คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 867

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 121 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3431/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกันภัยรถยนต์: การคุ้มครองเมื่อผู้ขับขี่มีใบอนุญาต แต่เกิดประมาท และข้อยกเว้นเรื่องผู้ขับขี่ที่ไม่มีคุณสมบัติ
จำเลยยื่นคำขอระบุพยานเพิ่มเติมภายหลังสืบพยานโจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนเสร็จเพื่อแสดงว่าเอกสารท้ายฟ้องที่แสดงรายละเอียดของรายการซ่อมรถยนต์ของโจทก์ตลอดถึงราคาว่าซ่อมอะไรราคาเท่าไรนั้นเป็นเอกสารปลอมเมื่อจำเลยได้นำสืบบุคคลอื่นเป็นพยานแล้วว่าราคาตามรายการต่างๆสูงเกินไปและค่าเสียหายในการซ่อมรถยนต์ของโจทก์นี้แม้จำเลยไม่ได้นำสืบหักล้างศาลก็ต้องวินิจฉัยชี้ขาดและกำหนดให้ตามสมควรอยู่แล้วการที่จะนำสืบว่าลายมือชื่อในเอกสารดังกล่าวเป็นลายมือปลอมจึงไม่เป็นการอ้างพยานหลักฐานเพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรมและไม่จำเป็นต้องสืบพยานที่ขออ้างเพิ่มเติมนั้นศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมชอบด้วยกฎหมายแล้ว ตามกรมธรรม์ประกันภัยมีเงื่อนไขยกเว้นไม่คุ้มครองความรับผิดอันเกิดจากการขับขี่โดยบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ขับรถยนต์ตามกฎหมายหรือเคยได้รับแต่ถูกตัดสิทธิตามกฎหมายการมีเงื่อนไขดังกล่าวก็เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่มีความสามารถทำการขับรถยนต์ที่เอาประกันภัยเพราะจะเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายอันจะทำให้จำเลยที่1จะต้องเสี่ยงภัยมากขึ้นม.ลูกจ้างของจำเลยที่2ที่3ได้รับใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของกรมตำรวจย่อมมีความรู้ความสามารถในการขับรถยนต์ได้ม.จึงเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ขับรถยนต์ตามกฎหมายม.ขับรถยนต์บรรทุกที่จำเลยที่1รับประกันไว้จากจำเลยที่2ที่3โดยประมาทเป็นเหตุให้ชนกับรถยนต์ของโจทก์ที่1จึงไม่เป็นการผิดเงื่อนไขตามกรมธรรม์ดังกล่าวจำเลยที่1ต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ทั้งสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3184/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิประกันภัยและการเรียกร้องค่าเสียหายจากการละเมิด แม้ผู้รับประกันภัยจะไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ และการใช้รถผิดกฎหมายไม่กระทบสิทธิเรียกร้อง
การที่โจทก์นำกรมธรรม์ประกันภัยมาสืบประกอบพยานอื่นในข้อรับช่วงสิทธิ โดยมิได้นำสืบบังคับตามกรมธรรม์ประกันภัยโดยตรง แม้กรมธรรม์ประกันภัยจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ ก็รับฟังได้
จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากการใช้รถระหว่างซ่อม แม้รถยนต์ของโจทก์จะเป็นรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลซึ่งต้องห้ามตามกฎหมายมิให้ใช้รับจ้างบรรทุกสินค้าของผู้อื่น ก็ไม่ทำให้จำเลยพ้นจากความรับผิดที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้ เพราะการที่โจทก์นำรถยนต์ไปรับจ้างโดยผิดกฎหมายหรือไม่ เป็นคนละเรื่องกับการกระทำละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3184/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิประกันภัยและการเรียกร้องค่าเสียหายจากการละเมิด แม้ผู้รับประกันภัยจะผิดเงื่อนไข
