คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 867

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 121 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3499/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดในสัญญาประกันภัย: วงเงินต่อครั้งและต่อคน ศาลแก้ไขวงเงินรับผิดชอบของบริษัทประกันภัย
สัญญากรมธรรม์ประกันภัยระบุจำนวนเงินจำกัดความรับผิดในส่วนที่เป็นค่าเสียหายต่อชีวิตร่างกายไว้ในข้อ 2.1 บรรทัดแรกว่า100,000 บาทต่อหนึ่งคน และบรรทัดถัดลงมาว่า 100,000 บาท ต่อหนึ่งครั้ง ดังนี้ หากเกิดอุบัติเหตุที่ผู้รับประกันภัยจะต้องรับผิดในค่าเสียหายแก่บุคคลภายนอกหลายคนในครั้งเดียวกันแล้วมิได้หมายความว่า ผู้รับประกันภัยจะต้องรับผิดต่อทุกคนในวงเงินคนละไม่เกิน 100,000 บาท แต่หมายความว่า ทุกคนมีสิทธิได้รับค่าเสียหายจากผู้รับประกันภัยในวงเงินไม่เกิน 100,000 บาท โดยแบ่งเฉลี่ยกันตามส่วนของความเสียหายที่ได้รับ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3098/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกันภัย vs. ละเมิด: สิทธิของคู่สัญญาและบุคคลภายนอก
การประกันภัยเป็นนิติกรรมในลักษณะประเภทของสัญญาอย่างหนึ่ง ซึ่งมีผลทำให้เกิดนิติสัมพันธ์อันพึงต้องปฏิบัติและบังคับระหว่างกันเฉพาะแต่คู่สัญญาเท่านั้น หามีผลผูกพันให้ใช้บังคับแก่บุคคลภายนอกไม่โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกให้รับผิดในผลจากมูลละเมิดของจำเลย ไม่ใช่เป็นการฟ้องบังคับคดีตามสัญญาประกันภัยโดยตรง จึงไม่อยู่ในบังคับต้องมีต้น ฉบับกรมธรรม์ประกันภัยลงลายมือชื่อผู้ต้องรับผิดหรือตัวแทนมาแสดงตาม ป.พ.พ. มาตรา 867 และไม่ต้องห้ามมิให้นำพยานบุคคลมาสืบแทนพยานเอกสารตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 ศาลย่อมรับฟังพยานบุคคลได้โดยไม่ต้องอาศัยเอกสาร และแม้โจทก์จะส่งอ้างภาพถ่ายสำเนากรมธรรม์ประกันภัยเป็นพยานและแนบคู่ฉบับกรมธรรม์ประกันภัยที่มิได้ปิดอากรแสตมป์ให้ถูกต้องตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 มาท้ายคำแถลงการณ์ของโจทก์ ก็จะอาศัยเป็นเหตุยกฟ้องโจทก์หาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3098/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัยกับบุคคลภายนอก: สิทธิเรียกร้องจากละเมิด ไม่ต้องติดข้อจำกัดเอกสาร
การประกันภัยเป็นนิติกรรมในลักษณะประเภทของสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งมีผลทำให้เกิดนิติสัมพันธ์อันพึงต้องปฏิบัติและบังคับระหว่างกันเฉพาะแต่คู่สัญญาเท่านั้น หามีผลผูกพันให้ใช้บังคับแก่บุคคลภายนอกไม่โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกให้รับผิดในผลจากมูลละเมิดของจำเลย ไม่ใช่เป็นการฟ้องบังคับคดีตามสัญญาประกันภัยโดยตรง จึงไม่อยู่ในบังคับต้องมีต้นฉบับกรมธรรม์ประกันภัยลงลายมือชื่อผู้ต้องรับผิดหรือตัวแทนมาแสดงตาม ป.พ.พ. มาตรา867 และไม่ต้องห้ามมิให้นำพยานบุคคลมาสืบแทนพยานเอกสารตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 ศาลย่อมรับฟังพยานบุคคลได้โดยไม่ต้องอาศัยเอกสาร และแม้โจทก์จะส่งอ้างภาพถ่ายสำเนากรมธรรม์ประกันภัยเป็นพยานและแนบคู่ฉบับกรมธรรม์ประกันภัยที่มิได้ปิดอากรแสตมป์ให้ถูกต้องตามป.รัษฎากร มาตรา 118 มาท้ายคำแถลงการณ์ของโจทก์ ก็จะอาศัยเป็นเหตุยกฟ้องโจทก์หาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2290/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประกันภัยรถยนต์: ใบอนุญาตขับรถขาดต่ออายุ ยังถือว่ามีใบอนุญาตโดยชอบตามเจตนาของคู่สัญญา
