พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,157 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 24/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาต้องไม่ล่าช้า และคำนึงถึงความเสียหายของคู่กรณี
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทห้ามจำเลยทั้งสามเกี่ยวข้อง กับให้จำเลยทั้งสามออกเอกสารสิทธิสำหรับที่ดินพิพาทให้โจทก์จำเลยทั้งสามให้การต่อสู้และฟ้องแย้งว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตทุ่งทำเลเลี้ยงสัตว์เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันโจทก์ไม่มีสิทธิครอบครอง ขอให้ขับไล่โจทก์ออกไป คดีจึงมีประเด็นว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และโจทก์มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทหรือไม่ ขณะคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาโจทก์เป็นผู้เข้าครอบครองที่ดินพิพาท ดังนั้น การที่จำเลยทั้งสามใช้ให้ หจก.ค.เข้าไปปักป้ายโฆษณาไถปรับพื้นดินทำการก่อสร้างสวน และวิทยาลัยในที่ดินพิพาท ย่อมอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ได้โจทก์จึงชอบที่จะร้องขอให้ห้ามจำเลยทั้งสามมิให้กระทำการใด ๆในที่ดินพิพาทได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254(2)แต่ปรากฎว่าโจทก์เพิ่งยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาต่อศาล หลังจากที่จำเลยทั้งสามได้เข้าดำเนินการก่อสร้างในที่ดินพิพาทแล้ว เป็นเวลานานถึง 5 เดือนเศษ การยื่นคำขอของโจทก์จึงล่วงเลยเวลาอันสมควร ทั้งหากจะนำวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาใช้ก็ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยทั้งสามเช่นเดียวกัน ตามพฤติการณ์เช่นนี้จึงยังไม่สมควรที่จะนำวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254(2) มาใช้แก่จำเลยทั้งสาม ในการยื่นฎีกาคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท เมื่อโจทก์เสียค่าขึ้นศาลเกินมา จึงต้องคืนเงินส่วนที่เกินให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหน่วยงานราชการต่อความเสียหายจากละเมิดของข้าราชการในการยึดและดูแลของกลาง
จำเลยที่2เป็นสารวัตรใหญ่และจำเลยที่3เป็นพนักงานสอบสวนคนทั้งสองต่างเป็นข้าราชการในสังกัดของกรมตำรวจจำเลยที่1การที่จำเลยที่2และที่3ยึดรถยนต์พิพาทของโจทก์เป็นของกลางเป็นการปฏิบัติหน้าที่อย่างหนึ่งตามระเบียบข้อบังคับและคำสั่งที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่1และจำเลยที่1มีหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติงานของจำเลยที่2และที่3ให้เป็นไปตามระเบียบและคำสั่งเพื่อมิให้เกิดความเสียหายเมื่อจำเลยที่2และที่3ยึดรถยนต์พิพาทไว้เป็นของกลางในคดีความผิดต่อพระราชบัญญัติจราจรทางบกซึ่งมีคนตายและได้รับบาดเจ็บในกรณีนี้เป็นการปฏิบัติหน้าที่อย่างหนึ่งและมีฐานะเป็นผู้แทนของจำเลยที่1จำเลยที่2และที่3จึงมีหน้าที่ดูแลรักษาทรัพย์ของกลางเหมือนเช่นวิญญูชนพึงดูแลทรัพย์สินของตนแต่เมื่อจำเลยที่2และที่3ไม่ได้ดูแลรักษารถยนต์พิพาทของกลางตามสมควรเป็นเหตุให้รถยนต์พิพาทสูญหายกรณีจึงเป็นการกระทำละเมิดในฐานะปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้แทนของจำเลยที่1ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา76วรรคหนึ่งจำเลยที่1จึงต้องร่วมกับจำเลยที่2และที่3รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายแก่โจทก์ด้วยจะอ้างว่าตนไม่มีอำนาจในการยึดสิ่งของในคดีอาญามาปฏิเสธความรับผิดของตนไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้าราชการยึดของกลางต้องรับผิดชอบความเสียหายจากการดูแลรักษาทรัพย์สิน
