พบผลลัพธ์ทั้งหมด 571 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 656/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินมัดจำกับเบี้ยปรับมีความแตกต่างกัน ศาลไม่มีอำนาจลดเงินมัดจำ
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 377 เงินมัดจำเป็นเงินประกันการที่จะปฏิบัติตามสัญญา ซึ่งตามมาตรา 378 กำหนดไว้ว่าหากผู้วางมัดจำผิดสัญญาก็ให้ริบหากผู้รับมัดจำผิดสัญญาก็ให้ส่งคืน เว้นแต่จะได้ตกลงไว้เป็นอย่างอื่น ทั้งนี้มิได้ถือเอาความเสียหายของผู้รับมัดจำมาเป็นหลักประกอบการพิจารณาในการริบมัดจำส่วนเงินเบี้ยปรับตามมาตรา 379 เป็นจำนวนค่าเสียหายที่คู่สัญญากำหนดกันไว้ล่วงหน้าในเมื่อมีการไม่ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องตามสัญญา และการริบเบี้ยปรับ มาตรา 383 ให้ถือเอาทางได้ทางเสียของเจ้าหนี้เป็นหลักในการพิจารณาว่าจะริบเบี้ยปรับทั้งหมดหรือจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควร จึงเห็นได้ว่าเงินมัดจำกับเงินเบี้ยปรับมีลักษณะไม่เหมือนกัน มัดจำจึงไม่มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับศาลจึงไม่มีอำนาจลดเงินมัดจำลงได้อย่างเบี้ยปรับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 631/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้เยาว์และการไม่กระทบคำพิพากษา ศาลฎีกาไม่ต้องแก้ไข
ผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการโดยมิได้ให้ผู้แทนโดยชอบธรรมจัดการแทนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา5(1)นั้นมิได้เป็นไปตามบทบังคับอันว่าด้วยความสามารถของบุคคลตามกฎหมายแต่เมื่อโจทก์ร่วมมิได้ฎีกาและคดีไม่ทำให้คำวินิจฉัยของศาลฎีกาเกี่ยวกับปัญหาว่าจำเลยกระทำผิดหรือไม่เปลี่ยนแปลงไปจึงไม่จำต้องสั่งให้แก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 631/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้เยาว์เป็นโจทก์ร่วม – ความสามารถของบุคคล – ผลกระทบต่อการพิจารณาคดี
ผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการโดยมิได้ให้ผู้แทนโดยชอบธรรมจัดการแทน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ-อาญา มาตรา 5 (1) นั้น มิได้เป็นไปตามบทบังคับอันว่าด้วยความสามารถของบุคคลตามกฎหมาย แต่เมื่อโจทก์ร่วมมิได้ฎีกาและคดีไม่ทำให้คำวินิจฉัยของศาลฎีกาเกี่ยวกับปัญหาว่าจำเลยกระทำผิดหรือไม่เปลี่ยนแปลงไป จึงไม่จำต้องสั่งให้แก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีขับไล่และการเรียกร้องค่าเสียหายที่รวมอยู่ในคำฟ้องเดียวกัน
ในคดีฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์และให้จำเลยใช้ค่าเสียหายจำนวน135,433บาทพร้อมดอกเบี้ยและค่าเสียหายอีกเดือนละ50,000บาทนับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากอสังหาริมทรัพย์เมื่อโจทก์มิได้เรียกร้องค่าเสียหายนี้อย่างเอกเทศในข้อหาอื่นคงเรียกมาเป็นส่วนหนึ่งของการฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์เท่านั้นเมื่อได้ความว่าขณะยื่นฟ้องโจทก์ให้เช่าที่ดินพิพาทไม่เกินเดือนละ2,000บาทจึงเป็นคดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการเรียกร้องค่าเสียหายควบคู่กับการฟ้องขับไล่ และข้อห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
ในคดีฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์ และให้จำเลยใช้ค่าเสียหายจำนวน 135,433 บาท พร้อมดอกเบี้ย และค่าเสียหายอีกเดือนละ50,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ เมื่อโจทก์มิได้เรียกร้องค่าเสียหายนี้อย่างเอกเทศในข้อหาอื่นคงเรียกมาเป็นส่วนหนึ่งของการฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์เท่านั้นเมื่อได้ความว่า ขณะยื่นฟ้องโจทก์ให้เช่าที่ดินพิพาทไม่เกินเดือนละ 2,000 บาทจึงเป็นคดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิ้นสุดสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี – ดอกเบี้ยทบต้น – เจตนาเจ้าหนี้ – การเดินสะพัดทางบัญชี
ตามรายการในบัญชีเดินสะพัด ในวันครบกำหนดสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีวันที่ 19 สิงหาคม 2528 ลูกหนี้เป็นหนี้โจทก์อยู่จำนวน2,812,773.64 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่เกินวงเงินที่ได้ตกลงไว้กับเจ้าหนี้ และนับแต่นั้นมา ลูกหนี้ก็ไม่ได้นำเงินเข้าบัญชีและเจ้าหนี้ก็ไม่ยอมให้ลูกหนี้เบิกเงินจากบัญชีได้อีก โดยมีแต่รายการนำเช็คของลูกหนี้ซึ่งสั่งจ่ายเบิกเงินจากบัญชีมาเรียกเก็บเงิน แต่เจ้าหนี้ก็ไม่ยอมจ่ายเงินตามเช็คแต่ละรายการนั้นเลย ซึ่งนับเป็นร้อย ๆ รายการ อันเป็นข้อแสดงว่าเจ้าหนี้ไม่ประสงค์จะให้มีบัญชีเดินสะพัดอีกต่อไปนับแต่วันครบกำหนดตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีนั้น ส่วนที่เจ้าหนี้ยินยอมให้ลูกหนี้เบิกเงินจากบัญชีและนำเงินเข้าฝากตามที่ฎีกามานั้นนับตั้งแต่สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครบกำหนด เจ้าหนี้ก็ไม่ยินยอมให้ลูกหนี้เบิกเงินตามเช็คตลอดมา ที่เจ้าหนี้ยินยอมให้ลูกหนี้เบิกเงินในเดือนตุลาคม 2528 จำนวน 1 ครั้ง เป็นเงิน4,664 บาท ในเดือนเมษายนและเดือนพฤศจิกายน 2529 รวม 2 ครั้งเป็นเงิน 30,000 บาท และ 3,162 บาท ตามลำดับแต่ละรายการจำนวนเงินเล็กน้อย และได้ทิ้งช่วงระยะเวลาห่างกันจนผิดปกติเป็นพิรุธ และรายการถอนเงินในวันที่ 16 กรกฎาคม 2530 จำนวน 20,000 บาท ก็ปรากฏมีรายการแก้ไขในช่องรายการฝากเงินในวันเดียวกันและจำนวนเงินเดียวกัน ซึ่งเป็นการลงบัญชีผิดพลาดไม่ใช่การถอนเงินออกจากบัญชีแต่อย่างใด และที่เจ้าหนี้จ่ายเบี้ยประกันภัยของลูกหนี้เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2530 จำนวน 1,375 บาทหรือรายการฝากเช็คธนาคาร 2 ฉบับ ฉบับละ 500,000 บาท ในวันที่ 23กุมภาพันธ์ 2531 แต่ในวันรุ่งขึ้นกลับปรากฏในช่องรายการถอนโดยใช้อักษร-ภาษาอังกฤษ "LOAN" จำนวน 1,000,000 บาท โดยไม่เกี่ยวข้องกับหนี้ตามรายการเดินสะพัดอย่างไร หรือไม่ ส่อแสดงให้เห็นว่าน่าจะเป็นการปรับปรุงรายการบัญชีเดินสะพัดเพื่อจะแสดงให้เห็นว่ายังมีการเดินสะพัดทางบัญชีอยู่เพื่อจะอ้างเป็นเหตุให้คิดดอกเบี้ยทบต้นได้เท่านั้น นับว่าเป็นการกระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์จากลูกหนี้โดยไม่ชอบ ตามพฤติการณ์ยิ่งแสดงให้เห็นเจตนาของเจ้าหนี้ได้อย่างชัดแจ้งว่าหลังจากสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครบกำหนดแล้ว เจ้าหนี้ไม่ประสงค์จะให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีแก่ลูกหนี้อีกต่อไป ถือได้ว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ สิ้นสุดลงนับแต่วันครบกำหนดสัญญา คือวันที่ 19 สิงหาคม 2528 หลังจากนั้นเจ้าหนี้ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้อีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดเมื่อครบกำหนด เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นอีก
