คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุทธิ นิชโรจน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,157 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4179/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: ผู้ซื้อผิดสัญญาไม่แบ่งแยกที่ดินและไม่ชำระเงิน ผู้ขายมีสิทธิริบมัดจำ
โจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 4โดยระบุให้ฟ้องจำเลยฐานผิดสัญญาจะซื้อจะขายคดีนี้และให้มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลในทางจำหน่ายสิทธิเป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนกระทำการครั้งเดียว คือการดำเนินกระบวนพิจารณาเฉพาะคดีนี้โดยมีอำนาจตามความที่ปรากฏในเอกสาร ซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์10 บาท ตามบัญชีอากรแสตมป์ข้อ 7(ก) และกรณีนี้มีผู้มอบอำนาจ3 คน ซึ่งมิได้เป็นผู้มอบอำนาจร่วมกัน แต่มอบอำนาจในตราสารฉบับเดียวกัน ต้องปิดอากรแสตมป์ตามรายตัวบุคคล สำหรับผู้มอบอำนาจคนหนึ่งเป็นเรื่องหนึ่ง โจทก์ปิดอากรแสตมป์รวม30 บาท ซึ่งครบถ้วนตามนัย ประมวลรัษฎากร มาตรา 108 และใช้เป็นพยานหลักฐานได้ โจทก์ทั้งสี่ฟ้องว่า จำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโดยได้บรรยายฟ้องแสดงเหตุให้เห็นว่าจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3แล้วจำเลยผิดสัญญาโดยไม่ไปรับโอนที่ดินและมอบตั๋วแลกเงินอาวัลชำระราคาที่ดินแก่โจทก์ตามกำหนดโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 จึงบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยจำเลยย่อมไม่มีอำนาจที่จะขออายัด ห้ามจำหน่ายจ่ายโอนที่ดินของโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ตามสัญญาจะซื้อจะขายต่อไปดังนั้นคำขอท้ายฟ้องที่ขอให้จำเลยยกเลิกเพิกถอนการอายัด ห้ามจำหน่ายจ่ายโอนที่ดินต่อสำนักงานที่ดินและต่อสำนักงานวางทรัพย์จึงมิใช่คนละเรื่องกับคำฟ้องส่วนโจทก์ที่ 4 ได้บรรยายฟ้องถึงการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินที่จะซื้อจะขาย โดยรับโอนมาจากโจทก์ที่ 3 และแสดงถึงนิติสัมพันธ์ ทั้งเหตุที่จำเลยผิดสัญญา กับการที่จำเลยไปอายัดที่ดินดังกล่าวทำให้โจทก์ที่ 4 เสียหาย พร้อมกับเรียกค่าเสียหายในการนี้ด้วย ดังนี้ ฟ้องโจทก์ทั้งสี่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ไม่เป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุม ในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทนี้ที่ดินดังกล่าวได้มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ทายาทของ ข.จึงเป็นเหตุให้สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแยกกันไปตามทายาทผู้รับมรดกที่ดินของ ข. แต่ละแปลง เนื้อหาสาระของสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาททั้ง 3 ฉบับเป็นอย่างเดียวกัน คู่สัญญาฝ่ายผู้จะซื้อเป็นบุคคลคนเดียวกันคือจำเลยนี้ ถือได้ว่าเป็นคดีที่คู่ความบางฝ่ายเป็นคู่ความรายเดียวกันจึงเป็นคดีที่เกี่ยวเนื่องกันหากแยกฟ้องก็สามารถขอให้พิจารณารวมกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 28โจทก์ทั้งสี่จึงย่อมใช้สิทธิร่วมกันฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันได้ ข้อฎีกาจำเลยซึ่งจำเลยได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การแล้วแต่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยให้ และจำเลยมิได้อุทธรณ์การที่จำเลยกลับมายกขึ้นฎีกาแม้ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ตาม แต่ปัญหาว่าผู้รับมอบอำนาจกระทำการนอกเหนืออำนาจหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาและศาลฎีกามีอำนาจรับวินิจฉัยให้ นอกจากโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 4 ดำเนินคดีแก่จำเลยในฐานะผิดสัญญาแล้วยังมอบอำนาจให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ในศาลด้วยการที่โจทก์ที่ 4 ฟ้องจำเลยและขอศาลบังคับจำเลยให้ทำการเพิกถอนที่ดินที่จำเลยอายัดไว้ มิให้จำหน่ายจ่ายโอนจึงเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกับการที่จำเลยผิดสัญญาและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ในศาลนั่นเองโจทก์ที่ 4 จึงหาได้กระทำการนอกเหนืออำนาจแต่อย่างใดไม่ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่พิพาทที่โจทก์ที่ 2ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ข. โดยโจทก์ที่ 4เป็นผู้รับมอบอำนาจเป็นคู่สัญญาฝ่ายผู้จะขาย และจำเลยเป็นคู่สัญญาฝ่ายผู้จะซื้อ สิทธิและหน้าที่ความรับผิดต่าง ๆ ตามสัญญาดังกล่าวจึงเป็นสิทธิและหน้าที่ของกองมรดกของ ข. เมื่อโจทก์ที่ 4 ได้รับมรดกที่ดินดังกล่าวโจทก์ที่ 4 จึงรับไปทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวด้วย โจทก์ที่ 4 จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน ข้อ 3 ระบุว่า "ทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่าจะทำการโอนและรับโอนที่ดินที่ซื้อขายในข้อ 1และผู้จะซื้อจะส่งมอบตั๋วแลกเงินอาวัลโดยธนาคารตามข้อ 2ให้แก่ผู้จะขายให้แล้วเสร็จตามกฎหมายจนกระทั่งสำนักงานที่ดินออกโฉนดใหม่ให้เรียบร้อย ทั้งนี้ภายในวันที่ 17 เมษายน 2531 นับแต่วันทำสัญญานี้เป็นต้นไปและในระหว่างก่อนถึงเวลากำหนดข้างต้นนี้ ผู้จะขายยินยอมให้ความร่วมมือในการที่จะแบ่งที่ดินที่ซื้อขายนี้เป็นแปลงย่อย ๆ ในนามเดิม และยินยอมให้ผู้จะซื้อทำการปรับปรุงถนนและที่ดินตลอดจนทำการก่อสร้างซ่อมแซมเพิ่มเติมได้ ยินยอมให้ขออนุญาตปลูกสร้าง ดัดแปลง ต่อเติมอาคารขอเลขบ้านมิเตอร์ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ การจัดสรรที่ดินหรือการขออนุญาตอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อหน่วยราชการรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในนามของผู้จะซื้อหรือผู้จะขายก็ได้ ส่วนค่าใช้จ่ายผู้จะซื้อเป็นผู้ออกเองทั้งสิ้น"จากข้อสัญญาดังกล่าวแสดงให้เห็นความประสงค์ของคู่สัญญาว่าในการดำเนินการเกี่ยวกับที่ดินทั้ง 3 แปลง ก่อนถึงกำหนดการโอนกรรมสิทธิ์ ผู้จะขายยินยอมให้ผู้จะซื้อเป็นผู้ดำเนินการแบ่งที่ดินที่จะซื้อจะขายเป็นแปลงย่อย ๆ ด้วยตนเองโดยผู้จะขายคือฝ่ายโจทก์ให้ความร่วมมือมอบอำนาจให้ผู้จะซื้อคือจำเลยดำเนินการ ดังนั้น การที่ยังมิได้มีการแบ่งแยกที่ดินที่จะซื้อจะขายออกเป็นแปลงย่อย ๆก่อนวันครบกำหนดสัญญาจะซื้อจะขายจึงไม่ใช่ความผิดของฝ่ายโจทก์ผู้จะขาย ทั้งการจดทะเบียนทางภารจำยอมฝ่ายโจทก์ก็ดำเนินการให้แล้วการที่จำเลยไม่ไปรับจดทะเบียนโอนที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน และไม่มอบตั๋วแลกเงินอาวัลโดยธนาคารให้แก่ฝ่ายโจทก์ภายในกำหนดตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่มีสิทธิที่จะเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากโจทก์และเมื่อสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเลิกกันเพราะความผิดของจำเลย โจทก์ทั้งสี่ย่อมมีอำนาจริบมัดจำที่จำเลยวางไว้เป็นประกันในการปฏิบัติตามสัญญาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4179/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: จำเลยผิดสัญญา แบ่งที่ดินไม่ทันตามกำหนด โจทก์มีสิทธิริบมัดจำ
โจทก์ที่1ที่2และที่3มอบอำนาจให้โจทก์ที่4โดยระบุให้ฟ้องจำเลยฐานผิดสัญญาจะซื้อจะขายคดีนี้และให้มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลในทางจำหน่ายสิทธิเป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนกระทำการครั้งเดียวคือการดำเนินกระบวนพิจารณาเฉพาะคดีนี้โดยมีอำนาจตามความที่ปรากฏในเอกสารซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์10บาทตามบัญชีอากรแสตมป์ข้อ7(ก)และกรณีนี้มีผู้มอบอำนาจ3คนซึ่งมิได้เป็นผู้มอบอำนาจร่วมกันแต่มอบอำนาจในตราสารฉบับเดียวกันต้องปิดอากรแสตมป์ตามรายตัวบุคคลสำหรับผู้มอบอำนาจคนหนึ่งเป็นเรื่องหนึ่งโจทก์ปิดอากรแสตมป์รวม30บาทซึ่งครบถ้วนตามนัยประมวลรัษฎากรมาตรา108และใช้เป็นพยานหลักฐานได้ โจทก์ทั้งสี่ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโดยได้บรรยายฟ้องแสดงเหตุให้เห็นว่าจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับโจทก์ที่1ถึงที่3แล้วจำเลยผิดสัญญาโดยไม่ไปรับโอนที่ดินและมอบตั๋วแลกเงินอาวัลชำระราคาที่ดินแก่โจทก์ตามกำหนดโจทก์ที่1ถึงที่3จึงบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยจำเลยย่อมไม่มีอำนาจที่จะขออายัดห้ามจำหน่ายจ่ายโอนที่ดินของโจทก์ที่1ที่2และที่4ตามสัญญาจะซื้อจะขายต่อไปดังนั้นคำขอท้ายฟ้องที่ขอให้จำเลยยกเลิกเพิกถอนการอายัดห้ามจำหน่ายจ่ายโอนที่ดินต่อสำนักงานที่ดินและต่อสำนักงานวางทรัพย์จึงมิใช่คนละเรื่องกับคำฟ้องส่วนโจทก์ที่4ได้บรรยายฟ้องถึงการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินที่จะซื้อจะขายโดยรับโอนมาจากโจทก์ที่3และแสดงถึงนิติสัมพันธ์ทั้งเหตุที่จำเลยผิดสัญญากับการที่จำเลยไปอายัดที่ดินดังกล่าวทำให้โจทก์ที่4เสียหายพร้อมกับเรียกค่าเสียหายในการนี้ด้วยดังนี้ฟ้องโจทก์ทั้งสี่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้วไม่เป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุม ในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทนี้ที่ดินดังกล่าวได้มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ทายาทของข.จึงเป็นเหตุให้สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแยกกันไปตามทายาทผู้รับมรดกที่ดินของข. แต่ละแปลงเนื้อหาสาระของสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาททั้ง3ฉบับเป็นอย่างเดียวกันคู่สัญญาฝ่ายผู้จะซื้อเป็นบุคคลคนเดียวกันคือจำเลยนี้ถือได้ว่าเป็นคดีที่คู่ความบางฝ่ายเป็นคู่ความรายเดียวกันจึงเป็นคดีที่เกี่ยวเนื่องกันหากแยกฟ้องก็สามารถขอให้พิจารณารวมกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา28โจทก์ทั้งสี่จึงย่อมใช้สิทธิร่วมกันฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันได้ ข้อฎีกาจำเลยซึ่งจำเลยได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การแล้วแต่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยให้และจำเลยมิได้อุทธรณ์การที่จำเลยกลับมายกขึ้นฎีกาแม้ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ตามแต่ปัญหาว่าผู้รับมอบอำนาจกระทำการนอกเหนืออำนาจหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจำเลยย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาและศาลฎีกามีอำนาจรับวินิจฉัยให้ นอกจากโจทก์ที่1ที่2และที่3มอบอำนาจให้โจทก์ที่4ดำเนินคดีแก่จำเลยในฐานะผิดสัญญาแล้วยังมอบอำนาจให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆในศาลด้วยการที่โจทก์ที่4ฟ้องจำเลยและขอศาลบังคับจำเลยให้ทำการเพิกถอนที่ดินที่จำเลยอายัดไว้มิให้จำหน่ายจ่ายโอนจึงเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกับการที่จำเลยผิดสัญญาและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆในศาลนั่นเองโจทก์ที่4จึงหาได้กระทำการนอกเหนืออำนาจแต่อย่างใดไม่ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่พิพาทที่โจทก์ที่2ในฐานะผู้จัดการมรดกของข. โดยโจทก์ที่4เป็นผู้รับมอบอำนาจเป็นคู่สัญญาฝ่ายผู้จะขายและจำเลยเป็นคู่สัญญาฝ่ายผู้จะซื้อสิทธิและหน้าที่ความรับผิดต่างๆตามสัญญาดังกล่าวจึงเป็นสิทธิและหน้าที่ของกองมรดกของข. เมื่อโจทก์ที่4ได้รับมรดกที่ดินดังกล่าวโจทก์ที่4จึงรับไปทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวด้วยโจทก์ที่4จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินข้อ3ระบุว่า"ทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่าจะทำการโอนและรับโอนที่ดินที่ซื้อขายในข้อ1และผู้จะซื้อจะส่งมอบตั๋วแลกเงินอาวัลโดยธนาคารตามข้อ2ให้แก่ผู้จะขายให้แล้วเสร็จตามกฎหมายจนกระทั่งสำนักงานที่ดินออกโฉนดใหม่ให้เรียบร้อยทั้งนี้ภายในวันที่17เมษายน2531นับแต่วันทำสัญญานี้เป็นต้นไปและในระหว่างก่อนถึงเวลากำหนดข้างต้นนี้ผู้จะขายยินยอมให้ความร่วมมือในการที่จะแบ่งที่ดินที่ซื้อขายนี้เป็นแปลงย่อยๆในนามเดิมและยินยอมให้ผู้จะซื้อทำการปรับปรุงถนนและที่ดินตลอดจนทำการก่อสร้างซ่อมแซมเพิ่มเติมได้ยินยอมให้ขออนุญาตปลูกสร้างดัดแปลงต่อเติมอาคารขอเลขบ้านมิเตอร์ไฟฟ้าประปาโทรศัพท์การจัดสรรที่ดินหรือการขออนุญาตอื่นๆที่จำเป็นต่อหน่วยราชการรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในนามของผู้จะซื้อหรือผู้จะขายก็ได้ส่วนค่าใช้จ่ายผู้จะซื้อเป็นผู้ออกเองทั้งสิ้น"จากข้อสัญญาดังกล่าวแสดงให้เห็นความประสงค์ของคู่สัญญาว่าในการดำเนินการเกี่ยวกับที่ดินทั้ง3แปลงก่อนถึงกำหนดการโอนกรรมสิทธิ์ผู้จะขายยินยอมให้ผู้จะซื้อเป็นผู้ดำเนินการแบ่งที่ดินที่จะซื้อจะขายเป็นแปลงย่อยๆด้วยตนเองโดยผู้จะขายคือฝ่ายโจทก์ให้ความร่วมมือมอบอำนาจให้ผู้จะซื้อคือจำเลยดำเนินการดังนั้นการที่ยังมิได้มีการแบ่งแยกที่ดินที่จะซื้อจะขายออกเป็นแปลงย่อยๆก่อนวันครบกำหนดสัญญาจะซื้อจะขายจึงไม่ใช่ความผิดของฝ่ายโจทก์ผู้จะขายทั้งการจดทะเบียนทางภารจำยอมฝ่ายโจทก์ก็ดำเนินการให้แล้วการที่จำเลยไม่ไปรับจดทะเบียนโอนที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและไม่มอบตั๋วแลกเงินอาวัลโดยธนาคารให้แก่ฝ่ายโจทก์ภายในกำหนดตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่มีสิทธิที่จะเรียกค่าเสียหายใดๆจากโจทก์และเมื่อสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเลิกกันเพราะความผิดของจำเลยโจทก์ทั้งสี่ย่อมมีอำนาจริบมัดจำที่จำเลยวางไว้เป็นประกันในการปฏิบัติตามสัญญาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4179/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน, การมอบอำนาจ, และผลของการผิดสัญญา
โจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 4 โดยระบุให้ฟ้องจำเลยฐานผิดสัญญาจะซื้อจะขายคดีนี้ และให้มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลในทางจำหน่ายสิทธิ เป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนกระทำการครั้งเดียว คือการดำเนินกระบวนพิจารณาเฉพาะคดีนี้โดยมีอำนาจตามความที่ปรากฏในเอกสาร ซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์ 10 บาท ตามบัญชีอากรแสตมป์ข้อ 7 (ก) และกรณีนี้มีผู้มอบอำนาจ 3 คน ซึ่งมิได้เป็นผู้มอบอำนาจร่วมกัน แต่มอบอำนาจในตราสารฉบับเดียวกัน ต้องปิดอากรแสตมป์ตามรายตัวบุคคล สำหรับผู้มอบอำนาจคนหนึ่งเป็นเรื่องหนึ่ง โจทก์ปิดอากรแสตมป์รวม 30 บาท ซึ่งครบถ้วนตามนัย ป.รัษฎากร มาตรา 108 และใช้เป็นพยานหลักฐานได้
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องว่า จำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโดยได้บรรยายฟ้องแสดงเหตุให้เห็นว่าจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับโจทก์ที่ 1ถึงที่ 3 แล้วจำเลยผิดสัญญาโดยไม่ไปรับโอนที่ดินและมอบตั๋วแลกเงินอาวัลชำระราคาที่ดินแก่โจทก์ตามกำหนด โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 จึงบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยจำเลยย่อมไม่มีอำนาจที่จะขออายัด ห้ามจำหน่ายจ่ายโอนที่ดินของโจทก์ที่ 1 ที่ 2และที่ 4 ตามสัญญาจะซื้อจะขายต่อไป ดังนั้นคำขอท้ายฟ้องที่ขอให้จำเลยยกเลิกเพิกถอนการอายัด ห้ามจำหน่ายจ่ายโอนที่ดินต่อสำนักงานที่ดินและต่อสำนักงานวางทรัพย์จึงมิใช่คนละเรื่องกับคำฟ้อง ส่วนโจทก์ที่ 4 ได้บรรยายฟ้องถึงการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินที่จะซื้อจะขาย โดยรับโอนมาจากโจทก์ที่ 3 และแสดงถึงนิติสัมพันธ์ ทั้งเหตุที่จำเลยผิดสัญญา กับการที่จำเลยไปอายัดที่ดินดังกล่าวทำให้โจทก์ที่ 4 เสียหาย พร้อมกับเรียกค่าเสียหายในการนี้ด้วย ดังนี้ ฟ้องโจทก์ทั้งสี่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ไม่เป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุม
ในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทนี้ที่ดินดังกล่าวได้มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ทายาทของ ข.จึงเป็นเหตุให้สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแยกกันไปตามทายาทผู้รับมรดกที่ดินของ ข.แต่ละแปลง เนื้อหาสาระของสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาททั้ง 3 ฉบับ เป็นอย่างเดียวกัน คู่สัญญาฝ่ายผู้จะซื้อเป็นบุคคลคนเดียวกันคือจำเลยนี้ ถือได้ว่าเป็นคดีที่คู่ความบางฝ่ายเป็นคู่ความรายเดียวกันจึงเป็นคดีที่เกี่ยวเนื่องกัน หากแยกฟ้องก็สามารถขอให้พิจารณารวมกันได้ ตามป.วิ.พ.มาตรา 28 โจทก์ทั้งสี่จึงย่อมใช้สิทธิร่วมกันฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันได้
ข้อฎีกาจำเลยซึ่งจำเลยได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การแล้วแต่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยให้ และจำเลยมิได้อุทธรณ์ การที่จำเลยกลับมายกขึ้นฎีกาแม้ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ตาม แต่ปัญหาว่าผู้รับมอบอำนาจกระทำการนอกเหนืออำนาจหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาและศาลฎีกามีอำนาจรับวินิจฉัยให้
นอกจากโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 4ดำเนินคดีแก่จำเลยในฐานะผิดสัญญาแล้ว ยังมอบอำนาจให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ในศาลด้วย การที่โจทก์ที่ 4 ฟ้องจำเลยและขอศาลบังคับจำเลยให้ทำการเพิกถอนที่ดินที่จำเลยอายัดไว้ มิให้จำหน่ายจ่ายโอนจึงเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกับการที่จำเลยผิดสัญญาและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ในศาลนั่นเองโจทก์ที่ 4 จึงหาได้กระทำการนอกเหนืออำนาจแต่อย่างใดไม่
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่พิพาทที่โจทก์ที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ข.โดยโจทก์ที่ 4 เป็นผู้รับมอบอำนาจเป็นคู่สัญญาฝ่ายผู้จะขาย และจำเลยเป็นคู่สัญญาฝ่ายผู้จะซื้อ สิทธิและหน้าที่ความรับผิดต่าง ๆ ตามสัญญาดังกล่าวจึงเป็นสิทธิและหน้าที่ของกองมรดกของ ข. เมื่อโจทก์ที่ 4 ได้รับมรดกที่ดินดังกล่าวโจทก์ที่ 4 จึงรับไปทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวด้วย โจทก์ที่ 4 จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน ข้อ 3 ระบุว่า "ทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่าจะทำการโอนและรับโอนที่ดินที่ซื้อขายในข้อ 1 และผู้จะซื้อจะส่งมอบตั๋วแลกเงินอาวัลโดยธนาคารตามข้อ 2 ให้แก่ผู้จะขายให้แล้วเสร็จตามกฎหมายจนกระทั่งสำนักงานที่ดินออกโฉนดใหม่ให้เรียบร้อย ทั้งนี้ภายในวันที่ 17 เมษายน 2531 นับแต่วันทำสัญญานี้เป็นต้นไป และในระหว่างก่อนถึงเวลากำหนดข้างต้นนี้ ผู้จะขายยินยอมให้ความร่วมมือในการที่จะแบ่งที่ดินที่ซื้อขายนี้เป็นแปลงย่อย ๆ ในนามเดิม และยินยอมให้ผู้จะซื้อทำการปรับปรุงถนนและที่ดินตลอดจนทำการก่อสร้างซ่อมแซมเพิ่มเติมได้ ยินยอมให้ขออนุญาตปลูกสร้าง ดัดแปลง ต่อเติมอาคาร ขอเลขบ้านมิเตอร์ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ การจัดสรรที่ดิน หรือการขออนุญาตอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในนามของผู้จะซื้อหรือผู้จะขายก็ได้ ส่วนค่าใช้จ่ายผู้จะซื้อเป็นผู้ออกเองทั้งสิ้น" จากข้อสัญญาดังกล่าวแสดงให้เห็นความประสงค์ของคู่สัญญาว่า ในการดำเนินการเกี่ยวกับที่ดินทั้ง 3 แปลงก่อนถึงกำหนดการโอนกรรมสิทธิ์ ผู้จะขายยินยอมให้ผู้จะซื้อเป็นผู้ดำเนินการแบ่งที่ดินที่จะซื้อจะขายเป็นแปลงย่อย ๆ ด้วยตนเอง โดยผู้จะขายคือฝ่ายโจทก์ให้ความร่วมมือมอบอำนาจให้ผู้จะซื้อคือจำเลยดำเนินการ ดังนั้น การที่ยังมิได้มีการแบ่งแยกที่ดินที่จะซื้อจะขายออกเป็นแปลงย่อย ๆ ก่อนวันครบกำหนดสัญญาจะซื้อจะขายจึงไม่ใช่ความผิดของฝ่ายโจทก์ผู้จะขาย ทั้งการจดทะเบียนทางภาระจำยอมฝ่ายโจทก์ก็ดำเนินการให้แล้ว การที่จำเลยไม่ไปรับจดทะเบียนโอนที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน และไม่มอบตั๋วแลกเงินอาวัลโดยธนาคารให้แก่ฝ่ายโจทก์ภายในกำหนดตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ไม่มีสิทธิที่จะเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากโจทก์ และเมื่อสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเลิกกันเพราะความผิดของจำเลย โจทก์ทั้งสี่ย่อมมีอำนาจริบมัดจำที่จำเลยวางไว้เป็นประกันในการปฏิบัติตามสัญญาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4152/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน ส.ค.1 จากการยึดถือครองทำประโยชน์
ที่ดิน ส.ค.1 ที่โจทก์ซื้อมาจาก ล.เป็นคนละส่วนกับที่ดินที่กระทรวงการคลังซื้อจาก ข.เพื่อใช้ในราชการกรมตำรวจ เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินจาก ล.แล้ว โจทก์ได้เข้ายึดถือครองทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวโดยเจตนายึดถือเพื่อตน โจทก์จึงได้สิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1367

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4152/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การซื้อขายที่ดินซ้อนทับและเจตนายึดถือเพื่อตน
ที่ดินส.ค.1ที่โจทก์ซื้อมาจากล. เป็นคนละส่วนกับที่ดินที่กระทรวงการคลังซื้อจากข.เพื่อใช้ในราชการกรมตำรวจเมื่อโจทก์ซื้อที่ดินจากล.แล้วโจทก์ได้เข้ายึดถือครองทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวโดยเจตนายึดถือเพื่อตนโจทก์จึงได้สิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1367

