คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เสมอ อินทรศักดิ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 571 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3431/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากรายงานเท็จที่ไม่ร้ายแรงเพียงพอต่อการไม่จ่ายค่าชดเชย
การทำรายงานเท็จของโจทก์เกี่ยวกับการไปติดต่อประสานงานและเร่งรัดเก็บเงินค่าเช่าซื้อรถยนต์จากลูกค้าทำให้จำเลยได้รับความเสียหายเพียงทำให้จำเลยไม่ได้รับข้อมูลหรือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวลูกค้าที่ถูกต้องแท้จริง รวมทั้ง ยังไม่ได้รับเงินค่างวดค่าเช่าซื้อรถยนต์จากลูกค้าทันที และจำเลยอาจได้รับชำระล่าช้าออกไปบ้างเท่านั้น แต่การกระทำ ของโจทก์ก็มิได้ทำให้หนี้ค่างวดดังกล่าวต้องระงับไปเพราะเหตุ ดังกล่าว เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับความเสียหายอื่นใดจาก การทำรายงานเท็จดังกล่าวอีก ทั้งการกระทำความผิดครั้งก่อน ๆ ของโจทก์ซึ่งไม่ใช่กรณีที่จำเลยนำมาเป็นเหตุเลิกจ้างโจทก์ จำเลยก็ได้ลงโทษโจทก์ไปแล้ว กรณีจึงไม่อาจนำมาประกอบการ พิจารณาว่าการกระทำของโจทก์ครั้งนี้เป็นการฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยอย่างร้ายแรงที่จำเลย จะเลิกจ้างโจทก์โดยไม่จ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ แต่พฤติการณ์ของโจทก์เป็นการกระทำอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยจึง เลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่จำต้อง จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3431/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง: รายงานเท็จไม่ร้ายแรงพอที่จะเลิกจ้างโดยต้องจ่ายค่าชดเชย
การทำรายงานเท็จของโจทก์เกี่ยวกับการไปติดต่อประสานงานและเร่งรัดเก็บเงินค่าเช่าซื้อรถยนต์จากลูกค้าทำให้จำเลยได้รับความเสียหายเพียงทำให้จำเลยไม่ได้รับข้อมูลหรือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวลูกค้าที่ถูกต้องแท้จริง รวมทั้งยังไม่ได้รับเงินค่างวดค่าเช่าซื้อรถยนต์จากลูกค้าทันที และจำเลยอาจได้รับชำระล่าช้าออกไปบ้างเท่านั้น แต่การกระทำของโจทก์ก็มิได้ทำให้หนี้ค่างวดดังกล่าวต้องระงับไปเพราะเหตุดังกล่าว เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับความเสียหายอื่นใดจากการทำรายงานเท็จดังกล่าวอีก ทั้งการกระทำความผิดครั้งก่อน ๆ ของโจทก์ซึ่งไม่ใช่กรณีที่จำเลยนำมาเป็นเหตุเลิกจ้างโจทก์ จำเลยก็ได้ลงโทษโจทก์ไปแล้ว กรณีจึงไม่อาจนำมาประกอบการพิจารณาว่าการกระทำของโจทก์ครั้งนี้เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยอย่างร้ายแรงที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์โดยไม่จ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ แต่พฤติการณ์ของโจทก์เป็นการกระทำอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตาม ป.พ.พ.มาตรา 583 จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่จำต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3431/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง: รายงานเท็จไม่ร้ายแรงพอเลิกจ้าง แต่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ไม่สุจริต
แม้การทำรายงานเท็จเกี่ยวกับการไปติดต่อประสานงานและ เร่งรัดเก็บเงินค่าเช่าซื้อรถยนต์จากลูกค้าของโจทก์จะทำให้ จำเลยได้รับความเสียหายอยู่บ้าง แต่เป็นเพียงทำให้จำเลย ไม่ได้รับข้อมูลหรือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวลูกค้าที่ถูกต้องแท้จริง รวมทั้งยังไม่ได้รับเงินค่างวดค่าเช่าซื้อรถยนต์ จากลูกค้าทันที แต่อาจได้รับชำระล่าช้าออกไปบ้างเท่านั้น มิได้ทำให้หนี้ค่างวดดังกล่าวต้องระงับไปเพราะเหตุนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับความเสียหายอื่นใดจากการทำ รายงานเท็จดังกล่าว ทั้งการกระทำความผิดครั้งก่อน ๆ ของโจทก์ ซึ่งไม่ใช่กรณีที่จำเลยนำมาเป็นเหตุเลิกจ้างโจทก์ จำเลยก็ได้ ลงโทษโจทก์ไปแล้วจึงไม่อาจนำมาประกอบการพิจารณาว่าการกระทำ ของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของ จำเลยอย่างร้ายแรงเพื่อไม่จ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์อีกได้ ถือไม่ได้ว่าการกระทำของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับ เกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรง แต่พฤติการณ์ ของโจทก์เป็นการกระทำอันไม่สมแก่การปฎิบัติ หน้าที่ของตน ให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3355/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการสะสมวันหยุดพักผ่อนและผลของการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม คดีแรงงาน
