พบผลลัพธ์ทั้งหมด 571 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3731/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินโฉนด – มาตรา 1299 วรรคสอง – การได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม
การที่ผู้ร้องทั้งสองอ้างว่าเป็นผู้ได้สิทธิครอบครองที่ดินโดยการจับจองมาแต่เริ่มแรก แต่ที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินมีโฉนดของผู้อื่น ถือได้ว่าผู้ร้องทั้งสองเป็นผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1299 วรรคสอง นั่นเอง เพราะผู้ร้องทั้งสองไม่ได้ที่ดินมาโดยนิติกรรมจากผู้ใด และได้ความว่าผู้ร้องยังไม่ได้จดทะเบียนการได้มาซึ่งที่ดินดังกล่าวการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 นำมาตรา 1299 วรรคสอง มาปรับใช้กับคดีผู้ร้องทั้งสองแล้ววินิจฉัยว่าแม้จะฟังว่าผู้ร้องทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองผู้ร้องทั้งสองก็ไม่อาจยกข้อต่อสู้ขึ้นยันโจทก์ได้นั้นไม่เป็นการวินิจฉัยคดีนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3731/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยไม่ปรากฏนิติกรรม การครอบครองปรปักษ์ และข้อยกเว้นสิทธิ
การที่ผู้ร้องทั้งสองอ้างว่าเป็นผู้ได้สิทธิครอบครองที่ดินโดยการจับจองมาแต่เริ่มแรก แต่ที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินมีโฉนดของผู้อื่น ถือได้ว่าผู้ร้องทั้งสองเป็นผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม ตามประมวลกฎหมายแพ่ง-และพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง นั่นเอง เพราะผู้ร้องทั้งสองไม่ได้ที่ดินมาโดยนิติกรรมจากผู้ใด และได้ความว่าผู้ร้องยังไม่ได้จดทะเบียนการได้มาซึ่งที่ดินดังกล่าวการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 นำมาตรา 1299 วรรคสอง มาปรับใช้กับคดีผู้ร้องทั้งสองแล้ววินิจฉัยว่า แม้จะฟังว่าผู้ร้องทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองผู้ร้องทั้งสองก็ไม่อาจยกข้อต่อสู้ขึ้นยันโจทก์ได้นั้น ไม่เป็นการวินิจฉัยคดีนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3720/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินโมฆะเนื่องจากสำคัญผิดในวัตถุแห่งนิติกรรมที่เป็นที่หลวงหวงห้าม
โจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินกันเพราะเข้าใจว่าที่ดินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมนั้นสามารถซื้อขายและโอนกันได้ โดยไม่ทราบมาก่อนว่าเป็นที่หลวงซึ่งมีกฎหมายห้ามโอนไว้ แสดงว่าโจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1 เข้าทำสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวโดยสำคัญผิดในทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมว่าสามารถโอนกันได้ แต่ความจริงโอนกันไม่ได้ เพราะมีกฎหมายห้ามโอนไว้ จึงเป็นการสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม สัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 119 เดิม (มาตรา 156ที่แก้ไขใหม่) คู่กรณีจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยที่ 1ต้องคืนเงินค่าซื้อที่ดินให้โจทก์ที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3472/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนอมหนี้ก่อนล้มละลายและการขยายเวลาชำระภาษีอากร: การใช้สิทธิประโยชน์จากประกาศกระทรวงการคลัง
เจ้าหนี้ซึ่งมีอยู่เพียงรายเดียวนำค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้าซึ่งลูกหนี้ค้างชำระในช่วงปี 2523 ถึง 2525 มายื่นขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ต่อมาลูกหนี้ยื่นคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย ที่ประชุมเจ้าหนี้ยอมรับคำขอประนอมหนี้เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2534 และลูกหนี้ได้วางเงินชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ตามคำขอประนอมหนี้ก่อนร้อยละ 35 ของจำนวนเงินที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้เป็นเงิน 162,675.50 บาท ต่อเจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2535 ปรากฏว่าก่อนที่ประชุมเจ้าหนี้จะยอมรับคำขอประนอมหนี้นั้น