คู่ความตกลงท้ากันให้นายทะเบียนยานพาหนะฯ วินิจฉัยว่าส.มีใบอนุญาตขับรถยนต์โดยชอบด้วยกฎหมายที่ได้รับจากนายทะเบียนฯในขณะเกิดเหตุคดีนี้หรือไม่ ถ้า นายทะเบียนวินิจฉัยว่า ส. มีใบอนุญาตขับรถยนต์ที่ได้รับจากนายทะเบียนฯ โดยชอบ โจทก์ยอมแพ้หากวินิจฉัยตรงกันข้ามจำเลยยอมแพ้ ดังนี้เมื่อหัวหน้าแผนกขับขี่รถยนต์ที่ศาลหมายเรียกมาสอบถามแถลงว่าไม่สามารถวินิจฉัยได้ว่า ส.มีใบอนุญาตขับรถยนต์โดยชอบด้วยกฎหมายที่ได้รับจากนายทะเบียนฯในขณะที่เกิดเหตุหรือไม่ คู่ความจึงต้องสืบพยานกันต่อไปเฉพาะ ในประเด็นตามคำท้า เมื่อข้อเท็จจริงที่คู่ความนำสืบมารับฟังได้ว่าในวันเกิดเหตุส. มีใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลที่ออกให้โดยนายทะเบียนยานพาหนะฯแต่ขาดต่ออายุ การวินิจฉัยคดีว่าฝ่ายใดจะชนะหรือแพ้คดีตามคำท้าย่อมจะต้องพิจารณาถึงเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยรายพิพาทประกอบด้วยซึ่งเห็นได้ว่าเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยฯ มีไว้เพื่อไม่ให้ผู้ที่ขับรถยนต์ไม่เป็นหรือไม่ได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์มาขับรถยนต์ที่เอาประกันเพราะเกรงจะเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย การที่ ส. เพียงแต่ขาดต่ออายุใบอนุญาตฯ จึงถือได้ว่า ส. มีใบอนุญาตขับรถยนต์โดยชอบด้วยกฎหมายตามคำท้า โจทก์ต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2022/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกันภัยรถบรรทุกรวมสาลี่: สาลี่ถือเป็นส่วนหนึ่งของรถยนต์ที่ได้รับประกัน
รถยนต์บรรทุกที่จำเป็นต้องพ่วงสาลี่ เพื่อความสะดวกในการบรรทุกของ เมื่อสาลี่ พ่วงอยู่กับรถยนต์บรรทุกย่อมถือได้ว่าสาลี่เป็นส่วนหนึ่งของรถยนต์บรรทุก การที่สาลี่ ของรถยนต์บรรทุกคันที่จำเลยรับประกันภัยค้ำจุนไว้เลื่อนหลุดไปทำความเสียหายให้รถยนต์คันอื่น จำเลยจะอ้างว่าไม่ได้รับประกันภัยสาลี่ ด้วยเพื่อให้หลุดพ้นจากความรับผิดหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3471/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากรถยนต์, การจำกัดความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย, และค่าขาดไร้อุปการะ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างและตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3จำเลยที่ 2 เป็นบริษัทจำกัดมีจำเลยที่ 3 เป็นกรรมการ จำเลยที่ 1 กระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ขับรถยนต์ด้วยความประมาท ล้อรถยนต์หลุดไปชนนาง ล. ถึงแก่ความตายซึ่งเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ให้การว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้จ้างวานหรือให้จำเลยที่ 1 ขับรถไปในที่เกิดเหตุ จำเลยที่ 1ไม่ได้ประมาทแต่ล้อรถหลุดเป็นเหตุสุดวิสัย จำเลยร่วมให้การว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ขับขี่รถยนต์คันเกิดเหตุในทางการที่จ้างหรือที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 ที่ 3 ดังนี้ข้อที่จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมฎีกาว่าจำเลยที่ 2 ให้บริษัท ก.