คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เสมอ อินทรศักดิ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 571 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 393/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องไม่ชัดเจน ศาลไม่รับฟ้อง แม้มีการแก้ไขหลายครั้ง โจทก์อุทธรณ์ไม่ชัดเจน ศาลฎีกายกอุทธรณ์
ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องเพราะคำฟ้องเขียนฟุ่มเฟือย อ่านไม่เข้าใจโจทก์อุทธรณ์อ้างเพียงว่าศาลแรงงานกลางมีคำสั่งดังกล่าวและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ กับอ้างว่าโจทก์ใช้สิทธิทางศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55ศาลตัดสิทธิโจทก์ทั้งที่ทราบว่าคดียังไม่ถึงที่สุดเท่านั้นมิได้โต้แย้งคำสั่งศาลแรงงานกลางว่าคำฟ้องมิได้เขียนฟุ่มเฟือยและสามารถอ่านเข้าใจได้ พร้อมทั้งเหตุผลสนับสนุนข้อโต้แย้งดังกล่าว จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 377/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้ไม่มีเหตุตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ หากไม่มีเหตุจำเป็นอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
แม้พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123จะกำหนดเหตุแห่งการเลิกจ้างไว้เพียง 5 ประการแต่ก็มิได้หมายความว่าเมื่อมีเหตุจำเป็นนอกเหนือจากเหตุแห่งการเลิกจ้าง 5 ประการดังกล่าวแล้ว นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างไม่ได้ กรณีเช่นนี้นายจ้างเลิกจ้าง ลูกจ้างที่จะไม่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม จึงต้อง พิจารณาถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างเป็นประการสำคัญ จำเลยที่ 11 ถึงที่ 14 เป็นลูกจ้างโจทก์โดยทำงานในแผนกข้อมูลข่าวสารซึ่งมีลูกจ้างทั้งหมด 8 คน จำเลยที่ 11ถึงที่ 14 เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานและเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องจำเลยที่ 11 ถึงที่ 14 ถูกโจทก์เลิกจ้างเนื่องจากโจทก์ ยุบแผนกที่จำเลยที่ 11 ถึงที่ 14 ทำงาน แม้ขณะโจทก์ ยุบแผนกดังกล่าวเนื่องจากผลประกอบการในแผนกขาดทุน แต่ผลประกอบการโดยรวมของโจทก์ยังมีกำไร นอกจากนี้โจทก์ย้ายลูกจ้างคนหนึ่งในแผนกดังกล่าวไปทำงาน ในแผนกอื่น แล้วโจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 11 ถึงที่ 14 กับพวก หลังจากนั้นโจทก์ได้รับลูกจ้างใหม่เข้าทำงานอีก 7 คนและยังได้รับสมัครลูกจ้างเข้าทำงานทดแทนลูกจ้าง ที่ออกจากงานตลอดมาเช่นนี้ กรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์มีเหตุ จำเป็นอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ในการเลิกจ้างจำเลยที่ 11 ถึงที่ 14 การที่โจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 11 ถึงที่ 14 เนื่องจาก เหตุดังกล่าวก็ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้น ตามมาตรา 123 แห่ง พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 โจทก์ เลิกจ้างจำเลยที่ 11 ถึงที่ 14 จึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 377/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้ไม่มีเหตุตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ต้องพิจารณาความจำเป็นและผลกระทบ
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123
แม้ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123 จะกำหนดเหตุแห่งการเลิกจ้างไว้เพียง 5 ประการ แต่ก็มิได้หมายความว่าเมื่อมีเหตุจำเป็นนอกเหนือจากเหตุแห่งการเลิกจ้าง 5 ประการดังกล่าวแล้ว นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างไม่ได้ กรณีเช่นนี้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างที่จะไม่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม จึงต้องพิจารณาถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างเป็นประการสำคัญ