จำเลยที่ 2 เป็นสารวัตรใหญ่ และจำเลยที่ 3 เป็นพนักงานสอบสวน คนทั้งสองต่างเป็นข้าราชการในสังกัดของกรมตำรวจ จำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ยึดรถยนต์พิพาทของโจทก์เป็นของกลางเป็นการปฏิบัติหน้าที่อย่างหนึ่งตามระเบียบข้อบังคับและคำสั่งที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 มีหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติงานของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้เป็นไปตามระเบียบและคำสั่งเพื่อมิให้เกิดความเสียหาย เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ยึดรถยนต์พิพาทไว้เป็นของกลางในคดีความผิดต่อ พ.ร.บ.จราจรทางบก ซึ่งมีคนตายและได้รับบาดเจ็บในกรณีนี้เป็นการปฏิบัติหน้าที่อย่างหนึ่งและมีฐานะเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงมีหน้าที่ดูแลรักษาทรัพย์ของกลางเหมือนเช่นวิญญูชนพึงดูแลทรัพย์สินของตน แต่เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้ดูแลรักษารถยนต์พิพาทของกลางตามสมควร เป็นเหตุให้รถยนต์พิพาทสูญหาย กรณีจึงเป็นการกระทำละเมิดในฐานะปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล ตาม ป.พ.พ.มาตรา 76 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายแก่โจทก์ด้วย จะอ้างว่าตนไม่มีอำนาจในการยึดสิ่งของในคดีอาญามาปฏิเสธความรับผิดของตนไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าหน้าที่รัฐและหน่วยงาน กรณีละเลยดูแลทรัพย์ของกลางจนสูญหาย
จำเลยที่2กับที่3ต่างเป็นข้าราชการในสังกัดของจำเลยที่1ได้ยึดรถยนต์พิพาทของโจทก์เป็นของกลางถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่อย่างหนึ่งตามระเบียบข้อบังคับและคำสั่งที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่1และมีฐานะเป็นผู้แทนของจำเลยที่1จำเลยที่1มีหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติงานของจำเลยที่2กับที่3มิให้เกิดความเสียหายส่วนจำเลยที่2กับที่3มีหน้าที่ต้องดูแลรักษาทรัพย์ของกลางเหมือนเช่นวิญญูชนพึงดูแลทรัพย์สินของตนเมื่อประมาทเลินเล่อไม่ได้ดูแลรักษาตามสมควรเป็นเหตุให้รถยนต์พิพาทสูญหายจึงเป็นการกระทำละเมิดในฐานะปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้แทนของจำเลยที่1ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา76วรรคหนึ่งจำเลยที่1จึงต้องร่วมกับจำเลยที่2กับที่3รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายแก่โจทก์จะอ้างว่าตนไม่มีอำนาจในการยึดสิ่งของในคดีอาญามาปฏิเสธความรับผิดชอบของตนไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9934/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดต้องแจ้งให้ผู้ค้างภาษีทราบที่ภูมิลำเนา หากไม่สามารถส่งได้จึงแจ้งโดยวิธีอื่นได้ การแจ้งเฉพาะทางหนังสือพิมพ์จึงไม่ชอบ
โจทก์มีภูมิลำเนาอยู่เป็นที่แน่นอน กรรมสรรพากรจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องส่งประกาศแจ้งกำหนดวันเวลาและสถานที่การขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์ให้โจทก์ทราบ ณ ภูมิลำเนาของโจทก์ดังกล่าวซึ่งถ้าไม่สามารถส่งได้ จึงจะส่งโดยวิธีอื่นหรือประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์ได้ การที่จำเลยแจ้งเรื่องการขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์โดยวิธีประกาศโฆษณาทางหนังสือพิมพ์โดยไม่เข้าข้อยกเว้นที่ให้ทำได้ จึงไม่ชอบการขายทอดตลาดที่จำเลยดำเนินการไปจึงไม่ชอบด้วยระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการยึดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากรตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2525 และระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากร พ.ศ. 2532
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9932/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การกำหนดค่าทดแทนตามราคาตลาดและผลกระทบจากถนนสาธารณะ