เช่ารถคันเกิดเหตุไปก่อนเกิดเหตุ และข้อที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ไม่ใช่ลูกจ้างและไม่ได้กระทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 กับข้อที่จำเลยร่วมฎีกาว่าจำเลยที่ 1 ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 นั้นเป็นข้อที่จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมมิได้ให้การไว้ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เหตุสุดวิสัยจะต้องเป็นเรื่องที่ไม่อาจป้องกันได้แม้จะได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วก็ตาม เมื่อได้ความว่าจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันเกิดเหตุด้วยความเร็วสูงแล้วล้อหน้าด้านซ้ายของรถหลุดกระเด็นกระดอนไปถูกศีรษะนางล.ซึ่งอยู่ห่างไป 100 เมตร นาง ล.ได้รับอันตรายถึงแก่ความตายทันที และได้ความว่าแม้จะมีการตรวจสภาพรถแล้ว แต่ถ้าได้มีการใช้งานหนักหรือเจ้าของผู้ขับขี่รถไม่ใช้ความระมัดระวังดูแลรักษา เหตุดังกล่าวย่อมเกิดขึ้นได้ ดังนี้ ต้องถือว่าเหตุที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความประมาทของจำเลยที่ 1 มิใช่เหตุสุดวิสัยแต่อย่างใด
การที่นาง ล.ตายลงทำให้โจทก์ซึ่งเป็นสามีและบุตรต้องขาดไร้อุปการะจากผู้ตาย จึงชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนโดยไม่จำเป็นที่จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่านาง ล.จะต้องเป็นผู้มีรายได้และโจทก์ต่างเป็นผู้ได้รับอุปการะจากผู้ตายจริง
กรมธรรม์ประกันภัย จำกัดความรับผิดของจำเลยร่วมต่อบุคคลภายนอกไว้ 25,000 บาทต่อหนึ่งคนและ 100,000 บาทต่อหนึ่งครั้ง เมื่อการกระทำละเมิดครั้งนี้มีผู้ได้รับความเสียหายเพียงหนึ่งคน จำเลยร่วมก็ต้องรับผิดต่อโจทก์เพียง 25,000 บาทข้อจำกัดความรับผิดที่ว่า 100,000 บาทต่อหนึ่งครั้งนั้นหมายความว่าถ้ามีอุบัติเหตุครั้งหนึ่งมีผู้ได้รับความเสียหายหลายคน จำเลยร่วมก็จะจำกัดความรับผิดเพียงไม่เกิน 100,000 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3471/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเจ้าของรถและผู้ขับขี่ในเหตุละเมิด, ค่าขาดไร้อุปการะ, และข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างและตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จำเลยที่ 2 เป็นบริษัทจำกัดมีจำเลยที่ 3 เป็นกรรมการจำเลยที่ 1 กระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ขับรถยนต์ด้วยความประมาท ล้อรถยนต์หลุดไปชนนาง ล. ถึงแก่ความตายซึ่งเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ให้การว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้จ้างวานหรือให้จำเลยที่ 1 ขับรถไปในที่เกิดเหตุ จำเลยที่ 1 ไม่ได้ประมาทแต่ล้อรถหลุดเป็นเหตุสุดวิสัย จำเลยร่วม ให้การว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ขับขี่รถยนต์คันเกิดเหตุในทางการที่จ้างหรือที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 ที่ 3 ดังนี้ข้อที่จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมฎีกาว่าจำเลยที่ 2 ให้บริษัท ก.