จำเลยที่ 11 ถึงที่ 14 เป็นลูกจ้างโจทก์โดยทำงานในแผนกข้อมูลข่าวสารซึ่งมีลูกจ้างทั้งหมด 8 คน จำเลยที่ 11 ถึงที่ 14 เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานและเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง จำเลยที่ 11 ถึงที่ 14 ถูกโจทก์เลิกจ้างเนื่องจากโจทก์ยุบแผนกที่จำเลยที่ 11 ถึงที่ 14 ทำงาน แม้ขณะโจทก์ยุบแผนกดังกล่าวเนื่องจากผลประกอบการในแผนกขาดทุน แต่ผลประกอบการโดยรวมของโจทก์ยังมีกำไร นอกจากนี้โจทก์ย้ายลูกจ้างคนหนึ่งในแผนกดังกล่าวไปทำงานในแผนกอื่น แล้วโจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 11 ถึงที่ 14 กับพวก หลังจากนั้นโจทก์ได้รับลูกจ้างใหม่เข้าทำงานอีก 7 คนและยังได้รับสมัครลูกจ้างเข้าทำงานทดแทนลูกจ้างที่ออกจากงานตลอดมาเช่นนี้ กรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์มีเหตุจำเป็นอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ในการเลิกจ้างจำเลยที่ 11 ถึงที่ 14 การที่โจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 11 ถึงที่ 14 เนื่องจากเหตุดังกล่าวก็ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามมาตรา 123 แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 โจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 11 ถึงที่ 14 จึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 377/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้ผลประกอบการโดยรวมกำไร แต่ยุบแผนกขาดทุนแล้วรับคนใหม่เข้าทำงาน
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123กำหนดเหตุแห่งการเลิกจ้างไว้ 5 ประการ แต่มิได้หมายความว่า เมื่อมีเหตุจำเป็นนอกเหนือจากเหตุแห่งการเลิกจ้าง 5 ประการ ดังกล่าวแล้ว นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างไม่ได้ การเลิกจ้าง ที่จะไม่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมต้องพิจารณาถึง สาเหตุแห่งการเลิกจ้างเป็นประการสำคัญ จำเลยที่ 11 ถึงที่ 14 เป็นลูกจ้างโจทก์ ทำงานในแผนก ข้อมูลข่าวสารซึ่งมีลูกจ้างทั้งหมด 8 คน จำเลยที่ 11 ถึงที่ 14 เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานหนังสือพิมพ์ บ. และเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง จำเลยที่ 11ถึงที่ 14 ถูกโจทก์เลิกจ้างเนื่องจากโจทก์ยุบแผนกที่จำเลยที่ 11 ถึงที่ 14 ทำงาน ขณะโจทก์ยุบแผนกดังกล่าว ผลประกอบการในแผนกขาดทุนแต่ผลประกอบการโดยรวมของโจทก์ ยังมีกำไร โจทก์ย้ายลูกจ้างคนหนึ่งในแผนกดังกล่าว ไปทำงานในแผนกอื่น แล้วโจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 11 ถึงที่ 14 กับพวก หลังจากนั้นโจทก์ได้รับลูกจ้างใหม่เข้ามาทำงาน อีก 7 คน และรับสมัครลูกจ้างเข้าทำงานทดแทนลูกจ้าง ที่ออกจากงานตลอดมา จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์มีเหตุจำเป็น อันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ในการเลิกจ้างจำเลยที่ 11 ถึงที่ 14 และเหตุที่เลิกจ้างไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามมาตรา 123 แห่ง พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ การที่โจทก์เลิกจ้าง จำเลยที่ 11 ถึงที่ 14 จึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 197/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อบังคับสวัสดิการพนักงาน: การจ่ายเงินสะสมและเงินสมทบเป็นสิทธิโดยชอบธรรม หาใช่ดุลพินิจของนายจ้าง
กฎระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลย เรื่องสวัสดิการพนักงาน ข้อ 2 ว่าด้วยเงินสะสมพนักงานระบุเจตนารมณ์การจัดให้มีเงินสะสมขึ้นเพื่อช่วยเหลือและเป็นหลักประกันให้เกิดความมั่นคงในอนาคตของพนักงาน ที่ลาออกหรือเกษียณอายุว่าหลังจากพ้นสภาพพนักงานด้วยเหตุ ดังกล่าวจะได้เงินจำนวนหนึ่ง ซึ่งเงินที่จะได้รับนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเงินที่หักไว้จากค่าจ้างของโจทก์ในแต่ละเดือน และอีกส่วนหนึ่งจำเลยจะต้องสมทบซึ่งต้องมอบเงินให้พนักงาน ที่ลาออกในจำนวนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ทุกกรณีเสมอ ไม่ใช่กำหนดให้อยู่ในดุลพินิจของจำเลยเป็นผู้พิจารณาว่า ควรจะสมทบเงินหรือควรจะมอบเงินให้หรือไม่เพราะถ้าให้อยู่ ในดุลพินิจของจำเลย ย่อมเป็นการไม่แน่นอนว่าจำเลยจะ สมทบเงินหรือจะมอบเงินให้หรือไม่ จึงไม่เป็นหลักประกัน ที่แน่นอนและไม่ก่อให้เกิดความมั่นคงในอนาคตของโจทก์ ทั้งไม่มีสวัสดิการที่จำเลยจะต้องจัดให้โจทก์ตาม เจตนารมณ์ที่กำหนดไว้ ข้อความในกฎระเบียบข้อบังคับการทำงาน ข้อ 2(7)(8) ที่ระบุว่าจำเลยจะสมทบเงินหรือจะพิจารณามอบเงิน คำว่า "จะ" หมายความเพียงว่าในเวลาข้างหน้าถัดจากมีกฎระเบียบข้อบังคับ การทำงานแล้ว จำเลยจึงจะต้องปฏิบัติและจ่ายเงินตาม หลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และคำว่า "จะพิจารณา" ก็มีความหมาย เพียงว่าให้จำเลยพิจารณาก่อนว่าโจทก์ออกจากงานเนื่องจาก การกระทำความผิดหรือไม่ และถ้ามีสิทธิได้รับเงินที่จำเลย จะสมทบและจะมอบให้ โจทก์มีสิทธิได้รับตามกฎระเบียบข้อบังคับ การทำงานข้อใดเท่านั้น ไม่ใช่กำหนดให้เป็นดุลพินิจของ จำเลยที่จะพิจารณาว่าควรจะสมทบเงินหรือควรจะมอบเงิน ให้โจทก์หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 188/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการผู้จัดการออกหนังสือตักเตือน และการเลิกจ้างที่ชอบด้วยกฎหมาย
ศ. เป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลย มีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์และเป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรงของโจทก์เมื่อโจทก์ประพฤติตนบกพร่องโดยมาทำงานสายเป็นประจำ อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย ศ. ย่อมมีอำนาจที่จะว่ากล่าวตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือได้ และในหนังสือ ตักเตือนไม่จำต้องให้กรรมการจำเลยสองคนลงลายมือชื่อ และประทับตราสำคัญของจำเลยเพราะมิใช่เป็นการ กระทำนิติกรรมแทนจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 188/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจตักเตือนของกรรมการผู้จัดการ: หนังสือตักเตือนโดยไม่ต้องลงลายมือชื่อกรรมการอื่น
ศ.เป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลยมีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ ทั้งเป็นผู้บังคับบัญชา โดยตรงของโจทก์ เมื่อโจทก์ประพฤติตนบกพร่อง โดยมาทำงานสายเป็นประจำอันอาจก่อให้เกิด ความเสียหายแก่จำเลย ศ.ย่อมมีอำนาจที่จะว่ากล่าวตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือได้ และในหนังสือตักเตือนก็ไม่จำต้องให้กรรมการจำเลยสองคนลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของจำเลยเพราะมิใช่เป็นการกระทำนิติกรรมแทนจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 188/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจบังคับบัญชาและการตักเตือนลูกจ้าง: หนังสือตักเตือนไม่เป็นนิติกรรม
ศ.เป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลย มีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ ทั้งเป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรงของโจทก์ เมื่อโจทก์ประพฤติตนบกพร่องโดยมาทำงานสายเป็นประจำอันอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย ศ.ย่อมมีอำนาจที่จะว่ากล่าวตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือได้ และในหนังสือตักเตือนก็ไม่จำต้องให้กรรมการจำเลยสองคนลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของจำเลยเพราะมิใช่เป็นการกระทำนิติกรรมแทนจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 29/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขยายเวลาอุทธรณ์คดีแรงงาน: การอ่านคำพิพากษาจริง vs. การรับทราบ
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 26 บัญญัติให้ระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ใน พระราชบัญญัตินี้หรือตามที่ศาลแรงงานได้กำหนด ศาลแรงงาน มีอำนาจย่นหรือขยายได้ตามความจำเป็นและเพื่อประโยชน์ แห่งความยุติธรรมเป็นบทบัญญัติไว้เฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 มาใช้บังคับ โดยอนุโลม แม้โจทก์ลงลายมือชื่อในหน้าสำนวนรับว่าศาลแรงงานกลาง ได้อ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2541 แต่ตาม คำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ของโจทก์ฉบับลงวันที่ 20 กรกฎาคม 2541 โจทก์อ้างว่าตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม 2541 ถึงปลายเดือนมิถุนายน 2541 โจทก์ติดตามผลคำพิพากษาคดีนี้ ตลอดมาก็ไม่พบว่าศาลแรงงานกลางได้มีคำพิพากษา จนกระทั่งวันที่ 3 กรกฎาคม 2541 โจทก์ได้รับสำเนาคำพิพากษา ดังนั้น หากข้อเท็จจริงเป็นไปตามคำร้องของ โจทก์ดังกล่าวกรณียังถือไม่ได้ว่าศาลแรงงานกลางอ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2541 ให้โจทก์ฟัง กรณีย่อมมีเหตุที่จะขอขยาย ระยะเวลาอุทธรณ์ได้ ชอบที่ศาลแรงงานกลางจะไต่สวนคำร้อง ของโจทก์ดังกล่าวว่าเป็นจริงตามคำร้องหรือไม่ ไม่ควร ด่วนยกคำร้องเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7643/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างโดยพฤติการณ์ การจ่ายค่าจ้างและให้ขนย้ายทรัพย์สินถือเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
กรรมการผู้มีอำนาจของจำเลย พูดกับโจทก์ที่ 1 ว่าโจทก์ทั้งสองมีเงินเดือนสูงถ้าจะลดค่าจ้างจะอยู่ได้หรือไม่และให้โจทก์ทั้งสองขนย้ายทรัพย์ออกไปจากบริษัทจำเลยในตอนเย็นของวันที่พูด กับได้จ่ายค่าจ้างถึงวันดังกล่าวให้โจทก์ทั้งสองด้วย พฤติการณ์ถือได้ว่า จำเลยไม่ให้โจทก์ทั้งสองทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้เป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 วรรคสอง
of 58