คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เสมอ อินทรศักดิ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 571 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7092/2541 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับจดทะเบียนสหภาพแรงงาน: สิทธิและอำนาจฟ้องคดี
ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 91 เป็นกรณีที่นายทะเบียนเห็นว่าคำขอจดทะเบียนสหภาพแรงงานและร่างข้อบังคับเมื่อแรกจัดตั้งสหภาพแรงงานไม่ถูกต้อง ก็ให้นายทะเบียนมีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนและให้สิทธิผู้ขอจดทะเบียนอุทธรณ์คำสั่งต่อรัฐมนตรีได้ มาตรา 106 เป็นกรณีนายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้กรรมการผู้ใดผู้หนึ่งหรือคณะกรรมการของสหภาพแรงงานออกจากตำแหน่ง และมาตรา107 ให้สิทธิกรรมการผู้นั้นหรือคณะกรรมการอุทธรณ์คำสั่งต่อรัฐมนตรีได้ ซึ่งกรณีตามมาตรา 91, 106 และ 107 ไม่ใช่การนำรายชื่อคณะกรรมการไปขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียน ส่วนมาตรา 93 แม้จะเป็นกรณีนำรายชื่อคณะกรรมการไปขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียน แต่เป็นรายชื่อคณะกรรมการที่ได้รับเลือกจากที่ประชุมใหญ่สามัญครั้งแรกหลังจากจดทะเบียนสหภาพแรงงาน แต่กรณีนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการซึ่งพ้นตำแหน่งไปตามข้อบังคับ และเป็นการนำรายชื่อคณะกรรมการที่ได้รับเลือกตั้งใหม่ไปขอจดทะเบียน แต่การขอจดทะเบียนรายชื่อคณะกรรมการทั้งสองกรณีดังกล่าวมาตรา 93 ไม่ได้กำหนดขั้นตอนไว้ดังเช่นที่กำหนดไว้ตามมาตรา 91 และ 107ทั้งไม่มีมาตราใดกำหนดขั้นตอนไว้ให้ผู้ยื่นคำขออุทธรณ์คำสั่งไม่รับจดทะเบียนต่อรัฐมนตรีได้ เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งไม่รับจดทะเบียนต่อรัฐมนตรีและรัฐมนตรีไม่มีหน้าที่ต้องสั่งอุทธรณ์ของโจทก์ การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม จำเลยไม่สั่งอุทธรณ์ของโจทก์ กรณียังถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิโจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย จึงชอบที่ศาลแรงงานจะมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องโจทก์เฉพาะที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6963/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานกระทำผิดระเบียบบริษัทจากการรับแทงพนันในที่ทำงาน แม้เจ้ามืออยู่นอกสถานที่
โจทก์รับแทงสลากกินรวบจากเพื่อนร่วมงานในสถานที่ทำงาน ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้จัดการให้มีการเล่นพนันสลากกินรวบอันเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติการพนันพ.ศ. 2478 มาตรา 12 แม้เจ้ามือผู้รับแทงซึ่งภริยาโจทก์นำโพยสลากกินรวบจากโจทก์ไปส่งจะอยู่นอกบริเวณโรงงานจำเลยก็ตาม การกระทำความผิดของโจทก์ก็เกิดขึ้น ณ สถานที่ทำงานดังกล่าว ดังนั้น การที่โจทก์รับแทงสลากกินรวบจากเพื่อนร่วมงานในสถานที่ทำงานจึงเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของบริษัทจำเลยซึ่งเป็นกรณีร้ายแรง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายจำเลยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย เงินรางวัลประจำปีและค่าเสียหายแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6951/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียก/สำเนาคำฟ้องไม่ชอบ กรณีจำเลยมีสำนักงานใหญ่แห่งเดียว การพิจารณาคดีเป็นโมฆะ
ตามคำฟ้องโจทก์ระบุที่ตั้งของจำเลยอยู่บ้านเลขที่ 210 จังหวัดชลบุรี หรือสำนักงานใหญ่ อาคารสีลมคอมเพล็กซ์ชั้น 20 และ 21 เลขที่ 191กรุงเทพมหานคร แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่เลขที่ 191อาคารสีลมคอมเพล็กซ์ ชั้น 20 และ 21 กรุงเทพมหานคร เพียงแห่งเดียวโดยไม่ปรากฏว่ามีสาขาอื่น เมื่อการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยเฉพาะที่ตั้งอยู่เลขที่ 210 แห่งเดียว โดยมิได้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยณ ที่สำนักงานใหญ่ของจำเลย แต่ตอนส่งคำบังคับตามคำพิพากษาของศาลแรงงานกลับมีการส่งให้จำเลยที่สำนักงานใหญ่ของจำเลยและส่งได้ จำเลยจึงทราบว่าถูกฟ้องคดีนี้ ดังนี้ เมื่อจำเลยมิได้มีสำนักงานสาขาตั้งอยู่เลขที่ 210 กรณีจึงถือไม่ได้ว่าได้มีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยชอบ กระบวนพิจารณาคดีของศาลแรงงานภายหลังต่อมาไปจนถึงมีคำพิพากษาจึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบศาลฎีกาให้ศาลแรงงานดำเนินการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยใหม่ และพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6951/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องที่ไม่ชอบ การพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบ และผลกระทบต่อกระบวนการยุติธรรม
ตามคำฟ้องโจทก์ระบุที่ตั้งของจำเลยอยู่บ้านเลขที่ 210จังหวัดชลบุรี หรือสำนักงานใหญ่ อาคารสีลมคอมเพล็กซ์ชั้น 20และ 21 เลขที่ 191 กรุงเทพมหานคร แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่เลขที่ 191 อาคารสีลมคอมเพล็กซ์ชั้น 20 และ 21 กรุงเทพมหานคร เพียงแห่งเดียวโดยไม่ปรากฏว่ามีสาขาอื่น เมื่อการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง ให้จำเลยเฉพาะที่ตั้งอยู่เลขที่ 210 แห่งเดียวโดยมิได้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยณ ที่สำนักงานใหญ่ของจำเลย แต่ตอนส่งคำบังคับตามคำพิพากษาของศาลแรงงานกลับมีการส่งให้จำเลยที่สำนักงานใหญ่ของจำเลยและส่งได้ จำเลยจึงทราบว่าถูกฟ้องคดีนี้ ดังนี้ เมื่อจำเลยมิได้มีสำนักงานสาขาตั้งอยู่เลขที่ 210 กรณีจึงถือไม่ได้ว่าได้มีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยชอบ กระบวนพิจารณาคดีของศาลแรงงานภายหลังต่อมาไปจนถึงมีคำพิพากษาจึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบศาลฎีกาให้ศาลแรงงานดำเนินการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยใหม่และพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6950/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า นายจ้างสามารถออกระเบียบเพิ่มเติมได้ แต่ต้องไม่ขัดกับกฎหมายแรงงาน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานมิได้ห้ามนายจ้างที่จะออกระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือกับค่าชดเชยรวมกันไป ดังนั้น จำเลยย่อม มีสิทธิออกระเบียบว่าด้วยการจ่ายเงินชดเชยเพื่อช่วยเหลือ เมื่อออกจากงานได้ ระเบียบของจำเลย ข้อ 3 กำหนดว่า พนักงานอาวุโสจะได้รับเงินชดเชยจำนวนหนึ่งโดยคำนวณ ตามสูตร แต่ทั้งนี้ให้หักจำนวนเงินค่าชดเชยใด ๆ ที่ จำเลยได้จ่ายตามกฎหมายแรงงานออก เห็นได้ว่า เงิน ซึ่งลูกจ้างได้รับตามระเบียบดังกล่าวมีค่าชดเชยตาม กฎหมายแรงงานรวมอยู่ด้วย ดังนั้น เมื่อจำเลยจ่ายเงินเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 18 เดือน ให้โจทก์ ทั้งจำเลยได้ระบุ ด้วยว่าเป็นค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน 6 เดือน ถือได้ว่า จำเลยจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์แล้วแต่สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นเงินซึ่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 บัญญัติให้คู่สัญญาฝ่ายที่บอกเลิกสัญญาจ้างจ่ายแก่อีกฝ่ายหนึ่งโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าต้องรับผิด สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจึงมิใช่เงินค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน แม้จำเลยระบุในหนังสือเลิกจ้างว่าเป็นค่าบอกกล่าวล่วงหน้า 30 วัน ก็ถือ ไม่ได้ว่าจำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้โจทก์ แต่อย่างใด ทั้งสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าไม่ใช่หนี้เงินซึ่งกฎหมายกำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายทันทีเมื่อ เลิกจ้าง นายจ้างจะผิดนัดต่อเมื่อลูกจ้างทวงถามปรากฏว่าโจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2541 จำเลยไม่ชำระ ถือได้ว่า จำเลยผิดนัดตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2541 เป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6950/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า: ความแตกต่างและการบังคับใช้
