พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,157 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9117/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีพิพาทที่ดินระหว่างรัฐกับเอกชน ต้องอาศัยพยานหลักฐานทางศาลมากกว่าพยานจากคณะกรรมการสอบสวน
แม้จะเป็นคดีที่มีข้อพิพาทระหว่างรัฐกับเอกชนและคำสั่งฉบับพิพาทจะเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของประชาชนโดยส่วนรวม แต่การฟังพยานหลักฐานของศาลย่อมต้องเป็นไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พยานหลักฐานของจำเลยคือบันทึกถ้อยคำที่บุคคลให้การไว้ต่อคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงที่ทางราชการแต่งตั้งขึ้นย่อมรับฟังได้ แต่น้ำหนักของพยานหลักฐานดังกล่าวมีน้อยกว่าการที่ฝ่ายจำเลยจะนำบุคคลดังกล่าวมาเบิกความในศาล เพราะเป็นเพียงพยานบอกเล่า เมื่อจำเลยไม่มีพยานบุคคลมาเบิกความยืนยันข้อเท็จจริงที่ปรากฏในบันทึกคำให้การนั้น บันทึกคำให้การดังกล่าวจึงมีน้ำหนักน้อย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9117/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานในคดีพิพาทระหว่างรัฐและเอกชน ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ป.วิ.พ. แม้เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์สาธารณะ
แม้คดีนี้จะเป็นข้อพิพาทระหว่างรัฐกับเอกชนและคำสั่งจังหวัด-กาญจนบุรีที่ 1139/2532 ที่ให้แก้ไขหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาททั้งสี่แปลงเพราะออกทับหนองน้ำสาธารณะหนองแฟบจะเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของประชาชนโดยส่วนรวมก็ตาม แต่การฟังพยานหลักฐานของศาลยุติธรรมย่อมต้องเป็นไปตามนัยของ ป.วิ.พ. บันทึกถ้อยคำที่บุคคลให้การไว้ต่อคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงที่ทางราชการแต่งตั้งขึ้นนั้นย่อมรับฟังได้ แต่น้ำหนักของพยานหลักฐานดังกล่าวมีน้อยกว่าการที่ฝ่ายผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรีจำเลยจะนำบุคคลดังกล่าวมาเบิกความในศาลเพราะเป็นเพียงพยานบอกเล่า
ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ได้อุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้วนั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ถึงเรื่องดังกล่าวไว้จึงไม่เป็นประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยให้
ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ได้อุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้วนั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ถึงเรื่องดังกล่าวไว้จึงไม่เป็นประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7276/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การประเมินค่าทดแทนเมื่อที่ดินส่วนที่เหลือมีราคาสูงขึ้นจากการเวนคืน
กรณีของโจทก์ขณะที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่295ลงวันที่28พฤศจิกายนพ.ศ.2515(ฉบับที่2)พ.ศ.2530มีผลใช้บังคับการดำเนินการตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างและขยายทางหลวงเทศบาลฯยังไม่เสร็จสิ้นเพราะกรุงเทพมหานครจำเลยยังไม่ได้กำหนดค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนดังนั้นการดำเนินการต่อไปจึงต้องบังคับตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ทั้งนี้เป็นไปตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่295ลงวันที่28พฤศจิกายนพ.ศ.2515(ฉบับที่2)พ.ศ.2530มาตรา9วรรคสองและพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา36วรรคสองแม้ต้องบังคับตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ซึ่งขณะที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์นั้นยังไม่มีการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดวิธีการคำนวณว่าอสังหาริมทรัพย์ใดมีราคาสูงขึ้นหรือลดลงออกใช้บังคับก็ตามแต่พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา21วรรคสองบัญญัติว่าถ้าการงานหรือกิจการอย่างใดที่ทำไปในการเวนคืนได้กระทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลืออยู่นั้นมีราคาสูงขึ้นให้เอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทนและวรรคสามบัญญัติว่าถ้าต้องเวนคืนอสังหาริมทรัพย์แต่เพียงส่วนหนึ่งและส่วนที่เหลือนั้นราคาลดลงให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้เฉพาะสำหรับส่วนที่เหลืออันราคาลดลงนั้นด้วยมาตรา21วรรคสองและวรรคสามนี้เป็นบทบัญญัติที่เป็นหลักการในการสนับสนุนให้การเวนคืนเป็นไปตามด้วยความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมโดยสมบูรณ์เมื่อปรากฏว่าการเวนคืนทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลืออยู่มีราคาสูงขึ้นแล้วหากไม่นำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทนก็จะทำให้ผู้ถูกเวนคืนได้รับผลประโยชน์จากการเวนคืนแต่ฝ่ายเดียวในทางตรงกันข้ามหากอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือนั้นราคาลดลงแล้วหากผู้ถูกเวนคืนไม่ได้รับเงินค่าทดแทนในส่วนนี้ก็ย่อมไม่เป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนซึ่งขัดต่อหลักการสำคัญของมาตรา21วรรคหนึ่งที่ให้กำหนดค่าทดแทนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมส่วนมาตรา21วรรคสี่นั้นเป็นเพียงวิธีการที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของมาตรา21วรรคหนึ่งเท่านั้นแม้ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณออกใช้บังคับแล้วตามมาตรา21วรรคสี่ก็ไม่ใช่กรณีที่จะทำให้หลักการตามมาตรา21วรรคสองและวรรคสามใช้ไม่ได้หากปรากฏชัดว่าที่ดินในส่วนที่เหลือของโจทก์มีราคาสูงขึ้นเพราะการเวนคืนแล้วฝ่ายจำเลยและศาลย่อมนำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทนที่โจทก์ได้รับได้ การเวนคืนที่ดินรายพิพาทนี้เป็นกรณีที่มีการใช้บังคับพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างและขยายทางหลวงเทศบาลฯโดยมิได้มีการออกพระราชกฤษฎีกาและพระราชบัญญัตินี้มิได้กำหนดเรื่องเงินค่าทดแทนไว้เป็นอย่างอื่นกรณีจึงต้องตามมาตรา23แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ซึ่งหลักเกณฑ์ในการกำหนดค่าทดแทนต้องอนุโลมตามมาตรา21เมื่อที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนบางส่วนทำให้มีถนนผ่ากลางที่ดินที่ดินส่วนที่เหลือทั้งสองข้างกลายเป็นที่ดินติดถนนใหญ่กว้าง40เมตรคล้ายคลึงหรือใกล้เคียงกับถนนเพชรบุรีตัดใหม่โดยสภาพดังกล่าวย่อมเห็นประจักษ์ว่าที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนของโจทก์จะต้องมีราคาสูงขึ้นอย่างแน่นอนและพอจะนำมาเทียบเคียงกับราคาที่ดินที่ติดกับถนนเพชรบุรีตัดใหม่ได้และจำเลยคำนวณราคาที่ดินที่สูงขึ้นเฉพาะส่วนที่ลึกจากริมถนนตัดใหม่ไม่เกิน20เมตรเท่านั้นเป็นเนื้อที่212ตารางวาเป็นประโยชน์แก่โจทก์มากกว่าในบัญชีกำหนดราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและนิติกรรมฯซึ่งกำหนดราคาในลักษณะนี้ไว้ไม่เกิน40เมตรอัตราส่วนของราคาประเมินที่ดินติดริมถนนเพชรบุรีกับราคาประเมินที่ดินติดถนนซอยสาธารณะลึกจากถนนเพชรบุรีตัดใหม่เข้าไปไม่เกิน1กิโลเมตรตามบัญชีดังกล่าวทั้งหมดข้างต้นมีอัตราส่วนไม่ต่ำกว่า4:1จำนวนเนื้อที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนของโจทก์ที่มีราคาสูงขึ้นมีมากกว่าจำนวนที่ดินที่ถูกเวนคืนของโจทก์คือ212:166.5ทั้งที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาประเมินต่อตารางวาสูงขึ้นจากเดิมมากกว่า3เท่าตัวและอัตราส่วนของราคาที่ดินดังกล่าวที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของแต่ละช่วงเวลาที่นำมาเปรียบเทียบข้างต้นคงมีอัตราส่วนที่ใกล้เคียงกันด้วยจึงเห็นได้ว่าการกำหนดค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนของโจทก์โดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามมาตรา21แล้วแม้วันอันเป็นฐานที่ตั้งในการกำหนดเงินค่าทดแทนจะเปลี่ยนไปไม่ว่าจะเป็นวันใช้บังคับพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างและขยายทางหลวงเทศบาลฯคือวันที่1มกราคม2522หรือวันหนึ่งวันใดหลังจากนั้นจนถึงวันฟ้องคือวันที่22กันยายน2535ก็ตามผลก็จะปรากฏเหมือนกันว่าที่ดินที่เหลือจากการถูกเวนคืนของโจทก์มีราคาสูงขึ้นจากเดิมอันเนื่องจากการเวนคืนตัดถนนเกินกว่าจำนวนเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่ถูกเวนคืนของโจทก์เสมอโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนที่ถูกเวนคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7276/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: หลักการกำหนดค่าทดแทนที่ยุติธรรมเมื่อราคาที่ดินที่เหลือสูงขึ้นจากการเวนคืน
กรณีของโจทก์ขณะที่ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2515 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2530 มีผลใช้บังคับการดำเนินการตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างและขยายทางหลวง-เทศบาลฯ ยังไม่เสร็จสิ้น เพราะกรุงเทพมหานครจำเลยยังไม่ได้กำหนดค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืน ดังนั้น การดำเนินการต่อไปจึงต้องบังคับตามบทบัญญัติของพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ทั้งนี้เป็นไปตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2515(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2530 มาตรา 9 วรรคสอง และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหา-ริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 36 วรรคสอง แม้ต้องบังคับตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ซึ่งขณะที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์นั้นยังไม่มีการตรา พ.ร.ฎ.กำหนดวิธีการคำนวณว่าอสังหาริมทรัพย์ใดมีราคาสูงขึ้นหรือลดลงออกใช้บังคับก็ตาม แต่ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา21 วรรคสอง บัญญัติว่า ถ้าการงานหรือกิจการอย่างใด ที่ทำไปในการเวนคืน ได้กระทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลืออยู่นั้นมีราคาสูงขึ้นให้เอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทน...และวรรคสามบัญญัติว่า ถ้าต้องเวนคืนอสังหาริมทรัพย์แต่เพียงส่วนหนึ่ง และส่วนที่เหลือนั้นราคาลดลงให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้เฉพาะสำหรับส่วนที่เหลืออันราคาลดลงนั้นด้วย มาตรา 21 วรรคสองและวรรคสามนี้เป็นบทบัญญัติที่เป็นหลักการในการสนับสนุนให้การเวนคืนเป็นไปตามด้วยความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมโดยสมบูรณ์เมื่อปรากฏว่าการเวนคืนทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลืออยู่มีราคาสูงขึ้นแล้วหากไม่นำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทน ก็จะทำให้ผู้ถูกเวนคืนได้รับผลประโยชน์จากการเวนคืนแต่ฝ่ายเดียว ในทางตรงกันข้าม หากอสังหา-ริมทรัพย์ส่วนที่เหลือนั้นราคาลดลงแล้วหากผู้ถูกเวนคืนไม่ได้รับเงินค่าทดแทนในส่วนนี้ ก็ย่อมไม่เป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนซึ่งขัดต่อหลักการสำคัญของมาตรา 21วรรคหนึ่ง ที่ให้กำหนดค่าทดแทนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม ส่วนมาตรา 21 วรรคสี่ นั้น เป็นเพียงวิธีการที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของมาตรา 21 วรรคหนึ่ง เท่านั้น แม้ยังไม่มี พ.ร.ฎ.กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณออกใช้บังคับแล้วตามมาตรา 21 วรรคสี่ ก็ไม่ใช่กรณีที่จะทำให้หลักการตามมาตรา 21 วรรคสอง และวรรคสาม ใช้ไม่ได้หากปรากฏชัดว่าที่ดินในส่วนที่เหลือของโจทก์มีราคาสูงขึ้นเพราะการเวนคืนแล้วฝ่ายจำเลยและศาลย่อมนำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทนที่โจทก์ได้รับได้
การเวนคืนที่ดินรายพิพาทนี้เป็นกรณีที่มีการใช้บังคับ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างและขยายทางหลวงเทศบาลฯ โดยมิได้มีการออกพ.ร.ฎ.และ พ.ร.บ.นี้มิได้กำหนดเรื่องเงินค่าทดแทนไว้เป็นอย่างอื่น กรณีจึงต้องตามมาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530ซึ่งหลักเกณฑ์ในการกำหนดค่าทดแทนต้องอนุโลมตามมาตรา 21 เมื่อที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนบางส่วนทำให้มีถนนผ่ากลางที่ดิน ที่ดินส่วนที่เหลือทั้งสองข้างกลายเป็นที่ดินติดถนนใหญ่กว้าง 40 เมตร คล้ายคลึงหรือใกล้เคียงกับถนนเพชรบุรีตัดใหม่โดยสภาพดังกล่าวย่อมเห็นประจักษ์ว่าที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนของโจทก์จะต้องมีราคาสูงขึ้นอย่างแน่นอน และพอจะนำมาเทียบเคียงกับราคาที่ดินที่ติดกับถนนเพชรบุรีตัดใหม่ได้ และจำเลยคำนวณราคาที่ดินที่สูงขึ้นเฉพาะส่วนที่ลึกจากริมถนนตัดใหม่ไม่เกิน 20 เมตร เท่านั้นเป็นเนื้อที่ 212 ตารางวา เป็นประโยชน์แก่โจทก์มากกว่าในบัญชีกำหนดราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและนิติกรรมฯซึ่งกำหนดราคาในลักษณะนี้ไว้ไม่เกิน 40 เมตรอัตราส่วนของราคาประเมินที่ดินติดริมถนนเพชรบุรีกับราคาประเมินที่ดินติดถนนซอยสาธารณะลึกจากถนนเพชรบุรีตัดใหม่เข้าไปไม่เกิน 1 กิโลเมตร ตามบัญชีดังกล่าวทั้งหมดข้างต้นมีอัตราส่วนไม่ต่ำกว่า 4 : 1 จำนวนเนื้อที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนของโจทก์ที่มีราคาสูงขึ้นมีมากกว่าจำนวนที่ดินที่ถูกเวนคืนของโจทก์คือ212 : 166.5 ทั้งที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาประเมินต่อตารางวาสูงขึ้นจากเดิมมากกว่า 3 เท่าตัว และอัตราส่วนของราคาที่ดินดังกล่าวที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของแต่ละช่วงเวลาที่นำมาเปรียบเทียบข้างต้น คงมีอัตราส่วนที่ใกล้เคียงกันด้วย จึงเห็นได้ว่าการกำหนดค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนของโจทก์โดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 แล้ว แม้วันอันเป็นฐานที่ตั้งในการกำหนดเงินค่าทดแทนจะเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นวันใช้บังคับ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหา-ริมทรัพย์เพื่อสร้างและขยายทางหลวงเทศบาลฯ คือวันที่ 1 มกราคม 2522หรือวันหนึ่งวันใดหลังจากนั้น จนถึงวันฟ้องคือวันที่ 22 กันยายน 2535 ก็ตามผลก็จะปรากฏเหมือนกันว่า ที่ดินที่เหลือจากการถูกเวนคืนของโจทก์มีราคาสูงขึ้นจากเดิม อันเนื่องจากการเวนคืนตัดถนนเกินกว่าจำนวนเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่ถูกเวนคืนของโจทก์เสมอ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนที่ถูกเวนคืน
