พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,157 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2317/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ตามคำพิพากษาขาดอายุความเมื่อฟ้องล้มละลายเกิน 10 ปี แม้มีการบังคับคดีก่อนหน้านี้
หนี้ตามคำพิพากษามีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 168 เดิม แต่เจ้าหนี้นำหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวมาเป็นมูลฟ้องให้ลูกหนี้ล้มละลายเมื่อพ้น 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาแล้ว จึงขาดอายุความ และถือว่าเป็นหนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(1) การที่เจ้าหนี้ได้ดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาภายใน 10 ปี และได้เงินมาบางส่วนแล้วนั้น ไม่ใช่การทำการอื่นใดอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องคดีที่จะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 เดิม และแม้จะเป็นหนี้ที่เจ้าหนี้นำมาเป็นมูลฟ้องให้ลูกหนี้ล้มละลายจนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วก็ไม่ผูกพันศาลต้องถือตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2317/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ตามคำพิพากษาในคดีล้มละลาย: การดำเนินการบังคับคดีไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุด
หนี้ตามคำพิพากษาที่ผู้ร้องนำมายื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายเป็นสิทธิเรียกร้องอันตั้งหลักฐานขึ้นโดยคำพิพากษาชั้นที่สุดของศาลซึ่งมีอายุความ 10 ปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 168 เดิม แต่เจ้าหนี้ได้นำหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวมาเป็นมูลฟ้องให้ลูกหนี้ล้มละลายเมื่อพ้น 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาแล้ว หนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวจึงขาดอายุความ และถือเป็นหนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94(1)การที่เจ้าหนี้ได้ดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาภายใน 10 ปี และได้เงินมาบางส่วนแล้วนั้นไม่ใช่เป็นการทำการอื่นใดอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องคดีที่จะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง และแม้หนี้ตามคำพิพากษานั้นเจ้าหนี้ได้นำมาเป็นมูลฟ้องให้ลูกหนี้ล้มละลายจนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วก็ตามก็ไม่ผูกพันศาลต้องถือตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1694/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลา 60 วันหลังเจ้าพนักงานที่ดินแจ้งผลไม่ใช่ อายุความ แต่เป็นขั้นตอนตามกฎหมายที่ดิน โจทก์ยังฟ้องได้
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของส.ได้ยื่นขอรับมรดกบ้านพิพาทต่อเจ้าพนักงานที่ดินแต่จำเลยคัดค้านว่าบ้านพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของมารดาจำเลยเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานที่ดินไม่อาจจดทะเบียนโอนบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ได้และเมื่อเจ้าพนักงานที่ดินเปรียบเทียบโจทก์จำเลยก็ไม่สามารถตกลงกันได้เจ้าพนักงานที่ดินจึงแจ้งให้คู่กรณีไปดำเนินการฟ้องต่อศาลภายใน60วันกรณีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา81ซึ่งกำหนดขั้นตอนไว้ว่าเมื่อมีผู้โต้แย้งการขอจดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดกของผู้ร้องขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสอบสวนคู่กรณีและเปรียบเทียบถ้าเปรียบเทียบแล้วไม่ตกลงให้พนักงานเจ้าหน้าที่สั่งการไปตามที่เห็นสมควรหากคู่กรณีไม่พอใจคำสั่งดังกล่าวให้ไปดำเนินการฟ้องต่อศาลภายใน60วันนับแต่วันทราบคำสั่งโดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่รอเรื่องไว้เมื่อศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งถึงที่สุดประการใดจึงให้ดำเนินการไปตามกรณีถ้าไม่ฟ้องภายในกำหนดที่กล่าวข้างต้นก็ให้ดำเนินการไปตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่สั่งซึ่งระยะเวลาที่กำหนดให้คู่กรณีไปฟ้องศาลภายใน60วันดังกล่าวเป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งที่กฎหมายกำหนดไว้ให้คู่กรณีฝ่ายไม่พอใจคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติหาใช่อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/3ไม่แม้คู่กรณีไม่พอใจคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่จะไม่ฟ้องศาลตามกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้วก็ตามเจ้าพนักงานที่ดินก็ยังคงดำเนินการต่อไปได้ตามระเบียบของทางราชการและกฎหมายตามที่เห็นสมควรทั้งไม่เป็นการตัดสิทธิคู่กรณีนั้นที่จะฟ้องบังคับจำเลยตามมูลคดีเดิมอีกด้วย โจทก์ฟ้องโดยอ้างสิทธิในฐานะเจ้าของบ้านพิพาทเพื่อติดตามเอาทรัพย์สินคืนจากจำเลยผู้ทำละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1336เป็นกรณีไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความฟ้องร้องไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1694/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลา 60 วันหลังเจ้าพนักงานที่ดินแจ้งผล ไม่ใช่อายุความฟ้องคดี แต่เป็นขั้นตอนตามกฎหมายที่ดิน
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส.ได้ยื่นขอรับมรดกบ้านพิพาทต่อเจ้าพนักงานที่ดิน แต่จำเลยคัดค้านว่าบ้านพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของมารดาจำเลยเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานที่ดินไม่อาจจดทะเบียนโอนบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ได้ และเมื่อเจ้าพนักงานที่ดินเปรียบเทียบโจทก์จำเลยก็ไม่สามารถตกลงกันได้ เจ้าพนักงานที่ดินจึงแจ้งให้คู่กรณีไปดำเนินการฟ้องต่อศาลภายใน 60 วัน กรณีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 81 ซึ่งกำหนดขั้นตอนไว้ว่า เมื่อมีผู้โต้แย้งการขอจดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดกของผู้ร้องขอ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสอบสวนคู่กรณีและเปรียบเทียบ ถ้าเปรียบเทียบแล้วไม่ตกลงให้พนักงานเจ้าหน้าที่สั่งการไปตามที่เห็นสมควร หากคู่กรณีไม่พอใจคำสั่งดังกล่าวให้ไปดำเนินการฟ้องต่อศาลภายใน 60 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่รอเรื่องไว้เมื่อศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งถึงที่สุดประการใดจึงให้ดำเนินการไปตามกรณี ถ้าไม่ฟ้องภายในกำหนดที่กล่าวข้างต้นก็ให้ดำเนินการไปตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่สั่ง ซึ่งระยะเวลาที่กำหนดให้คู่กรณีไปฟ้องศาลภายใน 60 วัน ดังกล่าวเป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งที่กฎหมายกำหนดไว้ให้คู่กรณีฝ่ายไม่พอใจคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติหาใช่อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/3 ไม่แม้คู่กรณีไม่พอใจคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่จะไม่ฟ้องศาลตามกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้วก็ตาม เจ้าพนักงานที่ดินก็ยังคงดำเนินการต่อไปได้ตามระเบียบของทางราชการและกฎหมายตามที่เห็นสมควรทั้งไม่เป็นการตัดสิทธิคู่กรณีนั้นที่จะฟ้องบังคับจำเลยตามมูลคดีเดิมอีกด้วย โจทก์ฟ้องโดยอ้างสิทธิในฐานะเจ้าของบ้านพิพาทเพื่อติดตามเอาทรัพย์สินคืนจากจำเลยผู้ทำละเมิดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336 เป็นกรณีไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความฟ้องร้องไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1694/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขั้นตอนการขอรับมรดกอสังหาริมทรัพย์ที่มีข้อโต้แย้ง และการฟ้องติดตามทรัพย์สินคืน
