คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เสมอ อินทรศักดิ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 571 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1454/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างด้วยเหตุฝ่าฝืนระเบียบสำคัญของธนาคาร ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ธนาคารจำเลยมีระเบียบและคำสั่งเรื่องการให้สินเชื่อแก่ลูกค้าชัดแจ้งว่าลูกค้าที่ขอสินเชื่อตั้งแต่ 10 ล้านบาท ขึ้นไป ผู้จัดการสาขาไม่มีอำนาจอนุมัติเอง ต้องส่งเรื่องไปขออนุมัติจากสำนักงานใหญ่เมื่อสำนักงานใหญ่อนุมัติแล้วจึงจะจดทะเบียนจำนองให้แก่ลูกค้าได้ การที่จำเลยวางระเบียบไว้เช่นนั้นเพื่อให้สำนักงานใหญ่ได้กลั่นกรองให้ละเอียดรอบคอบอีกชั้นหนึ่งซึ่งเป็นมาตรการป้องกันความเสี่ยงหรือความเสียหายของจำเลยจึงต้องถือว่าระเบียบและคำสั่งนี้มีความสำคัญแก่การดำเนินกิจการธนาคารของจำเลย การที่โจทก์รีบดำเนินการจดทะเบียนจำนองให้แก่บริษัทด.ในวงเงิน 162 ล้านบาทก่อนได้รับอนุมัติจากจำเลย ทั้งที่ส.รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ของจำเลยมีคำสั่งว่ากรณีจำเป็นเร่งด่วนก็ต้องขออนุมัติจากสำนักงานใหญก่อนจะดำเนินการจดทะเบียนจำนองให้แก่ลูกค้าไม่ได้และการที่โจทก์ฝ่าฝืนระเบียบหรือคำสั่งของจำเลยเป็นเหตุให้จำเลยขาดเงินฝากอันเป็นหลักประกันถึง 39 ล้านบาท ทั้งโจทก์ยังเปลี่ยนแปลงลักษณะของสินเชื่อโดยเปลี่ยนแปลงจากวงเงินหนังสือค้ำประกันมาเป็นวงเงินรับรองตั๋วแลกเงินและวงเงินรับซื้อตั๋วเงินให้แก่บริษัทด.อีกด้วย อันเป็นผลทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างมาก และความเสียหายนี้หาใช่ความเสียหายที่เกิดจากจำเลยมีคำสั่งให้ระงับสินเชื่อไม่การกระทำของโจทก์ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบหรือคำสั่งเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(4)โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และกรณีจำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุดังกล่าวมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1454/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากฝ่าฝืนระเบียบสำคัญของธนาคาร ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ธนาคารจำเลยมีระเบียบและคำสั่งเรื่องการให้สินเชื่อแก่ลูกค้าชัดแจ้งว่าลูกค้าที่ขอสินเชื่อตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป ผู้จัดการสาขาไม่มีอำนาจอนุมัติเอง ต้องส่งเรื่องไปขออนุมัติจากสำนักงานใหญ่ เมื่อสำนักงานใหญ่อนุมัติแล้วจึงจะจดทะเบียนจำนองให้แก่ลูกค้าได้ การที่จำเลยวางระเบียบไว้เช่นนั้นเพื่อให้สำนักงานใหญ่ได้กลั่นกรองให้ละเอียดรอบคอบอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งเป็นมาตรการป้องกันความเสี่ยงหรือความเสียหายของจำเลย จึงต้องถือว่าระเบียบและคำสั่งนี้มีความสำคัญแก่การดำเนินกิจการธนาคาร ของจำเลยการที่โจทก์รีบดำเนินการจดทะเบียนจำนองให้แก่ บริษัทด. ในวงเงิน 162 ล้านบาท ก่อนได้รับอนุมัติจากจำเลย ทั้งที่ส. รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ของจำเลยมีคำสั่งว่ากรณีจำเป็นเร่งด่วนก็ต้องขออนุมัติจากสำนักงานใหญ่ก่อน