พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,157 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1465/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณเงินเพิ่มอากรขาเข้า: เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือนตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 จัตวาซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 329ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 15 บัญญัติว่า เมื่อผู้นำเข้าหรือผู้ส่งของออกนำเงินมาชำระค่าอากรที่ต้องเสียหรือเสียเพิ่มให้เรียกเก็บเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรที่นำมาชำระโดยไม่คิดทบต้น นับแต่วันที่ได้ส่งมอบหรือส่งของออกจนถึงวันที่นำเงินมาชำระ ฯลฯ และวรรคสามของมาตราดังกล่าวระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่าในการคำนวณเงินเพิ่มตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือนและเงินเพิ่มนั้นให้ถือเป็นเงินอากร ดังนั้นในการคำนวณเงินเพิ่มนั้นเศษของเดือนจึงต้องนับเป็นหนึ่งเดือนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1464/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดเบี้ยปรับกรณีผู้เสียภาษีจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะผิดพลาดโดยสุจริตและไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี
โจทก์ไม่มีสิทธิเสียภาษีธุรกิจเฉพาะประเภทโรงรับจำนำเพราะโจทก์มิได้รับใบอนุญาตตั้งโรงรับจำนำตามกฎหมายแต่จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม การที่โจทก์ไปขอจดทะเบียนเสียภาษีธุรกิจเฉพาะประเภทโรงรับจำนำต่อเจ้าพนักงานของกรมสรรพากรจำเลย แต่เจ้าพนักงานของจำเลย ไม่โต้แย้งหรือไม่ตรวจสอบให้ถูกต้องก่อนรับจดทะเบียนดังกล่าวเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้โจทก์เข้าใจโดยสุจริตว่าการขอ จดทะเบียนดังกล่าวถูกต้องแล้ว อีกทั้งระบบภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นระบบภาษีใหม่ที่เพิ่งเริ่มใช้บังคับในขณะเกิดเหตุ เห็นได้ว่าการที่โจทก์เสียภาษีโดยผิดพลาดโจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี อีกทั้งการที่โจทก์จดทะเบียนเลิกบริษัทก็ยังไม่มีเหตุให้รับฟังว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี ดังนี้จึงสมควรที่จะงดเบี้ยปรับให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1464/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีผิดพลาดโดยสุจริต และงดเบี้ยปรับกรณีเจ้าหน้าที่มิได้ตรวจสอบความถูกต้อง
โจทก์ไม่มีสิทธิเสียภาษีธุรกิจเฉพาะประเภทโรงรับจำนำ เพราะโจทก์มิได้รับใบอนุญาตตั้งโรงรับจำนำตามกฎหมาย แต่จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม การที่โจทก์ไปขอจดทะเบียนเสียภาษีธุรกิจเฉพาะประเภทโรงรับจำนำต่อเจ้าพนักงานของกรมสรรพากร แต่เจ้าพนักงานของจำเลยไม่โต้แย้งหรือไม่ตรวจสอบให้ถูกต้องก่อนรับจดทะเบียนดังกล่าว เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้โจทก์เข้าใจโดยสุจริตว่าการขอจดทะเบียนดังกล่าวถูกต้องแล้ว อีกทั้งระบบภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นระบบภาษีใหม่ที่เพิ่งเริ่มใช้บังคับในขณะเกิดเหตุ เห็นได้ว่าการที่โจทก์เสียภาษีโดยผิดพลาด โจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี อีกทั้งการที่โจทก์จดทะเบียนเลิกบริษัทก็ยังไม่มีเหตุให้รับฟังว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี ดังนี้จึงสมควรที่จะงดเบี้ยปรับให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1464/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีผิดพลาดโดยสุจริตเนื่องจากเจ้าหน้าที่ประเมินไม่ตรวจสอบเอกสาร ทำให้งดเบี้ยปรับได้
เมื่อโจทก์มิได้รับใบอนุญาตตั้งโรงรับจำนำตามกฎหมายโจทก์ก็ไม่มีสิทธิเสียภาษีธุรกิจเฉพาะประเภทโรงรับจำนำแต่จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม การที่โจทก์ไปขอจดทะเบียนเสียภาษีธุรกิจเฉพาะประเภทโรงรับจำนำต่อเจ้าพนักงานของ จำเลยที่ 1 ซึ่งมีสมุห์บัญชีอำเภอเมืองชลบุรี ปฏิบัติราชการแทนสรรพากรจังหวัดชลบุรี รับจดทะเบียนให้ ซึ่งเจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบเอกสารและข้อเท็จจริงต่าง ๆ ก่อนจดทะเบียน น่าจะตรวจสอบให้ถูกต้องเสียก่อนแล้วจึงจดทะเบียนให้ การที่เจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1ไม่โต้แย้งหรือไม่ตรวจสอบให้ถูกต้องก่อนจดทะเบียนดังกล่าวจึงน่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้โจทก์เข้าใจผิดโดยสุจริตว่าการขอจดทะเบียนดังกล่าวถูกต้องแล้ว ทั้งระบบภาษี มูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นระบบภาษีใหม่ที่เพิ่งเริ่มใช้บังคับในขณะนั้น น่าเชื่อว่าการเสียภาษีโดยผิดพลาดครั้งนี้ของโจทก์ได้กระทำไปโดยไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี สมควรที่จะ งดเบี้ยปรับให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1463/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณรายได้จากสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด และการจำหน่ายเครื่องเรือนประกอบอาคารชุดภายใต้กฎหมายภาษีอากร
ตามสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดที่โจทก์ทำไว้กับผู้จะซื้อมีข้อตกลงให้ผู้จะซื้อจะต้องชำระราคาเป็นงวด ข้อตกลงดังกล่าว เป็นเรื่องของการกำหนดราคาค่าห้องชุดว่ามีราคาเท่าใด และจะชำระราคาห้องชุดกันอย่างไร ซึ่งเงินที่ผู้จะซื้อ ชำระให้แก่โจทก์ในฐานะผู้จะขายนั้นไม่ว่าจะเป็นเงินที่ชำระ ในวันทำสัญญาเป็นรายงวดหรือวันโอนกรรมสิทธิ์ก็ตาม เงินจำนวนดังกล่าวก็เป็นส่วนหนึ่งของราคาห้องชุดตามที่ ตกลงกันไว้แต่แรก หาใช่เงินมัดจำที่ผู้จะซื้อวางไว้ในการ เข้าทำสัญญาไม่ เมื่อโจทก์ใช้ระบบบัญชีเกณฑ์สิทธิในการ คำนวณกำไรสุทธิ โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำค่าห้องชุดที่ ผู้จะซื้อชำระให้แก่โจทก์ในฐานะผู้จะขาย ไม่ว่าจะชำระ ในวันทำสัญญาหรือชำระเป็นรายงวดมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเพราะเป็นรายได้ของโจทก์ที่เกิดขึ้นแล้วในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 วรรคสอง โจทก์ไม่ได้บังคับผู้จะซื้อให้ต้องซื้อห้องชุดพร้อมกับเครื่องเรือน ซึ่งในการทำสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวโจทก์ได้แยกราคาห้องชุดและราคาของเครื่องเรือนออกจากกัน