่ 4 พฤษภาคม 2524 โจทก์ที่ 2 ได้ส่งตั๋วแลกเงินชำระเบี้ยประกันภัยให้ตัวแทนจำเลยและวันที่ 6 เดือนเดียวกันจำเลยได้ออกกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์คันพิพาท ดังนี้ ต้องถือว่าการประกันภัยรายนี้ได้ตกลงกันแล้วระหว่างโจทก์ที่ 2 กับตัวแทนจำเลยในวันที่ 2 พฤษภาคม 2524 เมื่อรถยนต์คันพิพาทถูกคนร้ายปล้นเอาไปตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2524 เวลา22 นาฬิกา จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2661/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัยสมบูรณ์ก่อนเกิดเหตุปล้นรถ การรับผิดในสัญญาประกันภัย
โจทก์ที่ 2 ทำสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขรถยนต์คันพิพาทมาจากโจทก์ที่ 1 แล้วโจทก์ที่ 2 นำรถไปประกอบการขนส่งโจทก์ที่ 2 จึงเป็นผู้ครอบครองรถยนต์คันพิพาทอันมีส่วนได้เสียที่จะเอาประกันภัยได้.
ใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยมีลายมือชื่อผู้จัดการของจำเลยและมีรายละเอียดต่าง ๆ คือ หมายเลขทะเบียนและรายละเอียดอื่น ๆ เกี่ยวกับรถยนต์ที่เอาประกันภัย ทุนประกันระยะเวลาประกัน ทั้งระบุหมายเลขของกรมธรรม์ด้วย ดังนี้ใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยดังกล่าวย่อมเป็นหลักฐานเป็นหนังสือที่จะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้.
เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2524 โจทก์ที่ 2 ได้โทรศัพท์ทางไกลจากจังหวัดมุกดาหาร ขอเสนอเอาประกันภัยรถยนต์คันพิพาทกับตัวแทนของจำเลยประจำ จังหวัดอุบลราชธานี ตัวแทนจำเลยได้ออกใบเสร็จรับเงินเบี้ยประกันภัยของจำเลยให้แก่โจทก์ที่ 2 ในวันนั้น โดยระบุระยะเวลาประกันเริ่มวันที่ 3 พฤษภาคม 2524 สิ้นสุด 3 พฤษภาคม 2525 เวลา 0.01 นาฬิกาตัวแทนจำเลยได้โทรเลขแจ้งจำเลยที่กรุงเทพมหานครจำเลยได้รับโทรเลขวันที่ 4 เดือนเดียวกัน วันที่ 4 พฤษภาคม 2524โจทก์ที่ 2 ได้ส่งตั๋วแลกเงินชำระค่าประกันภัยให้ตัวแทนจำเลย และวันที่ 6 เดือนเดียวกันจำเลยได้ออกกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์คันพิพาท ดังนี้ ต้องถือว่าการประกันภัยรายนี้ได้ตกลงกันแล้วระหว่างโจทก์ที่ 2 กับตัวแทนจำเลยในวันที่ 2 พฤษภาคม 2524 เมื่อรถยนต์คันพิพาทถูกคนร้ายปล้นเอาไปตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2524 เวลา 22 นาฬิกา จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ทั้งสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2661/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัยสมบูรณ์ก่อนเกิดเหตุ รถถูกปล้น จำเลยต้องรับผิดชอบค่าสินไหมทดแทน
โจทก์ที่ 2 ทำสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขรถยนต์คันพิพาทมาจากโจทก์ที่ 1 แล้วโจทก์ที่ 2 นำรถไปประกอบการขนส่ง โจทก์ที่ 2จึงเป็นผู้ครอบครองรถยนต์คันพิพาทอันมีส่วนได้เสียที่จะเอาประกันภัยได้ ใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยมีลายมือชื่อผู้จัดการของจำเลย และมีรายละเอียดต่าง ๆ คือ หมายเลขทะเบียนและรายละเอียดอื่น ๆเกี่ยวกับรถยนต์ที่เอาประกันภัย ทุนประกัน ระยะเวลาประกัน ทั้งระบุหมายเลขของกรมธรรม์ด้วย ดังนี้ใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยดังกล่าวย่อมเป็นหลักฐานเป็นหนังสือที่จะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2524 โจทก์ที่ 2 ได้โทรศัพท์ทางไกลจากจังหวัดมุกดาหารขอเสนอเอาประกันภัยรถยนต์คันพิพาทกับตัวแทนของจำเลยประจำจังหวัดอุบลราชธานี ตัวแทนจำเลยได้ออกใบเสร็จรับเงินเบี้ยประกันภัยของจำเลยให้แก่โจทก์ที่ 2 ในวันนั้น โดยระบุระยะเวลาประกันเริ่มวันที่ 3 พฤษภาคม 2524 สิ้นสุด 3 พฤษภาคม 2525 เวลา0.01 นาฬิกา ตัวแทนจำเลยได้โทรเลขแจ้งจำเลยที่กรุงเทพมหานครจำเลยได้รับโทรเลขวันที่ 4 เดือนเดียวกัน วันที่ 4 พฤษภาคม 2524โจทก์ที่ 2 ได้ส่งตั๋วแลกเงินชำระเบี้ยประกันภัยให้ตัวแทนจำเลยและวันที่ 6 เดือนเดียวกันจำเลยได้ออกกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์คันพิพาท ดังนี้ ต้องถือว่าการประกันภัยรายนี้ได้ตกลงกันแล้วระหว่างโจทก์ที่ 2 กับตัวแทนจำเลยในวันที่ 2 พฤษภาคม 2524เมื่อรถยนต์คันพิพาทถูกคนร้ายปล้นเอาไปตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม2524 เวลา 22 นาฬิกา จำเลยจึงต้องรับผิดชอบใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2661/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกันภัยรถยนต์: สัญญาเกิดขึ้นก่อนเหตุปล้น, ใบเสร็จเป็นหลักฐานสมบูรณ์, ผู้ครอบครองมีสิทธิทำประกัน