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส.ได้ยื่นขอรับมรดกบ้านพิพาทต่อเจ้าพนักงานที่ดิน แต่จำเลยคัดค้านว่าบ้านพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของมารดาจำเลยเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานที่ดินไม่อาจจดทะเบียนโอนบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ได้ และเมื่อเจ้าพนักงานที่ดินเปรียบเทียบ โจทก์จำเลยก็ไม่สามารถตกลงกันได้ เจ้าพนักงานที่ดินจึงแจ้งให้คู่กรณีไปดำเนินการฟ้องต่อศาลภายใน 60 วัน กรณีต้องบังคับตาม ป.ที่ดินมาตรา 81 ซึ่งกำหนดขั้นตอนไว้ว่า เมื่อมีผู้โต้แย้งการขอจดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดกของผู้ร้องขอ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสอบสวนคู่กรณีและเปรียบเทียบ ถ้าเปรียบเทียบแล้วไม่ตกลงให้พนักงานเจ้าหน้าที่สั่งการไปตามที่เห็นสมควร หากคู่กรณีไม่พอใจคำสั่งดังกล่าวให้ไปดำเนินการฟ้องต่อศาลภายใน 60 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่รอเรื่องไว้เมื่อศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งถึงที่สุดประการใดจึงให้ดำเนินการไปตามกรณี ถ้าไม่ฟ้องภายในกำหนดที่กล่าวข้างต้นก็ให้ดำเนินการไปตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่สั่ง ซึ่งระยะเวลาที่กำหนดให้คู่กรณีไปฟ้องศาลภายใน 60 วัน ดังกล่าวเป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งที่กฎหมายกำหนดไว้ให้คู่กรณีฝ่ายไม่พอใจคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติ หาใช่อายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/9 ไม่ แม้คู่กรณีไม่พอใจคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่จะไม่ฟ้องศาลตามกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้วก็ตาม เจ้าพนักงานที่ดินก็ยังคงดำเนินการต่อไปได้ตามระเบียบของทางราชการและกฎหมายตามที่เห็นสมควรทั้งไม่เป็นการตัดสิทธิคู่กรณีนั้นที่จะฟ้องบังคับจำเลยตามมูลคดีเดิมอีกด้วย
โจทก์ฟ้องโดยอ้างสิทธิในฐานะเจ้าของบ้านพิพาทเพื่อติดตามเอาทรัพย์สินคืนจากจำเลยผู้ทำละเมิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 เป็นกรณีไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความฟ้องร้องไว้
โจทก์ฟ้องโดยอ้างสิทธิในฐานะเจ้าของบ้านพิพาทเพื่อติดตามเอาทรัพย์สินคืนจากจำเลยผู้ทำละเมิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 เป็นกรณีไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความฟ้องร้องไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1676/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำสัญญาเช่าซื้อฉบับใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขสาระสำคัญ ถือเป็นการแปลงหนี้ สัญญาเดิมระงับสิ้นผล
หลังจากจำเลยที่1ทำสัญญาเช่าซื้อรถขุดจากโจทก์แล้วจำเลยที่1ก็ชำระค่าเช่าซื้องวดแรกให้แก่โจทก์ตามกำหนดโดยขณะนั้นรถที่เช่าซื้อได้ถูกเจ้าพนักงานตำรวจยึดเอาไว้เพราะเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติเหมืองแร่ฯโจทก์สมัครใจทำสัญญาเช่าซื้อกับจำเลยที่1ใหม่โดยสัญญาเช่าซื้อฉบับที่สองทำก่อนถึงกำหนดชำระค่าเช่าซื้องวดที่สองตามสัญญาเช่าซื้อฉบับแรกข้อความตามสัญญาเช่าซื้อฉบับที่สองมีการเปลี่ยนแปลงยอดเงินที่จะต้องชำระราคาเช่าซื้อกันทั้งหมดตลอดจนจำนวนเงินที่จำเลยที่1จะต้องผ่อนชำระในแต่ละงวดซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในการชำระหนี้อันเป็นการเปลี่ยนสิ่งสาระสำคัญแห่งหนี้แม้ขณะทำสัญญาเช่าซื้อฉบับที่สองรถขุดที่เช่าซื้อถูกเจ้าพนักงานตำรวจยึดไปแล้วแต่ก็แสดงความประสงค์ของโจทก์กว่ามีเจตนาเพียงต้องการได้รับค่าเช่าซื้อเท่านั้นจึงได้ทำสัญญาเช่าซื้อฉบับที่สองมีลักษณะเป็นการกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยที่1ชำระเงินแต่ละงวดเพื่อระงับหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อฉบับแรกโดยให้ใช้สัญญาเช่าซื้อฉบับที่สองแทนจึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่สัญญาเช่าซื้อฉบับแรกเมื่อระงับไปแล้วก็ไม่มีผลใช้บังคับโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องตามสัญญาเช่าซื้อฉบับแรกอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1676/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้สัญญาเช่าซื้อ: สัญญาฉบับหลังแทนที่สัญญาฉบับเดิมเมื่อมีเจตนาใหม่
หลังจากจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถขุดจากโจทก์ ตามสัญญาเช่าซื้อฉบับแรกแล้ว จำเลยที่ 1 ก็ชำระค่าเช่าซื้องวดแรกให้แก่โจทก์ตามกำหนด โดยขณะนั้นรถขุดที่เช่าซื้อได้ถูกเจ้าพนักงานตำรวจยึดเอาไว้เพราะเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการกระทำผิดต่อ พ.ร.บ.เหมืองแร่ พ.ศ.2510 ซึ่งตามพฤติการณ์แห่งคดีน่าเชื่อว่าโจทก์จะรู้ถึงการกระทำผิดของจำเลยที่ 1 ดังจะเห็นได้ว่าโจทก์สมัครใจทำสัญญาเช่าซื้อกับจำเลยที่ 1 ใหม่ ตามสัญญาเช่าซื้อฉบับที่สอง โดยสัญญาเช่าซื้อฉบับที่สองทำก่อนถึงกำหนดชำระค่าเช่าซื้องวดที่สองตามสัญญาเช่าซื้อฉบับแรกและเมื่อพิจารณาถึงข้อความตามสัญญาเช่าซื้อฉบับที่สองมีการเปลี่ยนแปลงยอดเงินที่จะต้องชำระราคาค่าเช่าซื้อกันทั้งหมดตลอดจนจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 จะต้องผ่อนชำระในแต่ละงวดซึ่งเป็นการเปลี่ยนเงื่อนไขในการชำระหนี้ อันเป็นการเปลี่ยนสิ่งสาระสำคัญแห่งหนี้ แม้ขณะทำสัญญาเช่าซื้อฉบับที่สอง รถขุดที่เช่าซื้อถูกเจ้าพนักงานตำรวจยึดไปแล้ว แต่ก็แสดงความประสงค์ของโจทก์ว่ามีเจตนาเพียงต้องการได้รับค่าเช่าซื้อเท่านั้น จึงได้ทำสัญญาเช่าซื้อฉบับที่สองมีลักษณะเป็นการกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินแต่ละงวดเพื่อระงับหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อฉบับแรก โดยให้ใช้สัญญาเช่าซื้อฉบับที่สองแทน จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่สัญญาเช่าซื้อฉบับแรกเมื่อระงับไปแล้วก็ไม่มีผลใช้บังคับ ทั้งนี้เป็นไปตามข้อตกลงในการทำสัญญาเช่าซื้อฉบับที่สองนั่นเอง โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องตามสัญญาเช่าซื้อฉบับแรกอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1495/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: หลักการคำนวณค่าทดแทนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง, การหักลบราคาที่ดินที่สูงขึ้น, และดอกเบี้ยค่าทดแทน
คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ ได้กำหนดค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์โดยนำราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินปี 2531 มาเป็นเกณฑ์ในการกำหนดค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้โจทก์ และเห็นว่าค่าทดแทนที่ดินที่โจทก์ได้รับดังกล่าวน้อยกว่าราคาที่ดินส่วนที่เหลือที่มีราคาเพิ่มขึ้น เมื่อนำมาหักกลบลบกันแล้วค่าทดแทนที่ดินย่อมหมดไป คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯจึงมีมติไม่จ่ายค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์ คงจ่ายให้เฉพาะค่าทดแทนอาคาร ค่าถมดิน ค่าพื้นคอนกรีต และค่าพืชผลต้นไม้เมื่อปรากฏว่าในวันที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯมีการประชุมลงมตินั้น มีประกาศคณะผู้รักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ใช้บังคับแล้ว ดังนั้นการกำหนดค่าทดแทนจึงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 และมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะผู้รักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44ดังนั้น ในการกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์ จึงต้องคำนึงถึงราคาที่ดินที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาด สภาพและสถานที่ตั้งของที่ดินมาประกอบการพิจารณาด้วย การที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ไม่ได้คำนึงถึงข้อนี้ในการพิจารณากำหนดค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์จึงไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 21 วรรคสองและวรรคสาม เป็นบทบัญญัติที่เป็นหลักการสำคัญในการสนับสนุนให้การเวนคืนเป็นไปด้วยความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมโดยสมบูรณ์เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าการเวนคืนทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลืออยู่มีราคาสูงขึ้นแล้วหากไม่นำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทน ก็จะทำให้ผู้ถูกเวนคืนได้รับผลประโยชน์จากการเวนคืนแต่ฝ่ายเดียว ในทางตรงกันข้ามหากอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือนั้นราคาลดลงแล้ว หากผู้ถูกเวนคืนไม่ได้รับเงินค่าทดแทนในส่วนนี้ ก็ย่อมไม่เป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืน ซึ่งขัดต่อหลักการสำคัญของมาตรา 21 ที่ให้กำหนดค่าทดแทนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมส่วนมาตรา 21 วรรคสี่ เป็นเพียงวิธีการที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของมาตรา 21 เท่านั้น แม้ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณว่าอสังหาริมทรัพย์ใดมีราคาสูงขึ้นตามวรรคสอง หรือราคาลดลงตามวรรคสามออกใช้บังคับตามที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 21 วรรคสี่ก็ไม่ใช่กรณีที่จะถือเป็นเหตุที่จะทำให้หลักการสำคัญตามมาตรา 21 วรรคสอง และวรรคสามใช้บังคับไม่ได้ ดังนั้นหากปรากฎชัดว่าที่ดินในส่วนที่เหลือของโจทก์มีราคาสูงขึ้นเพราะการเวนคืนแล้ว จำเลยทั้งสองและศาลย่อมนำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทนที่โจทก์ได้รับได้ เมื่อจำเลยทั้งสองต้องชำระเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ตามคำวินิจฉัยของศาล โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นตามมาตรา 26 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เพราะโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยจากที่ศาลชั้นต้นกำหนด โดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบในเรื่องดอกเบี้ยดังกล่าวว่ามีอัตราเท่าใด เพราะเป็นกรณีที่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น ก็ต้องเป็นไปตามกฎหมายนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1495/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: หลักการคำนวณค่าทดแทนที่เหมาะสม, การหักกลบลบราคาที่สูงขึ้น, และดอกเบี้ย
คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ได้กำหนดค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์โดยนำราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินปี2531มาเป็นเกณฑ์ในการกำหนดค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้โจทก์และเห็นว่าค่าทดแทนที่ดินที่โจทก์ได้รับดังกล่าวน้อยกว่าราคาที่ดินส่วนที่เหลือที่มีราคาเพิ่มขึ้นเมื่อนำมาหักกลบลบกันแล้วค่าทดแทนที่ดินย่อมหมดไปคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯจึงมีมติไม่จ่ายค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์คงจ่ายให้เฉพาะค่าทดแทนอาคารค่าถมดินค่าพื้นคอนกรีตและค่าพืชผลต้นไม้เมื่อปรากฏว่าในวันที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯมีการประชุมลงมตินั้นมีประกาศคณะผู้รักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่44เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ใช้บังคับแล้วดังนั้นการกำหนดค่าทดแทนจึงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา9และมาตรา21แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะผู้รักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่44ดังนั้นในการกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์จึงต้องคำนึงถึงราคาที่ดินที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดสภาพและสถานที่ตั้งของที่ดินมาประกอบการพิจารณาด้วยการที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯไม่ได้คำนึงถึงข้อนี้ในการพิจารณากำหนดค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์จึงไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา21วรรคสองและวรรคสามเป็นบทบัญญัติที่เป็นหลักการสำคัญในการสนับสนุนให้การเวนคืนเป็นไปด้วยความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมโดยสมบูรณ์เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าการเวนคืนทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลืออยู่มีราคาสูงขึ้นแล้วหากไม่นำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทนก็จะทำให้ผู้ถูกเวนคืนได้รับผลประโยชน์จากการเวนคืนแต่ฝ่ายเดียวในทางตรงกันข้ามหากอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือนั้นราคาลดลงแล้วหากผู้ถูกเวนคืนไม่ได้รับเงินค่าทดแทนในส่วนนี้ก็ย่อมไม่เป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนซึ่งขัดต่อหลักการสำคัญของมาตรา21ที่ให้กำหนดค่าทดแทนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมส่วนมาตรา21วรรคสี่เป็นเพียงวิธีการที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของมาตรา21เท่านั้นแม้ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณว่าอสังหาริมทรัพย์ใดมีราคาสูงขึ้นตามวรรคสองหรือราคาลดลงตามวรรคสามออกใช้บังคับตามที่บัญญัติไว้ตามมาตรา21วรรคสี่ก็ไม่ใช่กรณีที่จะถือเป็นเหตุที่จะทำให้หลักการสำคัญตามมาตรา21วรรคสองและวรรคสามใช้บังคับไม่ได้ดังนั้นหากปรากฎชัดว่าที่ดินในส่วนที่เหลือของโจทก์มีราคาสูงขึ้นเพราะการเวนคืนแล้วจำเลยทั้งสองและศาลย่อมนำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทนที่โจทก์ได้รับได้ เมื่อจำเลยทั้งสองต้องชำระเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ตามคำวินิจฉัยของศาลโจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นตามมาตรา26วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงแต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ7.5ต่อปีเพราะโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยจากที่ศาลชั้นต้นกำหนดโดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบในเรื่องดอกเบี้ยดังกล่าวว่ามีอัตราเท่าใดเพราะเป็นกรณีที่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นก็ต้องเป็นไปตามกฎหมายนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1495/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: หลักเกณฑ์การประเมินค่าทดแทนที่ดิน และการหักกลบราคาที่ดินส่วนที่เหลือที่สูงขึ้น
คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ ได้กำหนดค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์โดยนำราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินปี 2531มาเป็นเกณฑ์ในการกำหนดค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้โจทก์ และเห็นว่าค่าทดแทนที่ดินที่โจทก์ได้รับดังกล่าวน้อยกว่าราคาที่ดินส่วนที่เหลือที่มีราคาเพิ่มขึ้น เมื่อนำมาหักกลบลบกันแล้วค่าทดแทนที่ดินย่อมหมดไป คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯจึงมีมติไม่จ่ายค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์ คงจ่ายให้เฉพาะค่าทดแทนอาคาร ค่าถมดินค่าพื้นคอนกรีต และค่าพืชผลต้นไม้ เมื่อปรากฏว่าในวันที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯมีการประชุมลงมตินั้น มีประกาศคณะผู้รักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 44 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ใช้บังคับแล้ว ดังนั้น การกำหนดค่าทดแทนจึงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 และมาตรา 21 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะผู้รักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44ดังนั้น ในการกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์ จึงต้องคำนึงถึงราคาที่ดินที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาด สภาพและสถานที่ตั้งของที่ดินมาประกอบการพิจารณาด้วยการที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯไม่ได้คำนึงถึงข้อนี้ในการพิจารณากำหนดค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์จึงไม่เป็นธรรมแก่โจทก์
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา21 วรรคสองและวรรคสาม เป็นบทบัญญัติที่เป็นหลักการสำคัญในการสนับสนุนให้การเวนคืนเป็นไปด้วยความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมโดยสมบูรณ์ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าการเวนคืนทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลืออยู่มีราคาสูงขึ้นแล้วหากไม่นำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทน ก็จะทำให้ผู้ถูกเวนคืนได้รับผลประโยชน์จากการเวนคืนแต่ฝ่ายเดียว ในทางตรงกันข้ามหากอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือนั้นราคาลดลงแล้ว หากผู้ถูกเวนคืนไม่ได้รับเงินค่าทดแทนในส่วนนี้ ก็ย่อมไม่เป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืน ซึ่งขัดต่อหลักการสำคัญของมาตรา 21 ที่ให้กำหนดค่าทดแทนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม ส่วนมาตรา 21 วรรคสี่ เป็นเพียงวิธีการที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของมาตรา 21 เท่านั้น แม้ยังไม่มี พ.ร.ฎ.กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณว่าอสังหาริมทรัพย์ใดมีราคาสูงขึ้นตามวรรคสอง หรือราคาลดลงตามวรรคสามออกใช้บังคับตามที่บัญญัติไว้ตามมาตรา21 วรรคสี่ ก็ไม่ใช่กรณีที่จะถือเป็นเหตุที่จะทำให้หลักการสำคัญตามมาตรา 21วรรคสอง และวรรคสามใช้บังคับไม่ได้ ดังนั้นหากปรากฏชัดว่าที่ดินในส่วนที่เหลือของโจทก์มีราคาสูงขึ้นเพราะการเวนคืนแล้ว จำเลยทั้งสองและศาลย่อมนำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทนที่โจทก์ได้รับได้
เมื่อจำเลยทั้งสองต้องชำระเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ตามคำวินิจฉัยของศาล โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นตามมาตรา 26วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เพราะโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยจากที่ศาลชั้นต้นกำหนด โดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบในเรื่องดอกเบี้ยดังกล่าวว่ามีอัตราเท่าใด เพราะเป็นกรณีที่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น ก็ต้องเป็นไปตามกฎหมายนั้น
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา21 วรรคสองและวรรคสาม เป็นบทบัญญัติที่เป็นหลักการสำคัญในการสนับสนุนให้การเวนคืนเป็นไปด้วยความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมโดยสมบูรณ์ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าการเวนคืนทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลืออยู่มีราคาสูงขึ้นแล้วหากไม่นำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทน ก็จะทำให้ผู้ถูกเวนคืนได้รับผลประโยชน์จากการเวนคืนแต่ฝ่ายเดียว ในทางตรงกันข้ามหากอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือนั้นราคาลดลงแล้ว หากผู้ถูกเวนคืนไม่ได้รับเงินค่าทดแทนในส่วนนี้ ก็ย่อมไม่เป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืน ซึ่งขัดต่อหลักการสำคัญของมาตรา 21 ที่ให้กำหนดค่าทดแทนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม ส่วนมาตรา 21 วรรคสี่ เป็นเพียงวิธีการที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของมาตรา 21 เท่านั้น แม้ยังไม่มี พ.ร.ฎ.กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณว่าอสังหาริมทรัพย์ใดมีราคาสูงขึ้นตามวรรคสอง หรือราคาลดลงตามวรรคสามออกใช้บังคับตามที่บัญญัติไว้ตามมาตรา21 วรรคสี่ ก็ไม่ใช่กรณีที่จะถือเป็นเหตุที่จะทำให้หลักการสำคัญตามมาตรา 21วรรคสอง และวรรคสามใช้บังคับไม่ได้ ดังนั้นหากปรากฏชัดว่าที่ดินในส่วนที่เหลือของโจทก์มีราคาสูงขึ้นเพราะการเวนคืนแล้ว จำเลยทั้งสองและศาลย่อมนำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทนที่โจทก์ได้รับได้
เมื่อจำเลยทั้งสองต้องชำระเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ตามคำวินิจฉัยของศาล โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นตามมาตรา 26วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เพราะโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยจากที่ศาลชั้นต้นกำหนด โดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบในเรื่องดอกเบี้ยดังกล่าวว่ามีอัตราเท่าใด เพราะเป็นกรณีที่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น ก็ต้องเป็นไปตามกฎหมายนั้น