คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เสมอ อินทรศักดิ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 571 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5164/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดราคาค่าทดแทนเวนคืนตามราคาตลาดจริงในวันที่ พ.ร.ฎ.ใช้บังคับ มิใช่ราคาประเมิน
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 76 บัญญัติว่า "เงินค่าทดแทนนั้น ถ้าไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษใน พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งออกตามข้อ 63 แล้ว ให้กำหนดเท่าราคาทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันดังต่อไปนี้ (1) ในวันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับในกรณีที่ได้มีการตรา พ.ร.ฎ.เช่นว่านั้น... ตามบทบัญญัติดังกล่าว เห็นได้ว่า การที่กำหนดให้ใช้ค่าทดแทนตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดนั้น หมายถึงราคาธรรมดาที่อาจซื้อขายกันในท้องตลาดตามความเป็นจริงในวันที่ พ.ร.ฎ.ใช้บังคับ มิได้หมายความว่า ถ้าในวันที่ พ.ร.ฎ.ใช้บังคับไม่มีหลักฐานการจดทะเบียนซื้อขายกันที่สำนักงานที่ดินก็จะต้องถือเอาราคาประเมินเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นเกณฑ์กำหนดค่าทดแทน ทั้งการที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนให้โจทก์ทั้งสิบสองโดยถือเอาราคาประเมินในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมดังกล่าวเป็นเกณฑ์กำหนดราคาค่าทดแทนย่อมคงที่ตลอดเวลาที่ใช้ราคาประเมินนั้น มิใช่ราคาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดซึ่งที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองอาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ ปรากฏว่า วันที่28 ธันวาคม 2527 ซึ่งเป็นวันที่ พ.ร.ฎ.ประกาศใช้บังคับ จำเลยนำเอาราคาประเมินเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่เริ่มใช้บังคับนับแต่วันที่ 1 มกราคม 2525มาเป็นเกณฑ์กำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองนับว่าเป็นราคาที่แตกต่างจากราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนประกาศใช้บังคับแน่ เนื่องจากเป็นเวลาที่เนิ่นนานร่วม 3 ปีแล้ว ราคาที่ดินย่อมสูงขึ้นเรื่อย ๆ เป็นธรรมดา ราคาประเมินเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2528 จึงเป็นราคาใกล้เคียงกับราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5147/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้โดยมีภาระติดพัน: โจทก์ไม่มีอำนาจถอนคืนได้ แม้อ้างเหตุเนรคุณ
โจทก์ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยทั้งสาม โดยโจทก์ยังมีสิทธิเก็บผลประโยชน์ในที่ดินพิพาทอยู่ตลอดชีวิต แม้สิทธิดังกล่าวจะมิได้มีการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไว้ตามกฎหมาย แต่ก็เป็นภาระเกี่ยวกับที่ดินพิพาท ถือได้ว่าเป็นการให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพัน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องถอนคืนการให้จำเลยทั้งสามเพราะเหตุเนรคุณได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 535(2)ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5147/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้ที่ดินมีภาระติดพัน: สิทธิเก็บผลประโยชน์ตลอดชีวิตทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจถอนคืนการให้ได้
โจทก์ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยทั้งสามโดยโจทก์ยังมีสิทธิเก็บผลประโยชน์ในที่ดินพิพาทอยู่ตลอดชีวิต แม้สิทธิดังกล่าวจะมิได้มีการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่ก็เป็นภาระเกี่ยวกับที่ดินพิพาท ถือได้ว่าเป็นการให้สิ่งที่มีค่าภารติดพัน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องถอนคืนการให้เพราะเหตุเนรคุณได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 535(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5147/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้สิ่งที่มีค่าภารติดพันทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องถอนคืนการให้ได้ แม้สิทธิเก็บผลประโยชน์มิได้จดทะเบียน
