คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุทธิ นิชโรจน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,157 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5595/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อที่ดินเช่า: ศาลแก้ไขคำวินิจฉัยคชก.บางส่วนได้ หากไม่ชอบด้วยกฎหมาย
แม้มติคชก.จังหวัดได้ถึงที่สุดไปแล้ว แต่การพิจารณาของคชก.จังหวัดเฉพาะเรื่องราคาที่ให้โจทก์มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลบังคับตามมติในเรื่องนี้ของ คชก.จังหวัดไม่ได้ตาม พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ. 2524 มาตรา 58 ประกอบ พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530มาตรา 24 แต่คำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดในส่วนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนี้เป็นเพียงส่วนประกอบ ส่วนคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดที่วินิจฉัยให้โจทก์มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทเป็นคำวินิจฉัยส่วนหลักนั้นชอบด้วยกฎหมายไม่เสียไป ดังนั้น ในส่วนประกอบที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนี้ศาลมีอำนาจพิจารณาจากพยานหลักฐานแล้วพิพากษาให้ถูกต้องได้ แม้ศาลชั้นต้นเห็นว่าราคาที่ดินพิพาทตามที่จดทะเบียนไว้เท่ากับราคาตลาดตรงกับราคาที่ คชก.จังหวัด แต่ก็เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงในชั้นศาลของศาลชั้นต้นเอง มิใช่เป็นการถือและบังคับตามการวินิจฉัยชี้ขาดของคชก.จังหวัด คู่ความมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาข้อพิพาทในส่วนนี้ได้ ไม่เข้าข้อห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 26
พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา54 บัญญัติให้ผู้เช่านามีสิทธิซื้อนาที่เช่าจากผู้รับโอนโดยตรง หากการขายนาที่เช่ามิได้ปฏิบัติตามมาตรา 53 เมื่อโจทก์เป็นผู้เช่านาที่ดินพิพาทและผู้ให้เช่านาขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 53 ทั้งโจทก์ได้ร้องขอต่อ คชก.ตำบลเพื่อวินิจฉัยให้ผู้รับโอนขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์ และได้ผ่านขั้นตอนการอุทธรณ์ต่อ คชก.จังหวัดแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้รับโอนที่ดินพิพาทขายที่ดินพิพาททั้งแปลงให้แก่โจทก์โดยไม่ต้องคำนึงว่าเดิมมีผู้ใดเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทบ้าง ที่จะต้องฟ้องเป็นจำเลยด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5513/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสนอซื้อ/แลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงิน: สัญญาผูกพันเมื่อตอบรับ แม้มีข้อจำกัดในประกาศ
ตามประกาศของจำเลยมีข้อความให้ประชาชนผู้มีชื่อระบุเป็นผู้รับเงินในตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท ง.ที่มีความประสงค์จะขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินไปติดต่อขอความยินยอมให้เปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินต่อจำเลยตามวันเวลาและสถานที่ที่ระบุในประกาศ เป็นหนังสือเชิญชวนให้ผู้ถือตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท ง.ทำคำเสนอขอแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินจากจำเลยโดยจำเลยสงวนสิทธิที่จะไม่รับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใด ๆ ก็ได้ เมื่อโจทก์มีหนังสือแสดงเจตนาขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินถึงจำเลยจึงเป็นคำเสนอของโจทก์ที่มีต่อจำเลยแล้ว การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าธนาคารแห่งประเทศไทยอนุมัติให้จำเลยรับแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ได้ และขอให้โจทก์นำเอกสารต่าง ๆ พร้อมด้วยตั๋วสัญญาใช้เงินตามที่ได้แจ้งไว้ในหนังสือแสดงเจตนาขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินไปติดต่อจำเลยเพื่อดำเนินการเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินมาเป็นของจำเลยนั้น ถือว่าเป็นคำสนองของจำเลยที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยยอมรับแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์โดยไม่มีเงื่อนไขว่าจำเลยต้องส่งตั๋วสัญญาใช้เงินไปให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาอีกครั้งหนึ่งก่อน ดังนั้น สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยได้เกิดขึ้นและมีผลผูกพันกันโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว แม้ต่อมาจำเลยจะอ้างว่าธนาคารแห่งประเทศไทยไม่อนุมัติให้จำเลยรับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์แต่ก็ไม่อาจลบล้างสิทธิของโจทก์ที่ได้เกิดมีขึ้นแล้วแต่อย่างใด จำเลยจึงไม่อาจเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิในภายหลังตามอำเภอใจได้
สำหรับประกาศของจำเลยที่มีข้อความในข้อ 2 ว่า...บริษัท ง.สงวนสิทธิที่จะไม่รับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใด ๆ ก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องแสดงเหตุผล..." ข้อความตามประกาศดังกล่าวเป็นเพียงให้สิทธิจำเลยในการพิจารณารับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นกรณี ๆ ไป และในการพิจารณาจำเลยอาจยกข้อต่อสู้ เช่น ได้มีการชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นแล้ว หรือตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นไม่มีมูลหนี้ตามกฎหมายขึ้นต่อสู้โจทก์หรือประชาชนผู้แสดงเจตนาขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวได้ แต่จำเลยจะต้องยกขึ้นต่อสู้ก่อนที่จะมีการแสดงเจตนาสนองรับไปยังโจทก์ มิใช่ว่าจำเลยจะสามารถมีสิทธิปฏิเสธหรือยกเลิกการรับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินในภายหลังได้เสมอ แม้จำเลยจะอ้างว่าต่อมาธนาคารแห่งประเทศไทยไม่อนุมัติให้จำเลยรับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ แต่ก็ไม่อาจลบล้างสิทธิของโจทก์ที่ได้เกิดมีขึ้นแล้วได้ ประกาศของจำเลย ข้อ 2 นี้ จึงหาอาจทำให้จำเลยสามารถเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิของโจทก์ในภายหลังได้แต่อย่างใด
ตามประกาศของจำเลย ข้อ 3 มีใจความว่า ตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยรับเปลี่ยนให้มีหลักการดังนี้ เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่เปลี่ยนมือไม่ได้และไม่มีดอกเบี้ย กับจะจ่ายเงินเท่ากับจำนวนเงินในตั๋วสัญญาใช้เงินที่รับเปลี่ยนโดยทยอยจ่ายเงินคืนทุกปี ภายในระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี จะชำระคืนแต่ละงวดเท่ากับร้อยละ 10 ของจำนวนเงินตามหน้าตั๋วสัญญาใช้เงิน จนกว่าจะครบจำนวน ดังนี้การที่โจทก์แสดงเจตนาขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินต่อจำเลยตามประกาศดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ย่อมต้องผูกพันตามข้อกำหนดและเงื่อนไขต่าง ๆ ตามประกาศดังกล่าวดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินที่เปลี่ยนมือไม่ได้โดยมีจำนวนเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ฉบับละ 500,000 บาท ปีละ 4 ฉบับมีกำหนดเวลา 10 ปี โดยไม่มีดอกเบี้ย สำหรับวันที่ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน 4 ฉบับแรกจะเริ่มต้นนับตั้งแต่เมื่อใดนั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยมีหนังสือลงวันที่ 10 มิถุนายน2530 