คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุทธิ นิชโรจน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,157 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7066/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทดแทนที่ดินเวนคืน: การคำนวณราคา, ดอกเบี้ย, และการแก้ไขคำพิพากษา
การเวนคืนที่ดินตาม พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์ฯ พ.ศ.2511และพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์ฯพ.ศ.2516 การดำเนินการในเรื่องค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนยังไม่เสร็จสิ้น เมื่อมีพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 และประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีผลใช้บังคับแล้ว การดำเนินการต่อไปในเรื่องค่าทดแทนต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่แก้ไขแล้ว พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21(1)ให้นำราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับ พระราชกฤษฎีกามาพิจารณาในการกำหนดค่าทดแทนด้วย แต่พระราชกฤษฎีกา มีผลใช้บังคับตั้งแต่ พ.ศ.2511 จำเลยเพิ่งมีหนังสือแจ้งราคาทดแทนให้โจทก์ทราบหลังจากนั้นมากกว่า 20 ปี จึงไม่เป็นไปตามครรลอง แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2521มาตรา 33 วรรคสาม จึงให้นำราคาซื้อขายใน พ.ศ.2531ซึ่งเป็นปีที่เริ่มดำเนินการเพื่อจ่ายค่าทดแทนใหม่มาพิจารณาแทน สำเนาโฉนดที่ดินระบุไว้ชัดแจ้งว่า ที่ดินที่ถูกเวนคืนเนื้อที่43 ตารางวา เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้น จึงได้รับการสันนิษฐานไว้ว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 จำเลยทั้งสามไม่นำสืบโต้แย้งคัดค้านว่าโฉนดที่ดินดังกล่าวไม่ถูกต้องจึงฟังได้ว่าที่ดินถูกเวนคืนเนื้อที่ 43 ตารางวา จริง ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในคำพิพากษาว่า โจทก์ได้รับค่าทดแทนเพิ่มขึ้นเป็นเงิน 10,972,500 บาท แต่พิพากษาให้จำเลยทั้งสามชำระเงินจำนวน 10,927,500 บาท นั้นเป็นการผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อย ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 เมื่อจำเลยต้องชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มให้โจทก์โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 26วรรคสุดท้าย ซึ่งอัตราดอกเบี้ยสูงสุดนี้อาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ในเวลาที่ต่างกันศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสามชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีคงที่ตลอดไปจึงไม่ชอบซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแก้ให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7030/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของนิติบุคคล: การแก้ไขข้อบกพร่องของใบแต่งทนายความและการตั้งผู้แทนชั่วคราวเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
แม้ใบแต่งทนายความของจำเลยจะลงชื่อ ส.หุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยเพียงคนเดียว ไม่เป็นไปตามข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการที่ระบุให้ ส.ลงลายมือชื่อร่วมกับ ค. และประทับตราห้างจำเลยตามหนังสือรับรองนิติบุคคลซึ่งทำให้อำนาจของผู้แทนนิติบุคคลในการดำเนินคดีของจำเลยบกพร่องก็ตาม แต่ต่อมาศาลอุทธรณ์ได้ใช้อำนาจตาม ป.วิ.พ.มาตรา 66 ให้ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องโดยการร้องขอต่อศาลตั้งผู้แทนชั่วคราวตาม ป.พ.พ.มาตรา 73 และให้จัดทำใบแต่งทนายความขึ้นมาใหม่ ซึ่งเป็นอำนาจที่ศาลอุทธรณ์กระทำได้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจให้แก้ไขข้อบกพร่องนี้ได้เมื่อพบเห็นเอง ส่วนการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้ง ส.เป็นผู้แทนชั่วคราวของจำเลยตามที่จำเลยยื่นคำร้องขอมา โดย ค.ยังเป็นหุ้นส่วนของจำเลยผู้มีอำนาจลงชื่อร่วมกับ ส.ในการทำนิติกรรมต่าง ๆ ของห้างอยู่ แต่ปรากฏว่า ค.แสดงตนเป็นปฏิปักษ์กับจำเลย ไม่ยอมลงชื่อในใบแต่งทนายความร่วมกับ ส.ตามข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการ พฤติการณ์เช่นนี้ย่อมเกิดความเสียหายแก่จำเลยได้ และไม่มีทางใดที่จะบังคับ ค.