ชัดแจ้ง ดังนั้น เครื่องเรือนที่ขายไปพร้อมห้องชุดจึงมี ลักษณะซื้อมาขายไปและมีสภาพแยกออกจากกันกับห้องชุด ถือไม่ได้ว่าการจำหน่ายเครื่องเรือนในลักษณะเช่นนั้นเป็นการ ขายอสังหาริมทรัพย์ด้วย โจทก์จึงไม่จำต้องนำรายรับในการจำหน่ายเครื่องเรือนที่จำหน่ายพร้อมกับห้องชุดไปรวมคำนวณเสียภาษีการค้า ประมวลรัษฎากร มาตรา 77 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นได้นิยามคำว่า "ขาย" ไว้ว่าหมายความรวมถึงสัญญาจะขายขายฝาก แลกเปลี่ยน ให้เช่าซื้อ หรือจำหน่ายจ่ายโอนโดยมีประโยชน์ตอบแทนด้วย การที่โจทก์ให้ลูกค้าซึ่งเป็น ชาวต่างประเทศได้ใช้สอยและใช้ประโยชน์ในห้องชุดเป็นเพียง การมอบการครอบครองให้ใช้สอยและจัดการห้องชุดแก่ชาวต่างประเทศ ในฐานะที่โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เท่านั้น หาใช่เป็นการขายตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ไม่ แม้โจทก์จะได้ค่าตอบแทนจากการให้ใช้สอยก็ตาม ค่าตอบแทนที่โจทก์ได้รับดังกล่าวจึงมิใช่รายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเสียภาษีการค้าประเภทการค้า 11
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1463/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณรายได้จากสัญญาจะซื้อจะขาย, การขายเครื่องเรือนพร้อมอาคารชุด และรายได้จากสัญญาสิทธิเก็บกิน กรณีภาษีอากร
++ เรื่อง ภาษีอากร ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ ++
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่โจทก์ทำไว้กับผู้จะซื้อมีข้อตกลงให้ผู้จะซื้อจะต้องชำระราคาเป็นงวด ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเรื่องของการกำหนดราคาค่าห้องชุดว่ามีราคาเท่าใดและจะชำระราคาห้องชุดกันอย่างไร ซึ่งเงินที่ผู้จะซื้อชำระให้แก่โจทก์ในฐานะผู้จะขายนั้นไม่ว่าจะเป็นเงินที่ชำระในวันทำสัญญาเป็นรายงวดหรือวันโอนกรรมสิทธิ์ก็ตาม เงินจำนวนดังกล่าวก็เป็นส่วนหนึ่งของราคาห้องชุดตามที่ตกลงกันไว้แต่แรก หาใช่เป็นเงินมัดจำที่ผู้จะซื้อวางไว้ในการเข้าทำสัญญา เมื่อโจทก์ใช้ระบบบัญชีเกณฑ์สิทธิในการคำนวณกำไรสุทธิ โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำค่าห้องชุดที่ผู้จะซื้อชำระให้แก่โจทก์ในฐานะผู้จะขายนั้น ไม่ว่าจะชำระในวันทำสัญญาหรือชำระเป็นรายงวดมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เพราะเป็นรายได้ของโจทก์ที่เกิดขึ้นแล้วในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 วรรคสอง
โจทก์ปลูกสร้างอาคารชุด จำนวน 293 ห้อง ขณะเริ่มแรกจำหน่ายโจทก์จำหน่ายห้องชุดโดยไม่มีเครื่องเรือน แสดงว่าโจทก์ไม่มีเจตนาที่จะประกอบการค้าจำหน่ายห้องชุดพร้อมเครื่องเรือนมาแต่ต้นและเครื่องเรือนที่โจทก์นำมาติดตั้งนั้นเป็นการติดตั้งภายหลังและสามารถเคลื่อนย้ายหรือรื้อถอนได้ และหากผู้จะซื้อรายใดไม่ต้องการเครื่องเรือนชิ้นใด โจทก์จะแยกนำออกไปจากห้องชุด แสดงว่า โจทก์ไม่ได้บังคับผู้จะซื้อให้ต้องซื้อห้องชุดพร้อมกับเครื่องเรือน อีกทั้งในการทำสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์ก็ได้แยกราคาห้องชุดและราคาของเครื่องเรือนออกจากกันชัดแจ้งดังนั้น เครื่องเรือนตามฟ้องที่ขายไปพร้อมห้องชุดจึงมีลักษณะซื้อมาขายไปและมีสภาพแยกออกจากกันกับห้องชุด จึงถือไม่ได้ว่าการจำหน่ายเครื่องเรือนในลักษณะเช่นนั้นเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ด้วยโจทก์จึงไม่ต้องนำรายรับในการจำหน่ายเครื่องเรือนที่จำหน่ายพร้อมกับห้องชุดไปรวมคำนวณเสียภาษีการค้า