จะดำเนินการจดทะเบียนจำนองให้แก่ลูกค้าไม่ได้ แสดงให้เห็นว่าการฝ่าฝืนระเบียบหรือคำสั่งของจำเลย และเป็นเหตุให้จำเลยขาดเงินฝากอันเป็นหลักประกันถึง 39 ล้านบาท ทั้งโจทก์ยังเปลี่ยนแปลงลักษณะของสินเชื่อโดยเปลี่ยนแปลงจากวงเงินหนังสือค้ำประกันมาเป็นวงเงินรับรองตั๋วแลกเงินและวงเงินรับซื้อตั๋วเงินให้แก่บริษัทด. อีกด้วย อันเป็นผลทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างมาก และความเสียหาย นี้หาใช่ความเสียหายที่เกิดจากจำเลยมีคำสั่งให้ระงับสินเชื่อไม่ การกระทำของโจทก์ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบหรือ คำสั่งเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(4) โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย สินจ้างแทนการ บอกกล่าวล่วงหน้า และการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุ ดังกล่าวมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1454/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากฝ่าฝืนระเบียบธนาคารอย่างร้ายแรง ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ธนาคารจำเลยมีระเบียบและคำสั่งเรื่องการให้สินเชื่อแก่ลูกค้าชัดแจ้งว่า ลูกค้าที่ขอสินเชื่อตั้งแต่ 10 ล้านบาท ขึ้นไป ผู้จัดการสาขาไม่มีอำนาจอนุมัติเอง ต้องส่งเรื่องไปขออนุมัติจากสำนักงานใหญ่ เมื่อสำนักงานใหญ่อนุมัติแล้วจึงจะจดทะเบียนจำนองให้แก่ลูกค้าได้ การที่จำเลยวางระเบียบไว้เช่นนั้นเพื่อให้สำนักงานใหญ่ได้กลั่นกรองให้ละเอียดรอบคอบอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งเป็นมาตรการป้องกันความเสี่ยงหรือความเสียหายของจำเลย จึงต้องถือว่าระเบียบและคำสั่งนี้มีความสำคัญแก่การดำเนินกิจการธนาคารของจำเลย การที่โจทก์รีบดำเนินการจดทะเบียนจำนองให้แก่บริษัท ด.ในวงเงิน 162 ล้านบาท ก่อนได้รับอนุมัติจากจำเลย ทั้งที่ ส.รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ของจำเลยมีคำสั่งว่ากรณีจำเป็นเร่งด่วนก็ต้องขออนุมัติจากสำนักงานใหญ่ก่อน จะดำเนินการจดทะเบียนจำนองให้แก่ลูกค้าไม่ได้ แสดงให้เห็นว่าการฝ่าฝืนระเบียบหรือคำสั่งของจำเลยเป็นเหตุให้จำเลยขาดเงินฝากอันเป็นหลักประกันถึง 39 ล้านบาท ทั้งโจทก์ยังเปลี่ยนแปลงลักษณะของสินเชื่อโดยเปลี่ยนแปลงจากวงเงินหนังสือค้ำประกันมาเป็นวงเงินรับรองตั๋วแลกเงินและวงเงินรับซื้อตั๋วเงินให้แก่บริษัท ด.อีกด้วย อันเป็นผลทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างมาก และความเสียหายนี้หาใช่ความเสียหายที่เกิดจากจำเลยมีคำสั่งให้ระงับสินเชื่อดังที่โจทก์อุทธรณ์ไม่ การกระทำของโจทก์ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบหรือคำสั่งเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (4) โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้ากับเงินอื่นตามฟ้อง และกรณีจำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุดังกล่าวมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1453/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลาออก เงื่อนไขการจ่ายเงิน และหน้าที่ของนายจ้างเมื่อลูกจ้างไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข
แม้การที่โจทก์ลาออกจากงานก่อนกำหนด ตามข้อบังคับ ของจำเลยโจทก์ต้องได้รับความเห็นชอบและได้รับ อนุมัติจากคณะกรรมการบริหารของจำเลยก่อนและคณะกรรมการบริหารของจำเลยอนุมัติให้โจทก์ลาออกได้ภายใต้เงื่อนไข 4 ข้อ คือ 1. ต้องเข้าร่วม ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2539/40 เพื่อตอบข้อซักถาม ของที่ประชุมเกี่ยวกับบัญชีงบดุล 2. จะพึงปฏิบัติต่อ ผู้ตรวจสอบบัญชีโดยเคร่งครัด 3. สิทธิที่พึงได้รับ ตามระเบียบร้าน ฯ จะได้รับต่อเมื่อปิดงบดุลเสร็จสิ้น 4. ให้เสนอทำบัญชีงบทดรองมาให้คณะกรรมการพิจารณา ในวันที่ 30 มิถุนายน 2540 และอนุมัติจัดจ้างโจทก์ นอกเวลาตามอัตราค่าจ้างเดิม โจทก์ตกลงกับจำเลย ถือว่าโจทก์สละเงื่อนเวลาในการรับเงินที่โจทก์มีสิทธิ จะได้รับไปจนกว่าปิดงบดุลเสร็จนั้นก็ตาม แต่เมื่อ โจทก์ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อตกลงได้ หลังจากนั้น ค. กรรมการรักษาการผู้จัดการได้มีหนังสือถึงโจทก์ มีข้อความว่า "ตามที่โจทก์ได้รับมอบหมายจาก คณะกรรมการฯ ให้ทำการการปิดบัญชีประจำปี 2539ให้เสร็จภายในกำหนด แต่เนื่องจากโจทก์ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อตกลงได้ คณะกรรมการฯ มีมติให้ความรับผิดชอบของโจทก์ในการปิดบัญชีครั้งนี้สิ้นสุดลงทันที" ย่อมมีผลเท่ากับจำเลยอนุญาตให้โจทก์ลาออกโดยไม่ถือเอาประโยชน์ตามข้อดังกล่าวอีกต่อไปจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินตามสิทธิของโจทก์อันจะพึงได้รับให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1453/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุมัติลาออกภายใต้เงื่อนไข และผลของการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขต่อสิทธิการรับเงินของลูกจ้าง
จำเลยอนุมัติให้โจทก์ลาออกภายใต้เงื่อนไข 4 ข้อเมื่อโจทก์ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อตกลงได้ค. กรรมการรักษาการผู้จัดการจำเลยได้มีหนังสือถึงโจทก์มีข้อความว่า "เนื่องจากโจทก์ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขและ ข้อตกลงได้ คณะกรรมการฯมีมติให้ความรับผิดชอบของโจทก์ ในการปิดบัญชีครั้งนี้สิ้นสุดลงทันที" ดังนั้น การที่ คณะกรรมการจำเลยมีมติดังกล่าวจึงมีผลเท่ากับจำเลยอนุญาต ให้โจทก์ลาออกโดยไม่ถือเอาประโยชน์ตามเงื่อนไขทั้งสี่ข้อต่อไปอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1453/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลาออกภายใต้เงื่อนไข และสิทธิในการรับเงินบำเหน็จหลังการอนุมัติลาออก หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข
แม้การที่โจทก์ลาออกจากงานก่อนกำหนด ตามข้อบังคับของจำเลยโจทก์ต้องได้รับความเห็นชอบและได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารของจำเลยก่อนและคณะกรรมการบริหารของจำเลยอนุมัติให้โจทก์ลาออกได้ภายใต้เงื่อนไข 4 ข้อ คือ 1. ต้องเข้าร่วมประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2539/40เพื่อตอบข้อซักถามของที่ประชุมเกี่ยวกับบัญชีงบดุล 2. จะพึงปฏิบัติต่อผู้ตรวจสอบบัญชีโดยเคร่งครัด 3. สิทธิที่พึงได้รับตามระเบียบร้านฯ จะได้รับต่อเมื่อปิดงบดุลเสร็จสิ้น 4. ให้เสนอทำบัญชีงบทดรองมาให้คณะกรรมการพิจารณาในวันที่ 30 มิถุนายน 2540 และอนุมัติจัดจ้างโจทก์นอกเวลาตามอัตราค่าจ้างเดิม โจทก์ตกลงกับจำเลยถือว่าโจทก์สละเงื่อนเวลาในการรับเงินที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับไปจนกว่าปิดงบดุลเสร็จนั้นก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อตกลงดังกล่าวได้ หลังจากนั้น ค.