โจทก์ที่ 2 ทำสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขรถยนต์คันพิพาทมาจากโจทก์ที่ 1 แล้วโจทก์ที่ 2 นำรถไปประกอบการขนส่ง โจทก์ที่ 2จึงเป็นผู้ครอบครองรถยนต์คันพิพาทอันมีส่วนได้เสียที่จะเอาประกันภัยได้ ใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยมีลายมือชื่อผู้จัดการของจำเลย และมีรายละเอียดต่าง ๆ คือ หมายเลขทะเบียนและรายละเอียดอื่นเกี่ยวกับรถยนต์ที่เอาประกันภัย ทุนประกัน ระยะเวลาประกัน ทั้งระบุหมายเลขของกรมธรรม์ด้วย ดังนี้ ใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยดังกล่าวย่อมเป็นหลักฐานเป็นหนังสือที่จะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2524 โจทก์ที่ 2 ได้โทรศัพท์ทางไกลจากจังหวัด มุกดาหาร ขอเสนอเอาประกันภัยรถยนต์คันพิพาทกับตัวแทนของจำเลยประจำจังหวัด อุบลราชธานี ตัวแทนจำเลยได้ออกใบเสร็จรับเงินเบี้ยประกันภัยของจำเลยให้แก่โจทก์ที่ 2 ในวันนั้น โดยระบุระยะเวลาประกันเริ่มวันที่ 3 พฤษภาคม 2524 สิ้นสุด 3 พฤษภาคม 2525เวลา 0.01 นาฬิกา ตัวแทนจำเลยได้โทรเลขแจ้งจำเลยที่ กรุงเทพมหานครจำเลยได้รับโทรเลขวันที่ 4 เดือนเดียวกัน วันที่ 4 พฤษภาคม 2524โจทก์ที่ 2 ได้ส่งตั๋วแลกเงินชำระเบี้ยประกันภัยให้ตัวแทนจำเลยและวันที่ 6 เดือนเดียวกันจำเลยได้ออกกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์คันพิพาท ดังนี้ ต้องถือว่าการประกันภัยรายนี้ได้ตกลงกันแล้วระหว่างโจทก์ที่ 2 กับตัวแทนจำเลยในวันที่ 2 พฤษภาคม 2524 เมื่อรถยนต์คันพิพาทถูกคนร้ายปล้นเอาไปตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2524 เวลา22 นาฬิกา จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ทั้งสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 168/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นกรมธรรม์ประกันภัยค้ำจุน: การยกเว้นความรับผิดเมื่อใช้รถรับจ้าง
จำเลยที่ 2 นำรถยนต์คันเกิดเหตุไปประกันภัยค้ำจุนไว้กับจำเลยที่ 3 ตามกรมธรรม์ประกันภัย มีข้อยกเว้นความรับผิดต่อบุคคลภายนอกในกรณีการใช้รถยนต์คันดังกล่าว คือ ห้ามรับจ้างหรือให้เช่า ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ใช้รถยนต์คันดังกล่าวไปรับจ้างบรรทุกของโดยให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับขี่ แล้วจำเลยที่ 1 ไปทำละเมิดก่อให้เกิดความเสียหายแก่รถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัย เช่นนี้ความรับผิดของจำเลยที่ 3 ที่มีต่อโจทก์ต้องเป็นไปตามที่ระบุไว้ในสัญญาประกันภัยค้ำจุนดังกล่าว ข้อยกเว้นความรับผิดต่อบุคคลภายนอกตามกรมธรรม์ประกันภัยมีผลใช้บังคับได้ จำเลยที่ 3 ไม่ต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 2 ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย และมีสิทธิยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้ จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3499/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดในสัญญาประกันภัย: การแบ่งเฉลี่ยค่าเสียหายเมื่อมีผู้ได้รับความเสียหายหลายราย
สัญญากรมธรรม์ประกันภัยระบุจำนวนเงินจำกัดความรับผิดในส่วนที่เป็นค่าเสียหายต่อชีวิตร่างกายไว้ในข้อ 2.1 บรรทัดแรกว่า 100,000 บาท ต่อหนึ่งคน และบรรทัดถัดลงมาว่า 100,000 บาท ต่อหนึ่งครั้ง ดังนี้ หากเกิดอุบัติเหตุที่ผู้รับประกันภัยจะต้องรับผิดในค่าเสียหายแก่บุคคลภายนอกหลายคนในครั้งเดียวกันแล้วมิได้ หมายความว่า ผู้รับประกันภัยจะต้องรับผิดต่อทุกคนในวงเงินคนละไม่เกิน 100,000 บาท แต่หมายความว่า ทุกคนมีสิทธิได้รับค่าเสียหายจากผู้รับประกันภัยในวงเงินไม่เกิน 100,000 บาท โดยแบ่งเฉลี่ยกันตามส่วนของความเสียหายที่ได้รับ.
of 13