เช่ารถคันเกิดเหตุไปก่อนเกิดเหตุ และข้อที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ไม่ใช่ลูกจ้างและไม่ได้กระทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 กับข้อที่จำเลยร่วมฎีกาว่าจำเลยที่ 1 ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 นั้นเป็นข้อที่จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมมิได้ให้การไว้ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เหตุสุดวิสัยจะต้องเป็นเรื่องที่ไม่อาจป้องกันได้แม้จะได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วก็ตาม เมื่อได้ความว่าจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันเกิดเหตุด้วยความเร็วสูงแล้วล้อหน้าด้านซ้ายของรถหลุดกระเด็นกระดอนไปถูกศีรษะนางล.ซึ่งอยู่ห่างไป 100 เมตร นาง ล.ได้รับอันตรายถึงแก่ความตายทันที และได้ความว่าแม้จะมีการตรวจสภาพรถแล้ว แต่ถ้าได้มีการใช้งานหนักหรือเจ้าของผู้ขับขี่รถไม่ใช้ความระมัดระวังดูแลรักษา เหตุดังกล่าวย่อมเกิดขึ้นได้ ดังนี้ ต้องถือว่าเหตุที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความประมาทของจำเลยที่ 1 มิใช่เหตุสุดวิสัยแต่อย่างใด
การที่นาง ล.ตายลงทำให้โจทก์ซึ่งเป็นสามีและบุตรต้องขาดไร้อุปการะจากผู้ตาย จึงชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนโดยไม่จำเป็นที่จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่า นาง ล.จะต้องเป็นผู้มีรายได้และโจทก์ต่างเป็นผู้ได้รับอุปการะจากผู้ตายจริง
กรมธรรม์ประกันภัย จำกัดความรับผิดของจำเลยร่วมต่อบุคคลภายนอกไว้ 25,000 บาทต่อหนึ่งคนและ 100,000 บาทต่อหนึ่งครั้ง เมื่อการกระทำละเมิดครั้งนี้มีผู้ได้รับความเสียหายเพียงหนึ่งคน จำเลยร่วมก็ต้องรับผิดต่อโจทก์เพียง 25,000 บาทข้อจำกัดความรับผิดที่ว่า 100,000 บาทต่อหนึ่งครั้งนั้นหมายความว่าถ้ามีอุบัติเหตุครั้งหนึ่งมีผู้ได้รับความเสียหายหลายคนจำเลยร่วมก็จะจำกัดความรับผิดเพียงไม่เกิน 100,000 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3471/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเจ้าของรถและผู้ขับขี่จากอุบัติเหตุทางถนน, การขาดไร้อุปการะ, และข้อยกเว้นกรมธรรม์ประกันภัย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่1เป็นลูกจ้างและตัวแทนของจำเลยที่2และที่ 3จำเลยที่2เป็นบริษัทจำกัดมีจำเลยที่3เป็นกรรมการจำเลยที่1กระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่2และที่3ขับรถยนต์ด้วยความประมาทล้อรถยนต์หลุดไปชนนางล.