คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชวลิต พรายภู่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 225 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3724/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่านายหน้าลักษณะค่าจ้าง: แม้จ่ายรายเดือน แต่หากผูกกับผลงานโดยตรง ถือเป็นค่าจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
ค่านายหน้าที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เป็นรายเดือน แม้จะเป็นการจูงใจให้ขายสินค้าได้มากขึ้นก็ตาม แต่ขณะเดียวกันก็คือเงินที่จำเลยจ่ายให้เป็นการตอบแทนการทำงานตามผลงานที่โจทก์ทำได้โดยตรงนั่นเอง ส่วนที่จำเลยได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายอย่างไร รวมทั้งจะมีการเรียกชื่อเป็นอย่างอื่นก็ไม่ใช่ข้อสำคัญ เมื่อวิธีการจ่ายค่านายหน้าอาจปรับได้กับความหมายของคำว่า "ค่าจ้าง"ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานดังกล่าวมาข้างต้นจึงถือว่าค่านายหน้าเป็นค่าจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3724/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่านายหน้าเป็นค่าจ้าง: การคำนวณค่าชดเชย, สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าจ้างวันหยุดพักผ่อน
ค่านายหน้าที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนแม้จะเป็นการจูงใจให้ขายสินค้าได้มากขึ้นก็ตาม แต่ขณะ เดียวกันก็คือเงินที่จำเลยจ่ายให้เป็นการตอบแทนการทำงาน ตามผลงานที่โจทก์ทำได้โดยตรงนั่นเอง ส่วนที่จำเลยได้กำหนด หลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายอย่างไร รวมทั้งจะมีการเรียกชื่อ เป็นอย่างอื่นก็ไม่ใช่ข้อสำคัญ เมื่อวิธีการจ่ายค่านายหน้า อาจปรับได้กับความหมายของคำว่า "ค่าจ้าง" ตามประกาศ กระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานดังกล่าวมาข้างต้น จึงถือว่าค่านายหน้าเป็นค่าจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3724/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่านายหน้าเป็นค่าจ้าง: ศาลฎีกาวินิจฉัยให้รวมค่านายหน้ากับเงินเดือนเพื่อคำนวณค่าชดเชยและสิทธิประโยชน์อื่น ๆ
ค่านายหน้าที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างโจทก์จ่ายให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนนั้น แม้ว่าจะเป็นการจูงใจให้ขายสินค้าได้มากขึ้นแต่ขณะเดียวกันก็คือเงินที่จำเลยจ่ายให้เป็นการตอบแทนการทำงานตามผลงานที่โจทก์ทำได้โดยตรงนั่นเอง ส่วนที่จำเลยได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายอย่างไร รวมทั้งจะมีการเรียกชื่อเป็นอย่างอื่นก็ไม่ใช่ข้อสำคัญ เมื่อวิธีการจ่ายค่านายหน้าอาจปรับได้กับความหมายของคำว่า"ค่าจ้าง"ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 จึงถือว่าค่านายหน้าเป็นค่าจ้างที่จะต้องนำมารวมกับเงินเดือนครั้งสุดท้ายของโจทก์เพื่อเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1409/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าเวลาสถานีวิทยุ: สัญญาไม่ระบุขอบเขตการส่งสัญญาณชัดเจน ไม่ถือเป็นผิดสัญญา
จำเลยทำสัญญาเช่าเวลาของสถานีวิทยุกระจายเสียงจังหวัดบุรีรัมย์จากโจทก์ในระบบเอฟ.เอ็มและเอ.เอ็ม ระหว่างสัญญากำลังส่งกระจายเสียงของสถานีวิทยุกระจายเสียงจังหวัดบุรีรัมย์ของโจทก์ทั้งสองระบบรับฟังไม่ชัดเจนในพื้นที่นอกเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ เมื่อตามสัญญาเช่าเวลาดังกล่าวไม่มีข้อตกลงในรายละเอียดว่าโจทก์ต้องจัดการให้กำลังส่งกระจายเสียงของสถานีวิทยุกระจายเสียงจังหวัดบุรีรัมย์ทั้งสองระบบดังกล่าวมีกำลังส่งที่ประชาชนซึ่งอยู่ในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ทั้งหมดรับฟังได้อย่างชัดเจน และโจทก์จำเลยมีเจตนาผูกพันกันตามสภาพที่กำลังส่งกระจายเสียงของสถานีวิทยุกระจายเสียงจังหวัดบุรีรัมย์มีอยู่ในขณะทำสัญญา ดังนั้นการที่กำลังส่งกระจายเสียงของสถานีวิทยุกระจายเสียงจังหวัดบุรีรัมย์ที่จำเลยเช่าจากโจทก์ไม่สามารถส่งกระจายเสียงให้ประชาชนที่อยู่นอกเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์รับฟังได้ชัดเจนนั้น หาใช่สาระสำคัญถึงขนาดที่จะถือได้ว่าโจทก์ผิดสัญญาไม่ จำเลยจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่นนี้ แม้จำเลยจะแสดงเจตนาเลิกสัญญาแก่โจทก์ ก็หามีผลเป็นการบอกเลิกสัญญาโดยชอบอันจะทำให้สัญญาเลิกกันไม่ จำเลยจึงต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1390/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาไม่จ่ายค่าล่วงเวลาขัดกฎหมายคุ้มครองแรงงาน โมฆะ โจทก์มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา
การทำงานนอกเวลาทำงานปกติถือว่าเป็นการทำงานล่วงเวลาลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินค่าล่วงเวลาตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย การที่นายจ้างทำสัญญางดเว้นไม่จ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่ลูกจ้างตามกฎหมายดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ ลูกจ้างจึงมีสิทธิได้ค่าล่วงเวลา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1390/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าล่วงเวลาของลูกจ้าง แม้มีข้อตกลงงดจ่าย ก็ไม่สมบูรณ์
