พบผลลัพธ์ทั้งหมด 571 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1737/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งสำเนาคำอุทธรณ์และวันนัดฟังคำพิพากษาแก่โจทก์ร่วมที่ศาลอนุญาตให้เข้าเป็นโจทก์ร่วม
ในคดีที่ศาลอนุญาตให้ผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วมแล้วโจทก์ร่วมและพนักงานอัยการต่างมีฐานะเป็นโจทก์ด้วยกัน เมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์ การที่ศาลชั้นต้นเพียงแต่สั่งให้ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้พนักงานอัยการโจทก์ โดยไม่ได้สั่งให้ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ร่วมด้วย และศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวไป จึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 200 อีกทั้งการที่ศาลชั้นต้นมิได้แจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ร่วมทราบด้วยก็ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 182 ประกอบด้วยมาตรา 215 ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ปฏิบัติเสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1737/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ส่งสำเนาอุทธรณ์และแจ้งวันนัดให้โจทก์ร่วม ทำให้กระบวนการพิจารณาไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้เสียหายเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการโจทก์ด้วยแต่เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามแล้วก็สั่งให้ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่พนักงานอัยการและแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค1โดยมิได้ส่งสำเนาอุทธรณ์และแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาดังกล่าวแก่โจทก์ร่วมด้วยทั้งศาลอุทธรณ์ภาค1ก็ พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ ยกฟ้องโดยมิได้ ส่งสำเนาอุทธรณ์แก่ โจทก์ร่วมเพื่อแก้อุทธรณ์ก่อนการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลล่างทั้งสองจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา200,182ประกอบมาตรา215
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1337/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: การสนับสนุนมิให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ vs. การถูกเรียกเงินภายหลัง
โจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยเรียกร้องเงินจากโจทก์ครั้งแรกในวันที่ 6 มิถุนายน 2531 โจทก์เองก็ได้ยอมรับว่าได้ต่อรองจำนวนเงินและตกลงให้เงินแก่จำเลยจำนวน 15,000 บาท ถือได้ว่าโจทก์สมัครใจมอบเงินจำนวนดังกล่าวให้จำเลยเพื่อไม่ต้องการให้จำเลยส่งเรื่องแบ่งแยกที่ดินไปกระทรวงดังจำเลยอ้าง โจทก์จึงมีส่วนสนับสนุนไม่ให้จำเลยกระทำการตามหน้าที่ดังกล่าว โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้อง แต่ที่โจทก์กล่าวอ้างว่า ในวันที่ 9 มิถุนายน2532 จำเลยได้เรียกร้องเงินจากโจทก์อีกเป็นครั้งที่สองจำนวน 4,000 บาทจำเลยจึงจะมอบ น.ส.3 ก. ที่แบ่งแยกให้โจทก์นั้น โจทก์ไม่ยินยอมมอบเงินแก่จำเลยแต่อย่างใด โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1337/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของโจทก์ในคดีเรียกรับเงินจากเจ้าพนักงาน: การมอบเงินโดยสมัครใจ vs. การถูกเรียกรับเงิน
โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยเรียกร้องเงินจากโจทก์ครั้งแรกในวันที่6มิถุนายน2531โจทก์เองก็ได้ยอมรับว่าได้ต่อรองจำนวนเงินและตกลงให้เงินแก่จำเลยจำนวน15,000บาทถือได้ว่าโจทก์สมัครใจมอบเงินจำนวนดังกล่าวให้จำเลยเพื่อไม่ต้องการให้จำเลยส่งเรื่องแบ่งแยกที่ดินไปกระทรวงดังจำเลยอ้างโจทก์จึงมีส่วนสนับสนุนไม่ให้จำเลยกระทำการตามหน้าที่ดังกล่าวโจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้องแต่ที่โจทก์กล่าวอ้างว่าในวันที่9มิถุนายน2532จำเลยได้เรียกร้องเงินจากโจทก์อีกเป็นครั้งที่สองจำนวน4,000บาทจำเลยจึงจะมอบน.ส.3ก.ที่แบ่งแยกให้โจทก์นั้นโจทก์ไม่ยินยอมมอบเงินแก่จำเลยแต่อย่างใดโจทก์จึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1228/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดทรัพย์ชั่วคราวเพื่อคุ้มครองประโยชน์ก่อนพิพากษา ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี และสิทธิในการถอนเงินประกัน
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยโอนที่ดินให้โจทก์ในระหว่างพิจารณาโจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวก่อนพิพากษาโดยศาลได้มีคำสั่งอายัดที่ดินดังกล่าวไปยังเจ้าพนักงานที่ดินแล้วเมื่อโจทก์ขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาและศาลได้ออกหมายอายัดชั่วคราวส่งไปยังเจ้าพนักงานที่ดินและจำเลยแล้วเป็นเพียงการสั่งห้ามชั่วคราวเท่านั้นยังไม่มีกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเข้ามาอายัดที่ดินพิพาทกรณีจึงไม่อยู่ในบังคับของตาราง5ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่โจทก์จะต้องเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี เมื่อเป็นกรณีที่โจทก์ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีตามตาราง5ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโจทก์จึงมีสิทธิถอนเงินประกันค่าเสียหายที่ศาลมีคำสั่งให้วางไว้ได้ทันทีเมื่อศาลมีคำสั่งถอนหมายอายัดชั่วคราวซึ่งมีผลเท่ากับถอนคำสั่งห้ามชั่วคราวแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 760/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, การประเมินราคาศุลกากร, อายุความค่าอากร, ราคาอันแท้จริง
หนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเป็นเอกสารราชการซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ทำขึ้น เมื่ออีกฝ่ายมิได้นำสืบว่าเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ถูกต้องอย่างไร แม้ฝ่ายที่อ้างจะมิได้นำนายทะเบียนมาสืบก็รับฟังได้เมื่อผู้รับมอบอำนาจเบิกความยืนยันว่า กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ลงลายมือชื่อร่วมกันในหนังสือมอบอำนาจ มอบอำนาจให้ตนเป็นผู้ดำเนินคดีแทนโจทก์ โดยมีตราสำคัญของโจทก์ประทับ แม้จะไม่มีกรรมการผู้ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจมาสืบ ก็ฟังได้ว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ส.