คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุทธิ นิชโรจน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,157 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3923/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเพิกถอนการฉ้อฉลในคดีล้มละลาย: เกณฑ์การนับเริ่มต้นจากวันที่เจ้าหนี้รู้เหตุ
พระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา113บัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องกระทำการแทนเจ้าหนี้ได้เป็นกรณีพิเศษโดยไม่จำต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่อายุความที่ใช้บังคับจึงถือตามอายุความของเจ้าหนี้ผู้เกี่ยวข้องในขณะที่อาจจะบังคับตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้นั้นจริงๆเป็นเกณฑ์พิจารณาจะถือเอาวันที่ผู้ร้องได้รู้ถึงต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนเป็นหลักในการเริ่มต้นนับอายุความไม่ได้เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอเพิกถอนการฉ้อฉลเมื่อพ้น1ปีนับแต่เวลาที่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ซึ่งเป็นผู้ร้องขอให้ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลได้รู้หรือควรจะรู้เหตุแห่งการเพิกถอนคำร้องของผู้ร้องจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา240ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา113

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3922/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเพิกถอนนิติกรรมฉ้อฉล: เกณฑ์การนับอายุความตามสิทธิเจ้าหนี้
บุคคลที่จะอ้างอาศัย ป.พ.พ. มาตรา 237 ได้ต้องเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้อยู่ในขณะที่ลูกหนี้กระทำนิติกรรมโอนทรัพย์สิน ส่วนการที่ พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 113 บัญญัติให้ผู้ร้องร้องขอต่อศาลได้เป็นเรื่องกฎหมายล้มละลายให้อำนาจแก่ผู้ร้องในอันที่จะกระทำแทนเจ้าหนี้ได้เป็นกรณีพิเศษ โดยทำเป็นคำร้องต่อศาลในคดีล้มละลายไม่ต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่เท่านั้น ฉะนั้นอายุความที่จะใช้บังคับย่อมต้องถือเอาอายุความของเจ้าหนี้ผู้เกี่ยวข้องในขณะที่อาจจะบังคับตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้นั้นจริง ๆ เป็นเกณฑ์พิจารณา จะถือเอาวันที่ผู้ร้องได้รู้ถึงต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนเป็นหลักในการเริ่มต้นนับอายุความไม่ได้ เมื่อเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ซึ่งร้องขอให้ผู้ร้องร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลที่ดินพิพาทได้รู้หรือควรจะรู้เหตุแห่งการเพิกถอนเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2527 ซึ่งนับถึงวันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 24 มีนาคม2531 เป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี แล้ว คำร้องของผู้ร้องจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 240 และ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 113

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3922/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเพิกถอนการฉ้อฉลในคดีล้มละลาย: เริ่มนับจากเจ้าหนี้รู้เหตุ ไม่ใช่ผู้ร้อง
บุคคลที่จะอ้างอาศัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา237ได้ต้องเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้อยู่ในขณะที่ลูกหนี้กระทำนิติกรรมโอนทรัพย์สินส่วนการที่พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา113บัญญัติให้ผู้ร้องร้องขอต่อศาลได้เป็นเรื่องกฎหมายล้มละลายให้อำนาจแก่ผู้ร้องในอันที่จะกระทำแทนเจ้าหนี้ได้เป็นกรณีพิเศษโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลในคดีล้มละลายไม่ต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่เท่านั้นฉะนั้นอายุความที่จะใช้บังคับย่อมต้องถือเอาอายุความของเจ้าหนี้ผู้เกี่ยวข้องในขณะที่อาจจะบังคับตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้นั้นจริงๆเป็นเกณฑ์พิจารณาจะถือเอาวันที่ผู้ร้องได้รู้ถึงต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนเป็นหลักในการเริ่มต้นนับอายุความไม่ได้เมื่อเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ซึ่งร้องขอให้ผู้ร้องร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลที่ดินพิพาทได้รู้หรือควรจะรู้เหตุแห่งการเบิกถอนเมื่อวันที่15พฤศจิกายน2527ซึ่งนับถึงวันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องเมื่อวันที่24มีนาคม2531เป็นเวลาเกินกว่า1ปีแล้วคำร้องของผู้ร้องจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา240และพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา113