การที่โจทก์ให้ลูกค้าซึ่งเป็นชาวต่างประเทศได้ใช้สอยและใช้ประโยชน์ในห้องชุดตามสัญญาเป็นเพียงการมอบการครอบครองให้ใช้สอยและจัดการห้องชุดแก่ชาวต่างประเทศในฐานะที่โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เท่านั้น ประกอบกับชาวต่างประเทศไม่สามารถรับโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์เพราะกฎหมายไม่อนุญาตให้ชาวต่างประเทศถือครองกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าว ดังนั้น กรรมสิทธิ์ในห้องชุดจึงไม่อาจเปลี่ยนโอนไปยังลูกค้าชาวต่างประเทศได้เช่นเดียวกับสัญญาขาย จะขายขายฝาก แลกเปลี่ยน หรือให้เช่าซื้อ ทั้งไม่อาจถือได้ว่าเป็นการจำหน่ายจ่ายโอนห้องชุดดังกล่าว เพราะกรรมสิทธิ์ในห้องชุดยังเป็นของโจทก์อยู่ สัญญาดังกล่าวจึงหาใช่เป็นการ "ขาย" ตามที่นิยามความหมายไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 77 แม้โจทก์จะได้ค่าตอบแทนจากการให้ใช้สอยก็ตาม ค่าตอบแทนที่โจทก์ได้รับดังกล่าวจึงมิใช่รายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเสียภาษีการค้าประเภทการค้า 11
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ ++
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่โจทก์ทำไว้กับผู้จะซื้อมีข้อตกลงให้ผู้จะซื้อจะต้องชำระราคาเป็นงวด ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเรื่องของการกำหนดราคาค่าห้องชุดว่ามีราคาเท่าใดและจะชำระราคาห้องชุดกันอย่างไร ซึ่งเงินที่ผู้จะซื้อชำระให้แก่โจทก์ในฐานะผู้จะขายนั้นไม่ว่าจะเป็นเงินที่ชำระในวันทำสัญญาเป็นรายงวดหรือวันโอนกรรมสิทธิ์ก็ตาม เงินจำนวนดังกล่าวก็เป็นส่วนหนึ่งของราคาห้องชุดตามที่ตกลงกันไว้แต่แรก หาใช่เป็นเงินมัดจำที่ผู้จะซื้อวางไว้ในการเข้าทำสัญญา เมื่อโจทก์ใช้ระบบบัญชีเกณฑ์สิทธิในการคำนวณกำไรสุทธิ โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำค่าห้องชุดที่ผู้จะซื้อชำระให้แก่โจทก์ในฐานะผู้จะขายนั้น ไม่ว่าจะชำระในวันทำสัญญาหรือชำระเป็นรายงวดมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เพราะเป็นรายได้ของโจทก์ที่เกิดขึ้นแล้วในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 วรรคสอง
โจทก์ปลูกสร้างอาคารชุด จำนวน 293 ห้อง ขณะเริ่มแรกจำหน่ายโจทก์จำหน่ายห้องชุดโดยไม่มีเครื่องเรือน แสดงว่าโจทก์ไม่มีเจตนาที่จะประกอบการค้าจำหน่ายห้องชุดพร้อมเครื่องเรือนมาแต่ต้นและเครื่องเรือนที่โจทก์นำมาติดตั้งนั้นเป็นการติดตั้งภายหลังและสามารถเคลื่อนย้ายหรือรื้อถอนได้ และหากผู้จะซื้อรายใดไม่ต้องการเครื่องเรือนชิ้นใด โจทก์จะแยกนำออกไปจากห้องชุด แสดงว่า โจทก์ไม่ได้บังคับผู้จะซื้อให้ต้องซื้อห้องชุดพร้อมกับเครื่องเรือน อีกทั้งในการทำสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์ก็ได้แยกราคาห้องชุดและราคาของเครื่องเรือนออกจากกันชัดแจ้งดังนั้น เครื่องเรือนตามฟ้องที่ขายไปพร้อมห้องชุดจึงมีลักษณะซื้อมาขายไปและมีสภาพแยกออกจากกันกับห้องชุด จึงถือไม่ได้ว่าการจำหน่ายเครื่องเรือนในลักษณะเช่นนั้นเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ด้วยโจทก์จึงไม่ต้องนำรายรับในการจำหน่ายเครื่องเรือนที่จำหน่ายพร้อมกับห้องชุดไปรวมคำนวณเสียภาษีการค้า