ฟ้องคดีแทน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ในวันนำเข้าสินค้าตามใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้า โจทก์ได้ชำระภาษีอากรเฉพาะตามจำนวนที่ได้สำแดงไว้เท่านั้น ส่วนจำนวนที่เจ้าพนักงานของจำเลยเรียกให้โจทก์ชำระเพิ่ม โจทก์ยังมิได้ชำระแต่ได้วางเงินสดและหนังสือค้ำประกันของธนาคารเป็นหลักประกันค่าอากรที่อาจต้องชำระเพิ่ม เป็นการดำเนินการเพื่อนำสินค้าออกจากอารักขาของจำเลยตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469มาตรา 112 จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ชำระค่าภาษีอากรเพิ่มในวันนำเข้าแล้ว ต่อเมื่อเจ้าพนักงานของจำเลยได้ประเมินให้โจทก์ชำระค่าภาษีอากรเพิ่มโจทก์นำเงินไปชำระและรับหลักประกันคืน เป็นการดำเนินการตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา112 ทวิ วรรคหนึ่ง กรณีดังกล่าวจึงมิใช่เรื่องที่โจทก์ชำระค่าภาษีอากรจนครบถ้วนหรือวางเงินไว้เป็นประกันก่อนที่จะนำของไปจากอารักขาของศุลกากรตาม พ.ร.บ.ศุลกากร มาตรา 40 อันจะถือได้ว่าโจทก์ได้เสียอากรเกินกว่าจำนวนที่พึงต้องชำระเพราะเหตุอันเกี่ยวกับราคาแห่งของอันจะอยู่ในบังคับสิทธิเรียกร้องขอคืนเงินอากรที่ได้เสียไว้เกิน ในกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่นำสินค้าเข้า ตาม พ.ร.บ.ศุลกากรมาตรา 10 วรรคห้า หากแต่เป็นเรื่องที่โจทก์ชำระค่าอากรเพิ่มเกินกว่าจำนวนที่ต้องชำระ โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ประเมินเงินอากรเพิ่ม เพราะเหตุอันเกี่ยวกับราคาแห่งของ เมื่อ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มิได้บัญญัติเกี่ยวกับอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164
การซื้อสินค้าของโจทก์ในแต่ละเที่ยวที่นำเข้าเมื่อพิจารณาจากราคาที่ได้สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้า ปรากฏว่าราคาสินค้าต่อหน่วยไม่เท่ากันในการนำเข้าแต่ละเที่ยว เจ้าพนักงานของจำเลยจึงได้ประเมินเพิ่มขึ้นไม่เท่ากันในแต่ละเที่ยวเช่นเดียวกัน ราคาสินค้าทั้งที่โจทก์สำแดงและที่เจ้าพนักงานประเมินเพิ่มมิได้คงที่ มีการปรับราคาอยู่เสมอ และการประเมินของเจ้าพนักงานโดยการปรับราคาก็ไม่แน่นอนว่าจะเพิ่มหรือลดลง แม้ว่าการประเมินดังกล่าวจะอาศัยตามประกาศกรมศุลกากรและคำสั่งกรมศุลกากรซึ่งให้ใช้ราคาสูงสุดก่อนรายที่พิจารณาราคาไม่เกิน 3 เดือนเป็นหลักในการประเมินแต่ประกาศและคำสั่งดังกล่าวเป็นเพียงแนวทางให้เจ้าพนักงานของจำเลยใช้สำหรับพิจารณาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดโดยการเปรียบเทียบกับผู้นำเข้ารายก่อนเท่านั้นจะถือเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดยังไม่ได้ แสดงว่าการกำหนดราคาซื้อขายระหว่างโจทก์กับผู้ขายเป็นไปตามภาวะการตลาด หรือภาวะทางเศรษฐกิจในขณะนั้นราคาสินค้าการซื้อขายระหว่างโจทก์กับผู้ขายจึงเป็นราคาขายส่งเงินสดซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้ โดยไม่ขาดทุน ณ เวลา และที่ที่นำของเข้าโดยไม่มีหักทอนหรือลดหย่อนราคา จึงเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 2 วรรคสิบสอง
ในวันนำเข้าสินค้าตามใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้า โจทก์ได้ชำระภาษีอากรเฉพาะตามจำนวนที่ได้สำแดงไว้เท่านั้น ส่วนจำนวนที่เจ้าพนักงานของจำเลยเรียกให้โจทก์ชำระเพิ่ม โจทก์ยังมิได้ชำระแต่ได้วางเงินสดและหนังสือค้ำประกันของธนาคารเป็นหลักประกันค่าอากรที่อาจต้องชำระเพิ่ม เป็นการดำเนินการเพื่อนำสินค้าออกจากอารักขาของจำเลยตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469มาตรา 112 จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ชำระค่าภาษีอากรเพิ่มในวันนำเข้าแล้ว ต่อเมื่อเจ้าพนักงานของจำเลยได้ประเมินให้โจทก์ชำระค่าภาษีอากรเพิ่มโจทก์นำเงินไปชำระและรับหลักประกันคืน เป็นการดำเนินการตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา112 ทวิ วรรคหนึ่ง กรณีดังกล่าวจึงมิใช่เรื่องที่โจทก์ชำระค่าภาษีอากรจนครบถ้วนหรือวางเงินไว้เป็นประกันก่อนที่จะนำของไปจากอารักขาของศุลกากรตาม พ.