พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,157 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6658/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินระหว่างเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมและการบังคับแบ่งมรดก
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยทั้งสาม และขอให้ศาลบังคับเพื่อให้แบ่งกรรมสิทธิ์รวมตาม ป.พ.พ. มาตรา1364 เป็นการบรรยายฟ้องถึงกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนของโจทก์ และขอให้ศาลบังคับแบ่งแยกทรัพย์มรดกของ อ. ที่โจทก์และบรรดาทายาทของ อ.ได้รับมาโดยต่างครอบครองเป็นส่วนสัดแล้ว ส่วนที่เหลือขอให้แบ่งตามมาตรา 1364 ซึ่งกำหนดวิธีการแบ่งเอาไว้ ย่อมทำให้จำเลยที่ 1 เข้าใจข้อหาได้ดี และจำเลยที่ 1 ก็ยอมรับวิธีการแบ่ง คำฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172วรรคสอง ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมา แสดงให้เห็นว่าโจทก์ฟ้องเรียกร้องขอแบ่งทรัพย์มรดกในฐานะผู้จัดการมรดกและเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมตามข้อตกลงแบ่งการครอบครองทรัพย์พิพาทเป็นส่วนสัดและทรัพย์สินที่เหลือก็ขอให้แบ่งแยกกรรมสิทธิ์เป็นเด็ดขาด โจทก์ได้ติดต่อกับจำเลยที่ 1 แล้วแต่ตกลงกันไม่ได้ ซึ่งในข้อนี้จำเลยที่ 1 ก็ให้การว่า ได้แบ่งแยกทรัพย์มรดกแก่ทายาททุกคนเป็นส่วนสัดแล้วและการแบ่งแยกทรัพย์สินตามข้อตกลง จำเลยที่ 1 พร้อมจะแบ่งแยกแต่โจทก์ไม่ยอมส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาท จำเลยที่ 1 จึงได้ฟ้องโจทก์ไว้แล้ว กรณีเช่นนี้ชี้ให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 ได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยไม่ยอมแบ่งทรัพย์พิพาทตามข้อตกลง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ตามข้อเท็จจริงโจทก์และจำเลยทั้งสามยอมรับว่า โจทก์ ป.,ด. และจำเลยที่ 3 ได้ตกลงแบ่งกันครอบครองตึกแถวในที่ดินพิพาทแล้ว บรรดาตึกแถวที่แบ่งกันครอบครองต่างทำสัญญาเช่าและเก็บค่าเช่ากันเองเป็นเวลานับ10 ปีแล้ว ดังนี้ ตึกแถวจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ สำหรับที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ตั้งของตึกแถวดังกล่าว แม้ข้อตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์จะระบุว่าเป็นการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์เฉพาะตึกแถวไม่รวมถึงการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท แต่โจทก์และจำเลยทั้งสามก็ไม่ขัดข้องจะแบ่งที่ดินอันเป็นที่ตั้งของตึกแถว ซึ่งน่าจะรวมถึงที่ดินอันเป็นทางเท้าด้านหน้าและด้านหลังของตึกแถวด้วยเพราะถือเป็นบริเวณที่ดินส่วนหนึ่งของตึกแถว ที่ศาลล่างพิพากษาต้องกันให้แบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดยให้รวมถึงที่ดินอันเป็นทางเท้าด้านหน้าและด้านหลังของตึกแถวด้วย จึงไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคแรก
วิธีการแบ่งทรัพย์สินในระหว่างเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมนั้นกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 คือให้กระทำโดยแบ่งทรัพย์สินนั้นเองระหว่างเจ้าของรวม หรือโดยขายทรัพย์สินแล้วเอาเงินที่ขายได้แบ่งกัน ถ้าเจ้าของรวมไม่ตกลงกัน ศาลอาจสั่งให้เอาทรัพย์สินนั้นออกแบ่ง ถ้าการแบ่งไม่อาจทำได้หรือจะเสียหายมากนัก ศาลจะสั่งให้ขาย โดยประมูลราคากันระหว่างเจ้าของรวมหรือขายทอดตลาดก็ได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้แบ่งทรัพย์พิพาทบางรายการกันเองระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสาม หากตกลงแบ่งกันไม่ได้ให้ขายทอดตลาดชอบด้วยมาตรา 1364 แล้ว
ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมา แสดงให้เห็นว่าโจทก์ฟ้องเรียกร้องขอแบ่งทรัพย์มรดกในฐานะผู้จัดการมรดกและเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมตามข้อตกลงแบ่งการครอบครองทรัพย์พิพาทเป็นส่วนสัดและทรัพย์สินที่เหลือก็ขอให้แบ่งแยกกรรมสิทธิ์เป็นเด็ดขาด โจทก์ได้ติดต่อกับจำเลยที่ 1 แล้วแต่ตกลงกันไม่ได้ ซึ่งในข้อนี้จำเลยที่ 1 ก็ให้การว่า ได้แบ่งแยกทรัพย์มรดกแก่ทายาททุกคนเป็นส่วนสัดแล้วและการแบ่งแยกทรัพย์สินตามข้อตกลง จำเลยที่ 1 พร้อมจะแบ่งแยกแต่โจทก์ไม่ยอมส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาท จำเลยที่ 1 จึงได้ฟ้องโจทก์ไว้แล้ว กรณีเช่นนี้ชี้ให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 ได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยไม่ยอมแบ่งทรัพย์พิพาทตามข้อตกลง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ตามข้อเท็จจริงโจทก์และจำเลยทั้งสามยอมรับว่า โจทก์ ป.,ด. และจำเลยที่ 3 ได้ตกลงแบ่งกันครอบครองตึกแถวในที่ดินพิพาทแล้ว บรรดาตึกแถวที่แบ่งกันครอบครองต่างทำสัญญาเช่าและเก็บค่าเช่ากันเองเป็นเวลานับ10 ปีแล้ว ดังนี้ ตึกแถวจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ สำหรับที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ตั้งของตึกแถวดังกล่าว แม้ข้อตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์จะระบุว่าเป็นการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์เฉพาะตึกแถวไม่รวมถึงการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท แต่โจทก์และจำเลยทั้งสามก็ไม่ขัดข้องจะแบ่งที่ดินอันเป็นที่ตั้งของตึกแถว ซึ่งน่าจะรวมถึงที่ดินอันเป็นทางเท้าด้านหน้าและด้านหลังของตึกแถวด้วยเพราะถือเป็นบริเวณที่ดินส่วนหนึ่งของตึกแถว ที่ศาลล่างพิพากษาต้องกันให้แบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดยให้รวมถึงที่ดินอันเป็นทางเท้าด้านหน้าและด้านหลังของตึกแถวด้วย จึงไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคแรก
วิธีการแบ่งทรัพย์สินในระหว่างเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมนั้นกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 คือให้กระทำโดยแบ่งทรัพย์สินนั้นเองระหว่างเจ้าของรวม หรือโดยขายทรัพย์สินแล้วเอาเงินที่ขายได้แบ่งกัน ถ้าเจ้าของรวมไม่ตกลงกัน ศาลอาจสั่งให้เอาทรัพย์สินนั้นออกแบ่ง ถ้าการแบ่งไม่อาจทำได้หรือจะเสียหายมากนัก ศาลจะสั่งให้ขาย โดยประมูลราคากันระหว่างเจ้าของรวมหรือขายทอดตลาดก็ได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้แบ่งทรัพย์พิพาทบางรายการกันเองระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสาม หากตกลงแบ่งกันไม่ได้ให้ขายทอดตลาดชอบด้วยมาตรา 1364 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6635/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนกระทำชำเราเด็กนักเรียน ครูผู้ปกครองมีความผิดฐานใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่
จำเลยได้ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายในขณะที่จำเลยซึ่งเป็นครูอาวุโสเข้าเวรเป็นครูผู้ปกครองประจำวันมีหน้าที่ควบคุมดูแลเด็กนักเรียนถือได้ว่าขณะเกิดเหตุผู้เสียหายเป็นศิษย์อยู่ในความดูแลของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6635/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ครูข่มขืนศิษย์: ความรับผิดชอบในฐานะผู้ดูแล
จำเลยได้ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายในขณะที่จำเลยซึ่งเป็นครูอาวุโสเข้าเวรเป็นครูผู้ปกครองประจำวันมีหน้าที่ควบคุมดูแลเด็กนักเรียน ถือได้ว่าขณะเกิดเหตุผู้เสียหายเป็นศิษย์อยู่ในความดูแลของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6600/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนเวนคืนสิ้นสุดเมื่อเจ้ามรดกได้รับค่าทดแทนตามที่อุทธรณ์ แม้ผู้จัดการมรดกจะเห็นว่ายังต่ำกว่าที่ควร