กรรมการรักษาการผู้จัดการได้มีหนังสือถึงโจทก์ มีข้อความว่า"ตามที่โจทก์ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการฯ ให้ทำการปิดบัญชีประจำปี 2539 ให้เสร็จภายในกำหนดแต่เนื่องจากโจทก์ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อตกลงได้ คณะกรรมการฯ มีมติให้ความรับผิดชอบของโจทก์ในการปิดบัญชีครั้งนี้สิ้นสุดลงทันที" ย่อมมีผลเท่ากับจำเลยอนุญาตให้โจทก์ลาออกโดยไม่ถือเอาประโยชน์ตามข้อดังกล่าวอีกต่อไป จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินตามสิทธิของโจทก์อันจะพึงได้รับให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1453/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลาออกภายใต้เงื่อนไขและการสิ้นสุดความรับผิดชอบทางสัญญา
แม้การที่โจทก์ลาออกจากงานก่อนกำหนด ตามข้อบังคับของจำเลยโจทก์ต้องได้รับความเห็นชอบและได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารของจำเลยก่อนและคณะกรรมการบริหารของจำเลยอนุมัติให้โจทก์ลาออกได้ภายใต้เงื่อนไข 4 ข้อ คือ1. ต้องเข้าร่วมประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2539/40 เพื่อตอบข้อซักถามของที่ประชุมเกี่ยวกับบัญชีงบดุล 2. จะพึงปฏิบัติต่อผู้ตรวจสอบบัญชีโดยเคร่งครัด 3. สิทธิที่พึงได้รับตามระเบียบร้านฯ จะได้รับต่อเมื่อปิดงบดุลเสร็จสิ้น 4. ให้เสนอทำบัญชีงบทดรองมาให้คณะกรรมการพิจารณาในวันที่ 30 มิถุนายน 2540 และอนุมัติจัดจ้างโจทก์นอกเวลาตามอัตราค่าจ้างเดิม โจทก์ตกลงกับจำเลยถือว่าโจทก์สละเงื่อนเวลาในการรับเงินที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับไปจนกว่าปิดงบดุลเสร็จนั้นก็ตาม
แต่เมื่อโจทก์ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อตกลงได้หลังจากนั้น ค. กรรมการรักษาการผู้จัดการได้มีหนังสือถึงโจทก์ มีข้อความว่า"...ตามที่โจทก์ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการฯ ให้ทำการการปิดบัญชีประจำปี2539 ให้เสร็จภายในกำหนด แต่เนื่องจากโจทก์ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อตกลงได้ คณะกรรมการฯ มีมติให้ความรับผิดชอบของโจทก์ในการปิดบัญชีครั้งนี้สิ้นสุดลงทันที..." ย่อมมีผลเท่ากับจำเลยอนุญาตให้โจทก์ลาออกโดยไม่ถือเอาประโยชน์ตามข้อดังกล่าวอีกต่อไป จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินตามสิทธิของโจทก์อันจะพึงได้รับให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1445/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ในคดีแรงงาน: การโต้แย้งดุลพินิจศาลชั้นต้นและการรับฟังพยานหลักฐาน
ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า เมื่อโจทก์เดินทางมาถึงประเทศไทย และวันที่ 28 สิงหาคม 2538 โจทก์จำเลยทำสัญญาจ้างแรงงานขึ้นอีกฉบับหนึ่งและโจทก์เริ่มต้นทำงานกับจำเลยในวันนั้น โจทก์จึงเป็นลูกจ้างของจำเลยตั้งแต่วันดังกล่าว และเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2539ด.ผู้จัดการทั่วไปของจำเลยแจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยต้องการจะเลิกจ้างโจทก์จึงให้โจทก์เลือกว่าจะลาออกหรือให้จำเลยเลิกจ้าง หลังจากเจรจากันแล้วโจทก์ได้ยื่นใบลาออกเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2539 จึงเป็น การที่โจทก์ลาออกโดยสมัครใจที่โจทก์อุทธรณ์ว่า คำเสนอ สนองระหว่างโจทก์จำเลยเกิดขึ้นแล้วตั้งแต่เวลาที่โจทก์ เดินทางมาประเทศไทยเพื่อเข้ารับการสัมภาษณ์จาก ด. สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์จำเลยจึงเกิดขึ้นตั้งแต่ วันที่ 30 มิถุนายน 2538 โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยตั้งแต่ วันดังกล่าวและเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2539 ก่อนที่จำเลยจะเรียกโจทก์ไปพบ จำเลยมีเจตนาจะเลิกจ้างโจทก์และ จัดทำหนังสือเลิกจ้างไว้แล้ว เมื่อโจทก์จำเลยเจรจากันแล้ว จำเลยจึงยื่นหนังสือดังกล่าวให้โจทก์ แสดงให้เห็นเจตนาอัน แท้จริงของจำเลยว่าเป็นการเลิกจ้างโจทก์นั้นอุทธรณ์ ของโจทก์ทั้งสองข้อล้วนเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการ รับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1428/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจศาลแรงงานเกี่ยวกับการรับฟังพยานหลักฐานและการสละสิทธิเรียกร้องเงินค่าชดเชย ถือเป็นการอุทธรณ์ต้องห้าม
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ใบสำคัญการรับเงินค่าชดเชยเอกสารหมาย ล.2 โจทก์เป็นผู้ทำและกรอกข้อความเองทั้งหมดพอตีความในเนื้อความดังกล่าวได้ว่าโจทก์มีเจตนายอมรับในการที่จำเลยเลิกจ้างและค่าชดเชยที่จำเลยเสนอให้ แม้เอกสารหมาย ล.2 ไม่มีข้อความว่าโจทก์ยอมสละสิทธิเรียกเงินไว้ก็ตาม แต่ที่โจทก์ยอมทำเอกสารหมาย ล.2 ตามข้อเสนอของจำเลยย่อมตีเจตนาของโจทก์ได้ว่า โจทก์ยอมรับค่าชดเชยที่จำเลยเสนอและโจทก์ยอมสละสิทธิเรียกร้องเงินอื่นอีก และการแถลงรับข้อเท็จจริงตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลแรงงาน ซึ่งโจทก์รับว่าได้รับเงินตามเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายครบถ้วนแล้ว แต่โจทก์ไม่โต้เถียงเกี่ยวกับการสละสิทธิเรียกร้องเงินอื่นใดจากจำเลยอีกตามที่จำเลยอ้าง แสดงว่าข้อกล่าวอ้างของจำเลยดังกล่าวนั้นมีจริง เมื่อโจทก์ไม่ปฏิเสธโดยชัดแจ้ง ต้องถือว่าโจทก์ยอมรับนั้นศาลแรงงานได้วินิจฉัยแล้วว่าเอกสารหมาย ล.2ไม่ปรากฏข้อความว่าโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องเงินอื่นใดจากจำเลยทั้งสิ้นดังที่จำเลยให้การ แม้โจทก์จะแถลงรับว่าโจทก์ได้รับเงินค่าชดเชยตามที่จำเลยจ่าย 3 เดือน โดยคำนวณจากอัตราค่าจ้างเดือนละ 10,224 บาท ก็ไม่อาจถือได้ว่าโจทก์สละสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยส่วนที่ขาดและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า อุทธรณ์จำเลยดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104 บัญญัติให้ศาลมีอำนาจเต็มในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำมาสืบเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่ แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้นซึ่งบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวอนุโลมใช้กับคดีแรงงานด้วยตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 