ถึงแก่ความตายซึ่งเป็นการละเมิดต่อโจทก์จำเลยที่2ให้การว่าจำเลยที่2ไม่ได้จ้างวานหรือให้จำเลยที่1ขับรถไปในที่เกิดเหตุจำเลยที่1ไม่ได้ประมาทแต่ล้อรถหลุดเป็นเหตุสุดวิสัยจำเลยร่วมให้การว่าจำเลยที่1ไม่ได้ขับขี่รถยนต์คันเกิดเหตุในทางการที่จ้างหรือที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่2ที่3ดังนี้ข้อที่จำเลยที่2และจำเลยร่วมฎีกาว่าจำเลยที่2ให้บริษัทก.เช่ารถคันเกิดเหตุไปก่อนเกิดเหตุและข้อที่จำเลยที่2ฎีกาว่าจำเลยที่1ไม่ใช่ลูกจ้างและไม่ได้กระทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่2กับข้อที่จำเลยร่วมฎีกาว่าจำเลยที่1ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลยที่2นั้นเป็นข้อที่จำเลยที่2และจำเลยร่วมมิได้ให้การไว้จึงเป็นข้อที่ไม่ได่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย เหตุสุดวิสัยจะต้องเป็นเรื่องที่ไม่อาจป้องกันได้แม้จะได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วก็ตามเมื่อได้ความว่าจำเลยที่1ขับรถยนต์คันเกิดเหตุด้วยความเร็วสูงแล้วล้อหน้าด้านซ้ายของรถหลุดกระเด็นกระดอนไปถูกศีรษะนางล.ซึ่งอยู่ห่างไป100เมตรนางล.ได้รับอันตรายถึงแก่ความตายทันทีและได้ความว่าแม้จะมีการตรวจสภาพรถแล้วแต่ถ้าได้มีการใช้งานหนักหรือเจ้าของผู้ขับขี่รถไม่ใช้ความระมัดระวังดูแลรักษาเหตุดังกล่าวย่อมเกิดขึ้นได้ดังนี้ต้องถือว่าเหตุที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความประมาทของจำเลยที่1มิใช่เหตุสุดวิสัยแต่อย่างใด การที่นางล.ตายลงทำให้โจทก์ซึ่งเป็นสามีและบุตรต้องขาดไร้อุปการะจากผู้ตายจึงชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนโดยไม่จำเป็นที่จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่านางล.จะต้องเป็นผู้มีรายได้และโจทก์ต่างเป็นผู้ได้รับอุปการะจากผู้ตายจริง กรมธรรม์ประกันภัยจำกัดความรับผิดของจำเลยร่วมต่อบุคคลภายนอกไว้25,000บาทต่อหนึ่งคนและ100,000บาทต่อหนึ่งครั้งเมื่อการกระทำละเมิดครั้งนี้มีผู้ได้รับความเสียหายเพียงหนึ่งคนจำเลยร่วมก็ต้องรับผิดต่อโจทก์เพียง25,000บาทข้อจำกัดความรับผิดที่ว่า100,000บาทต่อหนึ่งครั้งนั้นหมายความว่าถ้ามีอุบัติเหตุครั้งหนึ่งมีผู้ได้รับความเสียหายหลายคนจำเลยร่วมก็จะจำกัดความรับผิดเพียงไม่เกิน100,000บาท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3431/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประกันภัยรถยนต์: การยกเว้นความคุ้มครองกรณีผู้ขับขี่มีใบอนุญาต แต่ประมาทก่อเหตุ และการรับผิดของประกันภัยค้ำจุน
จำเลยยื่นคำขอระบุพยานเพิ่มเติม ภายหลังสืบพยานโจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนเสร็จเพื่อแสดงว่าเอกสารท้ายฟ้องที่แสดงรายละเอียดของรายการซ่อมรถยนต์ของโจทก์ ตลอดถึงราคาว่าซ่อมอะไรราคาเท่าไรนั้นเป็นเอกสารปลอม เมื่อจำเลยได้นำสืบบุคคลอื่นเป็นพยานแล้วว่าราคาตามรายการต่างๆ สูงเกินไป และค่าเสียหายในการซ่อมรถยนต์ของโจทก์นี้ แม้จำเลยไม่ได้นำสืบหักล้าง ศาลก็ต้องวินิจฉัยชี้ขาดและกำหนดให้ตามสมควรอยู่แล้วการที่จะนำสืบว่าลายมือชื่อในเอกสารดังกล่าวเป็นลายมือปลอม จึงไม่เป็นการอ้างพยานหลักฐานเพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรมและไม่จำเป็นต้องสืบพยานที่ขออ้างเพิ่มเติมนั้น ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ตามกรมธรรม์ประกันภัยมีเงื่อนไขยกเว้นไม่คุ้มครองความรับผิดอันเกิดจากการขับขี่โดยบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ขับรถยนต์ตามกฎหมายหรือเคยได้รับแต่ถูกตัดสิทธิตามกฎหมาย การมีเงื่อนไขดังกล่าวก็เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่มีความสามารถทำการขับรถยนต์ที่เอาประกันภัย เพราะจะเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายอันจะทำให้จำเลยที่ 1 จะต้องเสี่ยงภัยมากขึ้นม.ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้รับใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของกรมตำรวจย่อมมีความรู้ความสามารถในการขับรถยนต์ได้ ม. จึงเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ขับรถยนต์ตามกฎหมาย ม. ขับรถยนต์บรรทุกที่จำเลยที่ 1 รับประกันไว้จากจำเลยที่ 2 ที่ 3 โดยประมาทเป็นเหตุให้ชนกับรถยนต์ของโจทก์ที่ 1 จึงไม่เป็นการผิดเงื่อนไขตามกรมธรรม์ดังกล่าวจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3431/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประกันภัยรถยนต์: การคุ้มครองกรณีผู้ขับมีใบอนุญาต แต่เกิดประมาท และข้อยกเว้นการไม่คุ้มครองผู้ขับที่ไม่มีใบอนุญาต
จำเลยยื่นคำขอระบุพยานเพิ่มเติมภายหลังสืบพยานโจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนเสร็จเพื่อแสดงว่าเอกสารท้ายฟ้องที่แสดงรายละเอียดของรายการซ่อมรถยนต์ของโจทก์ ตลอดถึงราคาว่าซ่อมอะไรราคาเท่าไรนั้นเป็นเอกสารปลอม เมื่อจำเลยได้นำสืบบุคคลอื่นเป็นพยานแล้วว่าราคาตามรายการต่างๆ สูงเกินไป และค่าเสียหายในการซ่อมรถยนต์ของโจทก์นี้แม้จำเลยไม่ได้นำสืบหักล้าง ศาลก็ต้องวินิจฉัยชี้ขาดและกำหนดให้ตามสมควรอยู่แล้วการที่จะนำสืบว่าลายมือชื่อในเอกสารดังกล่าวเป็นลายมือปลอม จึงไม่เป็นการอ้างพยานหลักฐานเพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรมและไม่จำเป็นต้องสืบพยานที่ขออ้างเพิ่มเติมนั้น ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ตามกรมธรรม์ประกันภัยมีเงื่อนไขยกเว้นไม่คุ้มครองความรับผิดอันเกิดจากการขับขี่โดยบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ขับรถยนต์ตามกฎหมายหรือเคยได้รับแต่ถูกตัดสิทธิตามกฎหมายการมีเงื่อนไขดังกล่าวก็เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่มีความสามารถทำการขับรถยนต์ที่เอาประกันภัยเพราะจะเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายอันจะทำให้จำเลยที่ 1 จะต้องเสี่ยงภัยมากขึ้นม.ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้รับใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของกรมตำรวจย่อมมีความรู้ความสามารถในการขับรถยนต์ได้ ม. จึงเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ขับรถยนต์ตามกฎหมาย ม. ขับรถยนต์บรรทุกที่จำเลยที่ 1 รับประกันไว้จากจำเลยที่ 2 ที่ 3 โดยประมาทเป็นเหตุให้ชนกับรถยนต์ของโจทก์ที่ 1 จึงไม่เป็นการผิดเงื่อนไขตามกรมธรรม์ดังกล่าวจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ทั้งสอง
of 13