คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุทธิ นิชโรจน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,157 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9606/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: ศาลตรวจสอบและแก้ไขค่าทดแทนได้ แม้มีคำวินิจฉัยของหน่วยงานอื่น
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530และประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งบังคับใช้แก่กรณีพิพาทนี้แบ่งอำนาจหน้าที่ในการกำหนดค่าทดแทนออก 3 ระดับ คือ คณะกรรมการกำหนดราคาในเบื้องต้นและคณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ มีอำนาจหน้าที่กำหนดเงินค่าทดแทนในเบื้องต้นระดับหนึ่ง กับรัฐมนตรีรักษาการและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ระดับหนึ่ง และศาลยุติธรรมอีกระดับหนึ่ง ซึ่งการดำเนินการกำหนดเงินค่าทดแทนแต่ละระดับขั้นตอนดังกล่าวหากมีข้อบกพร่องในการกำหนดเงินค่าทดแทนจากการกระทำของคณะกรรมการในระดับแรก คณะกรรมการระดับถัดขึ้นมาหรือศาลก็จะมีโอกาสตรวจสอบและสั่งแก้ไขได้ตามหลักเกณฑ์ที่ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 บัญญัติไว้ ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนทั้งแปลง 70 ตารางวา คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นและคณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ กำหนดเงินค่าทดแทนให้โจทก์ตารางวาละ 7,000 บาท รวมเป็นเงิน 490,000 บาท โจทก์ไม่พอใจได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์)และฟ้องคดีต่อศาลในเวลาต่อมา ระหว่างพิจารณาคดีของศาลได้มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ประกาศใช้บังคับ แม้คณะกรรมการแก้ไขราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนซึ่งแต่งตั้งขึ้นตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 10 ทวิกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์เพิ่มขึ้นเป็นเงิน 318,500 บาท แต่จำเลยทั้งสองยังมิได้จ่ายเงินให้แก่โจทก์ เมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยทั้งสองจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์เพิ่มขึ้น 1,190,000 บาท โดยในการกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ ศาลได้หยิบยกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่44 มาวินิจฉัยแล้ว คำพิพากษาของศาลในคดีดังกล่าวมีผลเป็นการตรวจสอบและยกเลิกคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โจทก์จึงไม่มีสิทธิจะได้รับเงินค่าทดแทนจำนวน 318,500 บาท ตามที่คณะกรรมการแก้ไขราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนกำหนดให้โจทก์อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9606/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: ศาลตรวจสอบและยกเลิกคำวินิจฉัยด้านค่าทดแทนเดิมได้ แม้มีการแก้ไขราคาเพิ่มแล้ว