การเวนคืนที่ดินรายพิพาทนี้เป็นกรณีที่มีการใช้บังคับ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างและขยายทางหลวงเทศบาลฯ โดยมิได้มีการออกพ.ร.ฎ.และ พ.ร.บ.นี้มิได้กำหนดเรื่องเงินค่าทดแทนไว้เป็นอย่างอื่น กรณีจึงต้องตามมาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530ซึ่งหลักเกณฑ์ในการกำหนดค่าทดแทนต้องอนุโลมตามมาตรา 21 เมื่อที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนบางส่วนทำให้มีถนนผ่ากลางที่ดิน ที่ดินส่วนที่เหลือทั้งสองข้างกลายเป็นที่ดินติดถนนใหญ่กว้าง 40 เมตร คล้ายคลึงหรือใกล้เคียงกับถนนเพชรบุรีตัดใหม่โดยสภาพดังกล่าวย่อมเห็นประจักษ์ว่าที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนของโจทก์จะต้องมีราคาสูงขึ้นอย่างแน่นอน และพอจะนำมาเทียบเคียงกับราคาที่ดินที่ติดกับถนนเพชรบุรีตัดใหม่ได้ และจำเลยคำนวณราคาที่ดินที่สูงขึ้นเฉพาะส่วนที่ลึกจากริมถนนตัดใหม่ไม่เกิน 20 เมตร เท่านั้นเป็นเนื้อที่ 212 ตารางวา เป็นประโยชน์แก่โจทก์มากกว่าในบัญชีกำหนดราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและนิติกรรมฯซึ่งกำหนดราคาในลักษณะนี้ไว้ไม่เกิน 40 เมตรอัตราส่วนของราคาประเมินที่ดินติดริมถนนเพชรบุรีกับราคาประเมินที่ดินติดถนนซอยสาธารณะลึกจากถนนเพชรบุรีตัดใหม่เข้าไปไม่เกิน 1 กิโลเมตร ตามบัญชีดังกล่าวทั้งหมดข้างต้นมีอัตราส่วนไม่ต่ำกว่า 4 : 1 จำนวนเนื้อที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนของโจทก์ที่มีราคาสูงขึ้นมีมากกว่าจำนวนที่ดินที่ถูกเวนคืนของโจทก์คือ212 : 166.5 ทั้งที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาประเมินต่อตารางวาสูงขึ้นจากเดิมมากกว่า 3 เท่าตัว และอัตราส่วนของราคาที่ดินดังกล่าวที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของแต่ละช่วงเวลาที่นำมาเปรียบเทียบข้างต้น คงมีอัตราส่วนที่ใกล้เคียงกันด้วย จึงเห็นได้ว่าการกำหนดค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนของโจทก์โดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 แล้ว แม้วันอันเป็นฐานที่ตั้งในการกำหนดเงินค่าทดแทนจะเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นวันใช้บังคับ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหา-ริมทรัพย์เพื่อสร้างและขยายทางหลวงเทศบาลฯ คือวันที่ 1 มกราคม 2522หรือวันหนึ่งวันใดหลังจากนั้น จนถึงวันฟ้องคือวันที่ 22 กันยายน 2535 ก็ตามผลก็จะปรากฏเหมือนกันว่า ที่ดินที่เหลือจากการถูกเวนคืนของโจทก์มีราคาสูงขึ้นจากเดิม อันเนื่องจากการเวนคืนตัดถนนเกินกว่าจำนวนเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่ถูกเวนคืนของโจทก์เสมอ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนที่ถูกเวนคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7275/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การกำหนดราคาค่าทดแทนตามราคาตลาดและดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารออมสิน
การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเพราะโจทก์ไม่พอใจจำนวนเงินค่่าทดแทนที่คณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นฯกำหนดโจทก์โจทก์อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแล้วแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน60วันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์และโจทก์นำคดีมาฟ้องต่อศาลภายใน1ปีนับแต่วันที่พ้นกำหนด60วันนับแต่วันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้รับคำอุทธรณ์ทั้งคดีไม่ปรากฎว่าโจทก์ทราบว่ามีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขจำนวนเงินค่าทดแทนดังนี้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยโดยไม่จำต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอีกครั้งหนึ่งก่อน สัญญาซื้อขายที่ดิน1งาน50ตารางวาและสัญญาซื้อขายที่ดิน12ตารางวาโจทก์และจำเลยทำต่างวันกันและเป็นคนละฉบับต่างกันอีกทั้งคำอุทธรณ์ของโจทก์ฉบับลงวันที่21พฤษภาคม2534อุทธรณ์ขอให้เพิ่มค่าทดแทนที่ดิน1งาน50ตารางวาส่วนคำอุทธรณ์ของโจทก์ฉบับลงวันที่19กันยายน2534ก็อุทธรณ์ขอให้เพิ่มค่าทดแทนเฉพาะที่ดิน12ตารางวาเป็นอีกฉบับหนึ่งต่างหากและเป็นคำอุทธรณ์ที่พ้นระยะเวลา60วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนที่ดิน1งาน50ตารางวาดังนี้จึงถือไม่ได้ว่าคำอุทธรณ์ค่าทดแทนที่ดินจำนวน12ตารางวาเป็นส่วนหนึ่งของคำอุทธรณ์ค่าทดแทนที่ดินจำนวน1งาน50ตารางวาเมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ภายในกำหนดโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องต่อศาลขอให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนในส่วนนี้เพิ่มขึ้น เมื่อปรากฎว่ามีการกำหนดค่าทดแทนไว้เป็นพิเศษในพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะดังนี้การกำหนดเงินค่าทดแทนที่จะให้แก่โจทก์จึงต้องบังคับตามมาตรา21แห่งพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ซึ่งตามมาตรา21(1)ให้กำหนดเงินค่าทดแทนโดยคำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาออกตามมาตรา6ประกอบด้วยประการหนึ่งแต่ทั้งโจทก์และจำเลยนำสืบฟังไม่ได้ว่าราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินโจทก์ที่จะต้องถูกเวนคืนตามที่เป็นอยู่่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาคือวันที่1มกราคม2531เป็นราคาเท่าไรส่วนที่โจทก์นำสืบราคาซื้อขายที่ดินรวม68โฉนดก็ปรากฎว่าทีดินดังกล่าวเป็นที่ดินแปลงใหญ่อยู่ติดถนน3ด้านคือถนนเจริญกรุงถนนสีลมและถนนศรีเวียง แต่ที่ดินของโจทก์ติดซอยธนวัฒน์ มิได้ติดถนนใหญ่ทั้งระยะเวลาที่ซื้อขายก็เป็นเวลาภายหลังและห่างจากวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาถึง2ปีราคาประเมินก็เพียงตารางวาละ70,000บาทจึงไม่น่าเชื่อว่าราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินโจทก์ในวันที่1มกราคม2531จะเป็นตารางวาละ252,800บาทที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้โจทก์ได้รับค่่าทดแทนที่ดินเพิ่มเป็นตารางวาละ150,000บาทนั้นจึงเป็นการกำหนดเงินค่าทดแทนโดยได้คำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามมาตรา21(1)ถึง(5)เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนและสังคมแล้ว ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์โจทก์และจำเลยมิได้อุทธรณ์ในประเด็นนี้ทั้งศาลอุทธรณ์ก็มิได้วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยและศาลอุทธรณ์พิพากษาในตอนท้ายว่านอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแสดงว่าศาลอุทธรณ์ยังคงให้จำเลยชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นอยู่แต่อย่างไรก็ตามที่ศาลล่างทั้งสองให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีคงที่นั้นไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา26วรรคสามซึ่งบัญญัติให้โจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสิน ที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงแต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ7.5ต่อปีเนื่องจากโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาให้กำหนดอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นจากที่ศาลล่างทั้งสองกำหนด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7275/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: สิทธิค่าทดแทน, การกำหนดราคา, และดอกเบี้ยตามกฎหมาย
การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเพราะโจทก์ไม่พอใจจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนด โดยโจทก์อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแล้ว แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์และโจทก์นำคดีมาฟ้องต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันที่พ้นกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้รับคำอุทธรณ์ ทั้งคดีไม่ปรากฏว่าโจทก์ทราบว่ามีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขจำนวนเงินค่าทดแทน ดังนี้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยโดยไม่จำต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอีกครั้งหนึ่งก่อน
สัญญาซื้อขายที่ดิน 1 งาน 50 ตารางวา และสัญญาซื้อขายที่ดิน 12 ตารางวา โจทก์และจำเลยทำต่างวันกันและเป็นคนละฉบับต่างกันอีกทั้งคำอุทธรณ์ของโจทก์ฉบับลงวันที่ 21 พฤษภาคม 2534 อุทธรณ์ขอให้เพิ่มค่าทดแทนที่ดิน 1 งาน 50 ตารางวา ส่วนคำอุทธรณ์ของโจทก์ฉบับลงวันที่ 19กันยายน 2534 ก็อุทธรณ์ขอให้เพิ่มค่าทดแทนเฉพาะที่ดิน 12 ตารางวา เป็นอีกฉบับหนึ่งต่างหากและเป็นคำอุทธรณ์ที่พ้นระยะเวลา 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนที่ดิน 1 งาน 50 ตารางวา ดังนี้จึงถือไม่ได้ว่า คำอุทธรณ์ค่าทดแทนที่ดินจำนวน 12 ตารางวา เป็นส่วนหนึ่งของคำอุทธรณ์ค่าทดแทนที่ดินจำนวน 1 งาน 50 ตารางวา เมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ภายในกำหนด โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องต่อศาลขอให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนในส่วนนี้เพิ่มขึ้น
เมื่อปรากฏว่ามีการกำหนดค่าทดแทนไว้เป็นพิเศษใน พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะ ดังนี้ การกำหนดเงินค่าทดแทนที่จะให้แก่โจทก์จึงต้องบังคับตามมาตรา 21 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 ซึ่งตามมาตรา 21 (1) ให้กำหนดเงินค่าทดแทนโดยคำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับ พ.ร.ฎ.ออกตามมาตรา 6 ประกอบด้วยประการหนึ่ง แต่ทั้งโจทก์และจำเลยนำสืบฟังไม่ได้ว่าราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินของโจทก์ที่จะต้องถูกเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับ พ.ร.ฎ.คือวันที่ 1 มกราคม 2531เป็นราคาเท่าไร ส่วนที่โจทก์นำสืบราคาซื้อขายที่ดินรวม 68 โฉนด ก็ปรากฏว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินแปลงใหญ่อยู่ติดถนน 3 ด้าน คือถนนเจริญกรุง ถนนสีลม และถนนศรีเวียง แต่ที่ดินของโจทก์ติดซอยธนวัฒน์ มิได้ติดถนนใหญ่ ทั้งระยะเวลาที่ซื้อขายก็เป็นเวลาภายหลังและห่างจากวันใช้บังคับ พ.ร.ฎ.ถึง 2 ปี ราคาประเมินก็เพียงตารางวาละ 70,000 บาท จึงไม่น่าเชื่อว่าราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินโจทก์ในวันที่ 1 มกราคม 2531 จะเป็นตารางวาละ 252,800 บาทที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้โจทก์ได้รับค่าทดแทนที่ดินเพิ่มเป็นตารางวาละ 150,000 บาทนั้น จึงเป็นการกำหนดเงินค่าทดแทนโดยได้คำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 (1)ถึง (5) เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนและสังคมแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ โจทก์และจำเลยมิได้อุทธรณ์ในประเด็นนี้ ทั้งศาลอุทธรณ์ก็มิได้วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยและศาลอุทธรณ์พิพากษาในตอนท้ายว่า นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แสดงว่าศาลอุทธรณ์ยังคงให้จำเลยชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นอยู่ แต่อย่างไรก็ตามที่ศาลล่างทั้งสองให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีคงที่นั้น ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหา-ริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคสาม ซึ่งบัญญัติให้โจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีเนื่องจากโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาให้กำหนดอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นจากที่ศาลล่างทั้งสองกำหนด
สัญญาซื้อขายที่ดิน 1 งาน 50 ตารางวา และสัญญาซื้อขายที่ดิน 12 ตารางวา โจทก์และจำเลยทำต่างวันกันและเป็นคนละฉบับต่างกันอีกทั้งคำอุทธรณ์ของโจทก์ฉบับลงวันที่ 21 พฤษภาคม 2534 อุทธรณ์ขอให้เพิ่มค่าทดแทนที่ดิน 1 งาน 50 ตารางวา ส่วนคำอุทธรณ์ของโจทก์ฉบับลงวันที่ 19กันยายน 2534 ก็อุทธรณ์ขอให้เพิ่มค่าทดแทนเฉพาะที่ดิน 12 ตารางวา เป็นอีกฉบับหนึ่งต่างหากและเป็นคำอุทธรณ์ที่พ้นระยะเวลา 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนที่ดิน 1 งาน 50 ตารางวา ดังนี้จึงถือไม่ได้ว่า คำอุทธรณ์ค่าทดแทนที่ดินจำนวน 12 ตารางวา เป็นส่วนหนึ่งของคำอุทธรณ์ค่าทดแทนที่ดินจำนวน 1 งาน 50 ตารางวา เมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ภายในกำหนด โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องต่อศาลขอให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนในส่วนนี้เพิ่มขึ้น
เมื่อปรากฏว่ามีการกำหนดค่าทดแทนไว้เป็นพิเศษใน พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะ ดังนี้ การกำหนดเงินค่าทดแทนที่จะให้แก่โจทก์จึงต้องบังคับตามมาตรา 21 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 ซึ่งตามมาตรา 21 (1) ให้กำหนดเงินค่าทดแทนโดยคำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับ พ.ร.ฎ.ออกตามมาตรา 6 ประกอบด้วยประการหนึ่ง แต่ทั้งโจทก์และจำเลยนำสืบฟังไม่ได้ว่าราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินของโจทก์ที่จะต้องถูกเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับ พ.ร.ฎ.คือวันที่ 1 มกราคม 2531เป็นราคาเท่าไร ส่วนที่โจทก์นำสืบราคาซื้อขายที่ดินรวม 68 โฉนด ก็ปรากฏว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินแปลงใหญ่อยู่ติดถนน 3 ด้าน คือถนนเจริญกรุง ถนนสีลม และถนนศรีเวียง แต่ที่ดินของโจทก์ติดซอยธนวัฒน์ มิได้ติดถนนใหญ่ ทั้งระยะเวลาที่ซื้อขายก็เป็นเวลาภายหลังและห่างจากวันใช้บังคับ พ.ร.ฎ.ถึง 2 ปี ราคาประเมินก็เพียงตารางวาละ 70,000 บาท จึงไม่น่าเชื่อว่าราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินโจทก์ในวันที่ 1 มกราคม 2531 จะเป็นตารางวาละ 252,800 บาทที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้โจทก์ได้รับค่าทดแทนที่ดินเพิ่มเป็นตารางวาละ 150,000 บาทนั้น จึงเป็นการกำหนดเงินค่าทดแทนโดยได้คำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 (1)ถึง (5) เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนและสังคมแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ โจทก์และจำเลยมิได้อุทธรณ์ในประเด็นนี้ ทั้งศาลอุทธรณ์ก็มิได้วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยและศาลอุทธรณ์พิพากษาในตอนท้ายว่า นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แสดงว่าศาลอุทธรณ์ยังคงให้จำเลยชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นอยู่ แต่อย่างไรก็ตามที่ศาลล่างทั้งสองให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีคงที่นั้น ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหา-ริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคสาม ซึ่งบัญญัติให้โจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีเนื่องจากโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาให้กำหนดอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นจากที่ศาลล่างทั้งสองกำหนด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7223/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาอุทธรณ์ต้องโดยคู่ความที่ถูกต้อง ผู้รับมอบอำนาจจากผู้ประกันไม่มีสิทธิ
ศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้ผู้ประกันประกันตัวจำเลยไปในระหว่างอุทธรณ์ วันสุดท้ายที่จำเลยอาจยื่นอุทธรณ์ได้ ผู้รับมอบอำนาจจากผู้ประกันได้มายื่นคำร้องต่อศาลเมื่อเวลา 16.25 นาฬิกา ขอเลื่อนส่งตัวจำเลยและขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปเป็นเวลา 7 วัน ศาลชั้นต้นอนุญาต และจำเลยได้นำอุทธรณ์มายื่นภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาต แต่ผู้ประกันจำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์คดีนี้เพราะมิใช่คู่ความในคดี จึงไม่มีสิทธิร้องขอหรือมอบอำนาจให้ผู้อื่นร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ ดังนั้น คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์จึงไม่ชอบ ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้นตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ.มาตรา 198 เมื่อฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยมิได้ยื่นในกำหนด ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยและพิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยจึงชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 210 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7223/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาอุทธรณ์โดยผู้ไม่มีอำนาจทำให้การอุทธรณ์พ้นกำหนด ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยชอบแล้ว
ศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้ผู้ประกันประกันตัวจำเลยไปในระหว่างอุทธรณ์วันสุดท้ายที่จำเลยอาจยื่นอุทธรณ์ได้ผู้รับมอบอำนาจจากผู้ประกันได้มายื่นคำร้องต่อศาลเมื่อเวลา16.25นาฬิกาขอเลื่อนส่งตัวจำเลยและขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปเป็นเวลา7วันศาลชั้นต้นอนุญาตและจำเลยได้นำอุทธรณ์มายื่นภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตแต่ผู้ประกันจำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์คดีนี้เพราะมิใช่คู่ความในคดีจึงไม่มีสิทธิร้องขอหรือมอบอำนาจให้ผู้อื่นร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ดังนั้นคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์จึงไม่ชอบไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้นตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา198เมื่อฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยมิได้ยื่นในกำหนดที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยและพิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา210แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7161/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินค่าทดแทนที่ดินเวนคืน: ราคาตลาด, ดอกเบี้ย, และการปรับแก้คำพิพากษา
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534มาตรา 36 วรรคหนึ่ง เป็นบทกฎหมายที่กำหนดแนวทางว่าการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะกระทำได้ก็โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะและในกรณีใดบ้าง และต้องชดใช้ค่าทดแทนที่เป็นธรรมภายในเวลาอันควรแก่เจ้าของ ตามที่ระบุไว้ในกฎหมายส่วนวรรคสองเพียงแต่วางหลักการกว้าง ๆ ว่าการกำหนดค่าทดแทนนั้นต้องกำหนดให้อย่างเป็นธรรม โดยคำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติ การได้มาสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์และความเสียหายของผู้ถูกเวนคืน ดังนั้นรายละเอียดของการดำเนินการเวนคืนและการกำหนดค่าทดแทนที่เป็นธรรมจึงต้องเป็นไปตามกฎหมายเฉพาะซึ่งในขณะเกิดกรณีพิพาทคือ พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 อันเป็นกฎหมายแม่บทเกี่ยวกับการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์โดยทั่ว ๆ ไป ซึ่งหลักเกณฑ์สำคัญในการพิจารณากำหนดค่าทดแทนได้กำหนดไว้ในมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5) ดังนั้นการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสองจึงต้องคำนึงถึง (1) ถึง (5)ของมาตราดังกล่าวในวันที่ 22 เมษายน 2531 ซึ่งเป็นวันที่ใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ ประกอบเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ทั้งสองโดยใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อใช้ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ซึ่งประกาศใช้ตั้งแต่วันที่14 มิถุนายน 2534 จึงไม่ถูกต้อง โจทก์ทั้งสองและจำเลยไม่ได้มีการตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ กันตามมาตรา 10 จึงไม่มีวันที่ต้องมีการจ่าย ทั้งทางนำสืบ ของโจทก์ทั้งสองและจำเลยไม่ปรากฏแน่ชัดว่าจำเลยวางเงิน ค่าทดแทนในวันใด แต่พออนุมานได้ว่าก่อนวันที่ 1 พฤษภาคม 2535 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ทั้งสองไปทำคำเสนอขอรับเงินค่าทดแทนจึงให้ จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7102/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การประเมินค่าทดแทนที่ถูกต้องตาม พ.ร.บ.เวนคืน และการกำหนดราคาตามปีที่ใช้บังคับ พ.ร.ฎ.แนวทางหลวง
ตาม พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินสายคลองตัน - หนองงูเห่า และทางแยกเข้าหนองงูเห่า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2524และ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงหัวหมาก ฯ พ.ศ.2532 ที่กำหนดให้อธิบดีกรมทางหลวงเท่านั้นที่เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนก็เพื่อให้อธิบดีกรมทางหลวงเป็นผู้ดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินตามกฎหมายดังกล่าวเพื่อใช้ในการสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 343 สายคลองตัน - ลาดกระบัง ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 6 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะที่พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับนี้ประกาศใช้เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นอธิบดีของจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของจำเลยที่ 1 ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 เรื่อง ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ข้อ 32 ดังนั้นจึงแสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 2 ในฐานะอธิบดีกรมทางหลวงเป็นผู้แทนกรมทางหลวงจำเลยที่ 1 ในการดำเนินการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 343 สายคลองตัน - ลาดกระบัง โจทก์ทั้งสิบสองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง แม้ในช่องคู่ความตามคำฟ้องของโจทก์มิได้ระบุโดยชัดแจ้งว่าฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะอธิบดีกรมทางหลวง แต่โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 2 เป็นอธิบดีกรมทางหลวงซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์และขอให้รับผิดชอบชำระเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนแก่โจทก์ทั้งสิบสอง ส่วนการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 ที่กรมการขนส่งทางบกก็เนื่องจากจำเลยที่ 2 ย้ายไปรับราชการที่กรมการขนส่งทางบกแล้ว จึงหาใช่ฟ้องจำเลยที่ 2ให้รับผิดเป็นส่วนตัวไม่