การที่โจทก์ให้ลูกค้าซึ่งเป็นชาวต่างประเทศได้ใช้สอยและใช้ประโยชน์ในห้องชุดตามสัญญาเป็นเพียงการมอบการครอบครองให้ใช้สอยและจัดการห้องชุดแก่ชาวต่างประเทศในฐานะที่โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เท่านั้น ประกอบกับชาวต่างประเทศไม่สามารถรับโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์เพราะกฎหมายไม่อนุญาตให้ชาวต่างประเทศถือครองกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าว ดังนั้น กรรมสิทธิ์ในห้องชุดจึงไม่อาจเปลี่ยนโอนไปยังลูกค้าชาวต่างประเทศได้เช่นเดียวกับสัญญาขาย จะขายขายฝาก แลกเปลี่ยน หรือให้เช่าซื้อ ทั้งไม่อาจถือได้ว่าเป็นการจำหน่ายจ่ายโอนห้องชุดดังกล่าว เพราะกรรมสิทธิ์ในห้องชุดยังเป็นของโจทก์อยู่ สัญญาดังกล่าวจึงหาใช่เป็นการ "ขาย" ตามที่นิยามความหมายไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 77 แม้โจทก์จะได้ค่าตอบแทนจากการให้ใช้สอยก็ตาม ค่าตอบแทนที่โจทก์ได้รับดังกล่าวจึงมิใช่รายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเสียภาษีการค้าประเภทการค้า 11
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1398/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งคำบังคับโดยมิชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง การขาดนัดยื่นคำให้การและพิจารณา และการขอพิจารณาใหม่
การส่งคำบังคับโดยวิธีอื่นแทนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 วรรคหนึ่ง นั้น พนักงานเดินหมาย ผู้ส่งคำบังคับจะต้องทำการปิดคำบังคับไว้ ณ บริษัทจำเลย ในที่แลเห็นได้ง่ายตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เท่านั้น การส่งให้ พนักงานบริษัทจำเลยรับไว้มิใช่เป็นการปิดคำบังคับในที่แลเห็นได้ง่ายตามกฎหมาย การส่งคำบังคับในกรณีนี้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีจึงยังอยู่ในระยะเวลาที่จำเลยจะยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ได้ อาคาร ท. มีทั้งหมด 9 ชั้น มีบริษัทดำเนินกิจการอยู่ในอาคารดังกล่าวประมาณ 10 บริษัท บริษัทจำเลยมีที่ทำการอยู่ชั้นที่ 7 และ 8 ลูกค้าที่จะติดต่อต้องติดต่อที่ชั้นที่ 8ในการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องและหมายนัดสืบพยานโจทก์ ให้จำเลยนั้น เมื่อพนักงานส่งหมายไปถึงอาคาร ท.