คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เสมอ อินทรศักดิ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 571 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5444/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้าง และสิทธิในการฟ้อง
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 425 ที่ได้บัญญัติบังคับให้นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งการละเมิดซึ่งลูกจ้างได้ทำละเมิดต่อบุคคลภายนอกเป็นเหตุให้ได้รับความเสียหายนั้น เป็นกรณีที่บุคคคลหลายคนจะต้องชำระหนี้ โดยทำนองซึ่งแต่ละคนต้องชำระหนี้สิ้นเชิงได้แต่เพียงครั้งเดียว เจ้าหนี้ชอบจะเรียกให้ชำระหนี้จากลูกหนี้แต่คนใดคนหนึ่งสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 291จำเลยที่ 1 เป็นนายจ้างของ ส.เป็นลูกหนี้ร่วมกับ ส.ผู้ทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จะเลือกฟ้องจำเลยที่ 1 หรือ ส.คนใดคนหนึ่งเพียงคนเดียวก็ได้ ส่วนการที่จำเลยที่ 1จะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาจาก ส.ตาม ป.พ.พ. มาตรา 426 นั้น ก็ชอบที่จะกระทำได้อยู่แล้วไม่จำเป็นต้องรอให้โจทก์ฟ้อง ส.ให้รับผิดเสียชั้นหนึ่งก่อนดังนี้ การที่โจทก์ไม่ฟ้อง ส.ผู้ที่ทำละเมิดต่อโจทก์โดยตรง แต่กลับมาฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้างของ ส.ให้รับผิดนั้นจึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 291 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5423/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทิศที่ดินเพื่อสร้างที่ทำการของรัฐ & สิทธิของผู้รับโอนที่ดินโดยสุจริต
คดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงว่า ส.และ อ.ได้ทำหนังสือเอกสารหมายล.1 อุทิศที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ปลูกสร้างที่ทำการเกษตรตำบล จำเลยที่ 1ได้เข้าครอบครองปลูกสร้างที่ทำการและบ้านพักเกษตรตำบลลงในที่ดินพิพาทแล้ว การที่โจทก์ฎีกาอ้างว่า ส.และ อ.ไม่ได้ทำหนังสือเอกสารหมาย ล.1 อุทิศที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 นั้น เป็นการโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริง ฎีกาโจทก์ข้อนี้จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว
โจทก์ฎีกาว่า การยกที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 ยังไม่สมบูรณ์เพราะจำเลยที่ 1 เพิ่งได้รับการส่งมอบและเข้าครอบครองที่ดินพิพาทในปี 2523 แต่ปรากฏว่าในวันที่ 6 กรกฎาคม 2522 ส.ได้จดทะเบียนขายฝากที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทย่อมตกเป็นของโจทก์ทันทีนับแต่วันจดทะเบียนขายฝาก จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจยกข้อต่อสู้เรื่องการยกให้ที่ดินพิพาทมายันโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนโดยเสียค่าตอบแทนโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1299 วรรคสอง จำเลยที่ 1 ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอนนั้น ปัญหานี้เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 เพียงแต่ยกตัวอย่างสาธารณสมบัติของแผ่นดินให้ดูบางส่วนเท่านั้น ที่ทำการเกษตรตำบลเป็นส่วนราชการสังกัดกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหน่วยงานของรัฐ ถือได้ว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 ดังนั้นการที่ ส. และ อ. ทำหนังสืออุทิศที่ดินพิพาทเอกสารหมาย ล.1 ให้แก่จำเลยที่ 1 เพื่อสร้างที่ทำการเกษตรตำบลสาลี แม้ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็สมบูรณ์ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5423/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทิศที่ดินเพื่อสร้างที่ทำการเกษตร แม้ไม่ได้จดทะเบียนก็สมบูรณ์ตามกฎหมาย และจำกัดสิทธิการฟ้องร้องเมื่อเกินทุนทรัพย์ที่กฎหมายกำหนด
คดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงว่า ส.และ อ.ได้ทำหนังสือเอกสารหมาย ล.1 อุทิศที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ปลูกสร้างที่ทำการเกษตรตำบล จำเลยที่ 1 ได้เข้าครอบครองปลูกสร้างที่ทำการและบ้านพักเกษตรตำบลลงในที่ดินพิพาทแล้วการที่โจทก์ฎีกาอ้างว่า ส.และอ.ไม่ได้ทำหนังสือเอกสารหมายล.1 อุทิศที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 นั้น เป็นการโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริง ฎีกาโจทก์ข้อนี้จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว โจทก์ฎีกาว่า การยกที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 ยังไม่สมบูรณ์เพราะจำเลยที่ 1 เพิ่งได้รับการส่งมอบและเข้าครอบครองที่ดินพิพาทในปี 2523 แต่ปรากฏว่าในวันที่ 6 กรกฎาคม 2522 ส.ได้จดทะเบียนขายฝากที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทย่อมตกเป็นของโจทก์ทันทีนับแต่วันจดทะเบียนขายฝาก จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจยกข้อต่อสู้เรื่องการยกให้ที่ดินพิพาทมายันโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนโดยเสียค่าตอบแทนโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง จำเลยที่ 1ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอนนั้น ปัญหานี้เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 เพียงแต่ยกตัวอย่างสาธารณสมบัติของแผ่นดินให้ดูบางส่วนเท่านั้น ที่ทำการเกษตรตำบลเป็นส่วนราชการสังกัดกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหน่วยงานของรัฐ ถือได้ว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 ดังนั้น การที่ ส.และอ.ทำหนังสืออุทิศที่ดินพิพาทเอกสารหมาย ล.1 ให้แก่จำเลยที่ 1เพื่อสร้างที่ทำการเกษตรตำบลสาลี แม้ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็สมบูรณ์ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5411/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อนุญาตเลื่อนคดีภาษีอากรและการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงที่มีทุนทรัพย์ต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี แต่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งงดสืบพยานจำเลยแล้วพิพากษาให้จำเลยแพ้คดีนั้น คำสั่งดังกล่าวมีผลเท่ากับไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีนั่นเอง ที่จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยสืบพยาน จึงเป็นการอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจของศาลที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาทจึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 25

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5406/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ผลความเห็นผู้เชี่ยวชาญเป็นหลักฐาน และการเสียค่าอ้างเอกสารหลังมีคำพิพากษา
โจทก์อ้างสัญญายืมข้าวเปลือกเป็นพยาน ต่อมาคู่ความท้ากันให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อจำเลยในเอกสารดังกล่าวโดยให้ถือความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นข้อแพ้ชนะ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยแพ้คดีโดยอาศัยผลจากความเห็นของผู้เชี่ยวชาญดังกล่าว ดังนี้ การที่ไม่ได้เสียค่าอ้างเอกสารจึงเป็นเรื่องนอกเหนือคำท้า ไม่มีผลทำให้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นเสียไป เมื่อได้ความว่าโจทก์เสียค่าอ้างเอกสารดังกล่าวแล้ว แม้จะเสียภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษาก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5406/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ผลการตรวจลายมือชื่อผู้เชี่ยวชาญเป็นข้อแพ้ชนะในคดี และการรับฟังค่าอ้างเอกสารที่ชำระภายหลัง