ตามรายการในบัญชีเดินสะพัดในวันครบกำหนดสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีวันที่19สิงหาคม2528ลูกหนี้เป็นหนี้โจทก์อยู่จำนวน2,812,773.64บาทซึ่งเป็นจำนวนที่เกินวงเงินที่ได้ตกลงไว้กับเจ้าหนี้และนับแต่นั้นมาลูกหนี้ก็ไม่ได้นำเงินเข้าบัญชีและเจ้าหนี้ก็ไม่ยอมให้ลูกหนี้เบิกเงินจากบัญชีได้อีกโดยมีแต่รายการนำเช็คของลูกหนี้ซึ่งสั่งจ่ายเบิกเงินจากบัญชีมาเรียกเก็บเงินแต่เจ้าหนี้ก็ไม่ยอมจ่ายเงินตามเช็คแต่ละรายการนั้นเลยซึ่งนับเป็นร้อยๆรายการอันเป็นข้อแสดงว่าเจ้าหนี้ไม่ประสงค์จะให้มีบัญชีเดินสะพัดอีกต่อไปนับแต่วันครบกำหนดตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีนั้นส่วนที่เจ้าหนี้ยินยอมให้ลูกหนี้เบิกเงินจากบัญชีและนำเงินเข้าฝากตามที่ฎีกามานั้นนับแต่สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครบกำหนดเจ้าหนี้ก็ไม่ยินยอมให้ลูกหนี้เบิกเงินตามเช็คตลอดมาที่เจ้าหนี้ยินยอมให้ลูกหนี้เบิกเงินในเดือนตุลาคม2528จำนวน1ครั้งเป็นเงิน4,664บาทในเดือนเมษายนและเดือนพฤศจิกายน2529รวม2ครั้งเป็นเงิน30,000บาทและ3,162บาทตามลำดับแต่ละรายการจำนวนเงินเล็กน้อยและได้ทิ้งช่วงระยะเวลาห่างกันจนผิดปกติเป็นพิรุธและรายการถอนเงินในวันที่16กรกฎาคม2530จำนวน20,000บาทก็ปรากฏมีรายการแก้ไขในช่องรายการฝากเงินในวันเดียวกันและจำนวนเงินเดียวกันซึ่งเป็นการลงบัญชีผิดพลาดไม่ใช่การถอนเงินออกจากบัญชีแต่อย่างใดและที่เจ้าหนี้จ่ายเบี้ยประกันภัยของลูกหนี้เมื่อวันที่12มิถุนายน2530จำนวน1,375บาทหรือรายการฝากเช็คธนาคาร2ฉบับฉบับละ500,000บาทในวันที่23กุมภาพันธ์2531แต่ในวันรุ่งขึ้นกลับปรากฏในช่องรายการถอนโดยใช้อักษรภาษาอังกฤษ"LOAN" จำนวน1,000,000บาทโดยไม่เกี่ยวข้องกับหนี้ตามรายการเดินสะพัดอย่างไรหรือไม่ส่อแสดงให้เห็นว่าน่าจะเป็นการปรับปรุงรายการบัญชีเดินสะพัดเพื่อจะแสดงให้เห็นว่ายังมีการเดินสะพัดทางบัญชีอยู่เพื่อจะอ้างเป็นเหตุให้คิดดอกเบี้ยทบต้นได้เท่านั้นนับว่าเป็นการกระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์จากลูกหนี้โดยไม่ชอบตามพฤติการณ์ยิ่งแสดงให้เห็นเจตนาของเจ้าหนี้ได้อย่างชัดแจ้งว่าหลังจากสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครบกำหนดแล้วเจ้าหนี้ไม่ประสงค์จะให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีแก่ลูกหนี้อีกต่อไปถือได้ว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้สิ้นสุดลงนับแต่วันครบกำหนดสัญญาคือวันที่19สิงหาคม2528หลังจากนั้นเจ้าหนี้ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้อีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 350/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนชื่อจากน.ส.3ก. กรณีสิทธิร่วม และการยกคำขอเนื่องจากฎีกาต้องห้าม
คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค1แสดงให้เห็นว่าโจทก์ที่3มิได้มีสิทธิแต่ผู้เดียวในที่ดินพิพาทอันจะมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนชื่อ ท. ออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสามได้เท่านั้นหาได้เป็นการวินิจฉัยในเรื่องแบ่งปันที่ดินพิพาทจึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นแต่อย่างใด ส่วนที่โจทก์ทั้งสามขอให้ถอนชื่อ ท. ออกจากน.ส.3ก.สำหรับที่ดินพิพาทนั้นศาลอุทธรณ์ภาค1วินิจฉัยว่าโจทก์ที่3และท. มีสิทธิในที่ดินพิพาทคนละครึ่งกรณีจึงไม่อาจเพิกถอนชื่อ ท.ออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทได้ย่อมมีผลเท่ากับยกคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสามแต่ศาลอุทธรณ์ภาค1พิพากษายกฟ้องโจทก์ที่1และที่2เท่านั้นมิได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ที่3ด้วยศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องนอกจากนี้ที่โจทก์ทั้งสามขอให้พิพากษาว่าพินัยกรรม ท. ใช้บังคับไม่ได้นั้นศาลอุทธรณ์ภาค1วินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ จ.