เข้าใจว่าทั้งอาคารเป็นของบริษัทจำเลยจึงได้ปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไว้ที่บริเวณด้านหน้าอาคารชั้นล่างการปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องก็ดี การปิดหมายนัดสืบพยานโจทก์ ก็ดี พนักงานเดินหมายได้ปิดไว้ที่หน้าอาคารชั้นล่าง ไม่ใช่ ที่ทำการของบริษัทจำเลย อาคาร ท. เป็นที่ทำการของบริษัทอื่นอีกประมาณ 10 บริษัท ย่อมมีผู้คนพลุกพล่านพอสมควร หมายเรียก และหมายนัดอาจหลุดหายไปก่อนที่จำเลยจะได้ทราบข้อความ ดังนี้การขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาของจำเลย จึงมิได้เป็นไปโดยจงใจและมีเหตุอันสมควรให้พิจารณาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1398/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งคำบังคับตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ต้องปิดที่ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงาน การส่งให้พนักงานรับแทนไม่ชอบด้วยกฎหมาย
พนักงานเดินหมายผู้ส่งคำบังคับของศาลโดยวิธีปิดจะต้องทำการปิดคำบังคับไว้ ณ บริษัทจำเลยในที่แลเห็นได้ง่ายตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 79 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้เท่านั้น การส่งให้พนักงานบริษัทจำเลยรับไว้มิใช่เป็นการปิดคำบังคับในที่แลเห็นได้ง่าย ตามกฎหมายการส่งคำบังคับเช่นนี้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีจึงยังอยู่ในระยะเวลาที่จำเลยจะยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ได้ อาคาร ท. มีทั้งหมด 9 ชั้น มีบริษัทดำเนินกิจการอยู่ในอาคารดังกล่าวประมาณ 10 บริษัท บริษัทจำเลยมีที่ทำการอยู่ชั้นที่ 7 และ 8 ลูกค้าที่จะติดต่อต้องติดต่อที่ชั้นที่ 8การปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องก็ดี การปิดหมายนัดสืบพยานโจทก์ก็ดี พนักงานเดินหมายได้ปิดไว้ที่หน้าอาคารชั้นล่าง ไม่ใช่ที่ทำการของบริษัทจำเลย อาคาร ท.เป็นที่ทำการของบริษัทอื่นอีกประมาณ 10 บริษัท ย่อมมีผู้คนพลุกพล่านพอสมควร หมายเรียกและหมายนัดอาจหลุดหายไปก่อนที่จำเลยจะได้รับทราบข้อความ การขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาของจำเลยจึงมิได้เป็นไปโดยจงใจและ มีเหตุอันสมควรให้พิจารณาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1398/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งคำบังคับที่ชอบด้วยกฎหมาย: การปิดคำบังคับต้องทำ ณ ที่ทำการจำเลยเท่านั้น
การส่งคำบังคับโดยวิธีอื่นแทนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79วรรคหนึ่ง นั้น พนักงานเดินหมายผู้ส่งคำบังคับจะต้องทำการปิดคำบังคับไว้ ณบริษัทจำเลยในที่แลเห็นได้ง่ายตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เท่านั้น การส่งให้พนักงานบริษัทจำเลยรับไว้มิใช่เป็นการปิดคำบังคับในที่แลเห็นได้ง่ายตามกฎหมาย การส่งคำบังคับในกรณีนี้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีจึงยังอยู่ในระยะเวลาที่จำเลยจะยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ได้
อาคาร ท. มีทั้งหมด 9 ชั้น มีบริษัทดำเนินกิจการอยู่ในอาคารดังกล่าวประมาณ 10 บริษัท บริษัทจำเลยมีที่ทำการอยู่ชั้นที่ 7 และ 8ลูกค้าที่จะติดต่อต้องติดต่อที่ชั้นที่ 8 ในการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องและหมายนัดสืบพยานโจทก์ให้จำเลยนั้น เมื่อพนักงานส่งหมายไปถึงอาคาร ท.เข้าใจว่าทั้งอาคารเป็นของบริษัทจำเลยจึงได้ปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไว้ที่บริเวณด้านหน้าอาคารชั้นล่าง การปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องก็ดี การปิดหมายนัดสืบพยานโจทก์ก็ดี พนักงานเดินหมายได้ปิดไว้ที่หน้าอาคารชั้นล่าง ไม่ใช่ที่ทำการของบริษัทจำเลย อาคาร ท.เป็นที่ทำการของบริษัทอื่นอีกประมาณ 10 บริษัท ย่อมมีผู้คนพลุกพล่านพอสมควร หมายเรียกและหมายนัดอาจหลุดหายไปก่อนที่จำเลยจะได้ทราบข้อความ ดังนี้การขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาของจำเลยจึงมิได้เป็นไปโดยจงใจและมีเหตุอันสมควรให้พิจารณาใหม่