ที่ดินของ ต.อยู่ในเขตบริเวณที่ที่จะเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอปากเกร็ด.... พ.ศ.2531 เพื่อสร้างทางสายพิเศษฯ ต.กับจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายและค่าทดแทนทรัพย์สินที่จะถูกเวนคืนในกรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทน โดยจำเลยตกลงจ่ายเงินค่าทดแทนตามราคาเบื้องต้นที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นกำหนดให้แก่ ต.ไปก่อน ต.ไม่พอใจราคาค่าทดแทนที่จำเลยจ่ายให้ จึงยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ขอเพิ่มค่าทดแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ต.ให้เพิ่มเงินค่าทดแทนแก่ ต.อีกต่อมาภายหลังมีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 แล้วจำเลยได้แจ้งให้ ต.ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่ม แต่โจทก์ในฐานะทายาทต.เห็นว่าเงินค่าทดแทนดังกล่าวยังต่ำไปจึงยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยขอให้จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้นอีก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาแล้วมีคำวินิจฉัยเพิ่มค่าทดแทนที่ดินให้อีกตามขอซึ่งคำนวณแล้วจำเลยได้จ่ายค่าทดแทนให้แก่ ต.มากกว่าราคาที่ ต.เคยอุทธรณ์ขอเพิ่มไว้และเต็มตามจำนวนที่โจทก์ขอเพิ่มค่าทดแทนในการอุทธรณ์ครั้งหลังนี้ด้วย ค่าทดแทนที่จำเลยกำหนดให้โจทก์ในครั้งที่สุด จึงเป็นค่าทดแทนที่ถือได้ว่าต.เจ้ามรดกที่พิพาทพอใจแล้ว โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ต.ไม่มีสิทธิจะโต้แย้งคำวินิจฉัยค่าทดแทนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยต่อไปอีก ทั้งนี้ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6560/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาในข้อเท็จจริงต้องปฏิบัติตามขั้นตอนการรับรองจากผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดี และมีข้อจำกัดเรื่องจำนวนทุนทรัพย์
คดีที่ราคาทรัพย์สินอันเป็นจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248วรรคหนึ่ง จำเลยฎีกาพร้อมกับยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 รับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริง แต่ตามคำร้องขอให้ผู้พิพากษาอนุญาตให้ฎีกาของจำเลยดังกล่าว มิได้ระบุให้ผู้พิพากษาคนใดในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 1 เป็นผู้พิจารณารับรอง จึงเป็นการไม่ชอบตาม มาตรา 248วรรคสี่ ทั้ง อ.ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่ลงชื่อรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงมิได้เป็นผู้นั่งพิจารณาคดีนี้ในศาลชั้นต้นด้วย คำสั่งรับฎีกาของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6560/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท และการรับรองฎีกาไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
คดีที่ราคาทรัพย์สินอันเป็นจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งจำเลยฎีกาพร้อมกับยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค1รับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงแต่ตามคำร้องขอให้ผู้พิพากษาอนุญาตให้ฎีกาของจำเลยดังกล่าวมิได้ระบุให้ผู้พิพากษาคนใดในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค1เป็นผู้พิจารณารับรองจึงเป็นการไม่ชอบตามมาตรา248วรรคสี่ทั้งอ. ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่ลงชื่อรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงมิได้เป็นผู้นั่งพิจารณาคดีนี้ในศาลชั้นต้นด้วยคำสั่งรับฎีกาของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6560/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาในข้อเท็จจริงต้องเป็นไปตามรูปแบบที่กฎหมายกำหนด หากไม่เป็นไปตามนั้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 รับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงโดยมิได้ระบุให้ผู้พิพากษาคนใดเป็นผู้พิจารณารับรองเป็นการไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6495/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินค่าทดแทนเวนคืนและการคิดดอกเบี้ยกรณีเจ้าหน้าที่แจ้งล่าช้า