ย่อมมีผลเท่ากับพินัยกรรมใช้บังคับได้แต่ศาลอุทธรณ์ภาค1พิพากษายกคำขอเฉพาะโจทก์ที่3เท่านั้นมิได้พิพากษาให้ยกคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่1และที่2ด้วยศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องเช่นกัน ที่โจทก์ที่1และที่2ฎีกาว่าโจทก์ที่3ครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของ จ. ทุกคนคดีจึงไม่ขาดอายุความนั้นเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่าฟ้องโจทก์ที่3ขาดอายุความหรือไม่เพราะศาลต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงให้เป็นที่ยุติเสียก่อนว่าโจทก์ที่3ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของ จ. หรือไม่จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงนอกจากนี้โจทก์ที่1และที่2ยังฎีกาอีกว่า ท. ไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทเพียงผู้เดียวจึงไม่อาจทำพินัยกรรมยกที่ดินทั้งแปลงให้แก่จำเลยอันเป็นการกระทำที่เกินกว่าสิทธิของตนที่พึงจะได้รับตามกฎหมายในฐานะทายาทของ จ. ขอให้ศาลพิพากษากลับและบังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้นก็เป็นฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค1ฟังมาว่า ท.มีสิทธิในที่ดินพิพาทเพียงครึ่งหนึ่งจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเช่นเดียวกันปรากฏว่าคดีนี้ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งดังนั้นโจทก์ที่1และที่2จึงต้องห้ามฎีกา ที่จำเลยฎีกาว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ จ. การที่โจทก์ที่3ได้ร่วมทำกินกับ ท. ก็ไม่อาจก่อให้เกิดสิทธิใดๆแก่โจทก์ที่3และไม่อยู่ในฐานะที่จะขอแบ่งที่ดินพิพาทได้โจทก์ทั้งสามไม่เคยเข้าเกี่ยวข้องในที่ดินพิพาทฟ้องโจทก์ทั้งสามขาดอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754วรรคหนึ่งเป็นฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค1ฟังมาจึงต้องห้ามฎีกาเช่นเดียวกันกับโจทก์ที่1และที่2ส่วนที่จำเลยฎีกาอีกว่าท. ได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทมาตั้งแต่พ.ศ.2519แล้วโจทก์ทั้งสามไม่ได้โต้แย้งหรือคัดค้านภายในกำหนด1ปีนับแต่ถูกแย่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1375วรรคสองนั้นปรากฏว่าจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 350/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพิกถอนชื่อออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ และการโต้แย้งสิทธิในที่ดินมรดก รวมถึงข้อจำกัดในการฎีกาข้อเท็จจริง
คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 1 แสดงให้เห็นว่า โจทก์ที่ 3มิได้มีสิทธิแต่ผู้เดียวในที่ดินพิพาท อันจะมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนชื่อ ท. ออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสามได้เท่านั้น หาได้เป็นการวินิจฉัยในเรื่องแบ่งปันที่ดินพิพาท จึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นแต่อย่างใด
ส่วนที่โจทก์ทั้งสามขอให้ถอนชื่อ ท. ออกจาก น.ส.3 ก.สำหรับที่ดินพิพาทนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่าโจทก์ที่ 3 และ ท. มีสิทธิในที่ดินพิพาทคนละครึ่ง กรณีจึงไม่อาจเพิกถอนชื่อ ท. ออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทได้ ย่อมมีผลเท่ากับยกคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสาม แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 1 และที่ 2 เท่านั้นมิได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 3 ด้วย ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง นอกจากนี้ที่โจทก์ทั้งสามขอให้พิพากษาว่า พินัยกรรม ท. ใช้บังคับไม่ได้นั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1วินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ จ. ย่อมมีผลเท่ากับพินัยกรรมใช้บังคับได้ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกคำขอเฉพาะโจทก์ที่ 3 เท่านั้น มิได้พิพากษาให้ยกคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ด้วย ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องเช่นกัน