ได้มีประกาศกระทรวงการคลังให้ขยายเวลายื่นรายการการชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรให้แก่ผู้มีหน้าที่ยื่นรายการ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรซึ่งยังมิได้ยื่นรายการและชำระภาษีอากร หรือยื่นรายการและชำระภาษีอากรไว้ไม่ครบถ้วน หรือมิได้นำส่งภาษีอากรให้ครบถ้วนให้ขอชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรโดยยื่นรายการและหรือแบบชำระภาษีอากรตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด พร้อมกับชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2534 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2535 โดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่ม กระบวนพิจารณาในการขอประนอมหนี้ดังกล่าวเป็นไปตามมาตรา 45 และ 46 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ซึ่งกระทำภายหลังจากมีประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าวแล้ว และลูกหนี้ก็ได้ชำระหนี้ตามคำขอประนอมหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้มีอำนาจหน้าที่ในการรับชำระหนี้แทนเจ้าหนี้ภายในกำหนดเวลาตามประกาศนั้นแล้ว ถือเป็นการชำระหนี้ภาษีอากรตามประกาศกระทรวงการคลังแล้ว แม้จะมิได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามประกาศกระทรวงการคลังโดยตรงก็ตาม หรือถึงแม้จะเป็นการดำเนินการในคดีล้มละลายในขั้นตอนของการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายก็ตามแต่ก็ตรงตามวัตถุประสงค์ของประกาศกระทรวงการคลังแล้ว และกรณีนี้จะถือเป็นภาษีอากรค้างอยู่ในศาลซึ่งจะต้องมีการถอนฟ้องก่อนตามคำชี้แจงของกรมสรรพากรเกี่ยวกับประกาศดังกล่าวข้อ 4 (3) ยังไม่ถนัด เพราะเจ้าหนี้ไม่อาจถอนฟ้องได้ และลูกหนี้ก็ไม่อาจร้องขอให้เจ้าหนี้ถอนฟ้องได้เพราะลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ลูกหนี้ย่อมได้รับประโยชน์จากประกาศกระทรวงการคลังโดยไม่ต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3472/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนอมหนี้ก่อนล้มละลายและการขยายเวลาชำระภาษีอากร: ผลกระทบต่อหนี้ภาษีค้างชำระ
เจ้าหนี้ซึ่งมีอยู่เพียงรายเดียวนำค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้าซึ่งลูกหนี้ค้างชำระในช่วงปี 2523 ถึง 2525มายื่นขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ต่อมาลูกหนี้ยื่นคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย ที่ประชุมเจ้าหนี้ยอมรับคำขอประนอมหนี้เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2534 และลูกหนี้ได้วางเงินชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ตามคำขอประนอมหนี้ก่อนร้อยละ 35 ของจำนวนเงินที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้เป็นเงิน 162,675.50บาท ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2535ปรากฏว่าก่อนที่ประชุมเจ้าหนี้จะยอมรับคำขอประนอมหนี้นั้น ได้มีประกาศกระทรวงการคลังให้ขยายเวลายื่นรายการการชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรให้แก่ผู้มีหน้าที่ยื่นรายการ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรซึ่งยังมิได้ยื่นรายการและชำระภาษีอากร หรือยื่นรายการและชำระภาษีอากรไว้ไม่ครบถ้วนหรือมิได้นำส่งภาษีอากรให้ครบถ้วนให้ขอชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรโดยยื่นรายการและหรือแบบชำระภาษีอากรตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด พร้อมกับชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2534 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2535โดยไม่ต้องเสียเบี้ยประกันหรือเงินเพิ่ม กระบวนพิจารณาในการขอประนอมหนี้ดังกล่าวเป็นไปตามมาตรา 45 และ 46 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ซึ่งกระทำภายหลังจากมีประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าวแล้ว และลูกหนี้ก็ได้ชำระหนี้ตามคำขอประนอมหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้มีอำนาจหน้าที่ในการรับชำระหนี้แทนเจ้าหนี้ภายในกำหนดเวลาตามประกาศนั้นแล้วถือเป็นการชำระหนี้ภาษีอากรตามประกาศกระทรวงการคลังแล้ว แม้จะมิได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามประกาศกระทรวงการคลังโดยตรงก็ตาม หรือถึงแม้จะเป็นการดำเนินการในคดีล้มละลายในขั้นตอนของการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายก็ตาม