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3911-3917/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องค่าเช่าบ้านข้าราชการ: จำเลยไม่ใช่ผู้มีอำนาจอนุมัติจ่ายเงิน ผู้มีอำนาจคืออธิการบดีมหาวิทยาลัย
ผู้ที่มีอำนาจอนุมัติให้เบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดได้คืออธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชและเบิกจ่ายจากเงินงบประมาณรายจ่ายของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากจำเลยจำเลยเป็นผู้ดูแลการใช้จ่ายเงินงบประมาณและการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่จำเลยกำหนดจำเลยเพียงแต่เป็นผู้ตอบข้อหารือของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินที่หารือไปว่ากรณีของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชซึ่งย้ายที่ทำการจากกรุงเทพมหานครไปตั้งที่จังหวัดนนทบุรีนั้นไม่ถือเป็นการย้ายสถานที่ปฏิบัติงานของข้าราชการเท่านั้นซึ่งเป็นการปฏิบัติราชการภายในของฝ่ายบริหารด้วยกันเมื่อสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้แจ้งความเห็นของจำเลยไปยังมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชก็มิได้ปฏิบัติตามแต่ได้หารือไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเมื่อคณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นว่าโจทก์ทั้งเจ็ดไม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจึงเรียกเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการที่เบิกไปแล้วคืนจากโจทก์ทั้งเจ็ดและไม่เบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดอีกต่อไปจำเลยมิได้กระทำการใดที่ถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งเจ็ดโดยตรงโจทก์ทั้งเจ็ดจึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยจ่ายเงินค่าเช่าบ้านให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3911-3917/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเรียกร้องค่าเช่าบ้านข้าราชการ จำเลยไม่มีหน้าที่อนุมัติจ่ายเงินโดยตรง
ผู้ที่มีอำนาจอนุมัติให้เบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดได้คืออธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชและเบิกจ่ายจากเงินงบประมาณรายจ่ายของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากจำเลยจำเลยเป็นผู้ดูแลการใช้จ่ายเงินงบประมาณและการจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่จำเลยกำหนดจำเลยเพียงแต่เป็นผู้ตอบข้อหารือของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินที่หารือไปว่ากรณีของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชซึ่งย้ายที่ทำการจากกรุงเทพมหานครไปตั้งที่จังหวัดนนทบุรีนั้นไม่ถือเป็นการย้ายสถานที่ปฏิบัติงานของข้าราชการเท่านั้นซึ่งเป็นการปฏิบัติราชการภายในของฝ่ายบริหารด้วยกันเมื่อสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้แจ้งความเห็นของจำเลยไปยังมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชก็มิได้ปฏิบัติตามแต่ได้หารือไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเมื่อคณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นว่าโจทก์ทั้งเจ็ดไม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจึงเรียกเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการที่เบิกไปแล้วคืนจากโจทก์ทั้งเจ็ดและไม่เบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดอีกต่อไปจำเลยมิได้กระทำการใดที่ถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งเจ็ดโดยตรงโจทก์ทั้งเจ็ดจึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยจ่ายเงินค่าเช่าบ้านให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3911-3917/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีค่าเช่าบ้าน: จำเลยไม่ใช่ผู้มีอำนาจอนุมัติจ่ายเงิน ผู้มีอำนาจคืออธิการบดีมหาวิทยาลัย