สำหรับโจทก์ที่ 8 ที่ไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง-คมนาคมนั้น ปรากฏว่าโจทก์ที่ 7 และที่ 8 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินที่ถูกเวนคืน โจทก์ที่ 7 เป็นผู้ยื่นอุทธรณ์ ย่อมเป็นการใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอก อันเป็นผลถึงโจทก์ที่ 8 ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมด้วยตาม ป.พ.พ.มาตรา 1359 โจทก์ที่ 8 จึงมีอำนาจฟ้องเช่นเดียวกัน
คำฟ้องของโจทก์ทั้งสิบสองได้บรรยายความเป็นมาแห่งคดีเกี่ยวกับการที่จำเลยทั้งสองเวนคืนที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองว่า จำเลยทั้งสองได้นำเงินค่าทดแทนที่ดินไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดี เมื่อวันที่ 13มีนาคม 2535 เพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 11 และนำไปวางที่สำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 5 เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2535 เพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์ที่ 12 โจทก์ทั้งสิบสองไม่พอใจจำนวนเงินค่าทดแทนที่ดินจึงอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มให้โจทก์ทั้งสิบสองเป็นตารางวาละ 12,000 บาท แต่โจทก์ทั้งสิบสองเห็นว่ายังไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งสิบสอง จึงขอบังคับให้จำเลยทั้งสองชำระเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มแก่โจทก์ทั้งสิบสอง คำฟ้องของโจทก์ทั้งสิบสองจึงแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับรวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ตามป.พ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ซึ่งจำเลยทั้งสองก็ให้การต่อสู้คดีได้ถูกต้องแสดงว่าจำเลยทั้งสองเข้าใจข้อกล่าวหาตามคำฟ้องเป็นอย่างดี ส่วนข้อที่ว่าโจทก์ทั้งสิบสองได้รับแจ้งให้ไปรับเงินค่าทดแทนเมื่อใดและยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการ-กระทรวงคมนาคมเมื่อใดก็เป็นเพียงรายละเอียดที่จะนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์ทั้งสิบสองจึงไม่เคลือบคลุม
ที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองถูกเวนคืนโดย พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ...กรุงเทพมหานคร เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 343 สายคลองตัน - ลาดกระบัง พ.ศ.2532 ซึ่งขณะนั้นพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ใช้บังคับอยู่ แต่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นได้กำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองที่ถูกเวนคืนและมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 11 ทราบเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2534 และแจ้งให้โจทก์ที่ 12 ทราบเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2535 อันเป็นเวลาภายหลังที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ซึ่งใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2534มีผลใช้บังคับแล้ว การที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นเพิ่งแจ้งราคาค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองให้โจทก์ทั้งสิบสองทราบภายหลังประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับและโจทก์ทั้งสิบสองฟ้องคดีนี้ต่อมาการกำหนดราคาค่าทดแทนจึงยังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติดังกล่าวมีผลใช้บังคับ การกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองจึงต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44ดังนั้น การกำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองของคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นจึงต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21 (1) ถึง (5) มิใช่กำหนดค่าทดแทนตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมแต่เพียงอย่างเดียวดังที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นปฏิบัติ แต่เนื่องจากที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองถูกเวนคืนโดย พ.ร.บ.เวนคืนอสังหา-ริมทรัพย์ในท้องที่แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ...กรุงเทพมหานคร เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 343 สายคลองตัน - ลาดกระบัง พ.ศ.2532 โดยมีการออก พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินสายคลองตัน -หนองงูเห่า และทางแยกเข้าหนองงูเห่า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2524 ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2524 กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างไว้ก่อน และเมื่อพ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ...กรุงเทพ-มหานคร เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 343 สายคลองตัน - ลาดกระบังพ.ศ.2532 ไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษในเรื่องเงินค่าทดแทนไว้ จึงต้องกำหนดเงินค่าทดแทนโดยใช้ราคาในวันใช้บังคับ พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินสายคลองตัน - หนองงูเห่า และทางแยกเข้าหนองงูเห่า(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2524 คือวันที่ 20 มีนาคม 2524 เป็นเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทน แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่า คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นเพิ่งจะตกลงกำหนดเงินค่าทดแทนและแจ้งให้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 11 ทราบเมื่อวันที่ 23ธันวาคม 2534 และแจ้งให้โจทก์ที่ 12 ทราบเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2535หลังจาก พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดิน สายคลองตัน -หนองงูเห่า และทางแยกเข้าหนองงูเห่า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2524 ใช้บังคับนานถึง 10 ปีเศษ การที่จะกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองโดยใช้ราคาที่ดินในปี 2524 