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา21การกำหนดเงินค่าทดแทนนั้นต้องคำนึงถึงราคาซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกานอกจากนั้นยังต้องคำนึงถึงราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่ราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์นั้นรวมทั้งเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม การจะเวนคืนที่ดินตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าวเขตบึงกุ่มเขตบางกะปิเขตห้วยขวางเขตคลองเตยและเขตพระโขนงกรุงเทพมหานครพ.ศ.2533นั้นมีวัตถุประสงค์ในการเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างทางพิเศษโครงการระบบทางด่วนสายรามอินทรา-อาจณรงค์ แต่ปรากฏว่าการเวนคืนที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวได้ดำเนินการสร้างทางพิเศษสายรามอินทรา-อาจณรงค์ ในส่วนกลางและสร้างถนนของกรุงเทพมหานครในพื้นราบด้านข้างขนานควบคู่กันไปด้วยอีกทั้งปรากฏว่าถนนของกรุงเทพมหานครในพื้นราบดังกล่าวตัดผ่านที่ดินโจทก์ดังนั้นจากการเวนคืนที่ดินของโจทก์บางส่วนดังกล่าวเนื้อที่ประมาณ11ไร่เศษทำให้ที่ดินของโจทก์ที่เหลือจำนวน32ไร่เศษมีหน้าที่ดินติดกับถนนของกรุงเทพมหานครทั้งสองฝั่งซึ่งเดิมปรากฏว่าที่ดินกลุ่มนี้ไม่มีถนนสาธารณะผ่านการเวนคืนในกรณีนี้จึงส่งผลในที่ดินของโจทก์ที่เหลืออยู่มีราคาสูงขึ้นโจทก์จึงได้ประโยชน์จากการเวนคืนมากกว่าราคาซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินที่ถูกเวนคืนซึ่งตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา21วรรคหนึ่งก็บัญญัติถึงหลักการและเจตนารมณ์ในการกำหนดค่าทดแทนที่นอกจะให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนแล้วยังต้องพิจารณาให้เกิดความเป็นธรรมแก่สังคมด้วยในกรณีนี้ที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นกำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์สำหรับที่ดินที่ถูกเวนคืนดังกล่าวจึงนับว่าเป็นประโยชน์แก่โจทก์อย่างมากอยู่แล้วการที่จะกำหนดราคาค่าทดแทนเพิ่มให้แก่โจทก์ย่อมไม่เป็นธรรมแก่สังคมและแม้ว่าที่ดินทางทิศใต้ของทางพิเศษที่เหลือมีความกว้าง20ถึง30เมตรไม่สามารถสร้างอาคารสูงได้ก็ตามแต่โจทก์ยังสามารถสร้างบ้านและอาคารชุดได้ตามที่โจทก์ประสงค์อยู่ตามเดิมไม่ทำให้เสียไปซึ่งวัตถุประสงค์เดิมของโจทก์ถือได้ว่าคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯได้กำหนดราคาค่าทดแทนให้แก่ที่ดินของโจทก์ทั้ง12แปลงในส่วนที่ถูกเวนคืนในคดีนี้เหมาะสมและเป็นธรรมทั้งเป็นประโยชน์แก่โจทก์มากอยู่แล้วจำเลยไม่ต้องจ่ายค่าทดแทนเพิ่มแก่โจทก์อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9930-9931/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การคำนวณค่าทดแทน ดอกเบี้ย และเหตุสุดวิสัยในการยื่นคำให้การ
ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่44มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่1มีนาคม2534และข้อ5วรรคหนึ่งบัญญัติว่าบทบัญญัติมาตรา9วรรคสี่และวรรคห้ามาตรา10ทวิและมาตรา28วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้บังคับแก่การเวนคืนซึ่งการกำหนดราคาเบื้องต้นการจัดซื้อการจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทนการอุทธรณ์หรือการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ใช้บังคับด้วยกรณีของโจทก์ทั้งสองนี้โจทก์ทั้งสองได้รับเงินค่าทดแทนจากจำเลยตามจำนวนที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นกำหนดให้แล้วโจทก์ทั้งสองไม่พอใจจำนวนเงินค่าทดแทนจึงได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเมื่อวันที่2มีนาคม2534และเมื่อโจทก์ทั้งสองไม่พอใจคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมก็ได้ใช้สิทธิฟ้องคดีขณะที่โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและฟ้องคดีทั้งสองสำนวนนี้นั้นเป็นเวลาภายหลังจากที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่44มีผลใช้บังคับแล้วศาลย่อมมีอำนาจพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนโดยอาศัยกฎเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา9วรรคสี่ที่แก้ไขใหม่ตามประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่44โดยพิจารณาค่าทดแทนตามมาตรา18,21,22และ24ได้มิต้องพิจารณาเฉพาะมาตรา21(2)หรือ(3)ตามที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นกำหนดให้แก่โจทก์และไม่ต้องคำนึงถึงปัญหาว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมจะมีคำสั่งให้ดำเนินการแก้ไขราคาค่าทดแทนโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีแล้วหรือไม่ บัญชีพยานที่จำเลยขอระบุเพิ่มเติมเป็นพยานหลักฐานที่จะนำสืบว่าโจทก์ที่2ได้ขายที่ดินส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนไปเมื่อวันที่30มีนาคม2537โดยจดทะเบียนขายตามราคาประเมินตารางวาละประมาณ2,500บาทแต่ปรากฏจากฎีกาของจำเลยเองว่าราคาซื้อขายที่ดินดังกล่าวมิใช่ราคาซื้อขายกันจริงตามท้องตลาดราคาซื้อขายกันจริงอาจสูงกว่าตารางวาละ5,000บาทมากดังนั้นแม้จำเลยนำสืบได้ตามพยานหลักฐานที่ขอระบุพยานเพิ่มเติมดังกล่าวก็ไม่เป็นประโยชน์ในการที่นำมาประกอบการพิจารณากำหนดค่าทดแทนให้ต่ำลงกว่าที่ศาลกำหนดได้จึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะอนุญาตให้จำเลยระบุพยานนั้นเพิ่มเติม แม้เจ้าหน้าที่ของจำเลยเสนอสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกให้อัยการจังหวัดขณะอัยการจังหวัดไม่อยู่ก็ต้องมีพนักงานอัยการอื่นที่รักษาราชการแทนและสามารถดำเนินการแทนกันได้และความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการนับวันของเจ้าหน้าที่รับสำนวนคดีแพ่งประจำสำนักงานอัยการจังหวัดของทนายจำเลยเป็นความบกพร่องของฝ่ายจำเลยการที่ทนายจำเลยเพิ่งได้รับสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกซึ่งจำเลยกำหนดเวลายื่นคำให้การ1วันเพราะเหตุทั้งสองประการดังกล่าวข้างต้นมิใช่เหตุสุดวิสัยจำเลยไม่ยื่นคำให้การภายในกำหนดเพราะเกิดจากความบกพร่องของฝ่ายจำเลยถือได้ว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9885/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: หลักเกณฑ์การคำนวณค่าทดแทน, อัตราดอกเบี้ย, และการอุทธรณ์
ที่ดินโจทก์ถูกเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินซึ่งตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 3 กำหนดให้อธิบดีกรมทางหลวงเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องกรมทางหลวงและอธิบดีเพื่อเรียกค่าทดแทนเพิ่มได้ พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ มาตรา 26วรรคแรกได้บัญญัติว่าในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยนับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินทดแทนนั้น และมาตรา 11 วรรคหนึ่งบัญญัติให้เจ้าหน้าที่จ่ายเงินค่าอสังหาริมทรัพย์แก่ผู้มีสิทธิได้รับภายใน 120 วัน นับแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขายตามมาตรา 10ซึ่งโจทก์กับกรมทางหลวงได้ทำบันทึกข้อตกลงกันตามมาตรา 10เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2535 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2535อันเป็นวันสุดท้ายที่จะต้องจ่ายเงินให้แก่โจทก์ คณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนฯ กำหนดค่าทดแทนให้โจทก์โจทก์อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเมื่อวันที่ 8เมษายน 2535 และโจทก์ได้รับหนังสือของกรมทางหลวงให้ไปรับเงินค่าทดแทนเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2535 โจทก์จึงยื่นอุทธรณ์ฉบับที่ 2 ต่อรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2535อันเป็นการอุทธรณ์ภายในระยะเวลา 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ มาตรา 25 วรรคหนึ่งโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9871/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินค่าทดแทนที่ดินเวนคืน: หลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 และราคาประเมินที่สอดคล้องกับราคาตลาด