ร.บ.ศุลกากร มาตรา 40 อันจะถือได้ว่าโจทก์ได้เสียอากรเกินกว่าจำนวนที่พึงต้องชำระเพราะเหตุอันเกี่ยวกับราคาแห่งของอันจะอยู่ในบังคับสิทธิเรียกร้องขอคืนเงินอากรที่ได้เสียไว้เกิน ในกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่นำสินค้าเข้า ตาม พ.ร.บ.ศุลกากรมาตรา 10 วรรคห้า หากแต่เป็นเรื่องที่โจทก์ชำระค่าอากรเพิ่มเกินกว่าจำนวนที่ต้องชำระ โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ประเมินเงินอากรเพิ่ม เพราะเหตุอันเกี่ยวกับราคาแห่งของ เมื่อ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มิได้บัญญัติเกี่ยวกับอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164
การซื้อสินค้าของโจทก์ในแต่ละเที่ยวที่นำเข้าเมื่อพิจารณาจากราคาที่ได้สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้า ปรากฏว่าราคาสินค้าต่อหน่วยไม่เท่ากันในการนำเข้าแต่ละเที่ยว เจ้าพนักงานของจำเลยจึงได้ประเมินเพิ่มขึ้นไม่เท่ากันในแต่ละเที่ยวเช่นเดียวกัน ราคาสินค้าทั้งที่โจทก์สำแดงและที่เจ้าพนักงานประเมินเพิ่มมิได้คงที่ มีการปรับราคาอยู่เสมอ และการประเมินของเจ้าพนักงานโดยการปรับราคาก็ไม่แน่นอนว่าจะเพิ่มหรือลดลง แม้ว่าการประเมินดังกล่าวจะอาศัยตามประกาศกรมศุลกากรและคำสั่งกรมศุลกากรซึ่งให้ใช้ราคาสูงสุดก่อนรายที่พิจารณาราคาไม่เกิน 3 เดือนเป็นหลักในการประเมินแต่ประกาศและคำสั่งดังกล่าวเป็นเพียงแนวทางให้เจ้าพนักงานของจำเลยใช้สำหรับพิจารณาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดโดยการเปรียบเทียบกับผู้นำเข้ารายก่อนเท่านั้นจะถือเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดยังไม่ได้ แสดงว่าการกำหนดราคาซื้อขายระหว่างโจทก์กับผู้ขายเป็นไปตามภาวะการตลาด หรือภาวะทางเศรษฐกิจในขณะนั้นราคาสินค้าการซื้อขายระหว่างโจทก์กับผู้ขายจึงเป็นราคาขายส่งเงินสดซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้ โดยไม่ขาดทุน ณ เวลา และที่ที่นำของเข้าโดยไม่มีหักทอนหรือลดหย่อนราคา จึงเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 2 วรรคสิบสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 760/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการประเมินภาษีอากรเพิ่มเติม: ไม่ใช่การเสียภาษีเกิน แต่เป็นการประเมินราคาใหม่ ใช้กฎหมายแพ่งฯ อายุความ 10 ปี
ในวันนำเข้าสินค้าโจทก์ชำระภาษีอากรเฉพาะตามจำนวนที่ได้สำแดงไว้ส่วนจำนวนที่จำเลยเรียกให้โจทก์ชำระเพิ่มนอกเหนือจากที่โจทก์ได้สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการค้าโจทก์ยังมิได้ชำระแต่ได้วางเงินสดและหนังสือค้ำประกันเป็นหลักประกันค่าอากรที่อาจต้องชำระเพิ่มตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯมาตรา112ถือไม่ได้ว่าโจทก์ชำระค่าภาษีอากรเพิ่มในวันนำเข้าแล้วเมื่อจำเลยได้ประเมินให้โจทก์ชำระเงินค่าภาษีอากรเพิ่มและโจทก์ได้นำเงินไปชำระและรับหนังสือค้ำประกันคืนจึงมิใช่เรื่องที่โจทก์ชำระค่าภาษีอากรจนครบถ้วนหรือวางเงินไว้เป็นประกันก่อนนำของไปจากอารักขาของศุลกากรอันจะถือว่าโจทก์ได้เสียอากรเกินกว่าจำนวนที่พึงต้องชำระอันจะอยู่ในบังคับสิทธิเรียกร้องขอคืนเงินอากรที่ได้เสียไว้เกินในกำหนด2ปีนับแต่วันที่นำสินค้าเข้าแต่เป็นเรื่องที่โจทก์ชำระค่าอากรเพิ่มเกินกว่าจำนวนที่พึงต้องชำระตามมาตรา112ทวิซึ่งไม่มีกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้กำหนดอายุความ10ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 760/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องขอคืนภาษีอากร: การชำระภาษีเพิ่มเติมหลังนำเข้าสินค้า
ในวันนำเข้าสินค้าโจทก์ชำระภาษีอากรเฉพาะตามจำนวนที่ได้สำแดงไว้ส่วนจำนวนที่จำเลยเรียกให้โจทก์ชำระเพิ่มนอกเหนือจากที่โจทก์ได้สำแดงไว้โจทก์ยังมิได้ชำระแต่ได้วางเงินสดและหนังสือค้ำประกันเป็นหลักประกันค่าอากรที่อาจต้องชำระเพิ่มเพื่อนำสินค้าออกจากอารักขาของจำเลยตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา112ถือไม่ได้ว่าโจทก์ชำระค่าภาษีอากรเพิ่มในวันนำเข้าแล้วเมื่อต่อมาจำเลยได้ประเมินให้โจทก์ชำระเงินค่าภาษีอากรเพิ่มและโจทก์ได้นำเงินไปชำระและรับหนังสือค้ำประกันคืนก็เป็นการดำเนินการตามที่มาตรา112ทวิวรรคหนึ่งบัญญัติไว้จึงมิใช่เรื่องที่โจทก์ชำระค่าภาษีอากรจนครบถ้วนหรือวางเงินประกันก่อนนำของออกไปจากอารักขาตามมาตรา40ซึ่งจะถือว่าโจทก์ได้เสียอากรเกินกว่าจำนวนที่พึงต้องชำระเพราะเหตุอันเกี่ยวกับราคาของ ซึ่งจะอยู่ในบังคับสิทธิเรียกร้องขอคืนเงินอากรที่ได้เสียไว้เกินในกำหนด2ปีนับแต่วันที่นำสินค้าเข้าตามมาตรา10วรรคห้าแต่เป็นเรื่องที่โจทก์ชำระค่าอากรเพิ่มเกินกว่าจำนวนที่พึงต้องชำระตามมาตรา112ทวิซึ่งไม่มีกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะต้องใช้กำหนดอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 656/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินมัดจำกับเบี้ยปรับมีลักษณะต่างกัน ศาลไม่มีอำนาจลดเงินมัดจำ
เงินมัดจำกับเงินเบี้ยปรับมีลักษณะคนละอย่างไม่เหมือนกันมัดจำจึงไม่มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ศาลจึงไม่มีอำนาจลดเงินมัดจำลงได้อย่างเบี้ยปรับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 656/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินมัดจำกับเบี้ยปรับมีความแตกต่างกัน ศาลไม่มีอำนาจลดเงินมัดจำ
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 377 เงินมัดจำเป็นเงินประกันการที่จะปฏิบัติตามสัญญา ซึ่งตามมาตรา 378 กำหนดไว้ว่าหากผู้วางมัดจำผิดสัญญาก็ให้ริบหากผู้รับมัดจำผิดสัญญาก็ให้ส่งคืน เว้นแต่จะได้ตกลงไว้เป็นอย่างอื่น ทั้งนี้มิได้ถือเอาความเสียหายของผู้รับมัดจำมาเป็นหลักประกอบการพิจารณาในการริบมัดจำส่วนเงินเบี้ยปรับตามมาตรา 379 เป็นจำนวนค่าเสียหายที่คู่สัญญากำหนดกันไว้ล่วงหน้าในเมื่อมีการไม่ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องตามสัญญา และการริบเบี้ยปรับ มาตรา 383 ให้ถือเอาทางได้ทางเสียของเจ้าหนี้เป็นหลักในการพิจารณาว่าจะริบเบี้ยปรับทั้งหมดหรือจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควร จึงเห็นได้ว่าเงินมัดจำกับเงินเบี้ยปรับมีลักษณะไม่เหมือนกัน มัดจำจึงไม่มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับศาลจึงไม่มีอำนาจลดเงินมัดจำลงได้อย่างเบี้ยปรับ