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4150/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องทุกข์แจ้งความเท็จและละเมิดสิทธิทางทรัพย์สินทางปัญญา: การกระทำโดยสุจริตเพื่อรักษาสิทธิของตนเอง
จำเลยที่1ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ที่1ในข้อหาเอารูปและรอยประดิษฐ์ในการประกอบการค้าของจำเลยที่1มาใช้หรือทำให้ปรากฎที่สินค้าหีบห่อวัตถุที่ใช้ห่อหุ้มเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของจำเลยที่1อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา272(1)เท่านั้นจำเลยที่1ไม่ได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ที่1ในความผิดฐานปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรา273และมาตรา274อันเป็นความผิดเกี่ยวด้วยเครื่องหมายการค้าในอันที่จะต้องพิจารณาว่าจำเลยที่1ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามกฎหมายแล้วหรือไม่เมื่อจำเลยที่1มีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้ารูปและรอยประดิษฐ์ตราม้าดาวแล้วแม้จำเลยที่1จะไม่ใช่เจ้าของเครื่องหมายการค้ารูปและรอยประดิษฐ์ตราม้าดาวตามกฎหมายจำเลยที่1ก็ย่อมมีสิทธิ์ร้องทุกข์ให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ที่1ในข้อหาเอารูปและรอยประดิษฐ์ในการประกอบการค้าของจำเลยที่1มาใช้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายได้ รองเท้าฟ้องน้ำตราม้าดาวของจำเลยที่1และตราหมีสู้งูของโจทก์ที่1ต่างมีรูปดาวห้าแฉกอยู่ภายในวงกลมเล็กและวงกลมเล็กอยู่ภายในวงกลมใหญ่อีกชั้นหนึ่งระหว่างวงกลมทั้งสองมีอักษรโรมันอยู่ด้านบนและมีอักษรไทยอยู่ด้านล่างเหมือนกันตัวอักษรดังกล่าวและวงกลมเล็กกับวงกลมใหญ่มีขนาดเท่าๆกันการวางตำแหน่งรูปและรอยประดิษฐ์ดังกล่าวมีลักษณะเหมือนกันจะผิดกันก็แต่เฉพาะรูปสัตว์ที่อยู่ในดาวห้าแตกกับตัวอักษรโรมันและอักษรไทยเท่านั้นส่วนหูรองเท้านั้นนอกจากจะมีรูปและรอยประดิษฐ์ที่คล้ายคลึงกันแล้วหูรองเท้าที่โจทก์ที่1ผลิตยังมีรูปเกือกม้าเช่นเดียวกับของจำเลยซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับตัวม้าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับตัวหมีและงูที่เป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์อีกทั้งถุงพลาสติกที่ใช้บรรจุรองเท้าของโจทก์ทั้งสี่ก็มีลายเส้นและลวดลายเหมือนกันและโค้งไปทางเดียวกันขนาดเส้นโค้งก็โตเท่ากันกับของจำเลยที่1สีของลายเส้นก็เหมือนกันยิ่งสนับสนุนถึงมูลเหตุที่มีน้ำหนักพอทำให้จำเลยที่2และที่3ในฐานะผู้มีอำนาจทำแทนจำเลยที่1เชื่อโดยสุจริตใจว่าโจทก์ทั้งสี่ได้นำรูปและรอยประดิษฐ์ในการประกอบการค้าของจำเลยที่1ไปใช้กับรองเท้าฟ้องน้ำที่โจทก์ทั้งสี่ผลิตขึ้นเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของจำเลยที่1การที่จำเลยที่1โดยจำเลยที่2และที่3ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ทั้งสี่จึงเป็นการกระทำเพื่อรักษาสิทธิและผลประโยชน์ในการประกอบกิจการค้าของตนโดยสุจริตมาได้มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ทั้งสี่ส่วนขั้นตอนหลังจากที่จำเลยไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนแล้วเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนผู้รับการร้องทุกข์ที่จะใช้ดุลพินิจในการดำเนินคดีแก่โจทก์หรือไม่จำเลยไม่มีส่วนหรือไม่มีสิทธิเข้ามาเกี่ยวข้องกับการปฎิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวนการกระทำของจำเลยที่1ถึงที่3จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4114/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: หลักการกำหนดค่าทดแทนตามราคาตลาดและผลกระทบจากการล่าช้าในการชดใช้
แม้การเวนคืนที่ดินของโจทก์เป็นไปตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดิน สายแยกถนนจรัญสนิทวงศ์... พ.ศ. 2524 ซึ่งกฎหมายแม่บทว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นคือ ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 ก็ตาม แต่ต่อมามีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28พฤศจิกายน 2515(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2530พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ออกใช้บังคับ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2530 มาตรา 7ให้ยกเลิกความในส่วนที่ 3 การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวง ข้อ 63ถึง ข้อ 80 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าว และมาตรา 9 วรรคสอง กับพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 36 วรรคสองบัญญัติรับกันว่าการเวนคืนและการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวงและตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ได้ปฏิบัติไปแล้วก่อนวันใช้บังคับพระราชบัญญัติทั้งสองนี้ เป็นอันใช้ได้ แต่การดำเนินการต่อไปให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ส่วนประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ข้อ 5 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า บทบัญญัติมาตรา 9วรรคสี่ และวรรคห้า... แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับแก่การเวนคืนซึ่งการกำหนดราคาเบื้องต้น การจัดซื้อ การจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทน การอุทธรณ์หรือการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ใช้บังคับด้วย ขณะที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28พฤศจิกายน 2515(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2530พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 มีผลใช้บังคับการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายแยกถนนจรัญสนิทวงศ์ฯ ยังไม่เสร็จสิ้นเพราะจำเลยที่ 1 เพิ่งมีหนังสือลงวันที่ 27 ธันวาคม 2534แจ้งการนำเงินค่าทดแทนไปฝากไว้แก่ธนาคารออมสินถึงโจทก์ ดังนั้นการกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์จึงต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 ซึ่งบัญญัติขึ้นเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 ที่ให้กำหนดเงินค่าทดแทนที่จะให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนโดยคำนึงถึง (1) ถึง (5) ก็เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม ซึ่งเป็นหลักการสำคัญของการกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้ถูกเวนคืน ในกรณีปกติแล้วการกำหนดเงินค่าทดแทนโดยคำนึงถึง(1) ถึง (5) นั้นย่อมเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม สำหรับคดีนี้พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดิน สายแยกถนนจรัญสนิทวงศ์ฯ ซึ่งเวนคืนที่ดินของโจทก์ทั้งสองมีผลใช้บังคับมาตั้งแต่วันที่ 4 กันยายน2524 แล้ว แต่กลับปรากฏว่ากรมทางหลวงจำเลยที่ 1 เพิ่งจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์โดยวิธีนำเงินฝากธนาคารออมสิน เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2534 การที่จำเลยที่ 1 และอธิบดีกรมทางหลวงจำเลยที่ 2 ไม่ดำเนินการชดใช้ค่าทดแทนภายในเวลาอันควรแก่โจทก์และปล่อยระยะเวลามาเนิ่นนานถึง 10 ปี เป็นการดำเนินการที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 มาตรา 33 วรรคสาม ซึ่งใช้บังคับในขณะที่ที่ดินของโจทก์ทั้งสองถูกเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายแยกถนนจรัญสนิทวงศ์ฯ และทำให้โจทก์ขาดโอกาสที่จะนำเอาเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ไปซื้อที่ดินแปลงใหม่ที่มีราคาใกล้เคียงหรือสูงกว่าที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนไม่มากนักได้ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ดังนั้นการที่กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์โดยคำนึงถึงมาตรา 21 เฉพาะอนุมาตรา (1) ถึง (4) คือ ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดประกอบราคาที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่ประกอบราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมประกอบสภาพและที่ตั้งของที่ดินของโจทก์ทั้งสองในพ.ศ. 2524 อันเป็นปีที่ใช้บังคับพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายแยกถนนจรัญสนิทวงศ์ฯ อย่างกรณีปกติย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ ดังนั้นการที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ตามบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดิน ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2534 และเป็นราคาที่โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ขอเพิ่มเงินค่าทดแทนต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมด้วย นับว่าเป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งสองผู้ถูกเวนคืนและสังคมซึ่งชอบด้วยความมุ่งหมายหลักของมาตรา 21แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4114/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินค่าเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.เวนคืน และความเป็นธรรมต่อผู้ถูกเวนคืน
แม้การเวนคืนที่ดินของโจทก์ทั้งสองเป็นไปตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายแยกถนนจรัญสนิทวงศ์ฯ พ.ศ.2524ซึ่งกฎหมายแม่บทว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นคือป.ว.295ก็ตามแต่ขณะที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมป.ว.295(ฉบับที่2)พ.ศ.2530พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530และประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่44มีผลใช้บังคับการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินฯยังไม่เสร็จสิ้นเพราะจำเลยที่1เพิ่งมีหนังสือลงวันที่27ธันวาคม2534แจ้งการนำเงินค่าทดแทนไปฝากไว้แก่ธนาคารออมสินถึงโจทก์ทั้งสองดังนั้นการกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ทั้งสองจึงต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯมาตรา21ซึ่งมาตรา21ให้กำหนดเงินค่าทดแทนที่จะให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนโดยคำนึงถึง(1)ถึง(5)ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินตามบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่1มกราคม2534และเป็นราคาที่โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ขอเพิ่มเงินค่าทดแทนต่อรัฐมนตรีฯด้วยจึงเป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งสองผู้ถูกเวนคืนและสังคมซึ่งชอบด้วยความมุ่งหมายหลักของมาตรา21แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4054/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์, การรอการลงโทษ, และการริบของกลาง: ศาลฎีกาแก้ไขโทษและสั่งริบเครื่องมือใช้ในการกระทำผิด
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยลักยางอะไหล่รถยนต์โดยใช้เครื่องมือถอดยางอะไหล่ของกลางในการกระทำผิด และขอให้ริบของกลางเครื่องมือดังกล่าวเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิดศาลมีอำนาจสั่งริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1)แต่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาโดยไม่มีคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องของกลางดังกล่าวนั้นไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาพิพากษาให้ริบของกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4008/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจฟ้องคดี: หนังสือมอบอำนาจเดิมยังใช้ได้หากคดีก่อนหน้ายังไม่เสร็จสิ้น แม้จะเคยฟ้องไปแล้ว
จำเลยที่2ได้ให้การต่อสู้เกี่ยวกับหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ไว้และยกปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องดังกล่าวซึ่งเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นอ้างเป็นประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์แล้วคดีจึงมีประเด็นตามคำแก้อุทธรณ์ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยให้ โจทก์มอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาผิดสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันไปจนเสร็จการแม้ผู้รับมอบอำนาจโจทก์จะเคยฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาดังกล่าวมาครั้งหนึ่งแล้วก็ตามแต่ในคดีเดิมศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพราะโจทก์ขาดนัดพิจารณากรณีจึงยังไม่เสร็จการตามที่ได้มอบอำนาจไว้การที่ผู้รับมอบอำนาจโจทก์อาศัยหนังสือมอบอำนาจที่เคยฟ้องจำเลยทั้งสองในคดีเดิมมาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ใหม่ภายในกำหนดอายุความในข้อหาเดิมอันเป็นมูลหนี้เดียวกันย่อมเป็นการฟ้องตามข้อกำหนดของหนังสือมอบอำนาจจึงไม่จำต้องทำหนังสือมอบอำนาจใหม่
of 116