แต่ก็ตรงตามวัตถุประสงค์ของประกาศกระทรวงการคลังแล้ว และกรณีนี้จะถือเป็นภาษีอากรค้างอยู่ในศาลซึ่งจะต้องมีการถอนฟ้องก่อนตามคำชี้แจงของกรมสรรพากรเกี่ยวกับประกาศดังกล่าวข้อ 4(3) ยังไม่ถนัดเพราะเจ้าหนี้ไม่อาจถอนฟ้องได้ และลูกหนี้ก็ไม่อาจร้องขอให้เจ้าหนี้ถอนฟ้องได้เพราะลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วลูกหนี้ย่อมได้รับประโยชน์จากประกาศกระทรวงการคลังโดยไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ปรับและเงินเพิ่ม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3472/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนอมหนี้ก่อนล้มละลายและการชำระหนี้ภาษีอากรตามประกาศกระทรวงการคลัง แม้ไม่ตรงตามหลักเกณฑ์ แต่ถือเป็นการได้รับประโยชน์จากประกาศ
เมื่อลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด อำนาจในการจัดการทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของลูกหนี้ ตกอยู่แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว ลูกหนี้หามีอำนาจดังกล่าวโดยลำพังไม่ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 22 และ มาตรา 24 และการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องจัดการโดยมิให้เกิดความเสียหายแก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ ก่อนที่จะมีประกาศกระทรวงการคลังขยายเวลายื่นรายการชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ลูกหนี้ได้ยื่นคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย โดยระบุว่าจะชำระหนี้ตามคำขอประนอมหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาคำขอประนอมหนี้ ผลการประชุมเจ้าหนี้ยอมรับคำขอประนอมหนี้ดังกล่าว ต่อมาศาลมีคำสั่งเห็นชอบซึ่งเป็นไปตามกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 45 และมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 และเป็นกระบวนพิจารณาที่ได้กระทำภายหลังจากมีประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าวแล้ว ต่อมาลูกหนี้ก็ได้ชำระหนี้ตามคำขอประนอมหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้มีอำนาจหน้าที่ในการที่จะรับชำระหนี้แทนเจ้าหนี้ภายในกำหนดเวลาแล้ว ถือเป็นการชำระหนี้ภาษีอากรที่ต้องชำระหรือนำส่งให้เจ้าหนี้ตามประกาศกระทรวงการคลังแล้ว แม้จะมิได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขตามประกาศกระทรวงการคลังโดยตรงก็ตาม หรือถึงแม้จะเป็นการดำเนินการในคดีล้มละลายในขั้นตอนของการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3409/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณภาษีโรงเรือนและที่ดินโดยใช้ค่ารายปีและดัชนีราคาผู้บริโภค, ศาลสั่งคืนเงินภาษีที่ชำระเกิน
ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 18กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่นำค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วเป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมา แต่บทบัญญัติดังกล่าวมิใช่เป็นการบังคับให้ต้องนำมาเป็นหลักเสมอไป เมื่อปรากฏว่าค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้ว โจทก์และจำเลยยังโต้แย้งกันอยู่ว่าค่ารายปีดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจนำค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วซึ่งยังมิได้ยุติมาเป็นหลักในการคำนวณค่ารายปีของปีที่พิพาทได้
การจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภคเพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิงทางวิชาการได้มีการจัดส่งหลักฐานข้อมูลดังกล่าวให้แก่หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องรวมทั้งจำเลยที่ 1เพื่อใช้เป็นเกณฑ์กำหนดค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามกฎหมาย การเปลี่ยนแปลงอัตราค่าเช่าหรือค่ารายปีตามดัชนีราคาผู้บริโภค จึงเป็นอัตราที่มีเหตุผลตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศ และจำเลยที่ 1 ก็ทราบแล้ว แม้อัตราค่ารายปีของปี 2522 จะมิใช่ค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้ว ซึ่งจะเป็นหลักในการคำนวณค่ารายปีสำหรับปีต่อมาก็ตามแต่โจทก์ก็ได้เพิ่มค่ารายปีตามภาวะค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นจากปี 2522 จนถึงปี 2529เป็นอัตราที่สูงกว่าดัชนีราคาผู้บริโภคที่ทางราชการกำหนด ทั้งไม่สามารถนำค่ารายปีของปีอื่น ๆ มาเป็นหลักคำนวณค่ารายปีพิพาทได้ การคำนวณค่ารายปีสำหรับโรงเรือนและที่ดินคดีนี้ตามอัตราที่โจทก์คำนวณตามฟ้อง จึงเป็นอัตราที่สมควร