แจ้งไปยังโจทก์ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยอนุมัติให้จำเลยรับแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินแก่โจทก์ได้ และให้โจทก์นำเอกสารต่าง ๆ ไปติดต่อจำเลยเพื่อดำเนินการเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินมาเป็นของจำเลย โจทก์เพิ่งจะส่งเอกสารต่าง ๆ ไปให้จำเลยตามหนังสือลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2532 จำเลยได้รับเอกสารดังกล่าวเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2532 จำเลยจึงต้องออกตั๋วสัญญาใช้เงินที่เปลี่ยนมือไม่ได้ 4 ฉบับแรก ฉบับละ 500,000 บาท โดยไม่มีดอกเบี้ย นับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2532 เป็นต้นไป และทุกวันที่ 1 มีนาคม ของปีถัดไปจนกว่าจะครบกำหนด 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5513/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงิน การผูกพันตามประกาศ และการเรียกร้องหนี้
ตามประกาศของจำเลยมีข้อความให้ประชาชนผู้มีชื่อระบุเป็นผู้รับเงินในตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทง. ที่มีความประสงค์จะขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินไปติดต่อขอความยินยอมให้เปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินต่อจำเลยตามวันเวลาและสถานที่ที่ระบุในประกาศเป็นหนังสือเชิญชวนให้ผู้ถือตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทง.ทำคำเสนอขอแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินจากจำเลยโดยจำเลยสงวนสิทธิที่จะไม่รับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใดๆก็ได้เมื่อโจทก์มีหนังสือแสดงเจตนาขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินถึงจำเลยจึงเป็นคำเสนอของโจทก์ที่มีต่อจำเลยแล้วการที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าธนาคารแห่งประเทศไทยอนุมัติให้จำเลยรับแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ได้และขอให้โจทก์นำเอกสารต่างๆพร้อมด้วยตั๋วสัญญาใช้เงินตามที่ได้แจ้งไว้ในหนังสือแสดงเจตนาขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินไปติดต่อจำเลยเพื่อดำเนินการเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินมาเป็นของจำเลยนั้นถือว่าเป็นคำสนองของจำเลยที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยยอมรับแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์โดยไม่มีเงื่อนไขว่าจำเลยต้องส่งตั๋วสัญญาใช้เงินไปให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาอีกครั่งหนึ่งก่อนดังนั้นสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยได้เกิดขึ้นและมีผลผูกพันกันโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้วแม้ต่อมาจำเลยจะอ้างว่าธนาคารแห่งประเทศไทยไม่อนุมัติให้จำเลยรับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์แต่ก็ไม่อาจลบล้างสิทธิของโจทก์ที่ได้เกิดมีขึ้นแล้วแต่อย่างใดจำเลยจึงไม่อาจเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิในภายหลังตามอำเภอใจได้ สำหรับประกาศของจำเลยที่มีข้อความในข้อ2ว่าบริษัทง.สงวนสิทธิที่จะไม่รับเปลี่ยนตัวสัญญาใช้เงินฉบับใดๆก็ได้โดยไม่จำเป็นต้องแสดงเหตุผล"ข้อความตามประกาศดังกล่าวเป็นเพียงให้สิทธิจำเลยในการพิจารณารับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นกรณีๆไปและในการพิจารณาจำเลยอาจยกข้อต่อสู้เช่นได้มีการชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นแล้วหรือตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นไม่มีมูลหนี้ตามกฎหมายขึ้นต่อสู้โจทก์หรือประชาชนผู้แสดงเจตนาขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวได้แต่จำเลยจะต้องยกขึ้นต่อสู้ก่อนที่จะมีการแสดงเจตนาสนองรับไปยังโจทก์มิใช่ว่าจำเลยจะสามารถมีสิทธิปฏิเสธหรือยกเลิกการรับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินในภายหลังได้เสนอแม้จำเลยจะอ้างว่าต่อมาธนาคารแห่งประเทศไทยไม่อนุมัติให้จำเลยรับเปลี่ยนตัวสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์แต่ก็ไม่อาจลบล้างสิทธิของโจทก์ที่ได้เกิดมีขึ้นแล้วได้ประกาศของจำเลยข้อ2นี้จึงหาอาจทำให้จำเลยสามารถเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิของโจทก์ในภายหลังได้แต่อย่างใด