เป็นเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทนจึงย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งสิบสอง เพราะไม่ถูกต้องตามหลักการแห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง ตอนท้ายที่ว่า "ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม" และขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 มาตรา 33 วรรคสาม ที่ใช้บังคับในขณะที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสิบสอง ซึ่งมีหลักการสำคัญว่าการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ต้องชดใช้ค่าทดแทนภายในเวลาอันสมควร ดังนั้นการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองโดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5) แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 จึงต้องพิจารณาจากราคาที่ดินที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนประกอบราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่กับราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ตลอดจนสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์นั้นในปี 2532 ซึ่งเป็นปีที่ พ.ร.บ.ที่เวนคืนที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองใช้บังคับ จึงจะเป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งสิบสอง ที่ศาลอุทธรณ์ให้นำราคาที่ดินในปี 2532 มาพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสิบสอง จึงถูกต้องเหมาะสมและเป็นธรรมแล้ว
ในวันที่ 13 มีนาคม 2535 จำเลยที่ 1 นำเงินค่าทดแทนไปวางเพื่อชำระเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 11 และวันที่ 6 กรกฎาคม 2535จำเลยที่ 1 นำเงินค่าทดแทนไปวางเพื่อชำระเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ที่ 12 จำเลยทั้งสองจึงต้องชำระดอกเบี้ยในเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองนับแต่วันวางเงินค่าทดแทนดังกล่าว ส่วนจะได้รับดอกเบี้ยในอัตราเท่าใดก็เป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 26 วรรคสาม
เอกสารหมาย ล.59 และ ล.60 มิใช่หนังสืออุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 11 ที่ยื่นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม แต่เป็นหนังสือขอความเป็นธรรม และในขณะยื่นเอกสารดังกล่าว สิทธิในการยื่นอุทธรณ์เงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 11 ยังไม่เกิดขึ้น แต่ได้เกิดขึ้นภายหลังจากที่จำเลยทั้งสองแจ้งให้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 11 ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินที่จำเลยทั้งสองนำไปวางไว้ ณ สำนักงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดีเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2535 ตามหนังสือแจ้งการวางทรัพย์ลงวันที่ 17 มีนาคม 2535การที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 11 ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2535 วันที่ 7 และ 12 พฤษภาคม 2535 โดยอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 7 ถือว่ายื่นในนามของโจทก์ที่ 8 ที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินที่ถูกเวนคืนด้วย จึงไม่ได้เป็นการยื่นอุทธรณ์ซ้ำซ้อน และเป็นการยื่นอุทธรณ์โดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งได้ยื่นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือจากจำเลยทั้งสองแจ้งให้ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินที่จำเลยทั้งสองได้นำไปวางไว้ที่สำนักงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดี และโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 11 ได้ฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลชั้นต้น เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2536 ยังไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่พ้นกำหนด60 วัน ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้น คดีโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 11 จึงไม่ขาดอายุความ
สำหรับโจทก์ที่ 8 ที่ไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง-คมนาคมนั้น ปรากฏว่าโจทก์ที่ 7 และที่ 8 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินที่ถูกเวนคืน โจทก์ที่ 7 เป็นผู้ยื่นอุทธรณ์ ย่อมเป็นการใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอก อันเป็นผลถึงโจทก์ที่ 8 ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมด้วยตาม ป.พ.พ.มาตรา 1359 โจทก์ที่ 8 จึงมีอำนาจฟ้องเช่นเดียวกัน
คำฟ้องของโจทก์ทั้งสิบสองได้บรรยายความเป็นมาแห่งคดีเกี่ยวกับการที่จำเลยทั้งสองเวนคืนที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองว่า จำเลยทั้งสองได้นำเงินค่าทดแทนที่ดินไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดี เมื่อวันที่ 13มีนาคม 2535 เพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 11 และนำไปวางที่สำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 5 เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2535 เพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์ที่ 12 โจทก์ทั้งสิบสองไม่พอใจจำนวนเงินค่าทดแทนที่ดินจึงอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มให้โจทก์ทั้งสิบสองเป็นตารางวาละ 12,000 บาท แต่โจทก์ทั้งสิบสองเห็นว่ายังไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งสิบสอง จึงขอบังคับให้จำเลยทั้งสองชำระเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มแก่โจทก์ทั้งสิบสอง คำฟ้องของโจทก์ทั้งสิบสองจึงแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับรวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ตามป.พ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ซึ่งจำเลยทั้งสองก็ให้การต่อสู้คดีได้ถูกต้องแสดงว่าจำเลยทั้งสองเข้าใจข้อกล่าวหาตามคำฟ้องเป็นอย่างดี ส่วนข้อที่ว่าโจทก์ทั้งสิบสองได้รับแจ้งให้ไปรับเงินค่าทดแทนเมื่อใดและยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการ-กระทรวงคมนาคมเมื่อใดก็เป็นเพียงรายละเอียดที่จะนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์ทั้งสิบสองจึงไม่เคลือบคลุม