โจทก์อ้างสัญญายืมข้าวเปลือกเป็นพยาน ต่อมาคู่ความท้ากันให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูสจน์ลายมือชื่อจำเลยในเอกสารดังกล่าวโดยให้ถือความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นข้อแพ้ชนะศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยแพ้คดีโดยอาศัยผลจากความเห็นของผู้เชี่ยวชาญดังกล่าว ดังนี้ การที่ไม่่ได้เสียค่าอ้างเอกสารจึงเป็นเรื่องนอกเหนือคำท้า ไม่มีผลทำให้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นเสียไป เมื่อได้ความว่าโจทก์เสียค่าอ้างเอกสารดังกล่าวแล้ว แม้จะเสียภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษาก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5364/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินค่าเช่าทรัพย์สิน: ศาลยืนตามการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อค่าเช่าต่ำกว่าราคาตลาด
ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่า ค่าเช่าตึกแถวพิพาทเดือนละ 400บาท ที่จำเลยเรียกเก็บจากโจทก์ตามหนังสือสัญญาเช่า เป็นค่าเช่าต่ำกว่าความเป็นจริงไม่ใช่เป็นจำนวนเงินอันสมควรที่จะให้เช่าได้ พนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมมีอำนาจประเมินค่ารายปีได้โดยคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สินขนาด พื้นที่ ทำเลที่ตั้งและบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกำหนด ที่คณะเทศมนตรีของจำเลยชี้ขาดว่า ค่ารายปีของตึกแถวพิพาทจำนวน 10,800 บาท จากระยะเวลารวม 9 เดือน หรือตกเดือนละ 600 บาท ต่อห้อง เป็นคุณแก่โจทก์แล้วไม่มีเหตุจะเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงการประเมินและคำชี้ขาด ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ค่าเช่าที่จำเลยเรียกเก็บจากโจทก์ตามหนังสือสัญญาเช่ามิใช่ค่าเช่าที่ต่ำกว่าความเป็นจริง ได้กำหนดกันไว้แน่นอนมิได้กระทำขึ้นโดยสมยอม ทรัพย์สินที่เช่าเป็นของจำเลยเองถือได้ว่าจำเลยได้ยอมรับว่าค่าเช่านั้นเป็นค่าเช่าอันสมควรที่จะให้เช่าได้ไม่มีเหตุที่จะทำให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจะประเมินค่ารายปีเป็นอย่างอื่นได้นั้น เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยมาดังกล่าวแล้ว เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและคดีนี้จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตามพระราช-บัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 25

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5364/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: ค่าเช่าต่ำกว่าความเป็นจริง, การพิจารณาจากลักษณะทรัพย์สิน, อุทธรณ์ข้อเท็จจริง
ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่า ค่าเช่าตึกแถวพิพาทเดือนละ400 บาท ที่จำเลยเรียกเก็บจากโจทก์ตามหนังสือสัญญาเช่า เป็นค่าเช่าต่ำกว่าความเป็นจริงไม่ใช่เป็นจำนวนเงินอันสมควรที่จะให้เช่าได้ พนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมมีอำนาจประเมินค่ารายปีได้โดยคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สินขนาด พื้นที่ ทำเลที่ตั้งและบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกำหนด ที่คณะเทศมนตรีของจำเลยชี้ขาดว่า ค่ารายปีของตึกแถวพิพาทจำนวน 10,800 บาท จากระยะเวลารวม 9 เดือน หรือตกเดือนละ 600 บาท ต่อห้อง เป็นคุณแก่โจทก์แล้วไม่มีเหตุจะเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงการประเมินและคำชี้ขาดที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ค่าเช่าที่จำเลยเรียกเก็บจากโจทก์ตามหนังสือสัญญาเช่ามิใช่ค่าเช่าที่ต่ำกว่าความเป็นจริง ได้กำหนดกันไว้แน่นอนมิได้กระทำขึ้นโดยสมยอม ทรัพย์สินที่เช่าเป็นของจำเลยเองถือได้ว่าจำเลยได้ยอมรับว่าค่าเช่านั้นเป็นค่าเช่าอันสมควรที่จะให้เช่าได้ไม่มีเหตุที่จะทำให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจะประเมินค่ารายปีเป็นอย่างอื่นได้นั้น เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยมาดังกล่าวแล้ว เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและคดีนี้จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาทต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528มาตรา 25