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่พิพาทเป็นการดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์ฯ พ.ศ. 2511 และพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์ฯ พ.ศ. 2516แต่ภายหลังจากพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 และประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 44 เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีผลใช้บังคับแล้ว การดำเนินการในเรื่องค่าทดแทนตามฟ้องยังไม่เสร็จสิ้น ดังนั้น การดำเนินการต่อไปในเรื่องนี้จึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21(1)-(5) โดยกำหนดให้คิดราคาในปีที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ การที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่พิพาทมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2511 แล้วฝ่ายจำเลยไม่ดำเนินการกำหนดค่าทดแทนภายในเวลาอันควรปล่อยระยะเวลามา เนิ่นนานกว่า 20 ปี เป็นการกระทำที่ทำให้โจทก์เสียหายเมื่อได้ความว่าฝ่ายจำเลยได้แต่งตั้งคณะกรรมการฯ กำหนดราคาเบื้องต้นของที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนเมื่อวันที่ 22มกราคม 2531 และได้ประชุมกำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์อันเนื่องจากอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืน แล้วแจ้งราคาให้แก่โจทก์ทราบ การดำเนินการเพื่อจ่ายเงินค่าทดแทนในกรณีนี้เริ่มต้นใหม่ในปี 2531 ดังนั้น การใช้หลักเกณฑ์ตามมาตรา 21(1)-(5) จึงเปลี่ยนจากวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาเป็นปี 2531 อันเป็นปีที่มีการเริ่มดำเนินการเพื่อจ่ายค่าทดแทนใหม่ โจทก์นำสืบถึงบัญชีราคาประเมินที่ดินเพื่อเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมซึ่งกรมที่ดินได้กำหนดในปี 2533 เพื่อให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจ่ายค่าทดแทนให้แก่ผู้ถูกเวนคืน และที่ดินที่พิพาทก็อยู่ในบริเวณดังกล่าวด้วย จึงเชื่อว่าในปี 2533ที่ดินที่ถูกเวนคืนตามฟ้องมีราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดใกล้เคียงหรือสูงต่ำกว่าตารางวาละ 60,000 บาทตามที่ปรากฏในราคาประเมินของกรมที่ดินดังกล่าวไม่มาก และราคาดังกล่าวนี้เป็นราคาที่เพิ่มขึ้นจากปี 2531 เป็นเวลา2 ปี ดังนั้นในปี 2531 ที่ดินที่ถูกเวนคืนตามฟ้องย่อมมีราคาต่ำกว่าตารางวาละ 60,000 บาท ไม่มากเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9780/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิรูปที่ดินชอบด้วยกฎหมาย สัญญาซื้อขายที่ดินปฏิรูปเป็นโมฆะ
ในกรณีมีที่ดินสาธารณประโยชน์ของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันในเขตปฏิรูปที่ดิน พระราชบัญญัติปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 16(1) บังคับให้ต้องจัดที่ดินแปลงอื่นให้พลเมืองใช้ประโยชน์ร่วมกันแทน และให้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เฉพาะกรณีที่ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นพลเมืองยังคงใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้นอยู่หากเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ที่เลิกใช้ประโยชน์แล้วก็ไม่ต้องมีการจัดที่ดินแปลงอื่นให้พลเมืองใช้ร่วมกันแทนโดยคณะกรรมการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแต่อย่างใด และพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินมีผลเป็นการถอนสภาพการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับที่ดินสาธารณประโยชน์เหล่านั้นด้วย โดยมิต้องดำเนินการถอนสภาพตามประมวลกฎหมายที่ดินอีก พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มาตรา 39ห้ามบุคคลที่ได้รับสิทธิให้ทำกินในที่ดินโดยการปฏิรูปที่ดินโอนสิทธิในที่ดินไปยังผู้อื่น ดังนั้น หากมีการทำสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวกันเอง ก็เป็นการขัดกับบทบัญญัติดังกล่าวสัญญาซื้อขายตกเป็นโมฆะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113(เดิม)