หลังจากที่ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ แขวงสวนหลวง แขวงประเวศ เขตพระโขนง และแขวงคลองสองต้นนุ่น แขวงคลองประเวศ แขวงลำปลาทิว เขตลาดกระบังกรุงเทพมหานคร เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 343 สายคลองตัน-ลาดกระบัง พ.ศ.2532 ประกาศใช้บังคับแล้ว เจ้าหน้าที่ของจำเลยมิได้มีหนังสือแจ้งให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนมารับเงินค่าทดแทน ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 28 วรรคแรก แต่กลับมีหนังสือแจ้งให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนมาตกลงทำสัญญารับเงินค่าทดแทนการที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว จำเลยจะยกขึ้นมาเป็นเหตุอ้างให้โจทก์เสื่อมเสียสิทธิที่ควรจะได้ย่อมไม่ถูกต้อง ทั้งการเวนคืนที่ดินของโจทก์เป็นไปตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 มาตรา 15 ซึ่งมาตรา 28 วรรคแรก บัญญัติให้เจ้าหน้าที่มีหนังสือแจ้งให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนมารับเงินค่าทดแทนภายในระยะเวลาที่กำหนดซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับนั้นใช้บังคับ จึงต้องถือว่าวันสุดท้ายของกำหนดเวลาดังกล่าวคือวันที่ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา 26 นั่นเอง ปรากฏว่า พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงหัวหมากฯ พ.ศ.2532 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 7 กันยายน 2532เมื่อนับถึงวันที่ 25 ธันวาคม 2535 ที่โจทก์ขอมา จึงเกินกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันดังกล่าวแล้ว โจทก์ชอบที่จะได้รับดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2535
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6403/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจอนุญาตถอนฟ้อง: การถอนฟ้องเพื่อแก้ไขคำฟ้องให้ครอบคลุมประเด็นกรรมสิทธิ์ที่ดิน อาจเป็นการเอาเปรียบจำเลย
การที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาลที่จะพิจารณาข้อเท็จจริงจากท้องสำนวนประกอบคำร้องขอถอนฟ้องและคำคัดค้านโดยคำนึงถึงเหตุผลและความจำเป็นว่าสมควรหรือไม่และเป็นการถอนฟ้องไปเพื่อจะฟ้องใหม่โดยแก้ไขฟ้องเดิมที่บกพร่องอันเป็นการเอาเปรียบในเชิงคดีกับอีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่ จำเลยให้การต่อสู้คดีประการหนึ่งว่าโจทก์มิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินตามฟ้องเพราะได้เวนคืนที่ให้แก่จำเลยที่1แล้วจึงไม่มีอำนาจฟ้องซึ่งโจทก์ก็ได้เสนอประเด็นข้อพิพาทนี้ต่อศาลแต่ในวันนัดชี้สองสถานศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้และตามคำร้องขอถอนฟ้องก็อ้างเหตุว่าเพื่อนำคดีมาฟ้องใหม่ให้รวมถึงประเด็นที่เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดินด้วยและเป็นเวลาหลังชี้สองสถานซึ่งโจทก์ไม่สามารถแก้ไขคำฟ้องได้แสดงว่าโจทก์ถอนฟ้องไปเพื่อจะแก้ไขฟ้องเดิมที่บกพร่องอันอาจทำให้จำเลยทั้งสามเสียเปรียบในการต่อสู้คดีศาลจึงชอบที่จะไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6392/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าของหน้าที่ในการดูแลทรัพย์สินของกลาง หากทรัพย์สินสูญหายแม้จะไม่มีความประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่โดยตรง
รถยนต์ของกลางหายไปในขณะอยู่ในความรับผิดชอบของพันตำรวจตรีส. ซึ่งเป็นข้าราชการในสังกัดของกรมตำรวจจำเลยที่1การปฏิบัติหน้าที่ของพันตำรวจตรีส. จึงกระทำไปในฐานะผู้แทนของจำเลยที่1ดังนั้นแม้จำเลยที่2ที่3และที่4จะมิได้ประมาทเลินเล่ออันเป็นเหตุให้รถยนต์คันดังกล่าวสูญหายจำเลยที่1ก็จะปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ไม่ได้