ได้ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของจำเลย การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้ง ส.เป็นผู้แทนชั่วคราวของจำเลยและจำเลยได้เสนอใบแต่งทนายความฉบับใหม่ตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์แล้วย่อมทำให้อำนาจฟ้องที่บกพร่องนั้นเป็นอำนาจฟ้องที่สมบูรณ์ตามกฎหมายมาตั้งแต่เริ่มแรก จำเลยจึงมีอำนาจให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7030/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องแย้งและการแก้ไขข้อบกพร่องเอกสารแต่งตั้งทนายความที่ศาลมีอำนาจแก้ไขเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
แม้ใบแต่งทนายความของจำเลยจะลงชื่อส. หุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยเพียงคนเดียวไม่เป็นไปตามข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการที่ระบุให้ส. ลงลายมือชื่อร่วมกับค. และประทับตราห้างจำเลยตามหนังสือรับรองนิติบุคคลซึ่งทำให้อำนาจของผู้แทนนิติบุคคลในการดำเนินคดีของจำเลยบกพร่องก็ตามแต่ต่อมาศาลอุทธรณ์ได้ใช้อำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา66ให้ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องโดยการร้องขอต่อศาลตั้งผู้แทนชั่วคราวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา73และให้จัดทำใบแต่งทนายความขึ้นมาใหม่ซึ่งเป็นอำนาจที่ศาลอุทธรณ์กระทำได้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจให้แก้ไขข้อบกพร่องนี้ได้เมื่อพบเห็นเองส่วนการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งส. เป็นผู้แทนชั่วคราวของจำเลยตามที่จำเลยยื่นคำร้องขอมาโดยค.ยังเป็นหุ้นส่วนของจำเลยผู้มีอำนาจลงชื่อร่วมกับส.ในการทำนิติกรรมต่างๆของห้างอยู่แต่ปรากฎว่าค.แสดงตนเป็นปฏิปักษ์กับจำเลยไม่ยอมลงชื่อในใบแต่งทนายความร่วมกับส.ตามข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการพฤติการณ์เช่นนี้ย่อมเกิดความเสียหายแก่จำเลยได้และไม่มีทางใดที่จะบังคับค. ได้เพื่อรักษาผลประโยชน์ของจำเลยการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งส. เป็นผู้แทนชั่วคราวของจำเลยและจำเลยได้เสนอใบแต่งทนายความฉบับใหม่ตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์แล้วย่อมทำให้อำนาจฟ้องที่บกพร่องนั้นเป็นอำนาจฟ้องที่สมบูรณ์ตามกฎหมายมาตั้งแต่เริ่มแรกจำเลยจึงมีอำนาจให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6843/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การหลังศาลเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้ และผลกระทบต่อค่าขึ้นศาล
คดีนี้ไม่มีการชี้สองสถานและการสืบพยานเนื่องจากศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องและคำให้การแล้วเห็นว่า คดีพอวินิจฉัยได้ ให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลย ดังนั้นตราบใดที่ศาลชั้นต้นยังมิได้พิพากษา ถือว่าอยู่ในระยะเวลาที่จำเลยที่ 2แก้ไขคำให้การได้ หาเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 180 ไม่ แต่ที่ศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นปฏิบัติตาม ป.วิ.พ.มาตรา 181 ซึ่งหมายถึงให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งคำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยที่ 2 เสียใหม่นั้น เมื่อโจทก์ได้รับสำเนาคำร้องขอแก้ไขคำให้การทั้งสองครั้งและมีโอกาสคัดค้านทั้งในชั้นอุทธรณ์และฎีกา ศาลฎีกาจึงเห็นควรสั่งคำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยที่ 2 ไปเสียทีเดียว โดยไม่ต้องให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งอีก และเมื่อจะต้องรับคำร้องขอแก้ไขคำให้การและดำเนินคดีต่อไปเช่นนี้แล้ว ก็เป็นอันยังไม่รับวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีซึ่งโจทก์ฎีกาขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ตามคำขอท้ายฟ้อง ศาลอุทธรณ์ก็ยังไม่รับวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีเช่นเดียวกัน ดังนั้น ที่จำเลยที่ 2 เสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์ตามจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในคดี และโจทก์ก็เสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในคดีเช่นเดียวกัน จึงเป็นการเสียค่าขึ้นศาลเกินมา ซึ่งที่ถูกจะต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียงชั้นศาลละ 200 บาท เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6810/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบวกโทษคดีที่เคยรอการลงโทษไว้กับคดีใหม่ แม้โจทก์มิได้ขอ โดยอาศัยความปรากฏต่อศาล