ที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ฎีกาว่า โจทก์ที่ 3 ครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของ จ. ทุกคน คดีจึงไม่ขาดอายุความนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่าฟ้องโจทก์ที่ 3 ขาดอายุความหรือไม่เพราะศาลต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงให้เป็นที่ยุติเสียก่อนว่า โจทก์ที่ 3 ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของ จ. หรือไม่ จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงนอกจากนี้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ยังฎีกาอีกว่า ท.ไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทเพียงผู้เดียวจึงไม่อาจทำพินัยกรรมยกที่ดินทั้งแปลงให้แก่จำเลยอันเป็นการกระทำที่เกินกว่าสิทธิของตนที่พึงจะได้รับตามกฎหมายในฐานะทายาทของ จ. ขอให้ศาลพิพากษากลับและบังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้นก็เป็นฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังมาว่า ท.มีสิทธิในที่ดินพิพาทเพียงครึ่งหนึ่ง จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเช่นเดียวกัน ปรากฏว่าคดีนี้ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ดังนั้น โจทก์ที่ 1และที่ 2 จึงต้องห้ามฎีกา
ที่จำเลยฎีกาว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ จ. การที่โจทก์ที่ 3 ได้ร่วมทำกินกับ ท. ก็ไม่อาจก่อให้เกิดสิทธิใด ๆ แก่โจทก์ที่ 3 และไม่อยู่ในฐานะที่จะขอแบ่งที่ดินพิพาทได้ โจทก์ทั้งสามไม่เคยเข้าเกี่ยวข้องในที่ดิน-พิพาท ฟ้องโจทก์ทั้งสามขาดอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง เป็นฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังมาจึงต้องห้ามฎีกาเช่นเดียวกันกับโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ส่วนที่จำเลยฎีกาอีกว่าท.ได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทมาตั้งแต่ พ.ศ.2519 แล้ว โจทก์ทั้งสามไม่ได้โต้แย้งหรือคัดค้านภายในกำหนด 1 ปี นับแต่ถูกแย่งการครอบครองตามประมวล-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง นั้น ปรากฏว่าจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ส่วนที่โจทก์ทั้งสามขอให้ถอนชื่อ ท. ออกจาก น.ส.3 ก.สำหรับที่ดินพิพาทนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่าโจทก์ที่ 3 และ ท. มีสิทธิในที่ดินพิพาทคนละครึ่ง กรณีจึงไม่อาจเพิกถอนชื่อ ท. ออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทได้ ย่อมมีผลเท่ากับยกคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสาม แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 1 และที่ 2 เท่านั้นมิได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 3 ด้วย ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง นอกจากนี้ที่โจทก์ทั้งสามขอให้พิพากษาว่า พินัยกรรม ท. ใช้บังคับไม่ได้นั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1วินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ จ. ย่อมมีผลเท่ากับพินัยกรรมใช้บังคับได้ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกคำขอเฉพาะโจทก์ที่ 3 เท่านั้น มิได้พิพากษาให้ยกคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ด้วย ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องเช่นกัน