ผู้ที่มีอำนาจอนุมัติให้เบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดได้คืออธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชและเบิกจ่ายจากเงินงบประมาณรายจ่ายของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากจำเลย จำเลยเป็นผู้ดูแลการใช้จ่ายเงินงบประมาณและการจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่จำเลยกำหนดจำเลยเพียงแต่เป็นผู้ตอบข้อหารือของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินที่หารือไปว่ากรณีของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชซึ่งย้ายที่ทำการจากกรุงเทพมหานครไปตั้งที่จังหวัดนนทบุรีนั้นไม่ถือเป็นการย้ายสถานที่ปฏิบัติงานของข้าราชการเท่านั้น ซึ่งเป็นการปฏิบัติราชการภายในของฝ่ายบริหารด้วยกัน เมื่อสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้แจ้งความเห็นของจำเลยไปยังมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชก็มิได้ปฏิบัติตาม แต่ได้หารือไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เมื่อคณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นว่า โจทก์ทั้งเจ็ดไม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจึงเรียกเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการที่เบิกไปแล้วคืนจากโจทก์ทั้งเจ็ดและไม่เบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดอีกต่อไป จำเลยมิได้กระทำการใดที่ถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งเจ็ดโดยตรงโจทก์ทั้งเจ็ดจึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยจ่ายเงินค่าเช่าบ้านให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3911-3917/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีค่าเช่าบ้าน: จำเลยไม่ใช่ผู้มีอำนาจอนุมัติจ่ายเงิน หรือโต้แย้งสิทธิโจทก์
ผู้ที่มีอำนาจหน้าที่อนุมัติให้เบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดได้คืออธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และเบิกจ่ายจากเงินงบประมาณรายจ่ายของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากกระทรวงการคลังจำเลยมิได้เบิกจ่ายจากจำเลยโดยตรงจำเลยมิใช่ผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ในการอนุมัติให้เบิกจ่ายค่าเช่าบ้านข้าราชการให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดจำเลยเป็นผู้ดูแลการใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดินและการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการจากเงินงบประมาณรายจ่ายต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่จำเลยกำหนดในคดีนี้จำเลยเข้าเกี่ยวข้องเพียงแต่เป็นผู้ตอบข้อหารือของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินที่หารือไปว่ากรณีของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชซึ่งย้ายที่ทำการจากกรุงเทพมหานครไปตั้งอยู่ที่จังหวัดนนทบุรีนั้นไม่ถือเป็นการย้ายสถานที่ปฏิบัติงานของข้าราชการเท่านั้นซึ่งการตอบข้อหารือของจำเลยให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินนั้นเป็นการปฏิบัติราชการภายในของฝ่ายบริหารระหว่างส่วนราชการของรัฐด้วยกันจำเลยจึงมิได้กระทำการใดที่ถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งเจ็ดโดยตรงโจทก์ทั้งเจ็ดจึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยจ่ายเงินค่าเช่าบ้านให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3564/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องคัดค้านการเลือกตั้งต้องแสดงรายละเอียดคะแนนแต่ละหน่วยเลือกตั้ง การอ้างเหตุลอย ๆ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การพิจารณาคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้นมาตรา79แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพ.ศ.2522ให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมดังนั้นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจึงต้องตกอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองด้วยผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งว่าส. ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหารและคณะกรรมการรวมยอดคะแนนเลือกตั้งซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้งกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพ.ศ.2522มาตรา51,52โดยจงใจร่วมกันรวมคะแนนให้ผิดไปจากประกาศผลของการนับคะแนน(ส.ส.5)และรายงานการแสดงผลของการนับคะแนน (ส.ส.4)ซึ่งคณะกรรมการตรวจคะแนน506หน่วยส่งมาให้และประกาศผลการรวมคะแนนของผู้ร้องมีคะแนนรวม38,204คะแนนลดลงจากเดิมจำนวน718คะแนนส่วนคะแนนของผู้คัดค้านที่3ได้คะแนนรวม41,515คะแนนเพิ่มจากเดิมจำนวน3,421คะแนนเป็นเหตุให้ผู้ร้องไม่ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมุกดาหารดังนี้ข้อที่ผู้ร้องอ้างว่าผู้ว่าราชการจังหวัดกับพวกดังกล่าวรวมคะแนนจากรายงานแสดงผลของการนับคะแนน(ส.ส.4)และประกาศผลของการนับคะแนน (ส.ส.5)ผิดพลาดแต่ตามคำร้องของผู้ร้องมิได้บรรยายให้ชัดเจนว่าแต่ละหน่วยเลือกตั้งใน506หน่วยใน7อำเภอผู้ร้องได้คะแนนหน่วยเลือกตั้งละกี่คะแนนคะแนนของผู้ร้องและของผู้คัดค้านที่3ตามรายงานแสดงผลของการนับคะแนน(ส.ส.4)และประกาศผลของการนับคะแนน(ส.ส.5)ของแต่ละหน่วยเลือกตั้งเป็นจำนวนหน่วยเลือกตั้งละกี่คะแนนรวมแล้วเป็นยอดคะแนนรวมดังที่ผู้ร้องอ้างทั้งที่มิได้มีการประกาศผลการนับคะแนนณที่เลือกตั้งตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพ.ศ.2522มาตรา71และกฎกระทรวง(พ.ศ.2522)ออกตามความในพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพ.ศ.2522ข้อ21และซึ่งผู้ร้องก็รับว่าได้มีการประกาศไว้ที่หน่วยเลือกตั้งแล้วสำหรับข้อที่ผู้ร้องอ้างว่าในวันเลือกตั้งก่อนเวลา18นาฬิกาผู้ร้องได้ตรวจสอบผลการตรวจคะแนนของคณะกรรมการตรวจนับประจำหน่วยเลือกตั้งในเขตจังหวัดมุกดาหารรวม506หน่วยซึ่งเป็นคะแนนที่คณะกรรมการตรวจคะแนนประจำหน่วยเลือกตั้งได้ประกาศผลของการนับคะแนนแก่ประชาชนผู้อยู่ณที่เลือกตั้งความปรากฏว่าผู้ร้องได้ยอดคะแนนรวมทั้งสิ้น38,922คะแนนเป็นคะแนนอันดับ2ส่วนผู้คัดค้านที่2ได้คะแนนรวม43,954คะแนนเป็นคะแนนอันดับที่1ผู้คัดค้านที่3ได้คะแนนรวม38,094คะแนนเป็นคะแนนอันดับ4นั้นก็เป็นตัวเลขจำนวนคะแนนที่ผู้ร้องกล่าวอ้างลอยๆไม่แสดงโดยแจ้งชัดว่าในแต่ละหน่วยเลือกตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านที่2และที่3ได้คะแนนหน่วยเลือกตั้งละกี่คะแนนรวมแล้วจะเป็นคะแนนรวมดังที่ผู้ร้องอ้างคะแนนแต่ละหน่วยเลือกตั้งดังกล่าวผู้ร้องก็รับว่าได้มีการประกาศไว้ที่หน่วยเลือกตั้งแล้วการที่ผู้ร้องไม่สามารถแสดงตัวเลขจำนวนคะแนนแต่ละหน่วยเลือกตั้งได้แสดงว่าผู้ร้องนำตัวเลขยอดคะแนนรวมที่สำนักงานการประถมศึกษารวม7อำเภอในจังหวัดมุกดาหารได้รายงานมาให้ทางผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหารและสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดมุกดาหารได้รับทราบก่อนจะมีการประกาศผลคะแนนรวมเป็นทางการของจังหวัดและเป็นตัวเลขยอดคะแนนเดียวกับที่สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดมุกดาหารได้ประกาศผลมาใช้กล่าวอ้างในคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งซึ่งตามคำร้องของผู้ร้องก็รับแล้วว่ายอดคะแนนรวมดังกล่าวเป็นยอดคะแนนที่ไม่เป็นทางการของจังหวัดมุกดาหารและเป็นคะแนนที่ผู้ร้องตรวจสอบเบื้องต้นดังนั้นตัวเลขที่ผู้ร้องอ้างว่าคะแนนรวมของผู้ร้องและผู้คัดค้านที่3ผิดพลาดตามคำร้องนั้นจึงเห็นได้ว่าเป็นการคิดคำนวณคาดหมายเอาเองตามนัยดังกล่าวมาแล้วเพียงเพื่อจะอ้างเป็นเหตุร้องคัดค้านและเพื่อให้ปรากฎในคำร้องเท่านั้นและหากศาลวินิจฉัยว่าคำร้องเช่นนี้เป็นคำร้องที่ชอบแล้วผลที่ตามมาก็คือผู้สมัครรับเลือกตั้งคนใดเพียงแต่สงสัยการรวมคะแนนของผู้ว่าราชการจังหวัดผู้มีหน้าที่รวมยอดคะแนนการเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพ.ศ.2522มาตรา76ก็อาจยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งเพื่อให้ศาลทำหน้าที่รวมคะแนนจากรายงานแสดงผลของการนับคะแนน(ส.ส.4)และประกาศของการนับคะแนน(ส.ส.5)ให้ใหม่ได้ทุกรายไปคำร้องของผู้ร้องจึงเลื่อนลอยเป็นคำร้องที่เคลือบคลุมไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองจึงไม่อาจรับคำร้องไว้พิจารณาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3551/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: การคำนวณค่าทดแทนและดอกเบี้ยที่เหมาะสมตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา9วรรคสองและวรรคสี่กำหนดให้คณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งจากรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพ.ร.ฎ.ทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนและจำนวนเงินค่าทดแทนที่จะให้แก่บุคคลตามมาตรา18โดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามมาตรา18มาตรา21มาตรา22และมาตรา24เมื่อคณะกรรมการดังกล่าวกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนแล้วตามมาตรา25ให้สิทธิแก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ไม่พอใจมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพ.ร.ฎ.ได้และมาตรา26ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา25ให้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ดังนั้น"คณะกรรมการปรองดอง"ที่ได้รับแต่งตั้งจากรัฐมนตรีจึงมีหน้าที่เพียงกำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนและจำนวนเงินค่าทดแทนเท่านั้นมิใช่ดุลพินิจโดยเด็ดขาดของคณะกรรมการฯรัฐมนตรีหรือศาลซึ่งกฎหมายกำหนดให้เป็นผู้พิจารณาอุทธรณ์หรือฟ้องของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนแล้วแต่กรณีย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณาว่าการกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนและจำนวนค่าทดแทนของคณะกรรมการฯชอบและเป็นธรรมตามมาตรา18มาตรา21มาตรา22และมาตรา24หรือไม่หากไม่ชอบหรือไม่เป็นธรรมแล้วก็ย่อมมีอำนาจเปลี่ยนแปลงราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนและจำนวนค่าทดแทนที่คณะกรรมการฯกำหนดให้ชอบและเป็นธรรมตามมาตรา18มาตรา21และมาตรา22และมาตรา24โดยกำหนดให้ผู้ที่ถูกเวนคืนได้รับค่าทดแทนเพิ่มขึ้นจากค่าทดแทนที่น้อยกว่าราคาที่เป็นธรรมได้ ในเรื่องดอกเบี้ยนั้นตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯมาตรา26วรรคสามบัญญัติว่าในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นทั้งนี้นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้นและมาตรา11วรรคหนึ่งบัญญัติว่าในกรณีที่มีการตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันได้ตามมาตรา10ให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่จ่ายเงินค่าอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวทั้งหมดให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3551/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดค่าทดแทนที่ดินเวนคืน: หลักเกณฑ์ตามกฎหมายและอำนาจศาลในการพิจารณาความเป็นธรรม
โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า โจทก์ไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนที่ดินที่จำเลยกำหนด โจทก์จึงยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ขอให้กำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ในราคาตารางวาละ 10,000 บาท เนื้อที่ 81 ตารางวา กระทรวงคมนาคมกำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์เพิ่มขึ้นเป็นตารางวาละ 1,500 บาท โจทก์ไม่พอใจผลการพิจารณาอุทธรณ์เพราะไม่เป็นธรรม โจทก์ควรได้รับค่าทดแทนที่ดินในราคาซื้อขายในท้องตลาดตารางวาละ 25,000 ถึง 30,000 บาท แต่โจทก์ขอเรียกร้องตารางวาละ 20,000 บาท ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินค่าทดแทนที่ดินพร้อมดอกเบี้ยจำนวน 2,885,625 บาท เมื่อปรากฏว่าจำเลยกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ภายหลังจาก พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2515 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2530 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มีผลใช้บังคับแล้ว ดังนั้น การดำเนินการในเรื่องค่าทดแทนที่ดินของโจทก์จึงต้องดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ทั้งนี้ตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2515(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2530 มาตรา 7 และมาตรา 9 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 36 ซึ่งตามฟ้องของโจทก์ดังกล่าวโจทก์ได้ดำเนินการขอค่าทดแทนที่ดินเพิ่มตามขั้นตอนของมาตรา 25 และมาตรา26 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 เป็นการฟ้องขอค่าทดแทนที่ดินเพิ่มที่ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมายแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้อง
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 9 วรรคสองและวรรคสี่ กำหนดให้คณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งจากรัฐมนตรีผู้รักษาการตาม พ.ร.ฎ.ทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนและจำนวนเงินค่าทดแทนที่จะให้แก่บุคคลตามมาตรา 18 โดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 18 มาตรา 21 มาตรา 22 และมาตรา 24 เมื่อคณะกรรมการดังกล่าวกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนแล้ว ตามมาตรา 25 ให้สิทธิแก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ไม่พอใจมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตาม พ.ร.ฎ.ได้ และมาตรา26 ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา 25 ให้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ คณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งจากรัฐมนตรีจึงมีหน้าที่เพียงกำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนและจำนวนเงินค่าทดแทนเท่านั้น หน้าที่ของคณะกรรมการดังกล่าวในการกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนและจำนวนเงินค่าทดแทนจึงมิใช่ดุลพินิจโดยเด็ดขาดของคณะกรรมการฯ รัฐมนตรีหรือศาลซึ่งกฎหมายกำหนดให้เป็นผู้พิจารณาอุทธรณ์หรือฟ้องของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนแล้วแต่กรณีย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณาว่าการกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนและจำนวนค่าทดแทนของคณะกรรมการฯ ชอบและเป็นธรรมตามมาตรา 18 มาตรา 21มาตรา 22 และมาตรา 24 หรือไม่ หากไม่ชอบหรือไม่เป็นธรรมแล้วก็ย่อมอำนาจเปลี่ยนแปลงราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนและจำนวนค่าทดแทนที่คณะกรรมการฯ กำหนดให้ชอบและเป็นธรรมตามมาตรา 18 มาตรา 21มาตรา 22 และมาตรา 24 โดยกำหนดให้ผู้ที่ถูกเวนคืนได้รับค่าทดแทนเพิ่มขึ้นจากค่าทดแทนที่น้อยกว่าราคาที่เป็นธรรมได้
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทว่าการกำหนดค่าทดแทนที่ดินของจำเลยเป็นไปโดยถูกต้องเป็นธรรมตามกฎหมายหรือไม่ โดยไม่ได้กำหนดประเด็นว่าโจทก์มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มจากค่าทดแทนที่กำหนดหรือไม่ และโจทก์มิได้โต้แย้ง แต่เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทด้วยว่า ถ้าการกำหนดค่าทดแทนที่ดินไม่ถูกต้อง จำเลยจะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์เพิ่มขึ้นอีกจำนวนเท่าใดด้วย ฉะนั้นจึงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยตามประเด็นที่ว่าโจทก์มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มจากค่าทดแทนที่กำหนดหรือไม่ด้วย
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 21 บัญญัติเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม ฉะนั้นเมื่อคณะกรรมการปรองดองพิจารณาค่าทดแทนได้กำหนดราคาที่ดินของโจทก์โดยถือตามราคาจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่ใช้อยู่ในขณะที่ประกาศใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯเป็นหลัก แล้วนำราคาจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมปีหลังพระราช-กฤษฎีกาฯบังคับใช้มาเฉลี่ยหาราคาในวันประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฯมาเฉลี่ยจึงไม่ถูกตามที่มาตรา 21 อนุมาตรา (1) ถึง (5) กำหนด และข้อนี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าการกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ต้องถือเอาตามราคาซื้อขายในวันที่พระราชกฤษฎีกาฯใช้บังคับ เมื่อพิจารณาสภาพและที่ตั้งที่ดินของโจทก์ประกอบกันด้วยแล้ว การที่จำเลยอุทธรณ์ฎีกาคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าวข้างต้นโดยมิได้โต้แย้งว่าราคาค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยนั้นไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรมอย่างไร ข้อเท็จจริงจึงฟังเป็นยุติว่าราคาค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเป็นราคาที่เป็นธรรมแล้ว
of 116