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5315/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้ใหม่ทำให้หนี้ตามเช็คระงับ การฟ้องคดีอาญาจึงสิ้นสุด
เช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ จำเลยออกให้โจทก์ชำระหนี้ค่าซื้อรถยนต์กระบะของโจทก์ ซึ่งโจทก์ได้โอนทะเบียนรถยนต์คันดังกล่าวให้จำเลยไปแล้ว โดยจำเลยยังมิได้ชำระราคารถยนต์กระบะตามเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ ให้โจทก์ การที่โจทก์จำเลยได้ตกลงกันภายหลังที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ว่า ให้จำเลยเอาหนี้ตามเช็คทั้งหมด รวมทั้งเช็คพิพาท 4 ฉบับด้วยมารวมกันแล้วให้จำเลยทำหนังสือสัญญากู้ยืมเงินโจทก์จำนวน 4,000,000 บาท โดยมีข้อความระบุว่า ผู้กู้ได้ยืมเงินสดจากผู้ให้กู้เป็นจำนวน 4,000,000 บาท ได้จ่ายเช็คของธนาคารมอบให้ไว้กับผู้ให้กู้ เมื่อถึงกำหนดให้เข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บวันนี้ผู้กู้ได้มอบเช็คดังกล่าวข้างต้นให้กับผู้ให้กู้ไว้เป็นที่เรียบร้อยในวันทำสัญญา ถือว่าได้ทำสัญญาเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ เป็นการแปลงหนี้ใหม่ หนี้ตามเช็คพิพาทเป็นอันระงับไป มูลหนี้ที่จำเลยออกเช็คพิพาทจึงสิ้นผลผูกพัน คดีเป็นอันเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 7 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 วรรคแรกและสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์เป็นอันระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5164/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดราคาค่าทดแทนเวนคืนตามราคาตลาดจริงในวันที่ พ.ร.ฎ.ใช้บังคับ มิใช่ราคาประเมิน
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 76 บัญญัติว่า "เงินค่าทดแทนนั้น ถ้าไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษใน พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งออกตามข้อ 63 แล้ว ให้กำหนดเท่าราคาทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันดังต่อไปนี้ (1) ในวันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับในกรณีที่ได้มีการตรา พ.ร.ฎ.เช่นว่านั้น... ตามบทบัญญัติดังกล่าว เห็นได้ว่า การที่กำหนดให้ใช้ค่าทดแทนตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดนั้น หมายถึงราคาธรรมดาที่อาจซื้อขายกันในท้องตลาดตามความเป็นจริงในวันที่ พ.ร.ฎ.ใช้บังคับ มิได้หมายความว่า ถ้าในวันที่ พ.ร.ฎ.ใช้บังคับไม่มีหลักฐานการจดทะเบียนซื้อขายกันที่สำนักงานที่ดินก็จะต้องถือเอาราคาประเมินเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นเกณฑ์กำหนดค่าทดแทน ทั้งการที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนให้โจทก์ทั้งสิบสองโดยถือเอาราคาประเมินในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมดังกล่าวเป็นเกณฑ์กำหนดราคาค่าทดแทนย่อมคงที่ตลอดเวลาที่ใช้ราคาประเมินนั้น มิใช่ราคาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดซึ่งที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองอาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ ปรากฏว่า วันที่28 ธันวาคม 2527 ซึ่งเป็นวันที่ พ.ร.ฎ.ประกาศใช้บังคับ จำเลยนำเอาราคาประเมินเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่เริ่มใช้บังคับนับแต่วันที่ 1 มกราคม 2525มาเป็นเกณฑ์กำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองนับว่าเป็นราคาที่แตกต่างจากราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนประกาศใช้บังคับแน่ เนื่องจากเป็นเวลาที่เนิ่นนานร่วม 3 ปีแล้ว ราคาที่ดินย่อมสูงขึ้นเรื่อย ๆ เป็นธรรมดา ราคาประเมินเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2528 จึงเป็นราคาใกล้เคียงกับราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับ
of 58