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 และประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 44 แบ่งอำนาจหน้าที่ในการกำหนดเงินค่าทดแทนออกเป็น3 ระดับ คือ คณะกรรมการกำหนดราคาในเบื้องต้นและคณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ระดับหนึ่ง กับรัฐมนตรีและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ระดับหนึ่ง และศาลยุติธรรมอีกระดับหนึ่งซึ่งการกำหนดเงินค่าทดแทนแต่ละระดับ คณะกรรมการระดับถัดขึ้นมาหรือศาลมีอำนาจตรวจสอบและสั่งแก้ไขได้แม้คณะกรรมการแก้ไขราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้แต่งตั้งจะได้กำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์เพิ่มขึ้นเป็นเงิน 318,500 บาทแต่ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยทั้งสองจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์เพิ่มขึ้น 1,190,000 บาทซึ่งจำเลยทั้งสองก็ได้ชำระเงินให้โจทก์ไปแล้ว คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงมีผลเป็นการตรวจสอบและยกเลิกคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนจำนวน318,500 บาทอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9508/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงื่อนไขบังคับหลังในสัญญาจ้างเหมา: สัญญาเลิกเมื่อเงื่อนไขสำเร็จและเจรจาไม่เป็นผล
โจทก์ได้ทำสัญญาจ้างเหมาจำเลยดำเนินการผลิตและเสนอข่าวโทรทัศน์ให้แก่โจทก์โดยมีสัญญาข้อ 8 ระบุว่า "เนื่องจากผู้ว่าจ้าง (โจทก์)เป็นรัฐวิสาหกิจที่จะต้องปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาล ระเบียบของทางราชการและกฎหมาย ดังนั้น หากมีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ นอกเหนืออำนาจของผู้ว่าจ้างเป็นเหตุให้ผู้ว่าจ้างไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญานี้ต่อไปอีกได้ คู่สัญญาตกลงจะทำการเจรจาหาทางแก้ไขปัญหาในทางที่จะเป็นธรรมแก่ทั้งสองฝ่าย หากการเจรจาได้ล่วงพ้นกำหนด 3 เดือน นับแต่วันเริ่มต้นการเจรจาแล้วยังไม่สามารถหาข้อยุติและทำความตกลงกันได้ คู่สัญญาตกลงให้สัญญานี้เป็นอันเลิกแล้วต่อกัน โดยต่างฝ่ายจะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องใด ๆ ต่อกันอีก" หลังจากที่จำเลยได้เข้าทำการผลิตและเสนอข่าวตามสัญญาจ้างเหมาให้แก่โจทก์แล้ว ปรากฏว่าการปฏิบัติการของจำเลยได้ก่อให้เกิดความไม่พอใจแก่พนักงานในสังกัดของโจทก์ จนประธานสหภาพแรงงานองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ได้มีหนังสือถึงประธานกรรมการองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ใจความว่า เพื่อเป็นการยุติปัญหาที่จะเกิดผลกระทบต่อภาพพจน์ของโจทก์ในทางเสียหาย ขอให้บอกเลิกสัญญาจ้างเหมาที่โจทก์ทำกับจำเลยโดยเร็วและให้เร่งรัดปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตข่าวของโจทก์ด้วยนอกจากนั้นผู้บริหารของโจทก์ต่างเห็นพ้องต้องกันว่ามีการกระทำที่ไม่สมควรในการเสนอข่าวของจำเลย จึงเสนอให้ยกเลิกสัญญาจ้างเหมาที่โจทก์ทำกับจำเลยคณะกรรมการของโจทก์จึงมีการประชุมร่วมกันกับผู้บริหารและพนักงานของโจทก์เพื่อพิจารณาเรื่องนี้ ที่ประชุมมีมติให้โจทก์ปฏิบัติภาระกิจในการผลิตและเสนอข่าวสารด้วยตนเอง สำหรับสัญญาที่โจทก์มีอยู่กับจำเลยนั้นให้ดำเนินการให้ถูกต้องเป็นธรรมตามบทบัญญัติของกฎหมายต่อไป โดยได้ตั้งคณะทำงานขึ้นประมวลเรื่องทั้งหมดเสนอรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีผู้กำกับดูแลโจทก์อยู่จึงได้ทำบันทึกเสนอนายกรัฐมนตรี โดยระบุว่ามีปัญหาเนื่องจากการจัดทำและเสนอข่าวของโจทก์ยังไม่มีนโยบายที่แน่นอนและเดิมโจทก์ได้จ้างเหมาให้บริษัทเอกชนช่วยผลิตและเสนอข่าว ซึ่งก่อให้เกิดปัญหามาโดยตลอด โดยเฉพาะปัญหาการจัดทำข่าวที่ไม่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและทำให้โจทก์เสียผลประโยชน์โดยไม่สมควร จึงเห็นว่ามีความจำเป็นต้องกำหนดนโยบายให้โจทก์จัดทำและเสนอข่าวด้วยตนเอง และห้ามมิให้จ้างเอกชนจัดทำและเสนอข่าว ขอโปรดนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาและกำหนดเป็นนโยบายให้โจทก์ถือปฏิบัติต่อไป ดังนั้น เอกสารดังกล่าวเป็นเรื่องที่รัฐมนตรีผู้มีหน้าที่ควบคุมกำกับดูแลในฐานะประธานกรรมการของโจทก์เสนอต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อให้นำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีกำหนดเป็นนโยบายให้โจทก์ถือปฏิบัติ เอกสารนี้มิได้ทำขึ้นเองโดยพลการ แต่อาศัยข้อมูลและเหตุผลที่ได้รับมาจากพนักงานและผู้บริหารของโจทก์เองโดยตรง ไม่มีข้อความตอนใดที่ระบุกล่าวหาว่าจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาจ้างเหมาที่ทำไว้กับโจทก์ จึงหาใช่เอกสารที่มีข้อความไม่ตรงกับความเป็นจริงหรือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบควบคุมกำกับดูแลโจทก์ไม่ การที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบด้วยกับข้อเสนอของรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าว และมีมติกำหนดเป็นนโยบายให้โจทก์จัดทำและเสนอข่าวด้วยตนเองและห้ามมิให้จ้างเอกชนจัดทำและเสนอข่าวอีกต่อไป ย่อมเป็นอำนาจของฝ่ายบริหารที่จะกระทำได้และผูกพันผู้บริหารของโจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีที่จะต้องปฏิบัติตาม การที่ผู้อำนวยการโจทก์มีหนังสือแจ้งมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวให้จำเลยทราบและกำหนดให้มีการเจรจาหาทางแก้ไขปัญหาระหว่างโจทก์จำเลยจึงเป็นการปฏิบัติตามสัญญาจ้างเหมา 8ดังกล่าวข้างต้นและตามนโยบายของรัฐบาลหาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหรือทำผิดสัญญาไม่
ข้อสัญญาข้อ 8 ดังกล่าวเป็นเงื่อนไขบังคับหลังของสัญญาจ้างเหมาหากมีเหตุการณ์ใดที่นอกเหนืออำนาจของโจทก์ผู้ว่าจ้างเกิดขึ้นทำให้โจทก์ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญานี้ต่อไปอีกได้ ก็ให้มีการเจรจากันระหว่างคู่สัญญา หากตกลงกันไม่ได้ภายในระยะเวลา 3 เดือน นับแต่วันเริ่มต้นเจรจาแล้ว ให้สัญญาจ้างเหมาสิ้นสุดลงการที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้โจทก์จัดทำและเสนอข่าวด้วยตนเอง และห้ามมิให้จ้างเอกชนจัดทำและเสนอข่าวอีกต่อไป ถือได้ว่าเป็นเหตุการณ์ที่นอกเหนืออำนาจของโจทก์ ทำให้โจทก์ผู้ว่าจ้างไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาจ้างเหมาต่อไปอีกได้เป็นกรณีที่เงื่อนไขสำเร็จแล้ว โจทก์จึงได้นัดให้มีการเจรจาตกลงกันในวันที่ 8กุมภาพันธ์ 2532 ซึ่งถือเป็นวันเริ่มต้นการเจรจา หากภายในกำหนด 3 เดือนนับแต่วันดังกล่าวโจทก์จำเลยยังไม่อาจตกลงกันได้สัญญาจ้างเหมาย่อมสิ้นผลระยะเวลา 3 เดือน แม้จะเป็นเงื่อนเวลาที่กำหนดไว้ให้สัญญาสิ้นสุด แต่ถึงอย่างไรนิติกรรมสัญญาจ้างเหมาก็ต้องสิ้นสุดลงเพราะเงื่อนไขบังคับหลังได้สำเร็จแล้วดังกล่าวข้างต้น โจทก์ย่อมไม่อาจสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาเพื่อให้สัญญามีผลต่อไปได้เพราะจะเป็นการขัดต่อมติคณะรัฐมนตรี ทั้งการที่มีการนัดเจรจาครั้งสุดท้ายในวันที่ 25 พฤษภาคม 2532 แต่โจทก์ไม่ยอมเจรจาโดยแจ้งว่าสัญญาจ้างเหมาสิ้นสุดแล้วแต่วันที่ 8 พฤษภาคม 2532 ก็ดี