การที่โจทก์ยกที่ดินให้แก่จำเลยโดยโจทก์ยังมีสิทธิเก็บ ผลประโยชน์ในที่ดินอยู่ตลอดชีวิต แม้สิทธิดังกล่าวจะมิได้มี การจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไว้ตามกฎหมายแต่ก็เป็นภาระ เกี่ยวกับที่ดิน ถือได้ว่าเป็นการให้สิ่งที่มีค่าภารติดพัน โจทก์จึง ไม่มีอำนาจฟ้องถอนคืนการให้จำเลยเพราะเหตุเนรคุณได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 535(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5146/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง สัญญาขายฝาก-เช่า การงดชี้สองสถาน-สืบพยาน
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยในฐานะผู้เช่าออกจากที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์รับซื้อฝากมาจากจำเลยและตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ต่อมาจำเลยเช่าจนครบกำหนดตามสัญญา โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยออกไปแล้ว จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า สัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางซึ่งทำขึ้นเพื่อเป็นหลักประกันเงินที่นาย บ.กู้ยืมไปจากโจทก์ ต่อมานาย บ.ชำระหนี้เงินกู้ให้โจทก์แล้ว โจทก์ไม่ยอมให้จำเลยไถ่ถอนการขายฝาก จำเลยไม่เคยรับเงินตามสัญญาขายฝากหรือเช่าที่ดินพิพาทขอให้โจทก์จดทะเบียนไถ่ถอนให้ ดังนี้แม้โจทก์จะให้การแก้ฟ้องแย้งยอมรับว่าสัญญาขายฝากและสัญญาเช่าทำขึ้นเพื่อประกันการกู้ยืมของนาย บ. ข้อเท็จจริงก็ยังฟังไม่ถนัดเสียทีเดียวว่าที่ดินพิพาทเป็นของฝ่ายใด และสัญญาขายฝากกับสัญญาเช่าเป็นโมฆะหรือไม่ทั้งสัญญาขายฝากถึงหากจะเป็นนิติกรรมอำพรางตกเป็นโมฆะ แต่เอกสารสัญญาก็ยังเป็นหลักฐานการค้ำประกันการกู้ยืมได้ สัญญาเช่าที่ดินพิพาทจำเลยก็ปฏิเสธว่าไม่ทราบว่าเป็นการเช่าซึ่งต้องฟังข้อเท็จจริงโดยการสืบพยานหลักฐานกันต่อไป ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดชี้สองสถานและงดสืบพยานเสียนั้นเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5146/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพรางสัญญาขายฝากและเช่า การงดสืบพยานไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยในฐานะผู้เช่าออกจากที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์รับซื้อฝากมาจากจำเลยและตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ต่อมาจำเลยเช่าจนครบกำหนดตามสัญญา โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยออกไปแล้ว จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า สัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางซึ่งทำขึ้นเพื่อเป็นหลักประกันเงินที่นาย บ. กู้ยืมไปจากโจทก์ต่อมานาย บ. ชำระหนี้เงินกู้ให้โจทก์แล้ว โจทก์ไม่ยอมให้จำเลยไถ่ถอนการขายฝาก จำเลยไม่เคยรับเงินตามสัญญาขายฝากหรือเช่าที่ดินพิพาทขอให้โจทก์จดทะเบียนไถ่ถอนให้ ดังนี้แม้โจทก์จะให้การแก้ฟ้องแย้งยอมรับว่าสัญญาขายฝากและสัญญาเช่าทำขึ้นเพื่อประกันการกู้ยืมของนาย บ. ข้อเท็จจริงก็ยังฟังไม่ถนัดเสียทีเดียวว่าที่ดินพิพาทเป็นของฝ่ายใด และสัญญาขายฝากกับสัญญาเช่าเป็นโมฆะหรือไม่ ทั้งสัญญาขายฝากถึงหากจะเป็นนิติกรรมอำพรางตกเป็นโมฆะแต่เอกสารสัญญาก็ยังเป็นหลักฐานการค้ำประกันการกู้ยืมได้สัญญาเช่าที่ดินพิพาทจำเลยก็ปฏิเสธว่าไม่ทราบว่าเป็นการเช่าซึ่งต้องฟังข้อเท็จจริงโดยการสืบพยานหลักฐานกันต่อไป ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดชี้สองสถานและงดสืบพยานเสียนั้นเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5008/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องอาญา: ผู้ร้องทุกข์ต้องมีอำนาจในฐานะผู้เสียหายหรือได้รับมอบอำนาจจากผู้เสียหาย
