คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เสมอ อินทรศักดิ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 571 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2175/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดการบังคับคดีต้องมีการยึดทรัพย์ก่อน
การขอให้งดการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 293 จะต้องมีการบังคับคดีโดยการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาอยู่ก่อนแล้วในขณะที่ขอให้งดการบังคับคดี เมื่อคดีนี้ยังไม่มีการบังคับคดี จำเลยจะขอให้งดการบังคับคดีตามบทบัญญัติดังกล่าวหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2175/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดบังคับคดีต้องมีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินก่อน หากยังไม่มีการบังคับคดี การขอ งดบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 293 ย่อมทำไม่ได้
การขอให้งดการบังคับคดีตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 293 จะต้องมีการ บังคับคดีโดยการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม คำพิพากษาอยู่ก่อนแล้วในขณะที่ขอให้งดการบังคับคดี เมื่อคดีแรงงานเรื่องนี้ยังไม่มีการบังคับคดี จำเลยจะขอ ให้งดการบังคับคดีตามบทบัญญัติดังกล่าวหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2172/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางเงินค่าชดเชยแรงงานและการขยายเวลา ศาลต้องพิจารณาคำร้องขยายเวลาก่อนสั่งรับฟ้อง
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 วรรคสาม มิใช่บทบัญญัติที่ห้ามมิให้นายจ้างยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงาน ขยายระยะเวลาวางเงินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 โจทก์ยื่นฟ้องพร้อมกับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินบางส่วนต่อศาล ศาลแรงงานจะต้องมีคำสั่งคำร้องขอดังกล่าวก่อนว่าจะอนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินหรือไม่ เพียงใดการที่ศาลแรงงานพิจารณาสั่งคำฟ้องโดยไม่พิจารณาสั่งคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินก่อน จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตาม บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการพิจารณา มาตรา 243(2) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน และวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกา ย้อนสำนวน ให้ศาลแรงงานมีคำสั่งคำร้องขอขยายระยะเวลา วางเงินต่อศาลก่อนแล้วจึงพิจารณาสั่งคำฟ้องและดำเนินการต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2172/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาวางเงินค่าชดเชยในคดีแรงงาน ศาลต้องพิจารณาคำร้องก่อนสั่งคำฟ้อง
แม้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541มาตรา 125 วรรคสาม จะกำหนดให้นายจ้างที่ประสงค์จะฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานตามมาตรา 124 ต้องนำเงิน มาวางต่อศาลตามจำนวนที่ถึงกำหนดจ่ายตามคำสั่งพนักงาน ตรวจแรงงานพร้อมกับคำฟ้องก็ตาม แต่ก็ไม่ห้ามนายจ้าง ที่จะยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 31 เมื่อโจทก์ ยื่นฟ้องพร้อมกับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินบางส่วน ต่อศาล ศาลแรงงานกลางจะต้องมีคำสั่งคำร้องขอดังกล่าว ก่อนที่จะพิจารณาสั่งคำฟ้อง การที่ศาลแรงงานกลางพิจารณา สั่งคำฟ้องโดยไม่พิจารณาสั่งคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงิน ก่อนเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการพิจารณาตาม มาตรา 243(2) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2172/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาวางเงินในคดีแรงงาน: ศาลต้องพิจารณาคำร้องก่อนสั่งคำฟ้อง
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 วรรคสามมิใช่บทบัญญัติที่ห้ามมิให้นายจ้างยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานขยายระยะเวลาวางเงินตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
โจทก์ยื่นฟ้องพร้อมกับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินบางส่วนต่อศาล ศาลแรงงานจะต้องมีคำสั่งคำร้องขอดังกล่าวก่อนว่าจะอนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินหรือไม่ เพียงใด การที่ศาลแรงงานพิจารณาสั่งคำฟ้องโดยไม่พิจารณาสั่งคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินก่อน จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยการพิจารณา มาตรา 243 (2) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาย้อนสำนวน ให้ศาลแรงงานมีคำสั่งคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินต่อศาลก่อนแล้วจึงพิจารณาสั่งคำฟ้องและดำเนินการต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2171/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานทำลายหนังสือตักเตือน ถือเป็นการกระทำผิดวินัยร้ายแรง
