คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุทธิ นิชโรจน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,157 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4911/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกพรรคการเมืองเนื่องจากไม่มีสมาชิกได้รับเลือกตั้ง
การที่พรรคดำรงไทย ซึ่งเป็นพรรคการเมืองได้ส่งสมาชิกสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นการเลือกตั้งทั่วไป แต่ไม่มีสมาชิกของพรรคดำรงไทยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งทั่วไปดังกล่าวนั้นเลย พรรคดำรงไทยจึงต้องเลิกตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 46 (4) แห่งพ.ร.บ.พรรคการเมือง พ.ศ.2524 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535มาตรา 7

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4860/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้รับประกันภัยรถยนต์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัย และการหักชดใช้จากประกันชีวิต
ตามกฎกระทรวงฉบับที่6(พ.ศ.2535)ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถพ.ศ.2535ข้อ2(1)กำหนดจำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้นว่าจำนวนเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทสำหรับความเสียหายต่อร่างกายเมื่อโจทก์ได้จ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลไปจำนวน14,413บาทจำเลยผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ไม่เกิน10,000บาทตามกฎกระทรวงดังกล่าวจำเลยจะขอเอาเงินที่โจทก์ได้รับชดใช้ตามสัญญาประกันชีวิตจากบริษัทม.มาหักมิได้เพราะเป็นเรื่องนิติสัมพันธ์ตามสัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัทดังกล่าวโดยเฉพาะหานำมาลบล้างหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลยได้ไม่และถือว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4860/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจาก พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และการหักชดใช้จากสัญญาประกันชีวิต
ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2535) ออกตามความใน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ข้อ 2 (1) กำหนดจำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้นว่า จำนวนเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท สำหรับความเสียหายต่อร่างกาย เมื่อโจทก์ได้จ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลไปจำนวน 14,413 บาทจำเลยผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ไม่เกิน 10,000 บาทตามกฎกระทรวงดังกล่าว จำเลยจะขอเอาเงินที่โจทก์ได้รับชดใช้ตามสัญญาประกันชีวิตจากบริษัท ม.มาหักมิได้ เพราะเป็นเรื่องนิติสัมพันธ์ตามสัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัทดังกล่าวโดยเฉพาะ หานำมาลบล้างหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลยได้ไม่ และถือว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4860/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้รับประกันภัยรถยนต์ต่อค่ารักษาพยาบาล และการหักชดใช้จากประกันชีวิต
จำเลยผู้รับประกันภัยรถยนต์ในประเภทคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าเสียหายแก่โจทก์ผู้ประสบภัยตามจำนวนเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทตามกฎกระทรวงฉบับที่6(พ.ศ.2535)ที่ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถพ.ศ.2535ข้อ2(1)โดยจะขอเอาเงินที่โจทก์ได้รับชดใช้ตามสัญญาประกันชีวิตจากบริษัทม. มาหักมิได้เพราะเป็นเรื่องนิติสัมพันธ์ตามสัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัทดังกล่าวโดยเฉพาะและจะถือว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4855/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลายื่นฎีกา: พฤติการณ์พิเศษต้องมีเหตุผลเหนือกว่าการเปลี่ยนตัวทนายความ
พนักงานอัยการซึ่งเป็นทนายความคนเดิมของจำเลยย้ายไปดำรงตำแหน่งที่อื่น ก็ยังเป็นทนายความของจำเลยอยู่มีสิทธิที่จะดำเนินคดีต่อไปได้ การพนักงานอัยการซึ่งเป็นทนายความคนใหม่ของจำเลยยื่นคำร้องขอคัดสำเนาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาก่อนครบกำหนดยื่นฎีกา 1 วันโดยอ้างว่าเพิ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นทนายความของจำเลยเนื่องจากทนายความคนเดิมย้ายไปดำรงตำแหน่งที่อื่น จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษที่จะให้ศาลสั่งขยายระยะเวลายื่นฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4855/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงทนายความไม่เป็นเหตุพิเศษขยายเวลาฎีกา แม้ทนายความเดิมยังคงมีอำนาจดำเนินคดี