ตามประกาศของจำเลยข้อ3มีใจความว่าตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยรับเปลี่ยนให้มีหลักการดังนี้เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่เปลี่ยนมือไม่ได้และไม่มีดอกเบี้ยกับจะจ่ายเงินเท่ากับจำนวนเงินในตั๋วสัญญาใช้เงินที่รับเปลี่ยนโดยทยอยจ่ายเงินคืนทุกปีภายในระยะเวลาไม่เกิน10ปีจะชำระคืนแต่ละงวดเท่ากับร้อยละ10ของจำนวนเงินตามหน้าตั๋วสัญญาใช้เงินจนกว่าจะครบจำนวนดังนี้การที่โจทก์แสดงเจตนาขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินต่อจำเลยตามประกาศดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ย่อมต้องผูกพันตามข้อกำหนดและเงื่อนไขต่างๆตามประกาศดังกล่าวดังนั้นโจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยเปลี่ยนตัวสัญญาใช้เงินที่เปลี่ยนมือไม่ได้โดยมีจำนวนเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับละ500,000บาทปีละ4ฉบับมีกำหนดเวลา10ปีโดยไม่มีดอกเบี้ยสำหรับวันที่ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน4ฉบับแรกจะเริ่มต้นนับตั้งแต่เมื่อใดนั้นเมื่อปรากฏว่าจำเลยมีหนังสือลงวันที่10มิถุนายน2530แจ้งไปยังโจทก์ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยอนุมัติให้จำเลยรับแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินแก่โจทก์ได้และให้โจทก์นำเอกสารต่างๆไปติดต่อจำเลยเพื่อดำเนินการเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินมาเป็นของจำเลยโจทก์เพิ่งจะส่งเอกสารต่างๆไปให้จำเลยตามหนังสือลงวันที่24กุมภาพันธ์2532จำเลยได้รับเอกสารดังกล่าวเมื่อวันที่28กุมภาพันธ์2532จำเลยจึงต้องออกตั๋วสัญญาใช้เงินที่เปลี่ยนมือไม่ได้4ฉบับแรกฉบับละ500,000บาทโดยไม่มีดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่1มีนาคม2532เป็นต้นไปและทุกวันที่1มีนาคมของปีถัดไปจนกว่าจะครบกำหนด10ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5509/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานออกคำสั่งรื้อถอนที่ดินบุกรุกป่าสงวน การแจ้งความดำเนินคดีอาญาไม่ใช่ละเมิดที่ศาลคุ้มครองชั่วคราวได้
การที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ควบคุมและรักษาป่าสงวนแห่งชาติอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ.2507ออกคำสั่งจังหวัดโดยอ้างว่าโจทก์ครอบครองที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและสั่งให้โจทก์ทำการรื้อถอนแก้ไขหรือกระทำประการอื่นใดแก่สิ่งที่เป็นอันตรายหรือสิ่งที่ทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติภายใน30วันแม้ต่อมาโจทก์จะฟ้องจำเลยขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวและห้ามมิให้จำเลยเข้ามาเกี่ยวข้องหรือกระทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือขาดประโยชน์จากที่ดินของโจทก์อีกต่อไปโดยโต้แย้งว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะโจทก์ครอบครองที่ดินอยู่คนละตำบลและคนละอำเภอก็ตามแต่การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้อำเภอแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา368ประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา9,108,108ทวิฐานไม่ปฎิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานนั้นเป็นการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายและเป็นการใช้สิทธิในขั้นตอนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะฟ้องร้องหรือขอให้ศาลสั่งห้ามมิให้จำเลยใช้สิทธิดังกล่าวดังนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวโดยห้ามมิให้จำเลยใช้สิทธิดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ต่อไปอีกเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5509/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าหน้าที่ป่าสงวนออกคำสั่งรื้อถอนและการดำเนินคดีอาญา การขอคุ้มครองชั่วคราว
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ควบคุมและรักษาป่าสงวนแห่งชาติอ้างว่าโจทก์ครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติและออกคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนแก้ไขหรือกระทำประการอื่นใดแก่สิ่งที่เป็นอันตรายหรือสิ่งที่ทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติภายใน30วันแม้ต่อมาโจทก์จะฟ้องจำเลยขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวและห้ามมิให้จำเลยเข้ามาเกี่ยวข้องหรือกระทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือขาดประโยชน์จากที่ดินของโจทก์อีกต่อไปโดยโต้แย้งว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้ส่วนราชการดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ฐานไม่ปฎิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานก็เป็นการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายโจทก์จึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวโดยห้ามมิให้จำเลยใช้สิทธิดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5509/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานป่าสงวนมีอำนาจสั่งรื้อถอนและดำเนินคดีอาญาได้ โจทก์ไม่มีสิทธิห้าม
การที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ควบคุมและรักษาป่าสงวนแห่งชาติ อาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 ออกคำสั่งจังหวัด โดยอ้างว่าโจทก์ครอบครองที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ และสั่งให้โจทก์ทำการรื้อถอน แก้ไขหรือกระทำประการอื่นใดแก่สิ่งที่เป็นอันตรายหรือสิ่งที่ทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติภายใน 30 วัน แม้ต่อมาโจทก์จะฟ้องจำเลยขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวและห้ามมิให้จำเลยเข้ามาเกี่ยวข้องหรือกระทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือขาดประโยชน์จากที่ดินของโจทก์อีกต่อไปโดยโต้แย้งว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะโจทก์ครอบครองที่ดินอยู่คนละตำบลและคนละอำเภอก็ตาม แต่การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้อำเภอแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 368 ป.ที่ดินมาตรา 9, 108, 108 ทวิ ฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานนั้น เป็นการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายและเป็นการใช้สิทธิในขั้นตอนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะฟ้องร้องหรือขอให้ศาลสั่งห้ามมิให้จำเลยใช้สิทธิดังกล่าว ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวโดยห้ามมิให้จำเลยใช้สิทธิดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ต่อไปอีกเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5474/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจของผู้คัดค้านในคดีล้มละลายเหนือทรัพย์สินที่ถูกยึดก่อนล้มละลาย และผลของการทำสัญญาหลังการยึด
ขณะศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของลูกหนี้ถูกเจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ในคดีแพ่งแต่การบังคับคดียังไม่สำเร็จบริบูรณ์กำลังประกาศขายทอดตลาดจึงไม่อาจใช้ยันแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านได้ที่ดินพิพาทจึงตกอยู่ในอำนาจจัดการของผู้คัดค้านตามมาตรา 22(1) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 เมื่อสิทธิตามสัญญาที่ ส.ขอให้ผู้คัดค้านปฏิบัติตามโดยโอนที่ดินพิพาทให้แก่ ส.นั้น เป็นผลแห่งสัญญาที่ลูกหนี้กระทำขึ้นภายหลังที่ผู้ร้องนำยึดที่ดินพิพาทของลูกหนี้ไว้ในคดีแพ่งแล้ว ซึ่งการก่อให้เกิดเปลี่ยนแปลงซึ่งสิทธิในทรัพย์สินที่ถูกยึดดังกล่าวไม่อาจใช้ยันแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 305(1) แล้วผลแห่งการนั้นก็ย่อมไม่อาจใช้ยันต่อผู้คัดค้านได้เช่นกันผู้คัดค้านจึงไม่ชอบที่โอนที่ดินพิพาทให้แก่ ส.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5474/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์ก่อนล้มละลาย: สิทธิของเจ้าหนี้และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ขณะศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ถูกเจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ในคดีแพ่ง แต่ก็ปรากฏว่าการบังคับคดียังไม่สำเร็จบริบูรณ์เนื่องจากยังอยู่ในขั้นตอนของการประกาศขายทอดตลาด การยึดทรัพย์ของลูกหนี้ในคดีแพ่งดังกล่าวจึงไม่อาจใช้ยันแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ในคดีล้มละลายได้ ที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่ลูกหนี้มีอยู่ในเวลาเริ่มต้นแห่งการล้มละลายซึ่งตามกฎหมายให้ถือว่าเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายอันอาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้ และทรัพย์สินของลูกหนี้ดังกล่าวย่อมตกอยู่ในอำนาจจัดการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านตามมาตรา 22 (1)แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 เว้นเสียแต่ว่าจะมีกฎหมายจำกัดอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้าน เมื่อสิทธิตามสัญญาที่ ส.ขอให้ผู้คัดค้านปฏิบัติตามโดยโอนที่ดินพิพาทให้แก่ ส.นั้น เป็นผลแห่งสัญญาที่ลูกหนี้กระทำขึ้นภายหลังที่ผู้ร้องนำยึดที่ดินพิพาทของลูกหนี้ไว้ในคดีแพ่งแล้ว ซึ่งการก่อให้เกิดเปลี่ยนแปลงซึ่งสิทธิในทรัพย์สินที่ถูกยึดดังกล่าวไม่อาจใช้ยันแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 305 (1) แล้ว ผลแห่งการนั้นก็ย่อมไม่อาจใช้ยันต่อผู้คัดค้านในคดีล้มละลายได้เช่นกัน เหตุนี้ผู้คัดค้านจึงไม่ชอบที่โอนที่ดินพิพาทให้แก่ ส.ตามสัญญาระหว่างลูกหนี้กับ ส. คำสั่งของผู้คัดค้านที่ให้โอนที่ดินพิพาทให้แก่ ส.จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5404/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่าที่ดิน ต้องพิจารณาช่วงเวลาตามกฎหมายและเหตุผลการบอกเลิกที่ชอบธรรม
สัญญาเช่านาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่15ครบกำหนดวันที่13กรกฎาคม2534จำเลยที่15ผู้ให้เช่ามีหนังสือบอกเลิกการเช่ามาถึงโจทก์ผู้เช่าโจทก์ได้รับหนังสือวันที่4มิถุนายน2533แต่การประชุมของคชก.จังหวัดปทุมธานีเมื่อวันที่18มีนาคม2534เพิ่งได้มีการกำหนดให้วันที่1มิถุนายนของทุกปีเป็นวันเริ่มต้นฤดูการทำนาแห่งท้องถิ่นของจังหวัดปทุมธานีซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่โจทก์ได้รับหนังสือบอกเลิกการเช่าแล้วดังนั้นขณะที่จำเลยที่15มีหนังสือบอกเลิกการเช่าถึงเวลาโจทก์ได้รับหนังสือบอกเลิกการเช่าจึงยังไม่มีวันเริ่มต้นฤดูการทำนาแห่งท้องถิ่นที่จะใช้สำหรับนับระยะเวลาในการบอกเลิกการเช่าการที่จำเลยที่15ทำหนังสือบอกเลิกการเช่านาซึ่งโจทก์ได้รับในช่วงต้นฤดูการทำนาก่อนสิ้นระยะเวลาการเช่าเกินกว่าหนึ่งปีจึงชอบด้วยกฎหมายโจทก์จะนำวันเริ่มต้นฤดูการทำนาแห่งท้องถิ่นที่กำหนดขึ้นภายหลังมาลบล้างผลแห่งการบอกเลิกสัญญาที่เกิดขึ้นเสร็จสิ้นสมบูรณ์อยู่ก่อนแล้วให้เสียไปหาได้ไม่ ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524มาตรา37มิได้กำหนดให้ผู้เช่าต้องบอกรายละเอียดตามมาตรา37(1)(4)ไว้ในหนังสือบอกเลิกการเช่าหากแต่เหตุผลดังกล่าวต้องแสดงต่อคชก.