และโจทก์เรียกร้องค่าใช้เครื่องมือและอุปกรณ์จากจำเลยจนถึงวันที่ 8 พฤษภาคม 2532 อันเป็นวันสุดท้ายที่สัญญาดังกล่าวมีผลบังคับก็ดี ล้วนเป็นการแสดงว่าโจทก์หาได้สละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาที่ให้สัญญาสิ้นสุดลงตามที่กำหนดไว้ในสัญญาไม่ อีกทั้งจำเลยเองก็ยอมรับว่าโจทก์ต้องการให้สัญญาจ้างเหมาสิ้นผลโดยเร็วเพื่อจะได้ไม่ต้องจ้างจำเลยต่อไป ดังนั้นพฤติการณ์ยังไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ได้สละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาแล้ว
ตามสัญญา ข้อ 8 ภายหลังที่เงื่อนไขสำเร็จแล้ว คงกำหนดเพียงให้คู่สัญญาทำการเจรจาหาทางแก้ไขปัญหาในทางที่จะก่อให้เกิดข้อตกลงที่เป็นธรรมแก่ทั้งสองฝ่ายเท่านั้น หาได้บังคับให้คู่สัญญาต้องทำความตกลงกันแต่อย่างใดไม่ การบรรลุข้อตกลงกันระหว่างคู่สัญญาจะต้องเป็นการเห็นพ้องร่วมกันทั้งสองฝ่าย การที่ฝ่ายหนึ่งยื่นข้อเสนอแต่อีกฝ่ายไม่ยอมรับ ย่อมไม่อาจถือเป็นข้อยุติหรือข้อตกลงระหว่างกันได้ และจะถือว่าฝ่ายที่ไม่ยอมรับข้อเสนอใช้สิทธิไม่สุจริตหาได้ไม่ เว้นแต่จะปรากฏข้อเท็จจริงชัดแจ้งเช่นนั้น ซึ่งในกรณีนี้ปรากฏว่าโจทก์ต้องการให้จำเลยยื่นข้อเสนอมาว่าเสียหายเป็นตัวเงินเท่าใดเพื่อพิจารณา แต่จำเลยต้องการให้โจทก์ตกลงให้จำเลยเช่าเวลาเพื่อทำรายการต่อไป เห็นได้ว่าทั้งสองฝ่ายต่างมีหลักการไม่ตรงกัน ข้อตกลงจึงไม่เกิดขึ้น หาใช่โจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริตกลั่นแกล้งจำเลยไม่ เมื่อการเจรจาได้ล่วงพ้นกำหนด 3 เดือน โดยไม่สามารถตกลงกันได้เช่นนี้ สัญญาจ้างเหมาจึงต้องเลิกกันตามสัญญาข้อ 8

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9508/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมาเลิกกันเนื่องจากนโยบายรัฐ เปลี่ยนแปลงนอกเหนืออำนาจคู่สัญญา สิทธิเรียกร้องและค่าเสียหาย
โจทก์ได้ทำสัญญาจ้างเหมาจำเลยดำเนินการผลิตและเสนอข่าวโทรทัศน์ให้แก่โจทก์โดยมีสัญญาข้อ8ระบุว่า"เนื่องจากผู้ว่าจ้าง(โจทก์)เป็นรัฐวิสาหกิจที่จะต้องปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลระเบียบของทางราชการและกฎหมายดังนั้นหากมีการเปลี่ยนแปลงใดๆนอกเหนืออำนาจของผู้ว่าจ้างเป็นเหตุให้ผู้ว่าจ้างไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญานี้ต่อไปอีกได้คู่สัญญาตกลงจะทำการเจรจาหาทางแก้ไขปัญหาในทางที่จะเป็นธรรมแก่ทั้งสองฝ่ายหากการเจรจาได้ล่วงพ้นกำหนด3เดือนนับแต่วันเริ่มต้นการเจรจาแล้วยังไม่สามารถหาข้อยุติและทำความตกลงกันได้คู่สัญญาตกลงให้สัญญานี้เป็นอันเลิกแล้วต่อกันโดยต่างฝ่ายจะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องใดๆต่อกันอีก"หลังจากที่จำเลยได้เข้าทำการผลิตและเสนอข่าวตามสัญญาจ้างเหมาให้แก่โจทก์แล้วปรากฏว่าการปฏิบัติการของจำเลยได้ก่อให้เกิดความไม่พอใจแก่พนักงานในสังกัดของโจทก์จนประธานสหภาพแรงงานองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยได้มีหนังสือถึงประธานกรรมการองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยใจความว่าเพื่อเป็นการยุติปัญหาที่จะเกิดผลกระทบต่อภาพพจน์ของโจทก์ในทางเสียหายขอให้บอกเลิกสัญญาจ้างเหมาที่โจทก์ทำกับจำเลยโดยเร็วและให้เร่งรัดปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตข่าวของโจทก์ด้วยนอกจากนั้นผู้บริหารของโจทก์ต่างเห็นพ้องต้องกันว่ามีการกระทำที่ไม่สมควรในการเสนอข่าวของจำเลยจึงเสนอให้ยกเลิกสัญญาจ้างเหมาที่โจทก์ทำกับจำเลยคณะกรรมการของโจทก์จึงมีการประชุมร่วมกันกับผู้บริหารและพนักงานของโจทก์เพื่อพิจารณาเรื่องนี้ที่ประชุมมีมติให้โจทก์ปฏิบัติภาระกิจในการผลิตและเสนอข่าวสารด้วยตนเองสำหรับปัญหาที่โจทก์มีอยู่กับจำเลยนั้นให้ดำเนินการให้ถูกต้องเป็นธรรมตามบทบัญญัติของกฎหมายต่อไปโดยได้ตั้งคณะทำงานขึ้นประมวลเรื่องทั้งหมดเสนอรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีผู้กำกับดูแลโจทก์อยู่จึงได้ทำบันทึกเสนอนายกรัฐมนตรีโดยระบุว่ามีปัญหาเนื่องจากการจัดทำและเสนอข่าวของโจทก์ยังไม่มีนโยบายที่แน่นอนและเดิมโจทก์ได้จ้างเหมาให้บริษัทเอกชนช่วยผลิตและเสนอข่าวซึ่งก่อให้เกิดปัญหามาโดยตลอดโดยเฉพาะปัญหาการจัดทำข่าวที่ไม่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและทำให้โจทก์เสียผลประโยชน์โดยไม่สมควรจึงเห็นว่ามีความจำเป็นต้องกำหนดนโยบายให้โจทก์จัดทำและเสนอข่าวด้วยตนเองและห้ามมิให้จ้างเอกชนจัดทำและเสนอข่าวขอโปรดนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาและกำหนดเป็นนโยบายให้โจทก์ถือปฏิบัติต่อไปดังนั้นเอกสารดังกล่าวเป็นเรื่องที่รัฐมนตรีผู้มีหน้าที่ควบคุมกำกับดูแลในฐานะประธานกรรมการของโจทก์เสนอต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อให้นำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีกำหนดเป็นนโยบายให้โจทก์ถือปฏิบัติเอกสารนี้มิได้ทำขึ้นเองโดยพลการแต่อาศัยข้อมูลและเหตุผลที่ได้รับมาจากพนักงานและผู้บริหารของโจทก์เองโดยตรงไม่มีข้อความตอนใดที่ระบุกล่าวหาว่าจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาจ้างเหมาที่ทำไว้กับโจทก์จึงหาใช่เอกสารที่มีข้อความไม่ตรงกับความเป็นจริงหรือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบควบคุมกำกับดูแลโจทก์ไม่การที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบด้วยกับข้อเสนอของรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าวและมีมติกำหนดเป็นนโยบายให้โจทก์จัดทำและเสนอข่าวด้วยตนเองและห้ามมิให้จ้างเอกชนจัดทำและเสนอข่าวอีกต่อไปย่อมเป็นอำนาจของฝ่ายบริหารที่จะกระทำได้และผูกพันผู้บริหารของโจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีที่จะต้องปฏิบัติตามการที่ผู้อำนวยการโจทก์มีหนังสือแจ้งมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวให้จำเลยทราบและกำหนดให้มีการเจรจาหาทางแก้ไขปัญหาระหว่างโจทก์จำเลยจึงเป็นการปฏิบัติตามสัญญาจ้างเหมา8ดังกล่าวข้างต้นและตามนโยบายของรัฐบาลหาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหรือทำผิดสัญญาไม่ ข้อสัญญาข้อ8ดังกล่าวเป็นเงื่อนไขบังคับหลังของสัญญาจ้างเหมาหากมีเหตุการณ์ใดที่นอกเหนืออำนาจของโจทก์ผู้ว่าจ้างเกิดขึ้นทำให้โจทก์ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญานี้ต่อไปอีกได้ก็ให้มีการเจรจากันระหว่างคู่สัญญาหากตกลงกันไม่ได้ภายในระยะเวลา3เดือนนับแต่วันเริ่มต้นเจรจาแล้วให้สัญญาจ้างเหมาสิ้นสุดลงการที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้โจทก์จัดทำและเสนอข่าวด้วยตนเองและห้ามมิให้จ้างเอกชนจัดทำและเสนอข่าวอีกต่อไปถือได้ว่าเป็นเหตุการณ์ที่นอกเหนืออำนาจของโจทก์ทำให้โจทก์ผู้ว่าจ้างไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาจ้างเหมาต่อไปอีกได้เป็นกรณีที่เงื่อนไขสำเร็จแล้วโจทก์จึงได้นัดให้มีการเจรจาตกลงกันในวันที่8กุมภาพันธ์2532ซึ่งถือเป็นวันเริ่มต้นการเจรจาหากภายในกำหนด3เดือนนับแต่วันดังกล่าวโจทก์จำเลยยังไม่อาจตกลงกันได้สัญญาจ้างเหมาย่อมสิ้นผลระยะเวลา3เดือนแม้จะเป็นเงื่อนเวลาที่กำหนดไว้ให้สัญญาสิ้นสุดแต่ถึงอย่างไรนิติกรรมสัญญาจ้างเหมาก็ต้องสิ้นสุดลงเพราะเงื่อนไขบังคับหลังได้สำเร็จแล้วดังกล่าวข้างต้นโจทก์ย่อมไม่อาจสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาเพื่อให้สัญญามีผลต่อไปได้เพราะจะเป็นการขัดต่อมติคณะรัฐมนตรีทั้งการที่มีการนัดเจรจาครั้งสุดท้ายในวันที่25พฤษภาคม2532แต่โจทก์ไม่ยอมเจรจาโดยแจ้งว่าสัญญาจ้างเหมาสิ้นสุดแล้วแต่วันที่8พฤษภาคม2532ก็ดีและโจทก์เรียกร้องค่าใช้เครื่องมือและอุปกรณ์จากจำเลยจนถึงวันที่8พฤษภาคม2532อันเป็นวันสุดท้ายที่สัญญาดังกล่าวมีผลบังคับก็ดีล้วนเป็นการแสดงว่าโจทก์หาได้สละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาที่ให้สัญญาสิ้นสุดลงตามที่กำหนดไว้ในสัญญาไม่อีกทั้งจำเลยเองก็ยอมรับว่าโจทก์ต้องการให้สัญญาจ้างเหมาสิ้นผลโดยเร็วเพื่อจะได้ไม่ต้องจ้างจำเลยต่อไปดังนั้นพฤติการณ์ยังไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ได้สละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาแล้ว ตามสัญญาข้อ8ภายหลังที่เงื่อนไขสำเร็จแล้วคงกำหนดเพียงให้คู่สัญญาทำการเจรจาหาทางแก้ไขปัญหาในทางที่จะก่อให้เกิดข้อตกลงที่เป็นธรรมแก่ทั้งสองฝ่ายเท่านั้นหาได้บังคับให้คู่สัญญาต้องทำความตกลงกันแต่อย่างใดไม่การบรรลุข้อตกลงกันระหว่างคู่สัญญาจะต้องเป็นการเห็นพ้องร่วมกันทั้งสองฝ่ายการที่ฝ่ายหนึ่งยื่นข้อเสนอแต่อีกฝ่ายไม่ยอมรับย่อมไม่อาจถือเป็นข้อยุติหรือข้อตกลงระหว่างกันได้และจะถือว่าฝ่ายที่ไม่ยอมรับข้อเสนอใช้สิทธิไม่สุจริตหาได้ไม่เว้นแต่จะปรากฏข้อเท็จจริงชัดแจ้งเช่นนั้นซึ่งในกรณีนี้ปรากฏว่าโจทก์ต้องการให้จำเลยยื่นข้อเสนอมาว่าเสียหายเป็นตัวเงินเท่าใดเพื่อพิจารณาแต่จำเลยต้องการให้โจทก์ตกลงให้จำเลยเช่าเวลาเพื่อทำรายการต่อไปเห็นได้ว่าทั้งสองฝ่ายต่างมีหลักการไม่ตรงกันข้อตกลงจึงไม่เกิดขึ้นหาใช่โจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริตกลั่นแกล้งจำเลยไม่เมื่อการเจรจาได้ล่วงพ้นกำหนด3เดือนโดยไม่สามารถตกลงกันได้เช่นนี้สัญญาจ้างเหมาจึงต้องเลิกกันตามสัญญาข้อ8

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9350/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายลิฟต์มีผลเมื่อผู้รับเหมาหลักลงนามในสัญญารับเหมาช่วงกับจำเลย สัญญาจึงสมบูรณ์
ข้อความในหนังสือยืนยันการซื้อขายที่ว่าเมื่อได้มีการทำสัญญาหลักแล้วโจทก์จะแจ้งให้ผู้รับเหมาหลักลงนามในสัญญารับเหมาช่วงกับจำเลยนั้นเป็นข้อความแห่งสัญญาอันโจทก์ผู้เป็นคู่สัญญาแม้เพียงฝ่ายเดียวได้แสดงไว้ว่าเป็นสาระหลักได้ลงนามในสัญญารับเหมาช่วงกับจำเลยสัญญาซื้อขายลิฟต์และอุปกรณ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงยังมิได้มีการตกลงกันได้หมดทุกข้อต้องถือว่าโจทก์กับจำเลยยังมิได้มีสัญญาซื้อขายดังกล่าวต่อกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา366วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9350/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายไม่สมบูรณ์ หากเงื่อนไขสำคัญยังไม่ตกลงกัน