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ข้อบังคับในการทำงานกำหนดว่าวันหยุดพักผ่อนประจำปีผู้ปฏิบัติงานจะสะสมไม่ได้ และผู้ปฏิบัติงานที่ไม่ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี จำเลยจะถือว่าผู้นั้นสละสิทธิในการหยุดพักผ่อนประจำปี โดยไม่มีสิทธิเรียกร้องใด ๆ จาก จำเลย เมื่อเป็นข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงาน จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่งซึ่งอนุโลมมาใช้บังคับแก่คดีแรงงานด้วยตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลแรงงานเห็นว่า พยานจำเลยที่นำสืบมาไม่มีเหตุผลให้รับฟังดีกว่าพยานโจทก์ แล้วฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยให้ อำนาจนายส.บอกเลิกจ้างโจทก์มิใช่โจทก์ละทิ้งหน้าที่ดังจำเลยให้การ โดยศาลแรงงานได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยอาศัย คำเบิกความของโจทก์และพยานโจทก์ประกอบพฤติการณ์ที่ปรากฏ ในสำนวนทั้งสิ้น กรณีจึงมิใช่ศาลแรงงานหยิบยกข้อเท็จจริง นอกสำนวนมาตัดสินคดี เมื่อข้อเท็จจริงที่ว่า โจทก์ยินยอมในการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างหรือไม่ เป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องนำสืบให้ปรากฏ เพื่อให้จำเลยพ้นความรับผิด แต่จำเลยไม่นำสืบ การที่ ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ หรือไม่ปรากฏว่าโจทก์ให้ความยินยอม เช่นนี้ จึงมิใช่ศาลแรงงาน ฟังข้อเท็จจริงที่ไม่ปรากฏในสำนวนขึ้นมาวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3355/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการสะสมวันหยุดพักผ่อน และการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง จำเลยต้องนำสืบพยานหลักฐาน
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ข้อบังคับในการทำงานกำหนดว่า วันหยุดพักผ่อนประจำปีผู้ปฏิบัติงานจะสะสมไม่ได้ และผู้ปฏิบัติงานที่ไม่ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี จำเลยจะถือว่าผู้นั้นสละสิทธิในการหยุดพักผ่อนประจำปี โดยไม่มีสิทธิเรียกร้องใด ๆ จากจำเลย เมื่อเป็นข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงาน จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ซึ่งอนุโลมมาใช้บังคับแก่คดีแรงงานด้วยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
ศาลแรงงานเห็นว่า พยานจำเลยที่นำสืบมาไม่มีเหตุผลให้รับฟังดีกว่าพยานโจทก์ แล้วฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยให้อำนาจนาย ส.บอกเลิกจ้างโจทก์มิใช่โจทก์ละทิ้งหน้าที่ดังจำเลยให้การ โดยศาลแรงงานได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยอาศัยคำเบิกความของโจทก์และพยานโจทก์ประกอบพฤติการณ์ที่ปรากฏในสำนวนทั้งสิ้น กรณีจึงมิใช่ศาลแรงงานหยิบยกข้อเท็จจริงนอกสำนวนมาตัดสินคดี
เมื่อข้อเท็จจริงที่ว่า โจทก์ยินยอมในการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างหรือไม่ เป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องนำสืบให้ปรากฏเพื่อให้จำเลยพ้นความรับผิด แต่จำเลยไม่นำสืบ การที่ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ หรือไม่ปรากฏว่าโจทก์ให้ความยินยอม เช่นนี้ จึงมิใช่ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงที่ไม่ปรากฏในสำนวนขึ้นมาวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2359/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากดื่มเบียร์ขณะปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งถือเป็นการละทิ้งหน้าที่และฝ่าฝืนระเบียบของบริษัท
โจทก์เป็นพนักงานขับรถ มีหน้าที่นำพนักงานของ จำเลยที่ได้รับบาดเจ็บระหว่างทำงานส่งโรงพยาบาล ซึ่งเป็นหน้าที่สำคัญที่เกี่ยวกับความปลอดภัยในชีวิต และร่างกายของบุคคล การดื่มเบียร์ซึ่งเป็นสิ่งมึนเมา ย่อมทำให้การปฏิบัติ หน้าที่บกพร่องและอาจก่อให้เกิดอันตราย และความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้อื่นได้ ทั้งจำเลยก็ได้กำหนด ไว้ในมาตรการทางวินัยอันเป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่า เป็นกรณีร้ายแรงด้วย ดังนี้ การที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่โดย ได้ร่วมดื่มเบียร์กับพนักงานอื่น ๆ ในบริเวณโรงงานขณะปฏิบัติ หน้าที่ จึงเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานในกรณีที่ร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(4) จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าว จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2359/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากดื่มเบียร์ขณะปฏิบัติหน้าที่ เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับร้ายแรง ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เป็นพนักงานขับรถ มีหน้าที่นำพนักงานของจำเลยที่ได้รับบาดเจ็บระหว่างทำงานส่งโรงพยาบาล ซึ่งเป็นหน้าที่สำคัญที่เกี่ยวกับความปลอดภัยในชีวิตและร่างกายของบุคคล การดื่มเบียร์ซึ่งเป็นสิ่งมึนเมาย่อมทำให้การปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและอาจก่อให้เกิดอันตรายและความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้อื่นได้ ทั้งจำเลยก็ได้กำหนดไว้ในมาตรการทางวินัย อันเป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่าเป็นกรณีร้ายแรงด้วย ดังนี้ การที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่โดยได้ร่วมดื่มเบียร์กับพนักงานอื่น ๆในบริเวณโรงงานขณะปฏิบัติหน้าที่ จึงเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานในกรณีที่ร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(4) จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าว จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2214/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลาออกของลูกจ้าง การอนุมัติใบลาออกล่าช้า และผลทางกฎหมายที่เกิดจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
แม้จำเลยมีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหมวดที่ 7 ว่าด้วยการพ้นสภาพจากการเป็นพนักงาน ข้อ 2.1 ระบุให้พนักงาน ที่ประสงค์จะลาออกต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้บังคับบัญชา ทราบล่วงหน้าและยื่นใบลาออกต่อฝ่ายบุคคลล่วงหน้าไม่น้อยกว่า30 วัน ก็ตาม แต่การลาออกเป็นสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็น ลูกจ้างที่จะลาออกเมื่อใดและกำหนดวันลาออกของตนได้ หากโจทก์ยื่นใบลาออกต่อจำเลยฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับ เกี่ยวกับการทำงานดังกล่าวเป็นเหตุให้จำเลยได้รับ ความเสียหายอย่างไร จำเลยย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายในส่วนนี้จากโจทก์ได้ ส่วนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการ ทำงานดังกล่าวมิได้กำหนดว่านายจ้างจะต้องสั่งใบลาออกของ ลูกจ้างภายในกำหนดเวลาใดย่อมเป็นที่เข้าใจว่านายจ้าง ต้องสั่งใบลาออกภายในเวลาอันสมควรและก่อนถึงวันที่ลูกจ้างกำหนดให้มีผลในใบลาออกนั้น เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ ศาลแรงงานกลางรับฟังมาไม่ปรากฏว่าโจทก์และจำเลยมีการ ตกลงให้จำเลยมีสิทธิสั่งใบลาออกหลังจากครบกำหนดวันลา ออกมีผลได้ การที่จำเลยมิได้สั่งอนุมัติใบลาออกภายใน วันที่โจทก์กำหนดให้มีผลในใบลาออก และหลังจากครบกำหนด ดังกล่าวแล้วโจทก์ยังคงทำงานตลอดมาโดยจำเลยยินยอมให้โจทก์ทำงานเช่นนี้ตามพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์จำเลยไม่ติดใจเอาใบลาออกดังกล่าวเป็นข้อสาระสำคัญอีกต่อไปย่อมมีผลเท่ากับจำเลยไม่ประสงค์ให้โจทก์ลาออก ดังนั้นใบลาออกของโจทก์จึงสิ้นผลที่จำเลยอนุมัติให้โจทก์ลาออก ในภายหลัง จึงเป็นการอนุมัติให้โจทก์ลาออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีจึงเป็นการเลิกจ้างโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2175/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดบังคับคดีต้องมีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินก่อน หากยังไม่มีการบังคับคดี การขอให้งดบังคับคดีตามมาตรา 293 วรรคหนึ่ง ไม่อาจทำได้
การที่จำเลยขอ งด การบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 293 ได้นั้นจะต้องมีการบังคับคดีโดยการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ ตามคำพิพากษาอยู่ก่อนแล้วในขณะที่ขอให้งดการบังคับคดี แต่เมื่อ ปรากฏว่าจำเลยได้ขอให้ศาลแรงงานกลางงดการบังคับคดีโดยที่ยังมิได้มีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยแต่อย่างใด ต้องถือว่าคดีนี้ยังไม่มีการบังคับคดี จำเลยจะขอให้งดการ บังคับคดีตามมาตรา 293 วรรคหนึ่ง หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2175/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดการบังคับคดีต้องมีการยึดทรัพย์ก่อน
การขอให้งดการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 293 จะต้องมีการบังคับคดีโดยการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาอยู่ก่อนแล้วในขณะที่ขอให้งดการบังคับคดี เมื่อคดีนี้ยังไม่มีการบังคับคดี จำเลยจะขอให้งดการบังคับคดีตามบทบัญญัติดังกล่าวหาได้ไม่
of 58