ส.เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดส.ยานยนต์ฯ จำเลยเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ของห้างฯผู้เสียหายไปแล้วไม่ได้ส่งเงินค่างวดและได้นำรถจักรยานยนต์ไปขายให้บุคคลอื่น ส.จึงมาร้อยทุกข์ให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยข้อหายักยอก ข้อความในคำร้องทุกข์ไม่ได้ระบุว่า ส.เกี่ยวข้องกับห้างฯ ผู้เสียหายอย่างไรและไม่ได้ระบุว่า ส.ได้ร้องทุกข์ในนามของห้างฯ ผู้เสียหายทั้งไม่ปรากฎรอยตราของผู้เสียหายในช่องผู้ร้องทุกข์แต่อย่างใด จึงไม่อาจแปลเจตนาได้ว่า ส.ร้องทุกข์ในนามของผู้เสียหาย แม้ตามข้อเท็จจริง ส.จะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของผู้เสียหายก็ไม่อาจแปลเจตนาว่ากระทำแทนผู้เสียหายในกรณีเช่นนี้ได้ เมื่อห้างฯ ซึ่งเป็นผู้เสียหายที่แท้จริงไม่ได้ร้องทุกข์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5008/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องในคดีอาญา: เจตนาการร้องทุกข์แทนผู้อื่นและผู้เสียหายที่แท้จริง
ส.เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.ยานยนต์ ฯจำเลยเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ของห้าง ฯ ผู้เสียหายไปแล้วไม่ได้ส่งเงินค่างวดและได้นำรถจักรยานยนต์ไปขายให้บุคคลอื่น ส.จึงมาร้องทุกข์ให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยข้อหายักยอก ข้อความในคำร้องทุกข์ไม่ได้ระบุว่า ส.เกี่ยวข้องกับห้าง ฯ ผู้เสียหายอย่างไร และไม่ได้ระบุว่า ส.ได้ร้องทุกข์ในนามของห้าง ฯผู้เสียหาย ทั้งไม่ปรากฏรอยตราของผู้เสียหายในช่องผู้ร้องทุกข์แต่อย่างใด จึงไม่อาจแปลเจตนาได้ว่า ส.ร้องทุกข์ในนามของผู้เสียหาย แม้ตามข้อเท็จจริง ส.จะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของผู้เสียหายก็ไม่อาจแปลเจตนาว่ากระทำแทนผู้เสียหายในกรณีเช่นนี้ได้ เมื่อห้าง ฯ ซึ่งเป็นผู้เสียหายที่แท้จริงไม่ได้ร้องทุกข์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4952/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องขอพิจารณาใหม่ต้องระบุเหตุคัดค้านคำพิพากษาชัดเจน มิฉะนั้นไม่เป็นไปตามกฎหมาย
จำเลยยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่โดยอ้างมาในคำร้องขอว่า ถ้าจำเลยทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องจะสามารถนำพยานหลักฐานมาสืบหักล้างพยานโจทก์ ศาลต้องมีคำพิพากษาให้จำเลยชนะคดีแน่นอนเพราะสัญญาเช่ายังไม่หมดอายุ และจำเลยไม่เคยผิดนัดชำระค่าเช่าหรือผิดสัญญาเช่าข้อหนึ่งข้อใดนั้น เป็นคำร้องขอที่ไม่มีรายละเอียดชัดแจ้งว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยแพ้คดีไม่ชอบอย่างไรแม้จะกล่าวมาด้วยว่าจำเลยขอคัดค้านคำพิพากษาของศาลก็เป็นการกล่าวอ้างลอย ๆหาได้คัดค้านในเนื้อหาแห่งคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นว่าไม่ถูกต้องอย่างไร หากได้พิพากษาคดีใหม่แล้วจำเลยจะชนะคดีได้อย่างไร ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4952/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องขอพิจารณาใหม่ต้องระบุเหตุคัดค้านคำพิพากษาชัดเจน การกล่าวอ้างลอยๆ ว่าหากทราบเรื่องจะชนะคดี ไม่ถือเป็นเหตุคัดค้านที่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่โดยอ้างมาในคำร้องขอว่า ถ้าจำเลยทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องจะสามารถนำพยานหลักฐานมาสืบหักล้างพยานโจทก์ศาลต้องมีคำพิพากษาให้จำเลยชนะคดีแน่นอนเพราะสัญญาเช่ายังไม่หมดอายุและจำเลยไม่เคยผิดนัดชำระค่าเช่าหรือผิดสัญญาเช่าข้อหนึ่งข้อใดนั้นเป็นคำร้องขอที่ไม่มีรายละเอียดชัดแจ้งว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยแพ้คดีไม่ชอบอย่างไร แม้จะกล่าวมาด้วยว่าจำเลยขอคัดค้านคำพิพากษาของศาลก็เป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ หาได้คัดค้านในเนื้อหาแห่งคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นว่าไม่ถูกต้องอย่างไร หากได้พิพากษาคดีใหม่แล้วจำเลยจะชนะคดีได้อย่างไร ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 208 วรรคท้าย
of 58