ข้อความในหนังสือยืนยันการซื้อขายที่ว่า เมื่อได้มีการทำสัญญาหลักแล้ว โจทก์จะแจ้งให้ผู้รับเหมาหลักลงนามในสัญญารับเหมาช่วงกับจำเลยนั้น เป็นข้อความแห่งสัญญาอันโจทก์ผู้เป็นคู่สัญญาแม้เพียงฝ่ายเดียวได้แสดงไว้ว่าเป็นสาระสำคัญอันจะต้องตกลงกันหมดทุกข้อ เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้รับเหมาหลักได้ลงนามในสัญญารับเหมาช่วงกับจำเลย สัญญาซื้อขายลิฟต์และอุปกรณ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงยังมิได้มีการตกลงกันได้หมดทุกข้อ ต้องถือว่าโจทก์กับจำเลยยังมิได้มีสัญญาซื้อขายดังกล่าวต่อกัน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 366 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9239/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารจำนองเป็นเอกสารมหาชน สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยตามสัญญา
เอกสารการจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นเอกสารมหาชนซึ่งป.วิ.พ.มาตรา 127 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เป็นหน้าที่ของจำเลยที่ถูกเอกสารมายันจะต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสาร แต่จำเลยไม่มีพยานหลักฐานอย่างใด ดังนั้น โจทก์จึงนำสืบผู้รับมอบอำนาจโจทก์ประกอบเอกสารดังกล่าวก็เป็นการเพียงพอแล้ว ไม่จำต้องนำสืบเจ้าพนักงานที่ดินผู้จดทะเบียนอีก
โจทก์เป็นสถาบันการเงิน มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการเงินทุนโดยได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลัง การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยตามข้อตกลงในสัญญากู้เงินเป็นความสมัครใจของจำเลยเอง อันเป็นการตกลงในเรื่องดอกเบี้ยสองลักษณะคือดอกเบี้ยปกติ (ร้อยละ 14.5 ต่อปี )กับดอกเบี้ยผิดนัด (ร้อยละ 18.5 ต่อปี)หากจำเลยได้ชำระหนี้ตามปกติโจทก์ย่อมไม่คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด แต่เมื่อจำเลยผิดนัดโจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยเอาแก่จำเลยในอัตราผิดนัดตามที่ตกลงกันส่วนดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามหนังสือต่ออายุสัญญานั้น โจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 ได้ตาม พ.ร.บ.ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ.2523และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่อง การกำหนดให้บริษัทเงินทุนปฏิบัติในการกู้ยืมเงินหรือรับเงินจากประชาชนและการกำหนดอัตราดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่บริษัทเงินทุนอาจจ่ายหรืออาจเรียกได้ ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2533 ข้อตกลงเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวตามสัญญากู้เงินย่อมผูกพันใช้บังคับกันได้ หาใช่เป็นเบี้ยปรับเป็นการเอารัดเอาเปรียบประชาชนไม่ จำเลยทั้งสองต้องร่วมกันรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9239/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองที่ดิน-สัญญากู้-ดอกเบี้ย-สถาบันการเงิน-การบังคับจำนอง: สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยเป็นไปตามข้อตกลงและกฎหมาย
เอกสารการจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นเอกสารมหาชนซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา127ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ถูกเอกสารมายันจะต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารแต่จำเลยไม่มีพยานหลักฐานอย่างใดดังนั้นโจทก์จึงนำสืบผู้รับมอบอำนาจโจทก์ประกอบเอกสารดังกล่าวก็เป็นการเพียงพอแล้วไม่จำต้องนำสืบเจ้าพนักงานที่ดินผู้จดทะเบียนอีก โจทก์เป็นสถาบันการเงินมีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการเงินทุนโดยได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังการที่โจทก์คิดดอกเบี้ยตามข้อตกลงในสัญญากู้เงินเป็นความสมัครใจของจำเลยเองอันเป็นการตกลงในเรื่องดอกเบี้ยสองลักษณะคือดอกเบี้ยปกติ(ร้อยละ14.5ต่อปี)กับดอกเบี้ยผิดนัด(ร้อยละ18.5ต่อปี)หากจำเลยได้ชำระหนี้ตามปกติโจทก์ย่อมไม่คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นแต่อย่างใดแต่เมื่อจำเลยผิดนัดโจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยเอาแก่จำเลยในอัตราผิดนัดตามที่ตกลงกันส่วนดอกเบี้ยอัตราร้อยละ19ต่อปีตามหนังสือต่ออายุสัญญานั้นโจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยที่1ได้ตามพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินพ.ศ.2523และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่องการกำหนดให้บริษัทเงินทุนปฏิบัติในการกู้ยืมเงินหรือรับเงินจากประชาชนและการกำหนดอัตราดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่บริษัทเงินทุนอาจจ่ายหรืออาจเรียกได้ลงวันที่20พฤศจิกายน2533ข้อตกลงเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวตามสัญญากู้เงินย่อมผูกพันใช้บังคับกันได้หาใช่เป็นเบี้ยปรับเป็นการเอารัดเอาเปรียบประชาชนไม่จำเลยทั้งสองต้องร่วมกันรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ19ต่อปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9186/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อ: ราคารถส่วนที่ขาด, ค่าขาดประโยชน์, ค่าติดตามยึดรถ มีอายุความ 10 ปี
โจทก์ฟ้องเรียกราคารถส่วนที่ขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อซึ่งไม่ใช่ค่าเสียหายจากการที่จำเลยไม่สงวนรักษาทรัพย์สินที่เช่าซื้อจนเป็นเหตุให้ชำรุดบุบสลายอันจะต้องนำอายุความ6 เดือน ในลักษณะเช่าทรัพย์มาใช้บังคับ ส่วนค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถก็เป็นค่าเสียหายที่โจทก์ไม่ได้ใช้รถระหว่างที่จำเลยปฏิบัติผิดสัญญาและภายหลังสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้วก่อนที่จะยึดรถคืนมาได้ มิใช่ฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระและสำหรับค่าใช้จ่ายในการติดตามยึดรถคืนเป็นค่าเสียหายที่จำเลยจะต้องรับผิดชดใช้ให้แก่โจทก์เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันและไม่ส่งมอบรถคืน การฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายดังกล่าวข้างต้นล้วนมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9136/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสั่งการของนายกเทศมนตรีเรื่องการถอนการสมัครรับเลือกตั้งสภาเทศบาล ต้องเป็นไปตามข้อเท็จจริงและกฎหมาย
คำสั่งของจำเลยซึ่งเป็นนายกเทศมนตรีของเทศบาลโจทก์ถ้าสั่งไปตามข้อเท็จจริงและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ย่อมไม่ใช่การกระทำโดยมิชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
of 116