แม้พนักงานอัยการซึ่งเป็นทนายความคนเดิมของจำเลยที่2และที่3จะย้ายไปดำรงตำแหน่งที่อื่นก็ตามพนักงานอัยการคนเดิมนั้นก็ยังเป็นทนายความของจำเลยที่2และที่3มีสิทธิที่จะดำเนินคดีต่อไปได้ฉะนั้นการที่พนักงานอัยการซึ่งเป็นทนายความคนใหม่ของจำเลยที่2และที่3ยื่นคำร้องขอคัดสำเนาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาก่อนครบกำหนดยื่นฎีกา1วันโดยอ้างว่าเพิ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นทนายความของจำเลยที่2และที่3เนื่องจากทนายความคนเดิมย้ายไปดำรงตำแหน่งที่อื่นจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษที่จะให้ศาลสั่งขยายระยะเวลายื่นฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4848/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดค่าทดแทนที่ดินเวนคืนตามราคาประเมินและดอกเบี้ยตามกฎหมาย
พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินสายคลองตัน - หนองงูเห่า และทางแยกเข้าหนองงูเห่า...พ.ศ. 2522 ได้ตราออกใช้บังคับโดยอาศัยอำนาจตามข้อ 78 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28พฤศจิกายน 2514 อายุการบังคับใช้ของพระราชกฤษฎีกาจึงต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว ข้อ 79 พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงให้ใช้ได้มีกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน 2522 แม้ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2530 ใช้บังคับ ซึ่งมาตรา 7 ให้ยกเลิกความในส่วนที่ 3 การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงข้อ 63 ถึงข้อ 80 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295...แล้วก็ตามแต่มาตรา 9 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่าพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างและประกาศกระทรวงคมนาคมกำหนดทางหลวงที่มีความจำเป็นต้องสร้างโดยเร่งด่วนซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ให้คงใช้บังคับได้ตามอายุของพระราชกฤษฎีกานั้น และวรรคสองของมาตรานี้บัญญัติทำนองเดียวกันกับมาตรา 36 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ว่า การเวนคืนและการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวงที่ได้ปฏิบัติไปแล้วก่อนวันใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้ให้เป็นอันใช้ได้ แต่การดำเนินการต่อไปให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ดังนั้นพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ 1พฤศจิกายน 2532 และพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในท้องที่แขวงหัวหมาก...เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 343 สายคลองตัน - ลาดกระบัง พ.ศ. 2532มีผลใช้บังคับวันที่ 7 กันยายน 2532 ซึ่งอยู่ภายในกำหนดระยะเวลาการบังคับใช้พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงฯ การเวนคืนรายนี้จึงเป็นกรณีที่ถือได้ว่ามีการออก พระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และหลังจากพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28พฤศจิกายน พ.ศ. 2515(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2530 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มีผลใช้บังคับแล้ว การดำเนินการในเรื่องค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ยังไม่เสร็จสิ้น การดำเนินการต่อไปในเรื่องนี้จึงต้องดำเนินการตามบทบัญญัติแห่ง พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และในขณะดำเนินคดีนี้ได้มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ออกใช้บังคับซึ่งข้อ 1 บัญญัติว่าให้ยกเลิกความในวรรคสี่และวรรคห้าของมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "ในการกำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์และจำนวนเงินค่าทดแทนให้คณะกรรมการกำหนดโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 18 มาตรา 21 มาตรา 22 และมาตรา 24..." และข้อ 5 วรรคหนึ่งบัญญัติว่า บทบัญญัติมาตรา 9 วรรคสี่และวรรคห้า... แห่ง พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับแก่การเวนคืนซึ่งการกำหนดราคาเบื้องต้น การจัดซื้อการจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทน การอุทธรณ์หรือการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ใช้บังคับด้วย ดังนั้น การกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์จึงต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 ที่ให้กำหนดเงินค่าทดแทนที่จะให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนโดยคำนึงถึงอนุมาตรา (1) ถึง (5) เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม อันเป็นหลักการสำคัญของการกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้ถูกเวนคืน