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา58วรรคหนึ่งซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา(ฉบับที่10)พ.ศ.2532มาตรา4เมื่อจำเลยแถลงรับตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่าจำเลยเคยต้องโทษตามคดีอาญาอีกคดีหนึ่งของศาลชั้นต้นจริงและคดีดังกล่าวศาลอุทธรณ์พิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำเลยฐานมีเฮโรอีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตจำคุก6เดือนโดยให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด2ปีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา56และในระหว่างที่ยังไม่ครบ2ปีจำเลยได้มากระทำความผิดคดีนี้เช่นนี้แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องและขอให้บวกโทษในคดีดังกล่าวเข้ากับโทษคดีนี้แต่เป็นกรณีที่ความปรากฎแก่ศาลเองจากรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติทั้งจำเลยก็ยอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้วข้างต้นศาลจึงต้องนำโทษที่รอไว้ในคดีอาญาเรื่องนั้นของศาลชั้นต้นมาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6810/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบวกโทษคดีอาญาเดิมที่รอการลงโทษเข้ากับคดีใหม่ แม้โจทก์มิได้ขอ
ป.อ.มาตรา 58 วรรคหนึ่ง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2532 มาตรา 4 เมื่อจำเลยแถลงรับตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่าจำเลยเคยต้องโทษตามคดีอาญาอีกคดีหนึ่งของศาลชั้นต้นจริง และคดีดังกล่าวศาลอุทธรณ์พิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำเลยฐานมีเฮโรอีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตจำคุก 6 เดือน โดยให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ตาม ป.อ.มาตรา56 และในระหว่างที่ยังไม่ครบ 2 ปี จำเลยได้มากระทำความผิดคดีนี้ เช่นนี้แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องและขอให้บวกโทษในคดีดังกล่าวเข้ากับโทษคดีนี้แต่เป็นกรณีที่ความปรากฏแก่ศาลเองจากรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติ ทั้งจำเลยก็ยอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้วข้างต้น ศาลจึงต้องนำโทษที่รอไว้ในคดีอาญาเรื่องนั้นของศาลชั้นต้นมาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6721/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชัดแจ้ง - การแก้ไขค่าทนายความที่ศาลชั้นต้นกำหนดเกินอัตราตามกฎหมาย
คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อ้างเหตุคนละอย่างกับเหตุที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย การที่จำเลยฎีกาโดยคัดลอกเอาข้อความที่อุทธรณ์มาเป็นฎีกาโดยไม่ได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนอย่างไร ที่ถูกแล้วศาลอุทธรณ์ควรวินิจฉัยอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความ 20,000 บาทแทนโจทก์ เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดน่าจะเกิดจากการพิมพ์ผิดพลาด ตามป.วิ.พ. มาตรา 143 จึงให้แก้ไขค่าทนายความในศาลชั้นต้นเป็น 3,000 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6721/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากจำเลยไม่ได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และศาลแก้ไขค่าทนายความที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อ้างเหตุคนละอย่างกับเหตุที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยการที่จำเลยฎีกาโดยคัดลอกเอาข้อความที่อุทธรณ์มาเป็นฎีกาโดยไม่ได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนอย่างไรที่ถูกแล้วศาลอุทธรณ์ควรวินิจฉัยอย่างไรจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความ20,000บาทแทนโจทก์เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดน่าจะเกิดจากการพิมพ์ผิดพลาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา143จึงให้แก้ไขค่าทนายความในศาลชั้นต้นเป็น3,000บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6720/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเวนคืน: เจ้าหน้าที่, รัฐมนตรี, และการคำนวณค่าทดแทนเมื่อราคาที่ดินสูงขึ้น