ตำบลเมื่อได้ส่งหนังสือบอกเลิกการเช่ากับผู้เช่าแล้วและปรากฏว่าแม้จำเลยที่15มิได้บอกเหตุผลตามที่ระบุไว้ใน(1)-(4)ของมาตรา37ไว้ในเอกสารหมายจ.6ก็ตามแต่จำเลยที่15ก็ได้มีหนังสือถึงประธานคชก.ตำบลลำลูกกาและสำเนาหนังสือบอกเลิกการเช่านาให้ทราบแล้วซึ่งเมื่อคชก.ตำบลลำลูกกาทราบได้มีการประชุมของคชก.ตำบลลำลูกกาเมื่อวันที่22สิงหาคม2533โดยได้มีมติให้โจทก์อยู่ในที่เช่าได้ต่อไปจำเลยที่15จึงได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคชก.ตำบลลำลูกกาต่อทางคชก.จังหวัดปทุมธานีเมื่อวันที่19กันยายน2533โดยได้ชี้แจงในอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคชก.ตำบลลำลูกกาและนำสืบด้วยว่าจะใช้ที่ดินแปลงดังกล่าวเพื่อประกอบเกษตรกรรมด้วยตนเองตามความเหมาะสมจึงฟังได้ว่าการบอกเลิกการเช่าของจำเลยที่15ชอบด้วยมาตรา37แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5404/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่าที่ดินเกษตรกรรม: ระยะเวลาบอกเลิกและการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดิน
สัญญาเช่านาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 15 ครบกำหนดวันที่ 13กรกฎาคม 2534 จำเลยที่ 15 ผู้ให้เช่ามีหนังสือบอกเลิกการเช่ามาถึงโจทก์ผู้เช่าโจทก์ได้รับหนังสือวันที่ 4 มิถุนายน 2533 แต่การประชุมของ คชก.จังหวัดปทุมธานีเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2534 เพิ่งได้มีการกำหนดให้วันที่ 1 มิถุนายนของทุกปีเป็นวันเริ่มต้นฤดูการทำนาแห่งท้องถิ่นของจังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่โจทก์ได้รับหนังสือบอกเลิกการเช่าแล้ว ดังนั้น ขณะที่จำเลยที่ 15 มีหนังสือบอกเลิกการเช่าถึงเวลาโจทก์ได้รับหนังสือบอกเลิกการเช่า จึงยังไม่มีวันเริ่มต้นฤดูการทำนาแห่งท้องถิ่นที่จะใช้สำหรับนับระยะเวลาในการบอกเลิกการเช่า การที่จำเลยที่ 15 ทำหนังสือบอกเลิกการเช่านาซึ่งโจทก์ได้รับในช่วงต้นฤดูการทำนา ก่อนสิ้นระยะเวลาการเช่าเกินกว่าหนึ่งปี จึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จะนำวันเริ่มต้นฤดูการทำนาแห่งท้องถิ่นที่กำหนดขึ้นมาภายหลังมาลบล้างผลแห่งการบอกเลิกสัญญาที่เกิดขึ้นเสร็จสิ้นสมบูรณ์อยู่ก่อนแล้วให้เสียไปหาได้ไม่
ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา37 มิได้กำหนดให้ผู้เช่าต้องบอกรายละเอียดตามมาตรา 37 (1) - (4) ไว้ในหนังสือบอกเลิกการเช่า หากแต่เหตุผลดังกล่าวต้องแสดงต่อ คชก.ตำบล เมื่อได้ส่งหนังสือบอกเลิกการเช่ากับผู้เช่าแล้ว และปรากฏว่าแม้จำเลยที่ 15 มิได้บอกเหตุผลตามที่ระบุไว้ใน (1) - (4) ของมาตรา 37 ไว้ในเอกสารหมาย จ.6ก็ตาม แต่จำเลยที่ 15 ก็ได้มีหนังสือถึงประธาน คชก.ตำบลลำลูกกาและสำเนาหนังสือบอกเลิกการเช่านาให้ทราบแล้ว ซึ่งเมื่อ คชก.ตำบลลำลูกกาทราบได้มีการประชุมของ คชก.ตำบลลำลูกกา เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2533 โดยได้มีมติให้โจทก์อยู่ในที่เช่าได้ต่อไป จำเลยที่ 15 จึงได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลลำลูกกาต่อทาง คชก.จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2533 โดยได้ชี้แจงในอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลลำลูกกาและนำสืบด้วยว่าจะใช้ที่ดินแปลงดังกล่าวเพื่อประกอบเกษตรกรรมด้วยตนเองตามความเหมาะสม จึงฟังได้ว่าการบอกเลิกการเช่าของจำเลยที่ 15 ชอบด้วยมาตรา 37 แล้ว
of 116