แม้การจ่ายเงินชดเชยตามระเบียบว่าด้วยการจ่ายเงินชดเชยเพื่อช่วยเหลือเมื่อออกจากงานของจำเลย มีหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายแตกต่างไปจากการจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน เช่นระยะเวลาการทำงาน เป็นต้น เงินชดเชยตามระเบียบของจำเลยดังกล่าวเป็นเงินประเภทอื่น มิใช่ค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 2 ก็ตาม แต่ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานมิได้ห้ามนายจ้างที่จะออกระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือกับค่าชดเชยรวมกันไปจำเลยย่อมมีสิทธิออกระเบียบว่าด้วยการจ่ายเงินชดเชยเพื่อช่วยเหลือเมื่อออกจากงานได้ เมื่อปรากฏว่าระเบียบดังกล่าวกำหนดว่า พนักงานอาวุโสจะได้รับเงินชดเชยจำนวนหนึ่ง โดยคำนวณตามสูตรที่จะกล่าวต่อไป แต่ทั้งนี้ให้หักจำนวนเงินค่าชดเชยใด ๆ ที่จำเลยได้จ่ายตามกฎหมายแรงงานออก เห็นได้ว่า เงินซึ่งลูกจ้างได้รับตามระเบียบดังกล่าวมีค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานรวมอยู่ด้วย ดังนั้น เมื่อจำเลยจ่ายเงินเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 18 เดือน ให้โจทก์ ทั้งจำเลยได้ระบุด้วยว่าเป็นค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน 6 เดือน กรณีถือได้ว่าจำเลยจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์แล้ว
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เป็นเงินซึ่ง ป.พ.พ.มาตรา582 บัญญัติให้คู่สัญญาฝ่ายที่บอกเลิกสัญญาจ้างจ่ายแก่อีกฝ่ายหนึ่งโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าต้องรับผิด สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจึงมิใช่เงินค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานการที่จำเลยกำหนดไว้ในระเบียบว่าด้วยการจ่ายเงินชดเชยเพื่อช่วยเหลือเมื่อออกจากงาน แม้จำเลยระบุในหนังสือเลิกจ้างว่าเป็นค่าบอกกล่าวล่วงหน้า 30 วัน ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้โจทก์แล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้านั้นจากจำเลยเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าไม่ใช่หนี้เงินซึ่งกฎหมายกำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายทันทีเมื่อเลิกจ้าง นายจ้างจะผิดนัดต่อเมื่อลูกจ้างทวงถาม ปรากฏว่าโจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าภายในวันที่ 15กุมภาพันธ์ 2541 แต่จำเลยไม่ชำระ กรณีถือได้ว่าจำเลยผิดนัดตั้งแต่วันที่ 16กุมภาพันธ์ 2541 เป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6950/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า: การแยกแยะประเภทเงินและกำหนดระยะเวลาผิดนัดชำระ
แม้การจ่ายเงินชดเชยตามระเบียบว่าด้วยการจ่ายเงิน ชดเชยเพื่อช่วยเหลือเมื่อออกจากงานของจำเลยมีหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายแตกต่างไปจากการจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน เช่นระยะเวลาการทำงาน เป็นต้น เงินชดเชยตามระเบียบของจำเลยดังกล่าวเป็นเงิน ประเภทอื่น มิใช่ค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 2 ก็ตาม แต่ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานมิได้ ห้ามนายจ้างที่จะออกระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการจ่ายเงิน ช่วยเหลือกับค่าชดเชยรวมกันไปจำเลยย่อมมีสิทธิออกระเบียบว่าด้วยการจ่ายเงินชดเชยเพื่อช่วยเหลือเมื่อออกจากงานได้ เมื่อปรากฏว่าระเบียบดังกล่าวกำหนดว่า พนักงานอาวุโสจะได้รับเงินชดเชย จำนวนหนึ่ง โดยคำนวณตามสูตรที่จะกล่าวต่อไป แต่ทั้งนี้ให้หักจำนวนเงินค่าชดเชยใด ๆ ที่จำเลยได้จ่ายตามกฎหมายแรงงานออก เห็นได้ว่า เงินซึ่งลูกจ้างได้รับตามระเบียบดังกล่าวมีค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานรวมอยู่ด้วย ดังนั้น เมื่อจำเลยจ่ายเงินเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 18 เดือน ให้โจทก์ ทั้งจำเลยได้ระบุด้วยว่าเป็นค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน 6 เดือน กรณี ถือได้ว่าจำเลยจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์แล้ว สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เป็นเงินซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 บัญญัติให้คู่สัญญาฝ่ายที่บอกเลิกสัญญาจ้างจ่ายแก่อีกฝ่ายหนึ่ง โดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าต้องรับผิด สินจ้างแทน การบอกกล่าวล่วงหน้าจึงมิใช่เงินค่าชดเชย ตามกฎหมายแรงงานการที่จำเลยกำหนดไว้ในระเบียบ ว่าด้วยการจ่ายเงินชดเชยเพื่อช่วยเหลือเมื่อออกจากงาน แม้จำเลยระบุในหนังสือเลิกจ้างว่าเป็นค่าบอกกล่าวล่วงหน้า 30 วัน ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ให้โจทก์แล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิได้รับสินจ้างแทน การบอกกล่าวล่วงหน้านั้นจากจำเลยเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าไม่ใช่หนี้เงินซึ่งกฎหมายกำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายทันทีเมื่อเลิกจ้าง นายจ้างจะผิดนัดต่อเมื่อลูกจ้างทวงถาม ปรากฏว่า โจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2541 แต่จำเลยไม่ชำระกรณีถือได้ว่าจำเลยผิดนัดตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2541เป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6909/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากผู้ยื่นไม่ใช่ทนายจำเลย และยื่นหลังพ้นกำหนดเวลา
ส.มิได้รับการแต่งตั้งจากจำเลยให้เป็นทนายจำเลยส. จึงมิได้เป็นทนายจำเลย คดีนี้ศาลแรงงานกลางอ่านคำพิพากษาวันที่ 17 กรกฎาคม 2541 ครบกำหนดอุทธรณ์วันที่ 1 สิงหาคม 2541 แม้วันที่ 30 กรกฎาคม 2541และวันที่ 13 สิงหาคม 2541 ส. จะยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปและศาลแรงงานกลางอนุญาตก็ตาม แต่ส.มิใช่ทนายจำเลยจึงไม่มีอำนาจขอขยายระยะเวลา อุทธรณ์แทนจำเลย กรณีถือได้ว่าจำเลยมิได้ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ ต่อมาวันที่ 2 กันยายน 2541 จำเลยยื่นอุทธรณ์หลังจากครบกำหนดอุทธรณ์แล้ว แม้ศาลแรงงานกลางสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยไว้ อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวก็เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6903/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานเรื่องการทำงานและเหตุเสียชีวิต ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นข้อเท็จจริงเพิ่มเติม
การที่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 อุทธรณ์ขอให้ศาลฎีกาสั่งให้ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมในเรื่องผู้ตายทำงานให้นายจ้างเป็นเวลาเกือบ 20 ปี โดย ผู้ตายได้ทำงานล่วงเวลาเป็นอาจิณเพื่อใช้วินิจฉัยว่าผู้ตายถึงแก่ความตายในช่วงการทำงานให้นายจ้างหรือไม่นั้น เป็นอุทธรณ์ดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่าผู้ตายถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6706/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความหมาย 'ทรัพย์ของบริษัท' ในข้อบังคับบริษัท – การยักยอกทรัพย์
ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่กำหนดความผิดวินัยอย่างร้ายแรงคือ ลักทรัพย์หรือยักยอกทรัพย์ของบริษัทหรือของเพื่อนร่วมงานในบริเวณบริษัท... คำว่า "บริษัท" มิได้หมายถึงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ของบริษัทแต่เพียงอย่างเดียว แต่หมายความรวมถึงทรัพย์ที่บริษัทครอบครองดูแลรับผิดชอบอยู่ด้วย เมื่อปรากฏว่า ของขวัญนาฬิกาตั้งโต๊ะที่โจทก์เบียดบังเอาไปเป็นของผู้ที่นำมามอบให้แก่บริษัท ข. ขณะที่ของขวัญนั้นอยู่ในความครอบคองดูแลและรับผิดชอบของจำเลย และจำเลยมอบให้โจทก์ครอบครองดูแลแทน ซึ่งจำเลยจะต้องนำของขวัญดังกล่าวไปมอบให้บริษัท ข. กรณีถือได้ว่า โจทก์ได้ยักยอกทรัพย์ของจำเลยไปตามข้อบังคับดังกล่าวอันเป็นการกระทำผิดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานข้อดังกล่าวของจำเลยในกรณีร้ายแรงแล้ว แต่กรณีมิใช่เป็นการยักยอกทรัพย์ของเพื่อนร่วมงานในบริเวณบริษัทของจำเลย
of 58