อาคาร ท. มีทั้งหมด 9 ชั้น มีบริษัทดำเนินกิจการอยู่ในอาคารดังกล่าวประมาณ 10 บริษัท บริษัทจำเลยมีที่ทำการอยู่ชั้นที่ 7 และ 8ลูกค้าที่จะติดต่อต้องติดต่อที่ชั้นที่ 8 ในการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องและหมายนัดสืบพยานโจทก์ให้จำเลยนั้น เมื่อพนักงานส่งหมายไปถึงอาคาร ท.เข้าใจว่าทั้งอาคารเป็นของบริษัทจำเลยจึงได้ปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไว้ที่บริเวณด้านหน้าอาคารชั้นล่าง การปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องก็ดี การปิดหมายนัดสืบพยานโจทก์ก็ดี พนักงานเดินหมายได้ปิดไว้ที่หน้าอาคารชั้นล่าง ไม่ใช่ที่ทำการของบริษัทจำเลย อาคาร ท.เป็นที่ทำการของบริษัทอื่นอีกประมาณ 10 บริษัท ย่อมมีผู้คนพลุกพล่านพอสมควร หมายเรียกและหมายนัดอาจหลุดหายไปก่อนที่จำเลยจะได้ทราบข้อความ ดังนี้การขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาของจำเลยจึงมิได้เป็นไปโดยจงใจและมีเหตุอันสมควรให้พิจารณาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาชำระภาษีมูลค่าเพิ่มและเบี้ยปรับ กรณีวันสุดท้ายเป็นวันหยุดราชการ
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.37/2534 เรื่อง ระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 89 และภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา91/21 (6) แห่ง ป.รัษฎากร ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.45/2536 ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2536 ข้อ 2 ที่ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจพิจารณาลดเบี้ยปรับลงได้ โดยให้ลดลงคงเสียตามอัตราและเงื่อนไขเกี่ยวกับระยะเวลาที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้ชำระภาษีตามที่กำหนดในข้อ 2(ก) (ข) และ (ค) นั้น ระยะเวลาดังกล่าวตามระเบียบนั้นมิได้มีบทบัญญัติว่าด้วยการนับระยะเวลาไว้เป็นพิเศษ จึงต้องนับระยะเวลาไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/1 เมื่อวันสุดท้ายของระยะเวลาที่กำหนดเป็นวันหยุดราชการ จึงต้องนับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลาตามมาตรา 193/8 ดังนั้น เมื่อเมื่อโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนกรกฎาคม 2539 ซึ่งจะต้องยื่นแบบแสดงรายการภายในวันที่ 15 สิงหาคม2539 ตามมาตรา 83 วรรคสองแห่ง ป.รัษฎากร ในวันที่ 16 กันยายน 2539เพราะวันที่ 14 และ 15 กันยายน 2539 เป็นวันเสาร์และวันอาทิตย์ จึงถือว่าโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภายใน 30 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งตามคำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าวให้ลดเบี้ยปรับลง คงเสียร้อยละ 5