ในขณะที่ทางราชการเวนคืนที่ดินของโจทก์ จำเลยที่ 2ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจำเลยที่ 1 อยู่ แต่ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ จำเลยที่ 2 พ้นจากตำแหน่งหน้าที่ดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่แขวงยานนาวาแขวงทุ่งวัดดอน และแขวงบางโคล่ เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2531อีกต่อไป การที่ พ.ร.ฎ.ดังกล่าวกำหนดให้ผู้ว่าราชการจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน เป็นการกำหนดโดยตำแหน่งหน้าที่ มิใช่เป็นการกำหนดในนามส่วนตัว ดังนั้นเมื่อขณะฟ้องคดีจำเลยที่ 2 พ้นจากตำแหน่งหน้าที่ผู้ว่าราชการจำเลยที่ 1 โดยมีจำเลยที่ 3 เข้ารับตำแหน่งหน้าที่แทนแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
กระทรวงมหาดไทยจำเลยที่ 4 เป็นกระทรวงในรัฐบาลมีฐานะเป็นนิติบุคคลและมีรัฐมนตรีว่าการจำเลยที่ 4 เป็นผู้กำกับดูแลงานของจำเลยที่ 4 โดยตรง เมื่อ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่แขวงยานนาวา แขวงทุ่งวัดดอน และแขวงบางโคล่ เขตยานนาวากรุงเทพมหานคร พ.ศ.2531 บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการจำเลยที่ 4 รักษาการตาม พ.ร.ฎ.ฉบับดังกล่าว รัฐมนตรีว่าการจำเลยที่ 4 ก็มีอำนาจในการแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ และมีอำนาจวินิจฉัยหรือไม่วินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 อันเป็นหน้าที่ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่แขวงยานนาวา แขวงทุ่งวัดดอน และแขวงบางโคล่เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2531 ซึ่งหมายถึงว่ารัฐมนตรีว่าการจำเลยที่ 4 กระทำการดังกล่าวในนามจำเลยที่ 4 นั่นเอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 4
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 21 วรรคสอง กำหนดเป็นหลักการไว้ว่า ถ้าการเวนคืนรายใดทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนนั้นมีราคาสูงขึ้นก็ให้เอาราคาที่สูงขึ้นหักออกจากเงินค่าทดแทนที่จะต้องจ่ายให้แก่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืน ส่วนในวรรคสี่ได้กำหนดถึงวิธีการคำนวณราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ตามวรรคสองว่าให้ใช้หลักเกณฑ์ตามที่กำหนดใน พ.ร.ฎ. ดังนั้น หากการเวนคืนทำให้ที่ดินที่เหลือของโจทก์มีราคาสูงขึ้นจึงต้องเป็นไปตามหลักการที่มาตรา 21 วรรคสอง บัญญัติไว้ส่วนวิธีการคำนวณหาราคาที่สูงขึ้นดังกล่าว เมื่อขณะที่ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนยังไม่มี พ.ร.ฎ.ตามที่มาตรา 21 วรรคสี่ บัญญัติไว้ออกใช้บังคับ ก็จะต้องอาศัยหลักเกณฑ์ที่เห็นว่าเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมมาใช้ เมื่อปรากฏว่าที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาสูงขึ้นเป็นจำนวนมากกว่าเงินค่าทดแทนที่โจทก์มีสิทธิได้รับ จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6720/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การหักราคาที่ดินส่วนที่เหลือที่สูงขึ้นออกจากค่าทดแทนตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 21 วรรคสอง ได้กำหนดเป็นหลักการไว้ว่า ถ้าการเวนคืนรายใดทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนนั้นมีราคาสูงขึ้นก็ให้เอาราคาที่สูงขึ้นหักออกจากเงินค่าทดแทนที่จะต้องจ่ายให้แก่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนส่วนวรรคสี่กำหนดถึงวิธีการคำนวณราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ตามวรรคสองว่า ให้ใช้หลักเกณฑ์ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาแต่หากขณะที่ดินถูกเวนคืนไม่มีพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 21 วรรคสี่ ออกใช้บังคับ ก็ต้องอาศัยหลักเกณฑ์ที่เห็นว่าเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมมาใช้ หาใช่ไม่ต้องนำราคาที่สูงขึ้นมาหักออกจากค่าทดแทนไม่
of 116