โจทก์เป็นลูกจ้างทำหน้าที่พนักงานขับรถของจำเลย มีเวลาทำงานตามปกติแน่นอนตั้งแต่เวลา 8 นาฬิกาถึง 17 นาฬืกา ดังนั้น ระยะเวลาทำงานที่นอกเวลาปกตินี้ถือว่าเป็นการทำงานล่วงเวลา มีสิทธิได้รับเงินค่าล่วงเวลาตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน2515 ข้อ 2 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย การที่นายจ้างทำสัญญางดเว้นไม่จ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่ลูกจ้างตามกฎหมายดังกล่าวย่อมตกเป็นโมฆะ โจทก์จึงมีสิทธิได้ค่าล่วงเวลา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1390/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงงดจ่ายค่าล่วงเวลาขัดต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงานเป็นโมฆะ ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา
โจทก์เป็นลูกจ้างทำหน้าที่พนักงานขับรถของจำเลยมีเวลาทำงานตามปกติแน่นอนตั้งแต่เวลา 8 นาฬิกาถึง 17 นาฬิกาดังนั้น ระยะเวลาทำงานที่นอกเวลาปกตินี้ถือว่าเป็นการทำงานล่วงเวลา มีสิทธิได้รับเงินค่าล่วงเวลาตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่16 เมษายน 2515 ข้อ 2 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยการที่นายจ้างทำสัญญางดเว้นไม่จ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่ลูกจ้างตามกฎหมายดังกล่าวย่อมตกเป็นโมฆะ โจทก์จึงมีสิทธิได้ค่าล่วงเวลา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1027/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แม้มีประกันภัย ผู้เสียหายยังเรียกค่าสินไหมจากผู้ละเมิดได้ เพราะจำเลยมีหน้าที่ตามกฎหมาย
แม้บริษัทประกันภัยที่โจทก์เอาประกันภัยไว้จะเป็นผู้จ่ายค่ารักษาพยาบาลให้แก่โรงพยาบาลแทนโจทก์ไปแล้วอันเป็นสิทธิของโจทก์ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยสัญญาประกันภัย แต่โจทก์ก็ยังมีสิทธิเรียกเอาค่ารักษาพยาบาลจากจำเลยได้อีก เพราะจำเลยมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในมูลละเมิดที่ได้กระทำต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 466/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาต การล่าช้าในการพิจารณาอนุญาตไม่ทำให้คำสั่งรื้อถอนไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ฎีกาโจทก์ที่ว่า จำเลยที่ 2 มิได้พิจารณาและออกหนังสืออนุญาตให้โจทก์ที่ 3 แก้ไขแบบแปลนและต่อเติมอาคารจาก 4 ชั้นเป็น 11 ชั้นภายในกำหนดระยะเวลา 30 วัน และกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ คำสั่งของจำเลยที่ 2 ที่ปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 ที่ให้โจทก์รื้อถอนอาคารที่สร้างโดยไม่รับอนุญาตตั้งแต่ชั้นที่ 5 ถึงชั้นที่ 11 และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นเป็นฎีกาที่ไม่มีประโยชน์ต่อรูปคดีของโจทก์และฟังไม่ขึ้น เพราะแม้กฎหมายจะกำหนดระยะเวลาไว้ แต่กฎหมายดังกล่าวก็มิได้บัญญัติให้คำสั่งหรือคำวินิจฉัยที่ล่าช้าตกเป็นเสียเปล่าหรือก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะก่อสร้างได้โดยไม่ต้องขออนุญาตแต่อย่างใดเหตุล่าช้าจะเป็นจริงหรือไม่ ก็ไม่อาจถือเป็นเหตุถึงขนาดว่าคำสั่งหรือคำวินิจฉัยนั้นตกเป็นไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ฎีกาว่าอาคารที่ก่อสร้างมีความมั่นคงแข็งแรง มิได้โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ จึงไม่มีเหตุที่จะรับฟังข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 466/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกอนุญาตต่อเติมอาคารล่าช้า ไม่ทำให้คำสั่งรื้อถอนไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ฎีกาโจทก์ที่ว่า จำเลยที่ 2 มิได้พิจารณาและออกหนังสืออนุญาตให้โจทก์ที่ 3 แก้ไขแบบแปลนและต่อเติมอาคารจาก 4 ชั้นเป็น 11 ชั้น ภายในกำหนดระยะเวลา 30 วัน และกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ภายใน30 วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ คำสั่งของจำเลยที่ 2 ที่ปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 ที่ให้โจทก์รื้อถอนอาคารที่สร้างโดยไม่รับอนุญาตตั้งแต่ชั้นที่ 5 ถึงชั้นที่ 11 และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เป็นฎีกาที่ไม่มีประโยชน์ต่อรูปคดีของโจทก์และฟังไม่ขึ้น เพราะแม้กฎหมายจะกำหนดระยะเวลาไว้แต่กฎหมายดังกล่าวก็มิได้บัญญัติให้คำสั่งหรือคำวินิจฉัยที่ล่าช้าตกเป็นเสียเปล่าหรือก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะก่อสร้างได้โดยไม่ต้องขออนุญาตแต่อย่างใด เหตุล่าช้าจะเป็นจริงหรือไม่ ก็ไม่อาจถือเป็นเหตุถึงขนาดว่าคำสั่งหรือคำวินิจฉัยนั้นตกเป็นไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฎีกาว่าอาคารที่ก่อสร้างมีความมั่นคงแข็งแรง มิได้โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ จึงไม่มีเหตุที่จะรับฟังข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์
of 23