การที่โจทก์นำกรมธรรม์ประกันภัยมาสืบประกอบพยานอื่นในข้อรับช่วงสิทธิโดยมิได้นำสืบบังคับตามกรมธรรม์ประกันภัยโดยตรงแม้กรมธรรม์ประกันภัยจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังได้. จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากการใช้รถระหว่างซ่อมแม้รถยนต์ของโจทก์จะเป็นรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลซึ่งต้องห้ามตามกฎหมายมิให้ใช้รับจ้างบรรทุกสินค้าของผู้อื่นก็ไม่ทำให้จำเลยพ้นจากความรับผิดที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้เพราะการที่โจทก์นำรถยนต์ไปรับจ้างโดยผิดกฎหมายหรือไม่เป็นคนละเรื่องกับการกระทำละเมิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2892/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับข้อพิพาท ค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และข้อยกเว้นการจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัย
ข้อตกลงระหว่างโจทก์ที่ 2 กับจำเลยที่ 1 ตามรายงานประจำวันของสถานีตำรวจภูธรอำเภอลาดหลุมแก้วไม่เป็นสัญญาระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นให้เสร็จสิ้นไปทีเดียว ยังมีเงื่อนไขให้ไปตกลงค่าเสียหายกับจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยอีก จึงมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ
การที่ผู้เอาประกันปฏิบัติผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยไปตกลงชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ที่ 2 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายผิดดังเช่นคดีนี้ ผู้รับประกันจะยกเอาเงื่อนไขดังกล่าวมาใช้บังคับไม่ได้ เพราะถึงอย่างไรผู้รับประกันภัยก็จะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนอย่างแน่นอนอยู่แล้ว จุดประสงค์ของการกำหนดเงื่อนไขตามข้อตกลงดังกล่าวก็เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้เอาประกันภัยไปตกลงชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายถูกเท่านั้น
คดีมีทุนทรัพย์ที่โจทก์ที่ 1 (ผู้รับช่วงสิทธิ) เรียกร้องไม่เกิน 50,000 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น จำเลยจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 มาตรา 6 ข้อที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ฎีกาว่าค่าเสียหายของโจทก์ที่ 1 จำนวน 23,495 บาท ไม่ใช่ค่าเสียหายที่ถูกต้อง เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
ค่าขาดผลประโยชน์และค่าเสื่อมราคารถของโจทก์ที่ 2 ก็ถือได้ว่าเป็นความเสียหายของโจทก์ที่ 2 ที่เนื่องมาจากอุบัติเหตุอันเกิดจากการใช้รถยนต์ในระหว่างระยะเวลาประกันภัยซึ่งจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2892/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่า 50,000 บาท และข้อยกเว้นการใช้เงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยเมื่อผู้เอาประกันเป็นฝ่ายผิด
ข้อตกลงระหว่างโจทก์ที่ 2 กับจำเลยที่ 1 ตามรายงานประจำวันของสถานีตำรวจภูธรอำเภอลาดหลุมแก้วไม่เป็นสัญญาระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นให้เสร็จสิ้นไปทีเดียว ยังมีเงื่อนไขให้ไปตกลงค่าเสียหายกับจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยอีก จึงมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ
การที่ผู้เอาประกันปฏิบัติผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยไปตกลงชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ที่ 2 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายผิดดังเช่นคดีนี้ ผู้รับประกันจะยกเอาเงื่อนไขดังกล่าวมาใช้บังคับไม่ได้ เพราะถึงอย่างไรผู้รับประกันภัยก็จะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนอย่างแน่นอนอยู่แล้ว จุดประสงค์ของการกำหนดเงื่อนไขตามข้อตกลงดังกล่าวก็เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้เอาประกันภัยไปตกลงชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายถูกเท่านั้น
คดีมีทุนทรัพย์ที่โจทก์ที่ 1(ผู้รับช่วงสิทธิ) เรียกร้องไม่เกิน 50,000 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นจำเลยจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่6) พ.ศ.2518 มาตรา 6ข้อที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ฎีกาว่า ค่าเสียหายของโจทก์ที่ 1จำนวน 23,495 บาท ไม่ใช่ค่าเสียหายที่ถูกต้อง เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
ค่าขาดผลประโยชน์และค่าเสื่อมราคารถของโจทก์ที่ 2 ก็ถือได้ว่าเป็นความเสียหายของโจทก์ที่ 2 ที่เนื่องมาจากอุบัติเหตุอันเกิดจากการใช้รถยนต์ในระหว่างระยะเวลาประกันภัยซึ่งจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2892/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัย: การชดใช้ค่าเสียหายโดยผู้เอาประกันภัยโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้รับประกันภัย และข้อยกเว้นการรับผิด
ข้อตกลงระหว่างโจทก์ที่2กับจำเลยที่1ตามรายงานประจำวันของสถานีตำรวจภูธรอำเภอลาดหลุมแก้วไม่เป็นสัญญาระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นให้เสร็จสิ้นไปทีเดียวยังมีเงื่อนไขให้ไปตกลงค่าเสียหายกับจำเลยที่3ผู้รับประกันภัยอีกจึงมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ การที่ผู้เอาประกันปฏิบัติผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยไปตกลงชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ที่2โดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่3ผู้รับประกันภัยในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายผิดดังเช่นคดีนี้ผู้รับประกันจะยกเอาเงื่อนไขดังกล่าวมาใช้บังคับไม่ได้เพราะถึงอย่างไรผู้รับประกันภัยก็จะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนอย่างแน่นอนอยู่แล้วจุดประสงค์ของการกำหนดเงื่อนไขตามข้อตกลงดังกล่าวก็เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้เอาประกันภัยไปตกลงชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายถูกเท่านั้น คดีมีทุนทรัพย์ที่โจทก์ที่1(ผู้รับช่วงสิทธิ)เรียกร้องไม่เกิน50,000บาทและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นจำเลยจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่6)พ.ศ.2518มาตรา6ข้อที่จำเลยที่2ที่3ฎีกาว่าค่าเสียหายของโจทก์ที่1จำนวน23,495บาทไม่ใช่ค่าเสียหายที่ถูกต้องเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้ ค่าขาดผลประโยชน์และค่าเสื่อมราคารถของโจทก์ที่2ก็ถือได้ว่าเป็นความเสียหายของโจทก์ที่ 2ที่เนื่องมาจากอุบัติเหตุอันเกิดจากการใช้รถยนต์ในระหว่างระยะเวลาประกันภัยซึ่งจำเลยที่3ผู้รับประกันภัยต้องรับผิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2572/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้รถบรรทุกในการค้าขายและการรับจ้างบรรทุกสินค้าไม่ถือเป็นการผิดเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย
แม้กรมธรรม์ประกันภัยจะจำกัดความรับผิดในกรณีนำรถบรรทุกที่เอาประกันภัยไปรับจ้างบรรทุกก็ตาม แต่การที่ผู้เอาประกันภัยนำรถดังกล่าวบรรทุกสินค้าของตนไปส่งลูกค้า แล้วขากลับได้รับจ้างบรรทุกสินค้าอื่นกลับเพื่อไม่ให้เสียเที่ยวและเกิดเหตุขึ้น ยังไม่พอถือว่าผู้เอาประกันภัยนำรถไปใช้ผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย เพราะยังเป็นการใช้รถในกิจการค้าขายของผู้เอาประกันภัยซึ่งมีอาชีพค้าขายและมีรถยนต์ไว้บรรทุกสินค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2572/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้รถบรรทุกที่เอาประกันภัยเพื่อกิจการค้าขายของผู้เอาประกันภัย แม้เป็นการบรรทุกสินค้าขากลับเพื่อไม่ให้เสียเที่ยว ก็ไม่ถือเป็นการใช้รถผิดเงื่อนไข
แม้กรมธรรม์ประกันภัยจะจำกัดความรับผิดในกรณีนำรถบรรทุกที่เอาประกันภัยไปรับจ้างบรรทุกก็ตามแต่การที่ผู้เอาประกันภัยนำรถดังกล่าวบรรทุกสินค้าของตนไปส่งลูกค้าแล้วขากลับได้รับจ้างบรรทุกสินค้าอื่นกลับเพื่อไม่ให้เสียเที่ยวและเกิดเหตุขึ้นยังไม่พอถือว่าผู้เอาประกันภัยนำรถไปใช้ผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยเพราะยังเป็นการใช้รถในกิจการค้าขายของผู้เอาประกันภัยซึ่งมีอาชีพค้าขายและมีรถยนต์ไว้บรรทุกสินค้า.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2668/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักฐานสัญญาประกันภัย: หนังสือรับรองการทำประกันภัยเพียงพอต่อการฟ้องบังคับคดีได้ตามมาตรา 867
จำเลยมีหนังสือไปถึงโจทก์ข้อความว่า 'ตามที่ทางบริษัทกรุงเทพบูรพา จำกัด ได้ทำสัญญาประกันภัยไว้กับบริษัท ท่านเพื่อประกันภัยตัวเรือบางกอกโอเรียนท์ 1, 2 และ 3 ตามกรมธรรม์ประกันภัยเลขที่ เอม. เอช. 00576 เอม. เอช. 00577 และ เอม. เอช. 00578 สัญญาประกันภัยเริ่มคุ้มครอง ตั้งแต่วันที่ 4 กันยายน 2519 ถึงวันที่ 4 กันยายน 2520 ฯลฯ เห็นได้ว่าข้อความดังกล่าวยืนยันว่าจำเลยได้ทำสัญญาประกันภัยไว้กับโจทก์ตามกรมธรรม์ประกันภัยที่โจทก์ฟ้อง จริงและต่อมาเมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้แล้วจำเลยก็ยังได้ ทำคำให้การรับรองข้อความตามหนังสือดังกล่าวอีกด้วย ถือว่า หนังสือดังกล่าวเป็นหลักฐานแสดงว่าจำเลยได้เอาประกันภัยไว้แก่โจทก์ตามความหมายของ มาตรา 867 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว โจทก์จึงฟ้องร้องบังคับเอาแก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2668/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักฐานสัญญาประกันภัย: หนังสือยืนยันการเอาประกันภัยเพียงพอต่อการฟ้องร้องบังคับคดีได้ตามมาตรา 867
จำเลยมีหนังสือไปถึงโจทก์ข้อความว่า 'ตามที่ทางบริษัทกรุงเทพบูรพา จำกัด ได้ทำสัญญาประกันภัยไว้กับบริษัท ท่านเพื่อประกันภัยตัวเรือบางกอกโอเรียนท์ 1,2 และ 3 ตามกรมธรรม์ประกันภัยเลขที่ เอม.เอช.00576เอม.เอช.00577 และ เอม.เอช.00578 สัญญาประกันภัยเริ่มคุ้มครอง ตั้งแต่วันที่ 4 กันยายน 2519 ถึงวันที่ 4 กันยายน 2520 ฯลฯ' เห็นได้ว่าข้อความดังกล่าวยืนยันว่าจำเลยได้ทำสัญญาประกันภัยไว้กับโจทก์ตามกรมธรรม์ประกันภัยที่โจทก์ฟ้องจริง และต่อมาเมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้แล้วจำเลยก็ยังได้ ทำคำให้การรับรองข้อความตามหนังสือดังกล่าวอีกด้วย ถือว่า หนังสือดังกล่าวเป็นหลักฐานแสดงว่าจำเลยได้เอาประกันภัยไว้แก่โจทก์ตามความหมายของ มาตรา 867 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว โจทก์จึงฟ้องร้องบังคับเอาแก่จำเลยได้
of 13