ดังนี้การที่ศาลแรงงานสอบข้อเท็จจริงจากคู่ความประกอบเอกสารในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์แล้วเห็นว่าข้อเท็จจริงที่คู่ความแถลงรับเพียงพอที่จะฟังเป็นยุติและพอวินิจฉัยได้แล้วจึงสั่งงดสืบพยานแล้ววินิจฉัยคดีตามที่คู่ความรับกันถือได้ว่าศาลแรงงานได้ใช้ดุลพินิจวิเคราะห์พยานหลักฐานในการรับฟังข้อเท็จจริงคดีนี้เป็นการชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1428/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานในคดีแรงงาน: ศาลมีอำนาจวินิจฉัยยุติได้หากพยานหลักฐานเพียงพอ และการอุทธรณ์ดุลพินิจเป็นอุทธรณ์ต้องห้าม
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ใบสำคัญการรับเงินค่าชดเชยเอกสารหมายล.2 โจทก์เป็นผู้ทำและกรอกข้อความเองทั้งหมด พอตีความในเนื้อความดังกล่าวได้ว่าโจทก์มีเจตนายอมรับในการที่จำเลยเลิกจ้างและค่าชดเชยที่จำเลยเสนอให้ แม้เอกสารหมาย ล.2 ไม่มีข้อความว่าโจทก์ยอมสละสิทธิเรียกเงินไว้ก็ตาม แต่ที่โจทก์ยอมทำเอกสารหมาย ล.2 ตามข้อเสนอของจำเลยย่อมตีเจตนาของโจทก์ได้ว่า โจทก์ยอมรับค่าชดเชยที่จำเลยเสนอและโจทก์ยอมสละสิทธิเรียกร้องเงินอื่นอีก และการแถลงรับข้อเท็จจริงตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลแรงงานกลาง ลงวันที่ 17กรกฎาคม 2541 ซึ่งโจทก์รับว่าได้รับเงินตามเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายครบถ้วนแล้ว แต่โจทก์ไม่โต้เถียงเกี่ยวกับการสละสิทธิเรียกร้องเงินอื่นใดจากจำเลยอีกตามที่จำเลยอ้าง แสดงว่าข้อกล่าวอ้างของจำเลยดังกล่าวนั้นมีจริง เมื่อโจทก์ไม่ปฏิเสธโดยชัดแจ้งต้องถือว่าโจทก์ยอมรับนั้น ศาลแรงงานได้วินิจฉัยแล้วว่าเอกสารหมาย ล.2 ไม่ปรากฏข้อความว่าโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องเงินอื่นใดจากจำเลยทั้งสิ้นดังที่จำเลยให้การ แม้โจทก์จะแถลงรับว่าโจทก์ได้รับเงินค่าชดเชยตามที่จำเลยจ่าย 3 เดือน โดยคำนวณจากอัตราค่าจ้างเดือนละ 10,224 บาท ก็ไม่อาจถือได้ว่าโจทก์สละสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยส่วนที่ขาดและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า อุทธรณ์จำเลยดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ป.วิ.พ.มาตรา 104 บัญญัติให้ศาลมีอำนาจเต็มในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำมาสืบเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่ แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้น ซึ่งบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวอนุโลมใช้กับคดีแรงงานด้วยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ดังนี้การที่ศาลแรงงานสอบข้อเท็จจริงจากคู่ความประกอบเอกสารในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ แล้วเห็นว่าข้อเท็จจริงที่คู่ความแถลงรับเพียงพอที่จะฟังเป็นยุติและพอวินิจฉัยได้แล้วจึงสั่งงดสืบพยานแล้ววินิจฉัยคดีตามที่คู่ความรับกันถือได้ว่าศาลแรงงานได้ใช้ดุลพินิจวิเคราะห์พยานหลักฐานในการรับฟังข้อเท็จจริงคดีนี้เป็นการชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความแล้ว
of 58