คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุทธิ นิชโรจน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,157 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3551/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การประเมินราคา, ดอกเบี้ย, และระยะเวลาชำระค่าทดแทน
โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า โจทก์ไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนที่ดินที่จำเลยกำหนด โจทก์จึงยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมขอให้กำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ในราคาตารางวาละ 10,000 บาท เนื้อที่ 81ตารางวา กระทรวงคมนาคมกำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์เพิ่มขึ้นเป็นตารางวาละ 1,500 บาท โจทก์ไม่พอใจผลการพิจารณาอุทธรณ์เพราะไม่เป็นธรรม โจทก์ควรได้รับค่าทดแทนที่ดินในราคาซื้อขายในท้องตลาดตารางวาละ 25,000 ถึง 30,000 บาท แต่โจทก์ขอเรียกร้องตารางวาละ 20,000 บาท ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินค่าทดแทนที่ดินพร้อมดอกเบี้ยจำนวน 2,885,625 บาท เมื่อปรากฏว่าจำเลยกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ภายหลังจากพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2530 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มีผลใช้บังคับแล้ว ดังนั้นการดำเนินการในเรื่องค่าทดแทนที่ดินของโจทก์จึงต้องดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28พฤศจิกายน พ.ศ. 2515(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2530 มาตรา 7 และมาตรา 9 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 36 ซึ่งตามฟ้องของโจทก์ดังกล่าว โจทก์ได้ดำเนินการขอค่าทดแทนที่ดินเพิ่มตามขั้นตอนของมาตรา 25และมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 เป็นการฟ้องขอค่าทดแทนที่ดินเพิ่มที่ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมายแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้อง
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 9 วรรคสองและวรรคสี่ กำหนดให้คณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งจากรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนและจำนวนเงินค่าทดแทนที่จะให้แก่บุคคลตามมาตรา 18 โดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 18มาตรา 21 มาตรา 22 และมาตรา 24 เมื่อคณะกรรมการดังกล่าวกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนแล้ว ตามมาตรา 25 ให้สิทธิแก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ไม่พอใจมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาได้ และมาตรา 26 ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา 25 ให้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ คณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งจากรัฐมนตรีจึงมีหน้าที่เพียงกำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนและจำนวนเงินค่าทดแทนเท่านั้น หน้าที่ของคณะกรรมการดังกล่าวในการกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนและจำนวนเงินค่าทดแทนจึงมิใช่ดุลพินิจโดยเด็ดขาดของคณะกรรมการฯ รัฐมนตรีหรือศาลซึ่งกฎหมายกำหนดให้เป็นผู้พิจารณาอุทธรณ์หรือฟ้องของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนแล้วแต่กรณีย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณาว่าการกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนและจำนวนค่าทดแทนของคณะกรรมการฯ ชอบและเป็นธรรมตามมาตรา 18 มาตรา 21 มาตรา 22และมาตรา 24 หรือไม่ หากไม่ชอบหรือไม่เป็นธรรมแล้วก็ย่อมอำนาจเปลี่ยนแปลงราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนและจำนวนค่าทดแทนที่คณะกรรมการฯ กำหนดให้ชอบและเป็นธรรมตามมาตรา 18 มาตรา 21 มาตรา 22 และมาตรา 24 โดยกำหนดให้ผู้ที่ถูกเวนคืนได้รับค่าทดแทนเพิ่มขึ้นจากค่าทดแทนที่น้อยกว่าราคาที่เป็นธรรมได้
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทว่าการกำหนดค่าทดแทนที่ดินของจำเลยเป็นไปโดยถูกต้องเป็นธรรมตามกฎหมายหรือไม่ โดยไม่ได้กำหนดประเด็นว่าโจทก์มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มจากค่าทดแทนที่กำหนดหรือไม่ และโจทก์มิได้โต้แย้ง แต่เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทด้วยว่า ถ้าการกำหนดค่าทดแทนที่ดินไม่ถูกต้องจำเลยจะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์เพิ่มขึ้นอีกจำนวนเท่าใดด้วย ฉะนั้นจึงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยตามประเด็นที่ว่าโจทก์มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มจากค่าทดแทนที่กำหนดหรือไม่ด้วย