จำเลยที่ 1 ต้องคืนเงินภาษีที่โจทก์ชำระเกินแก่โจทก์ภายในกำหนด3 เดือน นับแต่วันอ่านคำพิพากษา ถ้าไม่คืนในกำหนดดังกล่าวจึงจะต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475มาตรา 39 วรรคสอง สำหรับจำเลยที่ 2 เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์ไปตามอำนาจ-หน้าที่ มิใช่ผู้ที่รับภาษีโรงเรือนและที่ดินที่โจทก์ชำระตามคำวินิจฉัย จำเลยที่ 2 จึงไม่มีหน้าที่คืนเงินภาษีส่วนที่เกินแก่โจทก์ด้วย
การจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภคเพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิงทางวิชาการได้มีการจัดส่งหลักฐานข้อมูลดังกล่าวให้แก่หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องรวมทั้งจำเลยที่ 1เพื่อใช้เป็นเกณฑ์กำหนดค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามกฎหมาย การเปลี่ยนแปลงอัตราค่าเช่าหรือค่ารายปีตามดัชนีราคาผู้บริโภค จึงเป็นอัตราที่มีเหตุผลตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศ และจำเลยที่ 1 ก็ทราบแล้ว แม้อัตราค่ารายปีของปี 2522 จะมิใช่ค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้ว ซึ่งจะเป็นหลักในการคำนวณค่ารายปีสำหรับปีต่อมาก็ตามแต่โจทก์ก็ได้เพิ่มค่ารายปีตามภาวะค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นจากปี 2522 จนถึงปี 2529เป็นอัตราที่สูงกว่าดัชนีราคาผู้บริโภคที่ทางราชการกำหนด ทั้งไม่สามารถนำค่ารายปีของปีอื่น ๆ มาเป็นหลักคำนวณค่ารายปีพิพาทได้ การคำนวณค่ารายปีสำหรับโรงเรือนและที่ดินคดีนี้ตามอัตราที่โจทก์คำนวณตามฟ้อง จึงเป็นอัตราที่สมควร
จำเลยที่ 1 ต้องคืนเงินภาษีที่โจทก์ชำระเกินแก่โจทก์ภายในกำหนด3 เดือน นับแต่วันอ่านคำพิพากษา ถ้าไม่คืนในกำหนดดังกล่าวจึงจะต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475มาตรา 39 วรรคสอง สำหรับจำเลยที่ 2 เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์ไปตามอำนาจ-หน้าที่ มิใช่ผู้ที่รับภาษีโรงเรือนและที่ดินที่โจทก์ชำระตามคำวินิจฉัย จำเลยที่ 2 จึงไม่มีหน้าที่คืนเงินภาษีส่วนที่เกินแก่โจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3409/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินที่มิชอบ โดยการนำค่ารายปีที่ไม่ยุติมาเป็นหลัก และการคำนวณค่ารายปีตามดัชนีราคาผู้บริโภค
ตาม พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 18กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่นำค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วเป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมา แต่บทบัญญัติดังกล่าวมิใช่เป็นการบังคับให้ต้องนำมาเป็นหลักเสมอไป เมื่อปรากฏว่าค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้ว โจทก์และจำเลยยังโต้แย้งกันอยู่ว่าค่ารายปีดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจนำค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วซึ่งยังมิได้ยุติมาเป็นหลักในการคำนวณค่ารายปีของปีที่พิพาทได้ การจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภคเพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิงทางวิชาการได้มีการจัดส่งหลักฐานข้อมูลดังกล่าวให้แก่หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องรวมทั้งจำเลยที่ 1 เพื่อใช้เป็นเกณฑ์กำหนดค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามกฎหมาย การเปลี่ยนแปลงอัตราค่าเช่าหรือค่ารายปีตามดัชนีราคาผู้บริโภค จึงเป็นอัตราที่มีเหตุผลตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศ และจำเลยที่ 1 ก็ทราบแล้ว แม้อัตราค่ารายปีของปี 2522 จะมิใช่ค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้ว ซึ่งจะเป็นหลักในการคำนวณค่ารายปีสำหรับปีต่อมาก็ตามแต่โจทก์ก็ได้เพิ่มค่ารายปีตามภาวะค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นจากปี 2522 จนถึงปี 2529 เป็นอัตราที่สูงกว่าดัชนีราคาผู้บริโภคที่ทางราชการกำหนด ทั้งไม่สามารถนำค่ารายปีของปีอื่น ๆ มาเป็นหลักคำนวณค่ารายปีพิพาทได้ การคำนวณค่ารายปีสำหรับโรงเรือนและที่ดินคดีนี้ตามอัตราที่โจทก์คำนวณตามฟ้อง จึงเป็นอัตราที่สมควร จำเลยที่ 1 ต้องคืนเงินภาษีที่โจทก์ชำระเกินแก่โจทก์ภายในกำหนด3 เดือน นับแต่วันอ่านคำพิพากษา ถ้าไม่คืนในกำหนดดังกล่าวจึงจะต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 39 วรรคสอง สำหรับจำเลยที่ 2เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์ไปตามอำนาจหน้าที่ มิใช่ผู้ที่รับภาษีโรงเรือนและที่ดินที่โจทก์ชำระตามคำวินิจฉัย จำเลยที่ 2 จึงไม่มีหน้าที่คืนเงินภาษีส่วนที่เกินแก่โจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3406/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัย: คดีมีทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท & เกินกำหนดฟ้องแย่งการครอบครอง
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองเป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ร่วมกันในที่ดินพิพาทซึ่งมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยซื้อมาจากจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 ไม่ได้โอนชื่อทางทะเบียนให้ ต่อมาจำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยโอนชื่อทางทะเบียนให้แก่จำเลยที่ 2 โดยจำเลยทั้งสองรู้อยู่แล้วว่าที่ดินแปลงดังกล่าวได้โอนให้แก่โจทก์ทั้งสองแล้ว จากนั้นจำเลยที่ 2 ได้เข้ารบกวนการครอบครองและเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทเป็นการเข้าแย่งการครอบครองที่ดินของโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนเพิกถอนชื่อออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ และขับไล่จำเลยที่ 2 ออกไป กับให้จำเลยที่ 1 โอนชื่อทางทะเบียนให้แก่โจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 และเข้าครอบครองทำประโยชน์เป็นเวลา 4 ปี9 เดือนเศษ โจทก์ทั้งสองมิได้ครอบครองที่ดินพิพาทและขัดขวางจำเลยที่ 2 แต่อย่างใด ดังนี้ ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยมีว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสองหรือเป็นของจำเลยที่ 2 จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ แม้โจทก์ทั้งสองจะมีคำขอให้จำเลยที่ 2 เพิกถอนชื่อออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์กับให้จำเลยที่ 1 โอนชื่อทางทะเบียนให้แก่โจทก์ทั้งสองก็เป็นผลต่อเนื่องในเรื่องที่ดินพิพาทเป็นของใคร ถือไม่ได้ว่าเป็นคดีมีคำขออันไม่มีทุนทรัพย์แยกกันได้จากคำขอที่เป็นทุนทรัพย์ เมื่อราคาที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ย่อมต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3406/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีมีทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาทและขาดอายุความฟ้องแย่งการครอบครอง ทำให้ฎีกาต้องห้าม
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองเป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ร่วมกันในที่พิพาทซึ่งมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ โดยซื้อมาจากจำเลยที่ 1แต่จำเลยที่ 1 ไม่ได้โอนชื่อทางทะเบียนให้ ต่อมาจำเลยที่ 1ขายที่พิพาทให้จำเลยที่ 2 โดยโอนชื่อทางทะเบียนโดยจำเลยทั้งสองรู้อยู่แล้วว่าที่พิพาทได้โอนให้แก่โจทก์ทั้งสองแล้วทำให้โจทก์ทั้งสองเสียเปรียบ และจำเลยที่ 2 เข้าไปแย่งการครอบครองที่พิพาทขอให้ขับไล่จำเลยที่ 2 ออกไป กับให้จำเลยที่ 1 โอนชื่อทางทะเบียนแก่โจทก์ทั้งสองจำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 2 ซื้อที่พิพาทจากจำเลยที่ 1 และเข้าครอบครองที่พิพาทโดยโจทก์ทั้งสองมิได้ครอบครองที่พิพาท ดังนี้ ประเด็นในคดีนี้จึงมีว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสองหรือจำเลยที่ 2 จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ แม้โจทก์ทั้งสองจะมีคำขอให้จำเลยที่ 2 เพิกถอนชื่ออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ กับให้จำเลยที่ 1 โอนชื่อทางทะเบียนแก่โจทก์ทั้งสองก็เป็นผลต่อเนื่องในเรื่องที่พิพาทเป็นของใครเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าเป็นคดีมีคำขออันไม่มีทุนทรัพย์ แยกกันได้จากคำขอที่เป็นทุนทรัพย์เมื่อราคาที่พิพาทไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง