พบผลลัพธ์ทั้งหมด 571 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2097/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกที่ไม่มีเจตนา การเข้าครอบครองโดยได้รับอนุญาตจากผู้มีสิทธิก่อนสัญญาเช่าหมดอายุ ถือเป็นการเข้าโดยมีเหตุอันสมควร ไม่เป็นความผิดอาญา
ขณะที่จำเลยเข้าไปอยู่อาศัยในตึกแถวของผู้เสียหายนั้นจำเลยได้เข้าไปอยู่ก่อนที่สัญญาเช่าจะครบกำหนดโดยผู้เช่าเป็นผู้อนุญาต ซึ่งขณะนั้นผู้เช่ายังมีสิทธิครอบครองตึกแถวอยู่ จำเลยจึงเข้าไปอาศัยอยู่ในฐานบริวารของผู้เช่า การเข้าไปอาศัยอยู่ในตึกแถวดังกล่าวจึงเป็นการเข้าไปโดยมีเหตุอันสมควร ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 364 และเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ดังกล่าวแล้ว การที่จำเลยยังคงอยู่ต่อเนื่องตลอดมา แม้สัญญาเช่าดังกล่าวจะครบกำหนดแล้ว และผู้เสียหายได้แจ้งให้จำเลยออกไปแล้ว จำเลยก็ยังไม่ยอมออกไปนั้น ก็เป็นเรื่องละเมิดในทางแพ่งเท่านั้นไม่เป็นความผิดทางอาญาเช่นกันการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2097/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้าอยู่อาศัยในฐานะบริวารโดยได้รับอนุญาตก่อนสัญญาเช่าหมดอายุ ไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก
จำเลยเข้าไปอยู่อาศัยในตึกแถวของผู้เสียหายก่อนที่สัญญาเช่าระหว่างผู้เสียหายกับ พ.จะครบกำหนดโดยพ. เป็นผู้อนุญาตเป็นการเข้าไปอาศัยอยู่ในฐานะบริวารของ พ. จึงเป็นการเข้าไปโดยมีเหตุอันสมควร ไม่เป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 364 และการที่จำเลยยังคงอยู่ต่อเนื่องตลอดมา แม้สัญญาเช่าดังกล่าวจะครบกำหนดและ พ. ได้ออกไปแล้ว ทั้งผู้เสียหายได้แจ้งให้จำเลยออกไปแล้ว แต่จำเลยก็ยังไม่ยอมออกไปก็เป็นเรื่องละเมิดในทางแพ่งเท่านั้นไม่เป็นความผิดเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2097/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้าครอบครองโดยมีเหตุอันสมควรและการละเมิดทางแพ่ง กรณีบุกรุก
ขณะที่จำเลยเข้าไปอยู่อาศัยในตึกแถวของผู้เสียหายนั้น จำเลยได้เข้าไปอยู่ก่อนที่สัญญาเช่าจะครบกำหนดโดยผู้เช่าเป็นผู้อนุญาต ซึ่งขณะนั้นผู้เช่ายังมีสิทธิครอบครองตึกแถวอยู่ จำเลยจึงเข้าไปอาศัยอยู่ในฐานบริวารของผู้เช่า การเข้าไปอาศัยอยู่ในตึกแถวดังกล่าวจึงเป็นการเข้าไปโดยมีเหตุอันสมควร ไม่เป็นความผิดตามประมวล-กฎหมายอาญา มาตรา 364 และเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ดังกล่าวแล้ว การที่จำเลยยังคงอยู่ต่อเนื่องตลอดมา แม้สัญญาเช่าดังกล่าวจะครบกำหนดแล้ว และผู้เสียหายได้แจ้งให้จำเลยออกไปแล้ว จำเลยก็ยังไม่ยอมออกไปนั้น ก็เป็นเรื่องละเมิดในทางแพ่งเท่านั้นไม่เป็นความผิดทางอาญาเช่นกันการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2051/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ไม่ใช่สิทธิซึ่งมีตราสาร จึงไม่ถือเป็นการจำนำเพื่อขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
สิทธิซึ่งมีตราสารหมายถึงตราสารที่ใช้แทนสิทธิหรือทรัพย์ซึ่งเป็นเอกสารที่ทำขึ้นตามแบบพิธีในกฎหมาย และเป็นตราสารที่โอนกันได้ด้วยวิธีของตราสารนั้น ไม่ได้หมายความถึงเอกสารธรรมดาที่ทำขึ้นเพื่อเป็นพยานหลักฐานแห่งสิทธิทั่ว ๆ ไป สิทธิการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์พร้อมทะเบียนรถยนต์และสัญญาเช่าซื้อที่ลูกหนี้ (จำเลย) มอบให้เจ้าหนี้เพื่อประกันการชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่โจทก์ออกให้แก่เจ้าหนี้นั้นไม่ได้มีลักษณะเป็นสิทธิซึ่งมีตราสาร แม้สิทธิดังกล่าวอาจโอนแก่กันได้ก็เป็นเพียงการโอนสิทธิเรียกร้องธรรมดาเท่านั้น การที่ลูกหนี้มอบสิทธิการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์พร้อมทะเบียนรถยนต์และสัญญาเช่าซื้อแก่เจ้าหนี้เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่โจทก์ออกให้แก่เจ้าหนี้ จึงไม่เป็นการจำนำสิทธิซึ่งมีตราสารตามนัยมาตรา 750 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้มีประกันตามมาตรา 96(3) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2051/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ไม่เป็นสิทธิซึ่งมีตราสาร เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้มีประกัน
สิทธิซึ่งมีตราสารย่อมหมายถึงตราสารที่ใช้แทนสิทธิหรือทรัพย์ซึ่งเป็นเอกสารที่ทำขึ้นตามแบบพิธีในกฎหมาย และเป็นตราสารที่โอนกันได้ด้วยวิธีของตราสารนั้น ไม่หมายความถึงเอกสารธรรมดาที่ทำขึ้นเพื่อเป็นพยานหลักฐานแห่งสิทธิทั่ว ๆ ไป สิทธิการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์พร้อมทะเบียนรถยนต์และสัญญาเช่าซื้อที่ลูกหนี้มอบให้เจ้าหนี้เพื่อประกันการชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่โจทก์ออกให้แก่เจ้าหนี้นั้น หาได้มีลักษณะเป็นสิทธิซึ่งมีตราสารในความหมายดังกล่าวไม่ แม้สิทธิดังกล่าวอาจโอนแก่กันได้ก็เป็นเพียงการโอนสิทธิเรียกร้องธรรมดาเท่านั้น การที่ลูกหนี้มอบสิทธิการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์พร้อมทะเบียนรถยนต์และสัญญาเช่าซื้อแก่เจ้าหนี้เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่โจทก์ออกให้แก่เจ้าหนี้ จึงไม่เป็นการจำนำสิทธิซึ่งมีตราสารตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 750 เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้มีประกันตาม พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 96(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2051/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซึ่งมีตราสารกับการจำนำ: ข้อจำกัดสิทธิเจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย
สิทธิซึ่งมีตราสารหมายถึงตราสารที่ใช้แทนสิทธิหรือทรัพย์ซึ่งเป็นเอกสารที่ทำขึ้นตามแบบพิธีในกฎหมาย และเป็นตราสารที่โอนกันได้ด้วยวิธีของตราสารนั้น ไม่ได้หมายความถึงเอกสารธรรมดาที่ทำขึ้นเพื่อเป็นพยานหลักฐานแห่งสิทธิทั่ว ๆ ไป สิทธิการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์พร้อมทะเบียนรถยนต์และสัญญาเช่าซื้อที่ลูกหนี้ (จำเลย) มอบให้เจ้าหนี้เพื่อประกันการชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่โจทก์ออกให้แก่เจ้าหนี้นั้นไม่ได้มีลักษณะเป็นสิทธิซึ่งมีตราสาร แม้สิทธิดังกล่าวอาจโอนแก่กันได้ก็เป็นเพียงการโอนสิทธิเรียกร้องธรรมดาเท่านั้น การที่ลูกหนี้มอบสิทธิการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์พร้อมทะเบียนรถยนต์และสัญญาเช่าซื้อแก่เจ้าหนี้เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่โจทก์ออกให้แก่เจ้าหนี้ จึงไม่เป็นการจำนำสิทธิซึ่งมีตราสารตามนัยมาตรา 750 แห่ง ป.พ.พ. เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้มีประกันตามมาตรา 96 (3) แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2044/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาอุทธรณ์คดีเช็คต้องใช้กฎหมายที่ใช้บังคับขณะยื่นอุทธรณ์ แม้จะเกิดเหตุการณ์ก่อนกฎหมายนั้นมีผลใช้บังคับ
การพิจารณาว่าโจทก์จะอุทธรณ์ได้หรือไม่ต้องพิจารณาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งใช้อยู่ในขณะยื่นอุทธรณ์ มิใช่ในขณะกระทำผิด พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534กำหนดอัตราโทษไว้อย่างสูงตามมาตรา 4 อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำความผิดและในขณะยื่นอุทธรณ์อันเป็นคุณแก่จำเลยยิ่งกว่าพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำผิดในส่วนของโทษปรับ กรณีจึงต้องใช้บทบัญญัติของมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาวินิจฉัยอัตราโทษว่าต้องห้ามอุทธรณ์หรือไม่ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1996/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในความผิดหลายกระทง หากบทหนักไม่ห้าม อุทธรณ์บทเบาก็ไม่ต้องห้าม และต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัย
การวินิจฉัยว่าอุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา193 ทวิ หรือไม่ ต้องพิจารณาความผิดแต่ละกระทง เมื่อความผิดในกระทงนั้นมีความผิดหลายบทรวมอยู่ด้วย ถ้าบทหนักไม่ต้องห้ามศาลก็ต้องถือว่าทุกบทไม่ต้องห้าม คดีนี้โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยในกระทงความผิดฐานพาอาวุธปืนและมีดติดตัวไปในทางสาธารณะและหมู่บ้าน อันเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทเมื่อความผิดต่อพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 8 ทวิ, วรรคแรก72 ทวิ วรรคสอง ซึ่งเป็นบทหนักมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 ทวิ ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 ซึ่งเป็นบทเบาก็พลอยไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ด้วย เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ยังมีข้อสงสัยว่าจำเลยใช้อาวุธปืนและมีดยิงและแทงผู้เสียหายหรือไม่ และได้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยแล้ว ก็ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยในความผิดตาม ป.อ.มาตรา 371 ให้แก่จำเลยด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1996/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีอาญา: หลักการพิจารณาบทหนัก-บทเบา และประโยชน์แห่งความสงสัย
การวินิจฉัยว่าอุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา193 ทวิ หรือไม่ ต้องพิจารณาความผิดแต่ละกระทง เมื่อความผิดในกระทงนั้นมีความผิดหลายบทรวมอยู่ด้วย ถ้าบทหนักไม่ต้องห้าม ศาลก็ต้องถือว่าทุกบทไม่ต้องห้ามคดีนี้โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยในกระทงความผิดฐานพาอาวุธปืนและมีดติดตัวไปในทางสาธารณะ และหมู่บ้าน อันเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท เมื่อความผิดต่อพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 8 ทวิ, วรรคแรก 72 ทวิวรรคสอง ซึ่งเป็นบทหนักมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ ความผิดตามประมวล-กฎหมายอาญา มาตรา 371 ซึ่งเป็นบทเบาก็พลอยไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ด้วย
เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ยังมีข้อสงสัยว่าจำเลยใช้อาวุธปืนและมีดยิงและแทงผู้เสียหายหรือไม่ และได้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยแล้วก็ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 ให้แก่จำเลยด้วย
เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ยังมีข้อสงสัยว่าจำเลยใช้อาวุธปืนและมีดยิงและแทงผู้เสียหายหรือไม่ และได้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยแล้วก็ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 ให้แก่จำเลยด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาในข้อเท็จจริงถูกจำกัดวงเนื่องจากจำนวนทุนทรัพย์พิพาทไม่เกินสองแสนบาท ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248
คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วยกันนั้น ในชั้นฎีกาจำเลยฎีกาเฉพาะค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์ว่า โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5ไม่ได้เสียหายตามคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อันเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาซึ่งเป็นค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์ที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 แต่ละคนมีสิทธิได้รับไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่