พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,157 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1750/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีภาษีอากรเริ่มต้นเมื่อผู้มีอำนาจของนิติบุคคลทราบการตายของผู้เสียภาษี
กองกฎหมายและคดีได้ทำบันทึกให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รับทราบถึงการตายของ ย.เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2541 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงลายมือชื่อรับทราบการตายของ ย. ในวันนั้นโดยจำเลยมิได้นำสืบโต้แย้งให้เห็นเป็นอย่างอื่นถือได้ว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเพิ่งทราบการตายของ ย. ในวันดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 7 เมษายน2541 จึงยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้รู้ถึงความตายของ ย. ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ โจทก์มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนตามพระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการกรุงเทพมหานคร การนับอายุความจึงต้อง เริ่มนับตั้งแต่วันที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครรู้ถึง การตายของ ย. มิใช่นับแต่วันที่สำนักงานเขตบางกอกน้อย รับแจ้งการตายของ ย.แม้สำนักงานเขตดังกล่าวเป็นหน่วยงานของโจทก์ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1750/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับอายุความคดี การตายของบุคคล และฐานะโจทก์เป็นนิติบุคคล
กองกฎหมายและคดีได้ทำบันทึกให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครรับทราบถึงการตายของ ย. เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2541 และ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงลายมือชื่อรับทราบการตายของ ย.ในวันนั้นโดยจำเลยมิได้นำสืบโต้แย้งให้เห็นเป็นอย่างอื่น ถือได้ว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเพิ่งทราบการตายของ ย.ในวันดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2541 จึงยังไม่พ้นกำหนด1 ปี นับแต่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้รู้ถึงความตายของ ย. ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร การนับอายุความจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครรู้ถึงการตายของ ย.มิใช่นับแต่วันที่สำนักงานเขตบางกอกน้อยรับแจ้งการตายของ ย. แม้สำนักงานเขตดังกล่าวเป็นหน่วยงานของโจทก์ก็ตาม
โจทก์มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร การนับอายุความจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครรู้ถึงการตายของ ย.มิใช่นับแต่วันที่สำนักงานเขตบางกอกน้อยรับแจ้งการตายของ ย. แม้สำนักงานเขตดังกล่าวเป็นหน่วยงานของโจทก์ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1499/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ประกอบการที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี และภาษีซื้อที่จ่ายให้ไม่มีสิทธิหัก
ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 86 และมาตรา 86/13 ผู้ที่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีได้คือ ผู้ประกอบการจดทะเบียนเท่านั้น ส่วนผู้ประกอบการอื่นที่มิได้จดทะเบียน แม้จะประกอบกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 ก็ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี และหากผู้ประกอบการซึ่งมิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนฝ่าฝืนออกใบกำกับภาษี มาตรา 88/1 ก็บัญญัติให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มตามจำนวนที่ปรากฏในใบกำกับภาษี พร้อมทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้
บริษัท พ. ขายสินค้าให้โจทก์มีราคาถึง 4,300,000 บาท การประกอบการของบริษัทดังกล่าวจึงมีมูลค่าของฐานภาษีในการประกอบกิจการเกินมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม ซึ่ง พ.ร.ฎ. ออกตามความใน ป. รัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มและมูลค่าของฐานภาษีของกิจการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/12 แห่ง ป. รัษฎากร (ฉบับที่ 237) พ.ศ. 2534 กำหนดไว้ไม่เกิน 600,000 บาท ดังนั้น บริษัท พ. จึงเป็นผู้ประกอบการที่มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ปรากฏว่าบริษัท พ. มิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม บริษัท พ. จึงไม่มีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและออกใบกำกับภาษีให้แก่โจทก์ การที่บริษัท พ. เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากโจทก์เป็นเงิน 301,000 บาท จึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ และออกใบกำกับภาษีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีหน้าที่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่บริษัท พ.
ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 82/4 วรรคท้าย มีความหมายว่าหากเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการที่ไม่ได้จดทะเบียนเรียกเก็บแล้ว ย่อมไม่เป็นภาษีซื้อของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็นผู้ซื้อสินค้านั้น ดังนั้น แม้โจทก์จะได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้บริษัท พ. ไปแล้วก็ตาม โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะนำภาษีซื้อดังกล่าวไปหักออกจากภาษีขายของโจทก์ตามมาตรา 82/3 ได้ ทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 82/5 เนื่องจากบริษัท พ. ไม่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นเดียวกับโจทก์ แม้โจทก์จะชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่บริษัท พ. ไปโดยสุจริต เนื่องจากเข้าใจว่าบริษัทดังกล่าวมีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและออกใบกำกับภาษีให้โจทก์ได้โดยชอบก็ตาม แต่เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องตรวจสอบให้ได้ความแน่ชัดว่าบริษัท พ. ซึ่งเป็นคู่สัญญาของโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและออกใบกำกับภาษีให้แก่โจทก์ได้ การที่โจทก์มิได้ตรวจสอบถือเป็นความบกพร่องของโจทก์ส่วนหนึ่ง โจทก์จึงชอบที่จะว่ากล่าวเอากับบริษัท พ. เอง โจทก์จะนำภาษีซื้อดังกล่าวไปหักออกจากภาษีขายของโจทก์ไม่ได้ เมื่อโจทก์นำภาษีซื้อดังกล่าวไปหักออกจากภาษีขาย จึงมีผลเท่ากับโจทก์เสียภาษีไม่ครบถ้วน เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินให้โจทก์ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มที่ชำระไม่ครบถ้วนดังกล่าว พร้อมเงินเพิ่มได้
บริษัท พ. ขายสินค้าให้โจทก์มีราคาถึง 4,300,000 บาท การประกอบการของบริษัทดังกล่าวจึงมีมูลค่าของฐานภาษีในการประกอบกิจการเกินมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม ซึ่ง พ.ร.ฎ. ออกตามความใน ป. รัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มและมูลค่าของฐานภาษีของกิจการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/12 แห่ง ป. รัษฎากร (ฉบับที่ 237) พ.ศ. 2534 กำหนดไว้ไม่เกิน 600,000 บาท ดังนั้น บริษัท พ. จึงเป็นผู้ประกอบการที่มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ปรากฏว่าบริษัท พ. มิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม บริษัท พ. จึงไม่มีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและออกใบกำกับภาษีให้แก่โจทก์ การที่บริษัท พ. เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากโจทก์เป็นเงิน 301,000 บาท จึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ และออกใบกำกับภาษีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีหน้าที่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่บริษัท พ.
ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 82/4 วรรคท้าย มีความหมายว่าหากเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการที่ไม่ได้จดทะเบียนเรียกเก็บแล้ว ย่อมไม่เป็นภาษีซื้อของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็นผู้ซื้อสินค้านั้น ดังนั้น แม้โจทก์จะได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้บริษัท พ. ไปแล้วก็ตาม โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะนำภาษีซื้อดังกล่าวไปหักออกจากภาษีขายของโจทก์ตามมาตรา 82/3 ได้ ทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 82/5 เนื่องจากบริษัท พ. ไม่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นเดียวกับโจทก์ แม้โจทก์จะชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่บริษัท พ. ไปโดยสุจริต เนื่องจากเข้าใจว่าบริษัทดังกล่าวมีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและออกใบกำกับภาษีให้โจทก์ได้โดยชอบก็ตาม แต่เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องตรวจสอบให้ได้ความแน่ชัดว่าบริษัท พ. ซึ่งเป็นคู่สัญญาของโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและออกใบกำกับภาษีให้แก่โจทก์ได้ การที่โจทก์มิได้ตรวจสอบถือเป็นความบกพร่องของโจทก์ส่วนหนึ่ง โจทก์จึงชอบที่จะว่ากล่าวเอากับบริษัท พ. เอง โจทก์จะนำภาษีซื้อดังกล่าวไปหักออกจากภาษีขายของโจทก์ไม่ได้ เมื่อโจทก์นำภาษีซื้อดังกล่าวไปหักออกจากภาษีขาย จึงมีผลเท่ากับโจทก์เสียภาษีไม่ครบถ้วน เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินให้โจทก์ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มที่ชำระไม่ครบถ้วนดังกล่าว พร้อมเงินเพิ่มได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1499/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ประกอบการที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี และภาษีซื้อจากผู้ออกใบกำกับภาษีที่ไม่ถูกต้องหักลดหย่อนไม่ได้
ประมวลรัษฎากร มาตรา 86 กำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียน จัดทำใบกำกับภาษี สำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการ ทุกครั้ง และมาตรา 86/13 ระบุห้ามมิให้บุคคลซึ่งมิใช่ ผู้ประกอบการจดทะเบียน ออกใบกำกับภาษี ดังนั้น ผู้ที่มีสิทธิ ออกใบกำกับภาษีได้คือผู้ประกอบการจดทะเบียนเท่านั้น ส่วนผู้ประกอบการอื่นที่มิได้จดทะเบียน แม้จะประกอบกิจการที่อยู่ในบังคับ ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร ก็ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี หากผู้ประกอบการซึ่งมิใช่ผู้ประกอบการ การจดทะเบียนฝ่าฝืนออกใบกำกับภาษี มาตรา 88/1 ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มตามจำนวนที่ปรากฏ ในใบกำกับภาษี พร้อมทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้ เมื่อบริษัท พ. ขายสินค้าให้โจทก์มีราคาถึง 4,300,000 บาท การประกอบการของบริษัทดังกล่าวจึงมีมูลค่าของฐานภาษีในการประกอบกิจการเกินมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม ซึ่ง พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมซึ่งได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม และมูลค่าของฐานภาษีของกิจการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/12 แห่งประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 237) พ.ศ. 2534 กำหนดไว้ไม่เกิน 600,000 บาท ดังนั้น บริษัทพ. จึงเป็นผู้ประกอบการที่มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มแต่บริษัทพ. มิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม บริษัทดังกล่าวจึงไม่มีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและออกใบกำกับภาษีให้แก่โจทก์ การที่บริษัทพ. เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากโจทก์เป็นเงิน301,000 บาท จึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ และออกใบกำกับภาษีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีหน้าที่ชำระ ภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่บริษัทพ.และถึงแม้ว่าโจทก์จะได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้บริษัทพ.ไปแล้วก็ตาม โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะนำภาษีซื้อดังกล่าวไปหักออกจากภาษีขายของโจทก์ตามมาตรา 82/3 ได้เนื่องจากบริษัทพ.ไม่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นเดียวกับโจทก์ แม้โจทก์จะชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่บริษัทพ.ไปโดยสุจริตเนื่องจากเข้าใจว่าบริษัทดังกล่าวมีสิทธิเรียกเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่มและออกใบกำกับภาษีให้โจทก์โดยชอบก็เป็น ความบกพร่องของโจทก์ส่วนหนึ่ง โจทก์จึงชอบที่จะว่ากล่าว เอากับบริษัทพ. เอง โจทก์จะนำภาษีซื้อดังกล่าวไปหักออกจากภาษีขายจึงมีผลเท่ากับโจทก์เสียภาษีไม่ครบถ้วนเจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินให้โจทก์ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มที่ชำระไม่ครบถ้วนพร้อมเงินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1467/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาภาษีอากรใหม่ได้ แม้มีการอุทธรณ์ก่อนหน้า หากพบราคาสินค้าไม่ถูกต้อง
บทบัญญัติของพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 112 ทวิ วรรคสาม ไม่ได้บัญญัติว่าเมื่อมีการอุทธรณ์การประเมิน อธิบดีหรือ ผู้ที่อธิบดีมอบหมายมีอำนาจเพียงยกอุทธรณ์หรือเพิกถอน การประเมินเท่านั้น และไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดห้ามมิให้ พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการประเมินอากรใหม่ ตามบทบัญญัติ มาตรา 10 วรรคแรก และวรรคสาม แสดงว่า ภายในอายุความหากพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ตรวจพบว่าจำเลยสำแดงรายการสินค้า ไม่ถูกต้องก็มีสิทธิประเมินราคาสินค้าตามราคาที่แท้จริง ในท้องตลาดได้ การประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อจำเลยไม่ได้อุทธรณ์การประเมินครั้งหลัง ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน การประเมินจึงเป็นที่สุด ส่วนภาษีการค้าและภาษีเทศบาลที่จำเลยมิได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วันนับแต่วันได้รับแจ้งการประเมิน การประเมินจึงถึงที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1467/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจประเมินอากรใหม่ระหว่างการพิจารณาอุทธรณ์ และผลของการไม่ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนด
ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 ทวิ วรรคสามไม่ได้บัญญัติว่า เมื่อมีการอุทธรณ์การประเมิน อธิบดีหรือ ผู้ที่อธิบดีมอบหมายมีอำนาจเพียงยกอุทธรณ์หรือเพิกถอนการประเมิน เท่านั้น และไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ทำการประเมินอากรใหม่ แต่ตามมาตรา 10 วรรคแรก และมาตรา 10 วรรคสาม กลับมีบทบัญญัติแสดงว่าภายในอายุความหากพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรตรวจพบว่าจำเลยสำแดงราคาสินค้าไม่ถูกต้อง ก็มีสิทธิประเมินราคาสินค้าตามราคาที่แท้จริงในท้องตลาดได้ ดังนั้น ในกรณีที่มีการวางเงินประกันค่าอากรเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประเมินอากรอันจะพึง เสียและได้แจ้งให้จำเลยผู้นำเข้าทราบแต่จำเลยผู้นำเข้าอุทธรณ์การประเมินตามมาตรา 112 ทวิ ถ้าในระหว่างการพิจารณาอุทธรณ์พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพบว่าราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงไว้ต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด พนักงานเจ้าหน้าที่ ก็มีอำนาจประเมินราคาสินค้าใหม่ให้สูงกว่าราคาเดิม แล้วประเมินอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลใหม่ได้ เมื่อ จำเลยผู้นำเข้ามิได้อุทธรณ์การประเมินครั้งหลังภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน การประเมินจึงเป็นที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1467/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจประเมินอากรใหม่ระหว่างการพิจารณาอุทธรณ์: ศุลกากรมีสิทธิประเมินราคาสินค้าใหม่ได้หากพบราคาต่ำกว่าตลาด
ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 ทวิ วรรคสามไม่ได้บัญญัติว่า เมื่อมีการอุทธรณ์การประเมิน อธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายมีอำนาจเพียงยกอุทธรณ์หรือเพิกถอนการประเมินเท่านั้น และไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการประเมินอากรใหม่ แต่ตามมาตรา 10 วรรคแรก และมาตรา 10 วรรคสาม กลับมีบทบัญญัติแสดงว่าภายในอายุความ หากพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรตรวจพบว่าจำเลยสำแดงราคาสินค้าไม่ถูกต้อง ก็มีสิทธิประเมินราคาสินค้าตามราคาที่แท้จริงในท้องตลาดได้ ดังนั้น ในกรณีที่มีการวางเงินประกันค่าอากรเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประเมินอากรอันจะพึงเสียและได้แจ้งให้จำเลยผู้นำเข้าทราบแต่จำเลยผู้นำเข้าอุทธรณ์การประเมินตามมาตรา 112 ทวิ ถ้าในระหว่างการพิจารณาอุทธรณ์ พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพบว่าราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงไว้ต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด พนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีอำนาจประเมินราคาสินค้าใหม่ให้สูงกว่าราคาเดิม แล้วประเมินอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลใหม่ได้ เมื่อจำเลยผู้นำเข้ามิได้อุทธรณ์การประเมินครั้งหลังภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน การประเมินจึงเป็นที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1465/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณเงินเพิ่มอากรขาเข้า: เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือนตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 จัตวาซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 329ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 15 บัญญัติว่า เมื่อผู้นำเข้าหรือผู้ส่งของออกนำเงินมาชำระค่าอากรที่ต้องเสียหรือเสียเพิ่ม ให้เรียกเก็บเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรที่นำมาชำระโดย ไม่คิดทบต้น นับแต่วันที่ได้ส่งมอบหรือส่งของออกจนถึง วันที่นำเงินมาชำระ ฯลฯ และวรรคสามของมาตราดังกล่าว ระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่าในการคำนวณเงินเพิ่มตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือนและเงินเพิ่มนั้นให้ถือเป็นเงินอากร ดังนั้น ในการคำนวณเงินเพิ่มนั้นเศษของเดือนจึงต้องนับเป็นหนึ่งเดือนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1465/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณเงินเพิ่มอากรขาเข้า: เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือนตามกฎหมายศุลกากร
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 จัตวาซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 329ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 15 บัญญัติว่า เมื่อผู้นำเข้าหรือผู้ส่งของออกนำเงินมาชำระค่าอากรที่ต้องเสียหรือเสียเพิ่ม ให้เรียกเก็บเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากร ที่นำมาชำระโดยไม่คิดทบต้น นับแต่วันที่ได้ส่งมอบหรือส่งของออก ถึงวันที่นำเงินมาชำระ ฯลฯ และวรรคสามของมาตราดังกล่าวระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่าในการคำนวณเงินเพิ่มตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือนและเงินเพิ่มนั้นให้ถือเป็น เงินอากร ดังนั้น ในการคำนวณเงินเพิ่มนั้นเศษของเดือนจึงต้อง นับเป็นหนึ่งเดือนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1465/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณเงินเพิ่มอากรขาเข้า: เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือนตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 จัตวาซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 329ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 15 บัญญัติว่า เมื่อผู้นำเข้าหรือผู้ส่งของออกนำเงินมาชำระค่าอากรที่ต้องเสียหรือเสียเพิ่มให้เรียกเก็บเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรที่นำมาชำระโดยไม่คิดทบต้น นับแต่วันที่ได้ส่งมอบหรือส่งของออกจนถึงวันที่นำเงินมาชำระ ฯลฯ และวรรคสามของมาตราดังกล่าวระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่าในการคำนวณเงินเพิ่มตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือนและเงินเพิ่มนั้นให้ถือเป็นเงินอากร ดังนั้นในการคำนวณเงินเพิ่มนั้นเศษของเดือนจึงต้องนับเป็นหนึ่งเดือนด้วย