ที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ฎีกาว่า โจทก์ที่ 3 ครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของ จ. ทุกคน คดีจึงไม่ขาดอายุความนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่าฟ้องโจทก์ที่ 3 ขาดอายุความหรือไม่เพราะศาลต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงให้เป็นที่ยุติเสียก่อนว่า โจทก์ที่ 3 ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของ จ. หรือไม่ จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงนอกจากนี้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ยังฎีกาอีกว่า ท.ไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทเพียงผู้เดียวจึงไม่อาจทำพินัยกรรมยกที่ดินทั้งแปลงให้แก่จำเลยอันเป็นการกระทำที่เกินกว่าสิทธิของตนที่พึงจะได้รับตามกฎหมายในฐานะทายาทของ จ. ขอให้ศาลพิพากษากลับและบังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้นก็เป็นฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังมาว่า ท.มีสิทธิในที่ดินพิพาทเพียงครึ่งหนึ่ง จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเช่นเดียวกัน ปรากฏว่าคดีนี้ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ดังนั้น โจทก์ที่ 1และที่ 2 จึงต้องห้ามฎีกา
ที่จำเลยฎีกาว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ จ. การที่โจทก์ที่ 3 ได้ร่วมทำกินกับ ท. ก็ไม่อาจก่อให้เกิดสิทธิใด ๆ แก่โจทก์ที่ 3 และไม่อยู่ในฐานะที่จะขอแบ่งที่ดินพิพาทได้ โจทก์ทั้งสามไม่เคยเข้าเกี่ยวข้องในที่ดิน-พิพาท ฟ้องโจทก์ทั้งสามขาดอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง เป็นฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังมาจึงต้องห้ามฎีกาเช่นเดียวกันกับโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ส่วนที่จำเลยฎีกาอีกว่าท.ได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทมาตั้งแต่ พ.ศ.2519 แล้ว โจทก์ทั้งสามไม่ได้โต้แย้งหรือคัดค้านภายในกำหนด 1 ปี นับแต่ถูกแย่งการครอบครองตามประมวล-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง นั้น ปรากฏว่าจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 348/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของรวมในสินสมรส: การฟ้องบังคับจัดการทรัพย์สินรวม แม้มีหนี้ร่วม การแบ่งทรัพย์สินเป็นอีกเรื่อง
ที่พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับผู้ตายโจทก์ย่อมมีกรรมสิทธิ์รวมในที่พิพาทในฐานะเจ้าของรวมและมีสิทธิจัดการทรัพย์สินนั้นได้การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายใส่ชื่อตนในโฉนดที่พิพาทเป็นการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งในทางจัดการตามธรรมดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1358เมื่อไม่มีข้อตกลงระหว่างเจ้าของรวมเป็นอย่างอื่นแล้วโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยได้แม้ผู้ตายจะได้ชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองที่ดินซึ่งเป็นหนี้อันเกี่ยวกับทรัพย์สินรวมและเป็นหนี้ร่วมระหว่างโจทก์กับผู้ตายก็เป็นคนละกรณีกันเพราะโจทก์มิได้ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์สินระหว่างเจ้าของรวมจึงไม่อาจนำมาใช้ยันหรือปฏิเสธมิให้โจทก์ใส่ชื่อในโฉนดที่พิพาทได้เป็นเรื่องที่จำเลยต้องไปว่ากล่าวเป็นอีกเรื่องหนึ่งในเวลาที่แบ่งทรัพย์สินรวม