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21บัญญัติเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม ฉะนั้นเมื่อคณะกรรมการปรองดองพิจารณาค่าทดแทนได้กำหนดราคาที่ดินของโจทก์ โดยถือตามราคาจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่ใช้อยู่ในขณะที่ประกาศใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯเป็นหลัก แล้วนำราคาจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมปีหลังพระราชกฤษฎีกาฯ บังคับใช้มาเฉลี่ยหาราคาในวันประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฯ มาเฉลี่ย จึงไม่ถูกตามที่มาตรา 21อนุมาตรา (1) ถึง (5) กำหนด และข้อนี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าการกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ต้องถือเอาตามราคาซื้อขายในวันที่พระราชกฤษฎีกาฯ ใช้บังคับ เมื่อพิจารณาสภาพและที่ตั้งที่ดินของโจทก์ประกอบกันด้วยแล้ว การที่จำเลยอุทธรณ์ฎีกาคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าวข้างต้นโดยมิได้โต้แย้งว่าราคาค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยนั้นไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรมอย่างไร ข้อเท็จจริงจึงฟังเป็นยุติว่าราคาค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเป็นราคาที่เป็นธรรมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3035/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการวินิจฉัยคดี: ศาลต้องวินิจฉัยเฉพาะประเด็นที่จำเลยต่อสู้เท่านั้น
ตามคำให้การจำเลยไม่มีประเด็นเรื่องจำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาทของโจทก์แล้วหรือไม่ ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาทเป็นการโต้แย้งสิทธิครอบครองของโจทก์แล้ว โจทก์ไม่ได้ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปี จึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากประเด็นที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้และนอกเหนือจากประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี ทั้งไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยเองไม่ได้ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3035/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาท และสิทธิการครอบครองที่ดินหลังสัญญาเช่าสิ้นสุด
ตามคำให้การจำเลยไม่มีประเด็นเรื่องจำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาทของโจทก์แล้วหรือไม่ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาทเป็นการโต้แย้งสิทธิครอบครองของโจทก์แล้วโจทก์ไม่ได้ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน1ปีจึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากประเด็นที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้และนอกเหนือจากประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีทั้งไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยเองไม่ได้คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3015/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับรายวันจากการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร กรณีควบคุมการก่อสร้างผิดเงื่อนไข
จำเลยกระทำการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคารพ.ศ 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535มาตรา 31 ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2535 จนถึงวันที่ 5 สิงหาคม 2536ดังนั้น นอกจากจะต้องลงโทษตามมาตรา 65 วรรคหนึ่งแล้ว วรรคสองของมาตราดังกล่าวยังบัญญัติให้ปรับเป็นรายวันตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนมาตรา 31 คือตลอดเวลาที่ยังควบคุมการก่อสร้างอาคารให้ผิดไปจากวิธีการและเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร จึงต้องปรับจำเลยเป็นรายวันตลอดระยะเวลาดังกล่าวด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3015/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับรายวันตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร กรณีฝ่าฝืนวิธีการก่อสร้างตามใบอนุญาต
จำเลยกระทำการฝ่าฝืนไม่ปฎิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522ที่แก้ไขแล้วมาตรา31นอกจากจะต้องลงโทษตามมาตรา65วรรคหนึ่งจำคุกหรือปรับหรือทั้งจำทั้งปรับแล้วยังต้องปรับรายวันตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนตามมาตรา65วรรคสองอีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3015/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับรายวันกรณีการก่อสร้างผิดเงื่อนไขใบอนุญาตตาม พรบ.ควบคุมอาคาร
จำเลยกระทำการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร(ฉบับที่2)พ.ศ.2535มาตรา31ระหว่างวันที่1พฤศจิกายน2535จนถึงวันที่5สิงหาคม2536ดังนั้นนอกจากจะต้องลงโทษตามมาตรา65วรรคหนึ่งแล้ววรรคสองของมาตราดังกล่าวยังบัญญัติให้ปรับเป็นรายวันตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนมาตรา31คือตลอดเวลาที่ยังควบคุมการก่อสร้างอาคารให้ผิดไปจากวิธีการและเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาตก่อสร้างดัดแปลงหรือรื้อถอนอาคารจึงต้องปรับจำเลยเป็นรายวันตลอดระยะเวลาดังกล่าวด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2825/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับชำระหนี้เช็คพิพาททำให้สิทธิฟ้องอาญาและหนี้ตามเช็คระงับ
การที่ผู้เสียหายยอมรับเงินที่จำเลยนำมาชำระหนี้บางส่วนและรับเช็ค 2 ฉบับที่จำเลยออกให้เพื่อชำระหนี้ที่ยังค้างชำระอยู่ตามเช็คพิพาท แสดงว่าผู้เสียหายและจำเลยมุ่งหมายจะระงับข้อพิพาท โดยผู้เสียหายตกลงเข้าถือสิทธิในเช็คทั้งสองฉบับดังกล่าว และสละสิทธิหรือไม่ยึดถือสิทธิใด ๆ ที่มีอยู่ในเช็คพิพาทอีกต่อไปรวมทั้งสิทธิที่จะไม่ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยด้วย หนี้ตามเช็คพิพาทเป็นอันระงับไปมูลหนี้ตามเช็คพิพาทจึงสิ้นความผูกพัน คดีเป็นอันเลิกกันตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในเช็คพิพาทย่อมระงับไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2825/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับข้อพิพาทเช็คโดยการเจรจาและออกเช็คล่วงหน้า ทำให้สิทธิฟ้องอาญาตามเช็คเดิมระงับ
จำเลยออกเช็คพิพาทชำระหนี้แก่ผู้เสียหายเมื่อเช็คถึงกำหนดผู้เสียหายไม่นำเช็คไปเรียกเก็บเงินเนื่องจากบัญชีของจำเลยปิดแต่ได้ไปทำสัญญากับมารดาจำเลยที่สถานีตำรวจโดยมารดาจำเลยยอมชำระหนี้แทนต่อมาผู้เสียหายนำเช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงินปรากฏว่าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คหลังจากนั้นมารดาจำเลย ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามข้อตกลงผู้เสียหายจึงไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยต่อมาจำเลยนำเงินไปชำระให้ผู้เสียหาย55,000บาทส่วนที่เหลือจำเลยสั่งจ่ายเช็คลงวันที่ล่วงหน้าให้ไว้อีก2ฉบับดังนี้ถือได้ว่าผู้เสียหายกับจำเลยมุ่งหมายที่จะ ระงับข้อพิพาทโดยผู้เสียหายตกลงเข้าถือสิทธิในเงินและเช็คลงวันที่ล่วงหน้าทั้ง2ฉบับดังกล่าวสละสิทธิที่จะดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยต่อไปสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2665/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ต้องห้ามในคดีล้มละลาย: เจ้าหนี้รู้ถึงฐานะหนี้สินล้นพ้นตัวของลูกหนี้
แม้ตามคำให้การสอบสวนของส. หัวหน้าแผนกสินเชื่อของเจ้าหนี้กับคำให้การของว. กรรมการบริษัทลูกหนี้ในสำนวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินและได้อ้างอิงเป็นพยานหลักฐานประกอบการวินิจฉัยคดีคำขอรับชำระหนี้นี้ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับมูลหนี้ที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้จะอยู่คนละสำนวนสาขาแต่ก็เป็นสำนวนคดีล้มละลายเดียวกันเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ใช้สิทธิโต้แย้งคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา107ก็ย่อมมีอำนาจนำพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องในประเด็นคำขอรับชำระหนี้มาพิจารณาทำความเห็นเสนอต่อศาลซึ่งเป็นการสอบสวนชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิใช่เป็นการสืบพยานโดยอาศัยบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งศาลย่อมรับฟังประกอบการวินิจฉัยคดีได้ถือไม่ได้ว่าเป็นการรับฟังข้อเท็จจริงนอกสำนวนโดยเจ้าหนี้ไม่มีโอกาสซักค้านพยาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2644/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดสิทธิฎีกาในคดีอาญาที่ศาลลงโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 6 เดือนศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่าให้รอการลงโทษจำคุกไว้2 ปี เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 2 ปี จึงห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 219
of 116