สำหรับคดีนี้ พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินสายคลองตัน - หนองงูเห่า และทางแยกเข้าหนองงูเห่า พ.ศ. 2522 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2522 แล้ว แต่กรมทางหลวง จำเลยที่ 1 เพิ่งวางเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ ณ สำนักงานวางทรัพย์ เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2533 การที่จำเลยที่ 1 และอธิบดีกรมทางหลวง จำเลยที่ 2 ไม่ดำเนินการชดใช้ค่าทดแทนภายในเวลาอันควร แต่ปล่อยระยะเวลามาเนิ่นนานกว่า 10 ปี เป็นการดำเนินการที่มิได้เป็นไปตามครรลองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2521 มาตรา 33 วรรคสาม ซึ่งใช้บังคับในขณะที่ที่ดินของโจทก์ถูกกำหนดเป็นเขตแนวทางหลวงตามพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวทำให้โจทก์ขาดโอกาสที่จะนำเอาเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ไปซื้อที่ดินแปลงใหม่ที่มีราคาใกล้เคียงหรือสูงกว่าที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนไม่มากนักได้ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ดังนั้นการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์โดยคำนึงถึงมาตรา 21 เฉพาะอนุมาตรา (1) ถึง (4) คือ ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดประกอบราคาที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่ประกอบราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ประกอบสภาพและที่ตั้งของที่ดินของโจทก์ใน พ.ศ. 2522 อันเป็นปีที่ใช้บังคับ พระราชกฤษฎีกา กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินสายคลองตัน - หนองงูเห่า... พ.ศ. 2522 อย่างกรณีปกติย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ สำหรับคดีนี้ศาลฎีกาเห็นว่าเงินค่าทดแทนที่ดินที่เป็นธรรมแก่โจทก์ ควรเป็นราคาตามราคาประเมินที่ดินเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมระหว่าง พ.ศ. 2531-2534 ของกรมที่ดินซึ่งใช้ก่อนและในช่วงเวลาที่จำเลยที่ 1 วางเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ ณสำนักงานวางทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4848/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทดแทนที่ดินเวนคืน: หลักการกำหนดราคาที่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.เวนคืนฯ และผลกระทบจากประกาศ คสช. ฉบับที่ 44
พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินสายคลองตัน - หนองงูเห่า และทางแยกเข้าหนองงูเห่า... พ.ศ.2522 ได้ตราออกใช้บังคับโดยอาศัยอำนาจตามข้อ 78 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2514 อายุการบังคับใช้ของ พ.ร.ฎ.จึงต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว ข้อ 79 พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงให้ใช้ได้มีกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ 10 พศฤจิกายน 2522 แม้ต่อมาได้มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28พฤศจิกายน พ.ศ.2515 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2530 ใช้บังคับ ซึ่งมาตรา 7ให้ยกเลิกความในส่วนที่ 3 การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงข้อ 63 ถึงข้อ 80 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295...แล้วก็ตามแต่มาตรา 9 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนพ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างและประกาศกระทรวงคมนาคมกำหนดทางหลวงที่มีความจำเป็นต้องสร้างโดยเร่งด่วน ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ให้คงใช้บังคับได้ตามอายุของพ.ร.ฎ.นั้น และวรรคสองของมาตรานี้บัญญัติทำนองเดียวกันกับมาตรา 36 วรรคสองแห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ว่า การเวนคืนและการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวงที่ได้ปฏิบัติไปแล้วก่อนวันใช้บังคับพ.ร.บ.นี้ให้เป็นอันใช้ได้ แต่การดำเนินการต่อไปให้ดำเนินการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ดังนั้น พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2532 และ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในท้องที่แขวงหัวหมาก... เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข343 สายคลองตัน-ลาดกระบัง พ.ศ.2532 มีผลใช้บังคับวันที่ 7 กันยายน 2532ซึ่งอยู่ภายในกำหนดระยะเวลาการบังคับใช้ พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงฯการเวนคืนรายนี้จึงเป็นกรณีที่ถือได้ว่ามีการออก พ.ร.ฎ.ตามมาตรา 6 แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 และหลังจาก พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายนพ.ศ.2515 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2530 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหา-ริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มีผลใช้บังคับแล้ว การดำเนินการในเรื่องค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ยังไม่เสร็จสิ้น การดำเนินการต่อไปในเรื่องนี้จึงต้องดำเนินการตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 และในขณะดำเนินคดีนี้ได้มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ออกใช้บังคับซึ่งข้อ 1 บัญญัติว่าให้ยกเลิกความในวรรคสี่และวรรคห้าของมาตรา 9 แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "ในการกำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์และจำนวนเงินค่าทดแทนให้คณะกรรมการกำหนดโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 18 มาตรา 21 มาตรา 22และมาตรา 24..." และข้อ 5 วรรคหนึ่งบัญญัติว่า บทบัญญัติมาตรา 9 วรรคสี่และวรรคห้า... แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับแก่การเวนคืนซึ่งการกำหนดราคาเบื้องต้น การจัดซื้อการจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทน การอุทธรณ์หรือการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ใช้บังคับด้วย ดังนั้น การกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์จึงต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21 ที่ให้กำหนดเงินค่าทดแทนที่จะให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนโดยคำนึงถึงอนุมาตรา (1) ถึง (5) เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม อันเป็นหลักการสำคัญของการกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้ถูกเวนคืน
สำหรับคดีนี้ พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินสายคลองตัน-หนองงูเห่า และทางแยกเข้าหนองงูเห่า พ.ศ.2522 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2522 แล้ว แต่กรมทางหลวง จำเลยที่ 1 เพิ่งวางเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ ณ สำนักงานวางทรัพย์ เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2533การที่จำเลยที่ 1 และอธิบดีกรมทางหลวง จำเลยที่ 2 ไม่ดำเนินการชดใช้ค่าทดแทนภายในเวลาอันควร แต่ปล่อยระยะเวลามาเนิ่นนานกว่า 10 ปี เป็นการดำเนินการที่มิได้เป็นไปตามครรลองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2521 มาตรา33 วรรคสาม ซึ่งใช้บังคับในขณะที่ที่ดินของโจทก์ถูกกำหนดเป็นเขตแนวทางหลวงตาม พ.ร.ฎ.ฉบับดังกล่าว ทำให้โจทก์ขาดโอกาสที่จะนำเอาเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ไปซื้อที่ดินแปลงใหม่ที่มีราคาใกล้เคียงหรือสูงกว่าที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนไม่มากนักได้ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ดังนั้นการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์โดยคำนึงถึงมาตรา 21 เฉพาะอนุมาตรา (1) ถึง (4) คือ ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดประกอบราคาที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่ประกอบราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ประกอบสภาพและที่ตั้งของที่ดินของโจทก์ในพ.ศ.2522 อันเป็นปีที่ใช้บังคับ พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินสายคลองตัน-หนองงูเห่า... พ.ศ.2522 อย่างกรณีปกติย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ สำหรับคดีนี้ศาลฎีกาเห็นว่าเงินค่าทดแทนที่ดินที่เป็นธรรมแก่โจทก์ ควรเป็นราคาตามราคาประเมินที่ดินเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมระหว่าง พ.ศ. 2531-2534 ของกรมที่ดินซึ่งใช้ก่อนและในช่วงเวลาที่จำเลยที่ 1 วางเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ ณ สำนักงานวางทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4848/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดค่าทดแทนที่ดินเวนคืนตามราคาประเมินและดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง
พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินสายคลองตันหนองงูเห่าและทางแยกเข้าหนองงูเห่าพ.ศ.2522ได้ตราออกใช้บังคับโดยอาศัยอำนาจตามข้อ78แห่งป.ว.295อายุการบังคับใช้ของพระราชกฤษฎีกาจึงต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในป.ว.295ซึ่งได้บัญญัติไว้ในข้อ79ว่าพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีผลบังคับใช้ได้10ปีและหลังจากพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมป.ว.295(ฉบับที่2)พ.ศ.2530และพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มีผลใช้บังคับแล้วการดำเนินการในเรื่องค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ยังไม่เสร็จสิ้นการดำเนินการต่อไปในเรื่องนี้จึงต้องดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯและในขณะดำเนินคดีนี้ได้มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่44เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ออกใช้บังคับดังนั้นการกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์จึงต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯมาตรา21ซึ่งมาตรา21ให้กำหนดเงินค่าทดแทนที่จะให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนโดยคำนึงถึง(1)ถึง(5)เงินค่าทดแทนที่ดินที่เป็นธรรมแก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนที่ดินและสังคมควรเป็นราคาตามราคาประเมินที่ดินเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมระหว่างพ.ศ.2531-2534ของกรมที่ดินซึ่งใช้ก่อนและในช่วงเวลาที่จำเลยที่1วางเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ สำหรับดอกเบี้ยนั้นตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯมาตรา26วรรคสามโจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่รัฐมนตรีฯและศาลฎีกาวินิจฉัยให้ชำระเพิ่มขึ้นนับแต่จำเลยที่1วางเงินค่าทดแทนในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารออมสิน ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงแต่ต้องไม่เกินตามคำขอของโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4733/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างตอบแทนการใช้ท่าเรือ: ผลผูกพันและเงินชดเชยเมื่อไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง
ก่อนที่จะทำบันทึกการขอทดลองใช้ท่าเพื่อลดความคับคั่ง จำเลยเคยมีหนังสือร้องขอโจทก์ หลังจากนั้นมีการประชุมร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่บริหารของโจทก์และจำเลยเพื่อตกลงในรายละเอียด ที่ประชุมเห็นพ้องร่วมกันกับข้อความในร่างบันทึกดังกล่าว และกำหนดแนวทางปฏิบัติโดยให้เริ่มตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม2531 บันทึกดังกล่าวก็ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2531 เช่นเดียวกัน กับมีข้อความเหมือนกับร่างบันทึกดังกล่าวทุกประการ แสดงว่าคู่กรณีต่างมีเจตนาตรงกัน จึงได้ทำความตกลงตามข้อความในบันทึกดังกล่าว บันทึกดังกล่าวจึงใช้บังคับได้ ส่วนการที่มีเพียงจำเลยฝ่ายเดียวลงชื่อในบันทึก หาทำให้ข้อตกลงตามบันทึกใช้บังคับไม่ได้ไม่ เพราะเงื่อนไขและข้อตกลงในบันทึกเป็นการต่างตอบแทนซึ่งกันและกัน เมื่อฝ่ายโจทก์ได้จัดให้จำเลยใช้ท่าเรือดังที่ระบุไว้ในบันทึกแล้ว จำเลยย่อมต้องผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในบันทึกนั้น แม้โจทก์จะมิได้ลงชื่อในบันทึกก็ตาม สัญญาต่างตอบแทนระหว่างโจทก์จำเลยในกรณีนี้เกิดขึ้นแล้ว เพราะเป็นที่แน่ชัดว่าทั้งโจทก์จำเลยได้ตกลงกันในสาระสำคัญหมดทุกข้อ ถือว่ามีสัญญาต่อกันแล้ว หาได้มีกรณีเป็นที่สงสัยดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 ไม่
การชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยหมายถึงลูกหนี้ไม่อาจปฏิบัติการชำระหนี้ได้เลย แต่ในกรณีของจำเลยปรากฏว่ามีบริษัทอื่นสามารถขนถ่ายสินค้าได้ตามจำนวนที่ตกลงกันไว้ จึงหาใช่กรณีที่ไม่อาจปฏิบัติได้อันเป็นการพ้นวิสัยไม่ความสามารถในการขนถ่ายตู้สินค้าขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของกลุ่มเรือแต่ละกลุ่มเมื่อจำเลยไม่สามารถขนถ่ายตู้สินค้าได้ตามจำนวนที่กำหนดไว้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเงินชดเชยการใช้ท่าจากจำเลยได้ตามข้อตกลงในบันทึกการขอทดลองใช้ท่าเพื่อลดความคับคั่ง
ตามบันทึกการขอทดลองใช้ท่าเพื่อลดความคับคั่ง ข้อ 4.1 ระบุว่าหากจำเลยขนถ่ายตู้สินค้าเข้า-ออกได้ไม่เท่าจำนวนปีละ 144,000 ทีอียู จำเลยจะต้องจ่ายเงินชดเชยการใช้ท่าให้แก่โจทก์ โดยคิดเมื่อครบรอบ 1 ปี หรือเมื่อโจทก์มีคำสั่งยกเลิกการใช้ท่าเพราะเห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามข้อตกลงต่อไปได้และข้อ 4.3 ระบุว่าหากจำเลยประสงค์จะเลิกการใช้ท่า ให้แจ้งแก่โจทก์ทราบเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้า 3 วัน และหากขนถ่ายตู้สินค้าไม่ได้ตามเกณฑ์ในข้อ 4.1ให้คิดเงินชดเชยโดยถือวันสุดท้ายที่เรือของจำเลยออกจากท่าเป็นวันรวมเวลาคำนวณจำนวนตู้ ตามบันทึกดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่มิได้กำหนดเงื่อนเวลาสิ้นสุดไว้ ข้อตกลงจะสิ้นสุดลงต่อเมื่อได้มีการบอกเลิกของคู่กรณีดังที่กำหนดไว้ ส่วนระยะเวลา 1 ปีที่ระบุไว้ในข้อ 4.1 เป็นเพียงการกำหนดให้มีการคิดเงินชดเชยกันเมื่อครบรอบ 1 ปีแล้วเท่านั้น หาใช่เงื่อนเวลาสิ้นสุดของข้อตกลงตามบันทึกไม่
of 116