เมื่อโจทก์กระทำผิดวินัยเกี่ยวกับการทำงาน จำเลย ผู้เป็นนายจ้างย่อมมีอำนาจออกหนังสือตักเตือนและมีอำนาจ นำหนังสือตักเตือนไปประกาศให้โจทก์และลูกจ้างอื่น ของจำเลยทราบได้ การที่โจทก์ไปฉีกทำลายประกาศหนังสือตักเตือน ของจำเลยโดยพลการ ทำให้ทรัพย์สินคือหนังสือตักเตือนของจำเลย ต้องสูญเสียหายและขาดประโยชน์ และอาจทำให้ลูกจ้างอื่น ของจำเลยเอาอย่าง ทำให้จำเลยไม่สามารถปกครองบังคับบัญชา ลูกจ้างได้ การกระทำของโจทก์จึงเป็นการกระทำผิดวินัย อย่างร้ายแรง จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายเงิน ค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2171/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากทำลายหนังสือตักเตือนถือเป็นการกระทำผิดวินัยร้ายแรง
เมื่อโจทก์กระทำผิดวินัยเกี่ยวกับการทำงาน จำเลย ย่อม มีอำนาจออกหนังสือตักเตือนและมีอำนาจนำหนังสือตักเตือนไปประกาศให้โจทก์และลูกจ้างอื่นของจำเลยทราบได้การที่โจทก์ไปฉีกทำลายประกาศหนังสือตักเตือนของจำเลยโดยพลการ ทำให้ทรัพย์สินคือหนังสือตักเตือนของจำเลยต้องสูญเสียหายและขาดประโยชน์และอาจทำให้ลูกจ้างอื่นของจำเลย เอาอย่าง ทำให้จำเลยไม่สามารถปกครองบังคับบัญชาลูกจ้างได้ การกระทำของโจทก์จึงเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายเงินค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2171/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานกระทำผิดวินัยร้ายแรง: การทำลายหนังสือตักเตือนกระทบต่อการปกครองบังคับบัญชา
เมื่อโจทก์กระทำผิดวินัยเกี่ยวกับการทำงานจำเลยผู้เป็นนายจ้างย่อมมีอำนาจออกหนังสือตักเตือนและมีอำนาจนำหนังสือตักเตือนไปประกาศให้โจทก์และลูกจ้างอื่นของจำเลยทราบได้ การที่โจทก์ไปฉีกทำลาย ประกาศหนังสือตักเตือนของจำเลยโดยพลการ ทำให้ทรัพย์สินคือหนังสือตักเตือนของจำเลยต้องสูญเสียหาย และขาดประโยชน์ และอาจทำให้ลูกจ้างอื่นของ จำเลยเอาอย่าง ทำให้จำเลยไม่สามารถปกครอง บังคับบัญชาลูกจ้างได้การกระทำของโจทก์จึงเป็นการกระทำ ผิดวินัยอย่างร้ายแรง จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายเงินค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2171/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานทำลายเอกสารตักเตือน ถือเป็นผิดวินัยร้ายแรง
เมื่อโจทก์กระทำผิดวินัยเกี่ยวกับการทำงาน จำเลยผู้เป็นนายจ้างย่อมมีอำนาจออกหนังสือตักเตือนและมีอำนาจนำหนังสือตักเตือนไปประกาศให้โจทก์และลูกจ้างอื่นของจำเลยทราบได้ การที่โจทก์ไปฉีกทำลายประกาศหนังสือตักเตือนของจำเลยโดยพลการ ทำให้ทรัพย์สินคือหนังสือตักเตือนของจำเลยต้องสูญเสียหายและขาดประโยชน์ และอาจทำให้ลูกจ้างอื่นของจำเลยเอาอย่าง ทำให้จำเลยไม่สามารถปกครองบังคับบัญชาลูกจ้างได้ การกระทำของโจทก์จึงเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายเงินค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2079/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถือหุ้นโดยมิชอบ, การกระทำผิดร่วมกันเพื่อเอื้อประโยชน์ตนเอง, และความรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจ
การที่โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์เข้าถือหุ้นในบริษัทอื่น ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน และวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ธนาคารโจทก์เจตนาฝ่าฝืน พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์พ.ศ. 2505 โดยธนาคารโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดในบริษัทป.และบริษัทส.โดยโจทก์จัดตั้งและจดทะเบียนบริษัททั้งสองดังกล่าวขึ้นมาแล้วให้พนักงานที่โจทก์ไว้วางใจเป็นผู้ถือหุ้นแทน จึงเป็นการที่ธนาคารโจทก์มีหุ้นในบริษัทจำกัดป. และส.เกินร้อยละสิบของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัททั้งสอง อันเป็นการต้องห้ามโดยบทกฎหมายดังกล่าวอย่างชัดแจ้ง การถือหุ้นของธนาคารโจทก์ในบริษัทป. และ บริษัทส.จึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 113 เดิม ที่ใช้บังคับในขณะโจทก์เข้าถือหุ้น ในบริษัททั้งสองดังกล่าว แม้การที่ธนาคารโจทก์ถือหุ้นทั้งหมดในบริษัทอื่นเป็นการ ถือหุ้นโดยมิชอบและตกเป็นโมฆะก็ตาม แต่จำเลยซึ่งเป็นพนักงาน ของโจทก์ดำเนินธุรกิจให้โจทก์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเงิน และทรัพย์สินของธนาคารโจทก์ไปเป็นประโยชน์ของตน โดยมิชอบอันเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยจึงต้อง รับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่ธนาคารโจทก์ จำเลยร่วมกับพวกดำเนินการทางธุรกิจโดยมิชอบจนมีการขาย ที่ดินให้แก่บริษัทร.เป็นเหตุให้ธนาคารโจทก์ได้รับความเสียหายการที่บริษัทร.ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีนำที่ดินดังกล่าวทั้งหมดมาจดทะเบียนจำนองประกันหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดี ที่โจทก์ฟ้องบริษัทป.ที่ธนาคารโจทก์เข้าถือหุ้นเป็นจำเลยเป็นกรณีที่โจทก์ได้รับจำนองที่ดินดังกล่าวไว้เพื่อเป็นประกัน การปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น ไม่ใช่โจทก์ได้รับกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนมาแล้ว
of 58