ที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองถูกเวนคืนโดย พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ...กรุงเทพมหานคร เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 343 สายคลองตัน - ลาดกระบัง พ.ศ.2532 ซึ่งขณะนั้นพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ใช้บังคับอยู่ แต่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นได้กำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองที่ถูกเวนคืนและมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 11 ทราบเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2534 และแจ้งให้โจทก์ที่ 12 ทราบเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2535 อันเป็นเวลาภายหลังที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ซึ่งใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2534มีผลใช้บังคับแล้ว การที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นเพิ่งแจ้งราคาค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองให้โจทก์ทั้งสิบสองทราบภายหลังประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับและโจทก์ทั้งสิบสองฟ้องคดีนี้ต่อมาการกำหนดราคาค่าทดแทนจึงยังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติดังกล่าวมีผลใช้บังคับ การกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองจึงต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44ดังนั้น การกำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองของคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นจึงต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21 (1) ถึง (5) มิใช่กำหนดค่าทดแทนตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมแต่เพียงอย่างเดียวดังที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นปฏิบัติ แต่เนื่องจากที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองถูกเวนคืนโดย พ.ร.บ.เวนคืนอสังหา-ริมทรัพย์ในท้องที่แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ...กรุงเทพมหานคร เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 343 สายคลองตัน - ลาดกระบัง พ.ศ.2532 โดยมีการออก พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินสายคลองตัน -หนองงูเห่า และทางแยกเข้าหนองงูเห่า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2524 ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2524 กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างไว้ก่อน และเมื่อพ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ...กรุงเทพ-มหานคร เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 343 สายคลองตัน - ลาดกระบังพ.ศ.2532 ไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษในเรื่องเงินค่าทดแทนไว้ จึงต้องกำหนดเงินค่าทดแทนโดยใช้ราคาในวันใช้บังคับ พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินสายคลองตัน - หนองงูเห่า และทางแยกเข้าหนองงูเห่า(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2524 คือวันที่ 20 มีนาคม 2524 เป็นเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทน แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่า คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นเพิ่งจะตกลงกำหนดเงินค่าทดแทนและแจ้งให้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 11 ทราบเมื่อวันที่ 23ธันวาคม 2534 และแจ้งให้โจทก์ที่ 12 ทราบเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2535หลังจาก พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดิน สายคลองตัน -หนองงูเห่า และทางแยกเข้าหนองงูเห่า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2524 ใช้บังคับนานถึง 10 ปีเศษ การที่จะกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองโดยใช้ราคาที่ดินในปี 2524 เป็นเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทนจึงย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งสิบสอง เพราะไม่ถูกต้องตามหลักการแห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง ตอนท้ายที่ว่า "ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม" และขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 มาตรา 33 วรรคสาม ที่ใช้บังคับในขณะที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสิบสอง ซึ่งมีหลักการสำคัญว่าการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ต้องชดใช้ค่าทดแทนภายในเวลาอันสมควร ดังนั้นการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองโดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5) แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 จึงต้องพิจารณาจากราคาที่ดินที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนประกอบราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่กับราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ตลอดจนสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์นั้นในปี 2532 ซึ่งเป็นปีที่ พ.ร.บ.ที่เวนคืนที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองใช้บังคับ จึงจะเป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งสิบสอง ที่ศาลอุทธรณ์ให้นำราคาที่ดินในปี 2532 มาพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสิบสอง จึงถูกต้องเหมาะสมและเป็นธรรมแล้ว
ในวันที่ 13 มีนาคม 2535 จำเลยที่ 1 นำเงินค่าทดแทนไปวางเพื่อชำระเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 11 และวันที่ 6 กรกฎาคม 2535จำเลยที่ 1 นำเงินค่าทดแทนไปวางเพื่อชำระเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ที่ 12 จำเลยทั้งสองจึงต้องชำระดอกเบี้ยในเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองนับแต่วันวางเงินค่าทดแทนดังกล่าว ส่วนจะได้รับดอกเบี้ยในอัตราเท่าใดก็เป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 26 วรรคสาม
เอกสารหมาย ล.59 และ ล.60 มิใช่หนังสืออุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 11 ที่ยื่นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม แต่เป็นหนังสือขอความเป็นธรรม และในขณะยื่นเอกสารดังกล่าว สิทธิในการยื่นอุทธรณ์เงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 11 ยังไม่เกิดขึ้น แต่ได้เกิดขึ้นภายหลังจากที่จำเลยทั้งสองแจ้งให้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 11 ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินที่จำเลยทั้งสองนำไปวางไว้ ณ สำนักงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดีเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2535 ตามหนังสือแจ้งการวางทรัพย์ลงวันที่ 17 มีนาคม 2535การที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 11 ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2535 วันที่ 7 และ 12 พฤษภาคม 2535 โดยอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 7 ถือว่ายื่นในนามของโจทก์ที่ 8 ที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินที่ถูกเวนคืนด้วย จึงไม่ได้เป็นการยื่นอุทธรณ์ซ้ำซ้อน และเป็นการยื่นอุทธรณ์โดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งได้ยื่นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือจากจำเลยทั้งสองแจ้งให้ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินที่จำเลยทั้งสองได้นำไปวางไว้ที่สำนักงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดี และโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 11 ได้ฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลชั้นต้น เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2536 ยังไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่พ้นกำหนด60 วัน ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้น คดีโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 11 จึงไม่ขาดอายุความ